การพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์


การสร้างความฉลาดทางอารมณ์ในที่ทำงานเกิดจากการพัฒนาที่ตัวเราเองและการเรียนรู้ที่จะอยู่ร่วมกับผู้อื่น

 

การอยู่ร่วมกับผู้อื่นมีเทคนิคดังนี้

            ๑. เข้าใจและยอมรับธรรมชาติของอารมณ์ บุคคลแต่ละคนมีความรู้สึกและอารมณ์พื้นฐานของตนเอง เช่น ดีใจ เสียใจ อิจฉา ฯลฯ และมีการแสดงออที่ต่างกรรมต่างวาระกันไป แต่ละคนจะมีอารมณ์และความรู้สึกที่ผันแปรแตกต่างกันไป ยากที่จะนำความรู้สึกดีชั่วของตัวเราเองไปตัดสินความเหมาะสมขึ้นอยู่กับสถานการณ์ เหตุผล วัย ปัจจัยทางสังคมและการกำหนดทางวัฒนธรรม

            ๒. รับฟัง ทำความเข้าใจและให้เกียรติผู้อื่น การยอมรับและเข้าใจภาวะที่บุคคลแสดงออก เป็นสิ่งจำเป็นในการสร้างเสริมความภาคภูมิใจตนเองการรักษาหน้าทความมั่นใจ ไว้วางใจซึ่งกันและกัน ซึ่งจะมีผลต่อคุณภาพและผลผลิตที่บุคคลมีส่วนต่อองค์กร การปฏิเสธที่จะรับฟังหรือทำความเข้าใจกับภาวะอารมณ์ที่แสดงออก เช่น การเพิกเฉย วิพากษ์ตำหนิ การเห็นเป็นเรื่องปกติ การบั่นทอนล้อเลียนความรู้สึกของบุคคลเป็นการทำลายระดับความมั่นใจในตนเอง ความคิดสร้างสรรค์และเกียรติภูมิแห่งตนของผู้อื่นและเป็นการไม่เคารพความเป็นปัจเจกบุคคลอื่นด้วย

          ๓. การแก้ไขความขัดแย้ง บางครั้งการใช้เพียงเหตุผลแต่โดยลำพัง ไม่สามารถแก้ไขปัญหาทางอารมณ์ความรู้สึกได้ ควรยอมรับความรู้สึกโดยไม่มีเงื่อนไขใด ๆ ก่อน แล้วค่อยมาพิจารณาการแสดงออก ผู้มีความฉลาดทางอารมณ์สูงกกว่าจะไม่ใฃ้วิธีการที่บั่นทออนความรู้สึกของคนอื่น แต่ความสามารถในการจัดการเก็บอารมณ์ได้ดี  จะช่วยทั้งความรู้สึกของตัวเองและช่วยให้อีกฝ่ายสงบลงได้ การที่บุคคลแสดงภาวะอารมณ์ออกในทางลบ เช่น โกรธ เสียใจ เศร้าซึม อาฆาต ไม่ให้อภัย แสดงให้เห็นว่าความต้องการทางอารมณ์ยังไม่ได้รับการตอบสนอง ยังมีความตึงเครียดในจิตใจ ผู้บริหาร เพื่อนร่วมงานและผู้เกี่ยวข้องควรทำความเข้าใจภาวะอารมณ์ของตน เพื่อเข้าใจภาวะอารมณ์ของผู้อื่นเปิดโอกาสให้แต่ละคนได้แสดงอารมณ์ ความรู้สึก รับฟังด้วยความเข้าใจ เห็นใจและยอมรับภาวะอารมณ์ที่เกิดขึ้นซึ่งจะส่งผลต่อการยอมรับตนเองและเพิ่มความมั่นคงทางจิต ส่งผลต่อการพัฒนาทางความคิด การมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี   เพิ่มขวัญกำลังใจความร่วมมือและการช่วยเหลือซึ่งกันและกันในการปฏิบัติงาน

            ๔. ในกรณีที่บุคคลแสดงภาวะอารมณ์ทางลบในระดับที่รุนแรง เช่น เดี๋ยวดี เดี๋ยวร้าย คาดคะเนพฤติกรรมไม่ได้หรือไม่สามารถแสดงอารมณ์ความรู้สึกออกมาได้เลยพูดมากเกินปกติ เปลี่ยนหัวข้อพูดคุยรวดเร็ว หงุดหงิดง่าย มีปฏิกิริยามากเกินไปต่อเหตุการณ์เล็ก ๆ น้อย ๆ ฯลฯ ผู้บริหารและเพื่อนร่วมงานควรหามาตรการสร้างภาวะแวดล้อมที่มีการดูแลเอาใจใส่ร่วมมือกันรับฟังข้อปัญหาให้ความรู้เพื่อการยอมรับและทางบำบักแก้ไข ในกรณีของผู้ที่ไม่สามารถสื่อความรู้สึกและภาวะอารมณ์กับผู้อื่นได้ ผู้บริหารอาจโยกย้ายไปทำงานที่ไม่เกี่ยวข้องกับผู้คนมากนัก ทำคนเดียวได้สำเร็จ หาพนักงานที่กล้าแสดงออกและมีมนุษยสัมพันธ์ดีมาเป็นเพื่อนชวนคุยกระตุ้นให้เขาได้มีโอกาสแสดงความรู้สึกความคิดเห็นโดยรู้สึกว่ามีคนยอมรับฟังตน

             ๕.  พยายามมองโลกในแง่ดี บางครั้งการอยู่ร่วมกันทำให้มีความคิดหลากหลาย แต่ถ้าเราพยายามฟังคนอื่น พยายามคิดในเชิงบวก มองโลกในแง่ดีความขัดแย้งในงานก็จะลดลง

             ๖.  การนำคำแนะนำของกลุ่มไปพัฒนาตนเองไม่รักตนเองจนมองเห็นว่าตนถูกคนอื่นผิด การทำงานกับคนอื่นต้องฟังคนเป็นและใช้ประโยชน์จากคำแนะนำมาใช้ในงานจึงจะเรียกว่ามีอีคิวดี

 

หมายเลขบันทึก: 207017เขียนเมื่อ 9 กันยายน 2008 03:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 28 พฤษภาคม 2012 00:07 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

สวัสดีค่ะ น้องชาย

  • บันทึกนี้ ดีมากเลย ครูและทุกคนจำเป็นต้องรู้ ต้องมี และต้องปฏิบัติได้  ในเรื่องนี้
  • ขอบคุณมากนะคะ  รักษาสุขภาพด้วย   นอนดึกจัง

สวัสดีคะ คุณพลัดถิ่น

เป็นบทเรียนที่ดีนะคะ ถ้ามีการนำไปปฏิบัติทุกคน โลกจะสวยงาม

มีคำถามคะ ว่าถ้ามีคนรอบข้างไม่พัฒนาทางอารมณ์ ไม่รับฟังกัน ทำอย่างไร

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท