การจัดทำ Roadmapping กศน.


 

การจัดทำ Roadmapping

 

กศน. เพื่อยกระดับการศึกษาประชากรวัยแรงงานถึงระดับมัธยมศึกษาขึ้นไป

รัฐบาลมีนโยบายให้สำนักบริหารงานการศึกษานอกโรงเรียน (กศน.) ยกระดับการศึกษา
ของประชากรวัยแรงงาน (อายุระหว่าง 15-59 ปี) จากจำนวนปีการศึกษาเฉลี่ย 8.1 ปีเป็น 9.5 ปี ในปี 2551 ให้ได้ร้อยละ 50  ของกลุ่มเป้าหมาย ซึ่งคิดเป็นจำนวน 13,593,838 คน กศน. ขานรับนโยบาย
ดังกล่าวอย่างกระตือรือร้น การจัดทำ Roadmap ได้ถูกกำหนดขึ้นเพื่อนำนโยบายสู่การปฏิบัติเพื่อการบรรลุเป้าหมายดังกล่าวโดยในเบื้องต้นได้กำหนดยุทธศาสตร์ 6 ยุทธศาสตร์ คือ  1) เข้าถึงผู้เรียนอย่างทั่วถึง  2)  วิธีเรียนหลากหลายและเชื่อมโยง   3) การใช้สื่อ/ นวัตกรรมที่หลากหลายในการเรียนรู้  4) ระดับพลังเครือข่าย   5) ปรับระบบบริหารจัดการ  และ  6) ระบบประชาสัมพันธ์ ยกย่อง / จูงใจ
แต่ละยุทธศาสตร์ได้กำหนดวิธีดำเนินการโดยมุ่งไปสู่เป้าหมายเดียวกันคือ ประชากรวัยแรงงานกลุ่ม
เป้าหมายมีวุฒิการศึกษาถึงระดับมัธยมศึกษาตอนต้น (.3)/มัธยมศึกษาตอนปลาย (.6) หรือระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.)  ทุกยุทธศาสตร์มีหน่วยงาน และสถานศึกษา กศน. ที่มีบทบาทหน้าที่เกี่ยวข้องโดยตรง  เป็นผู้ดำเนินการอย่างไรก็ตามเท่าที่ผู้เขียนได้มีส่วนร่วมพิจารณาการจัดทำ Roadmapping ในเรื่องดังกล่าวอยู่บ้าง (จากการร่วมประชุมในบางครั้ง) สิ่งที่อยากจะเห็นในกระบวนการจัดทำคือการดำเนินการในองค์ประกอบหลัก 3 ส่วนต่อไปนี้
                        1. ส่วนของการวิเคราะห์   (Analysis)  เป็นการทบทวนแนวความคิดและวิธีการปฏิบัติ
ที่ดำเนินการอยู่ในปัจจุบันในการจัดกิจกรรมการศึกษานอกโรงเรียนให้กับกลุ่มเป้าหมายและทรัพยากรขององค์กรที่มีอยู่  รวมทั้งการกำหนดความถนัดหรือความชำนาญพิเศษขององค์กรที่สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมต่าง ทางการศึกษาที่เปลี่ยนแปลงไป
                        2. ส่วนของการออกแบบ (Design) เป็นการทำความเข้าใจในสภาพแวดล้อมทางการศึกษาในอนาคต การกำหนดแนวทางการพัฒนาทรัพยากรและเทคโนโลยีขององค์กร การสร้างเครือข่าย
ความร่วมมือในการจัดการศึกษาเพื่อยกระดับการศึกษาให้กับกลุ่มเป้าหมาย
                        3. ส่วนของการจัดทำแผนยุทธศาสตร์และแผนการดำเนินการ (Roadmapping Strategy) อันเป็นผลสัมฤทธิ์ของการดำเนินการ Roadmapping ประกอบด้วยรายละเอียดของแผนงาน ผลสำเร็จ ผู้ที่เกี่ยวข้องหรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย  (Stakeholders) ทั้งระบบ  ตัวชี้วัดคุณค่าของผลการดำเนินการ  กำหนดระยะเวลาดำเนินการ  และผู้รับผิดชอบ
                       ทั้งนี้การออกแบบหรือกำหนดแผนยุทธศาสตร์ในการดำเนินการ Roadmapping กศน. เพื่อยกระดับการศึกษาประชากรวัยแรงงานถึงระดับมัธยมศึกษาขึ้นไปน่าจะมาจากผลการวิเคราะห์ประเด็นต่าง ที่สำคัญดังนี้
1.ส่วนที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มเป้าหมาย  ได้แก่
1.1    ความพึงพอใจของกลุ่มเป้าหมายที่มีต่อบริการการศึกษานอกโรงเรียน
1.2    คุณค่าของกิจกรรมหรือบริการการเรียนรู้การศึกษานอกโรงเรียนที่มีต่อ
กลุ่มเป้าหมาย
1.3    การแบ่งประเภทของกลุ่มเป้าหมายและวิธีการนำเสนอกิจกรรมหรือบริการ
การเรียนรู้การศึกษานอกโรงเรียนต่อกลุ่มเป้าหมาย
1.4    การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้การศึกษานอกโรงเรียนให้เป็นที่ยอมรับของ
กลุ่มเป้าหมาย
2.      ส่วนที่เกี่ยวข้องกับคุณค่าและศักยภาพขององค์กร ได้แก่
2.1    ต้นทุนที่เกี่ยวกับส่วนของกลุ่มเป้าหมายในการรับบริการ / ร่วมกิจกรรมการ
เรียนรู้การศึกษานอกโรงเรียน
2.2    ต้นทุนต่อหน่วยผลิต/ค่าใช้จ่ายในการตอบสนองการเรียนรู้ของกลุ่มเป้าหมาย
2.3    ความพร้อมของหน่วยงาน/สถานศึกษาการศึกษานอกโรงเรียนที่เกี่ยวข้อง
3.      ส่วนที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี  ได้แก่
3.1    ความพร้อมด้านเทคโนโลยีในการจัดบริการกิจกรรมการเรียนรู้ให้กับกลุ่ม
เป้าหมาย
 3.2 การนำเทคโนโลยีมาใช้ในการบริหารและการจัดการศึกษานอกโรงเรียนเพื่อการข้าถึงโอกาสการเรียนรู้ของกลุ่มเป้าหมาย
4.      ส่วนที่เกี่ยวข้องกับองค์ประกอบขององค์กร  ได้แก่
4.1    ความสามารถในการตอบสนองความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย
4.2    ทรัพยากรบุคลากรขององค์กรและการบริหารจัดการ
4.3    การสร้าง/พัฒนานวัตกรรมเพื่อตอบสนองความต้องการของกลุ่มเป้าหมายและ
พันธมิตรเพื่อให้เกิดความร่วมมือในการจัดการศึกษานอกโรงเรียน
4.4    ความสามารถในการขยายการให้บริการการศึกษานอกโรงเรียนแก่กลุ่มเป้าหมาย
แต่ไม่ว่าจะอย่างไรก็ตาม Roadmap  เป็นเพียงเครื่องมือหรือวิธีการที่ใช้ในการวิเคราะห์
สถานภาพขององค์กรหรือหน่วยงานเพื่อการนำเสนอยุทธศาสตร์ขององค์กรในการนำพาองค์กรให้บรรลุเป้าหมายอีกชนิดหนึ่งเท่านั้น  หัวใจสำคัญอยู่ที่ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายมีความเข้าใจ และตระหนักในส่วนที่
รับผิดชอบและเห็นความเกี่ยวข้องหรือสัมพันธ์กับแผนยุทธศาสตร์ในภาพรวมที่เป็นองค์กรทั้งหมดสามารถกำหนดยุทธศาสตร์และแนวทางปฏิบัติเพื่อบรรลุเป้าหมายได้อย่างเหมาะสมสอดคล้องกับสภาพ
แวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษานอกโรงเรียนในการยกระดับการศึกษาประชากรวัยแรงงานให้ได้ตามเป้าหมายที่กำหนดไว้

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 2069เขียนเมื่อ 4 สิงหาคม 2005 10:22 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 พฤษภาคม 2012 14:13 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท