วิถีการเรียนรู้แบบเพลินพัฒนา (๔)


ทำ “งาน” ให้เป็นการจัดการความรู้

ขั้นคิด

เริ่มต้นจากการมองหาทุนดีที่มีอยู่ ด้วยการส่งเสริมให้ปัจเจกแต่ละคนนำเอาจุดแข็งของทุกคนเข้ามาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ จนเกิดเป็นความคิดสร้างสรรค์ ทำให้ความคิดเล็กๆสามารถประกอบกันเข้าเป็นความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ที่ยิ่งใหญ่

• ด้วยการมองว่าหน้างานของครู คือ การจัดกระบวนการเรียนรู้เพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ แล้วทำให้การทำงานทุกครั้งเป็นการเรียนรู้ร่วมกัน ทั้งครูและเด็ก

• ด้วยการมองว่าหน้างานของนักเรียน คือ การจัดการกับความรู้ที่ตนเองได้รับให้กลายมาเป็นความรู้ของตน แล้วทำให้นักเรียนได้เติบโตไปด้วยการจัดมวลประสบการณ์ให้ผู้เรียนได้ฝึกฝน และพัฒนาขีดความสามารถในการเรียนรู้ ขีดความสามารถในการทำงาน ความเชี่ยวชาญในเนื้อหาสาระ และสร้างเสริมส่วนของคุณลักษณะอันพึงประสงค์อย่างเป็นลำดับ ต่อเนื่อง และสม่ำเสมอ

• ด้วยการมองว่าหน้างานของผู้ปกครองและชุมชน ตลอดจนฝ่ายสนับสนุน คือ การเอื้อให้เกิดบรรยากาศที่สอดคล้องกันไปกับกระแสการเรียนรู้ที่ทางช่วงชั้นจัดสรรขึ้น ด้วยความเข้าใจที่เป็นไปในทิศทางเดียวกัน แล้วทำให้การทำงานทุกอย่างเป็นไปโดยมีเด็กเป็นศูนย์กลาง และเป็นไปเพื่อการพัฒนาเด็กเป็นสำคัญ

ขั้นทำ

• ทำให้หน้างานจัดการความรู้ของครู และเด็ก แบ่งเป็นภาคเรียนละ ๑๐ สัปดาห์ หนึ่งปีมี ๔ ภาคเรียน ได้แก่ภาคฉันทะ วิริยะ จิตตะ วิมังสา

• ทำให้หลักสูตร หน่วยวิชา แผนการเรียนรู้ สื่อ แบบฝึก ชุดความรู้ กระบวนการเรียนรู้มีความยืดหยุ่น มีความดี ความงาม และความสามารถเพียงพอที่จะทำให้นักเรียนทุกคนอยู่ในกระบวนการเรียนรู้ที่มีความยากสมวัยได้อย่างต่อเนื่อง และมีความสุข

• ทำให้ทุกคนได้ใช้ศักยภาพของความเป็นมนุษย์ได้อย่างเต็มที่ รอบด้าน ก่อให้เกิดการเรียนรู้ร่วมกัน และการพัฒนาในลักษณะพหุปัญญา

• ทำให้ผู้เรียนเกิดพัฒนาการชีวิต พัฒนาการด้านสาระวิชาและพัฒนาการด้านการทำงานไปพร้อมกัน

• ทำให้เกิดความเชื่อมโยงระหว่างหน่วยวิชาต่างๆอย่างเป็นเอกภาพ และก่อให้เกิดการพัฒนาแบบพหุปัญญาในมิติที่กว้างขวางขึ้นกับผู้เรียน

ครู เป็นหัวใจของความสำเร็จ หน้างานที่สำคัญของครู คือ

• จัดลำดับความรู้และออกแบบกระบวนการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับผู้เรียน

• สร้างแรงบันดาลใจ

• จัดกระบวนการเรียนรู้ที่เหมาะสม พาให้ผู้เรียนได้พบกับความสำเร็จเป็นระยะ

• ประเมินผลรายทาง ด้วยการวัดผลในลักษณะต่างๆ แล้วนำผลที่ได้รับนั้นมาปรับปรุงการทำงานให้ดีขึ้นอยู่เสมอ

• ส่งเสริมหรือซ่อมเสริม เพื่อพัฒนาผู้เรียนเป็นรายบุคคล

หมายเลขบันทึก: 208046เขียนเมื่อ 12 กันยายน 2008 10:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 30 เมษายน 2012 18:27 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท