ครูเมี้ยว
นางจินตนา ครูเมี้ยว ท้วมพงษ์

การเคลื่อนไหวและดนตรีช่วยพัฒนาสมอง


ดนตรีช่วยพัฒนาสมอง

 การเคลื่อนไหวและดนตรี

กิจกรรมเคลื่อนไหวและดนตรีเป็นกิจกรรมหนึ่งที่ตอบสนองต่อธรรมชาติการเคลื่อนไหวของเด็กซึ่งส่งเสริมพัฒนาการทางด้านร่างกาย  อารมณ์-จิตใจ  สังคม และสติปัญญาของเด็กโดยตรง  การที่เด็กได้เคลื่อนไหวร่างกายด้วยการปรบมือ  กระโดดโลดเต้นตามจังหวะและทำนองเพลง  จะช่วยพัฒนาอวัยวะทุกส่วนให้แข็งแรง  และทำงานสัมพันธ์กัน  กิจกรรมเคลื่อนไหวเป็นกิจกรรมที่เด็กต้องใช้ทั้งกล้ามเนื้อเล็กและกล้ามเนื้อใหญ่เกือบทุกส่วนของร่างกาย  จึงกล่าวได้ว่า  กิจกรรมเคลื่อนไหวและดนตรีเป็นกิจกรรมที่ทำให้เด็กได้ออกกำลังกายนั่นเอง

                การที่เด็กได้ทำกิจกรรมเคลื่อนไหวประกอบดนตรีที่มีจังหวะสนุกสนานเร้าใจ  สมองจะหลั่งสารแห่งความสุขออกมา  ซึ่งช่วยพัฒนาความฉลาดทางสติปัญญา (IQ) ในส่วนของความจำ  ขณะที่เด็กทำกิจกรรมร่วมกับผู้อื่นจะช่วยให้เด็กมีทักษะทางสังคม  รู้จักใช้พื้นที่ร่วมกับผู้อื่น  รู้จักแบ่งปัน  ร่วมมือช่วยเหลือกัน  มีความเชื่อมั่นในตนเองและกล้าแสดงออก  ได้ระบายอารมณ์และเปิดเผยความรู้สึกซึ่งเป็นพื้นฐานในการอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมและเป็นวิธีพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ (EQ) นอกจากนี้ดนตรียังพัฒนาความฉลาดที่เกิดจากการเล่น (PQ)  และความฉลาดในทางริเริ่มสร้างสรรค์ (CQ) เนื่องจากขณะที่เด็กเล่นดนตรีเขาจะมีความสุข  สนุกสนาน  ร่าเริงแจ่มใส และได้ใช้ความคิดสร้างสรรค์ควบคู่กันไป

กิจกรรมเคลื่อนไหวและดนตรีพัฒนาสมองได้อย่างไร

                การเคลื่อนไหวเป็นการกระตุ้นระบบการพัฒนาของสมอง  เด็กในช่วงอายุ 3-6  ปี  เป็นระยะที่สมองบริเวณที่ควบคุมการเคลื่อนไหวอยู่ระหว่างการพัฒนาการเคลื่อนไหว  และความต้องการในการเคลื่อนไหวเป็นกลไกสำคัญที่จะให้สมองได้ใช้ประโยชน์จากเซลสมองและ           ซีนแนปส์  ถ้าเซลและจุดซีนแนปส์ได้ทำงาน  เซลและซีนแนปส์นั้น ก็จะประสานกระชับมากขึ้น    มีประสิทธิภาพมากขึ้น  การเคลื่อนไหว ( Movement)   ซึ่งเป็นผลลัพธ์ของสมอง ที่ได้รับการพัฒนาและเป็นตัวกระตุ้นให้สมองเกิดการพัฒนาด้วยเช่นเดียวกัน  ซึ่งกิจกรรมเคลื่อนไหวและดนตรี        มีสาระสำคัญและมีวิธีการจัดประสบการณ์ ซึ่งจะได้กล่าวในครั้งต่อไป

หมายเลขบันทึก: 205350เขียนเมื่อ 3 กันยายน 2008 16:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 20:56 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

สวัสดีค่ะ อาจารย์

  • เสียงดนตรี มีส่วนทำให้ นักเรียนเรียนรู้อย่างมีความสุขมากนะคะ
  • ครูอ้อย ยังมีความสุข สนุกสนานไปกับนักเรียนเลยค่ะ
  • เห็นด้วยค่ะ  รออ่านบันทึกต่อไปนะคะ

เป็นกำลังใจให้เสมอค่ะ

  • ขอบคุณครูอ้อยและครูต๋อมที่ให้กำลังใจค่ะ

สวัสดีค่ะ

พอดีวันนี้เพิ้งเขียน บันทึกเรื่อง ไปฟังกู่เจิง มา เลยอยากมาแบ่งปันด้วยค่ะ แม้แต่การฟังดนตรีที่ผู้เล่น เล่นออกมาจากใจ หรือตัวผู้เล่นเอง ก็ได้พัฒนาสมอง พัฒนาอารมณ์ให้ผ่อนคลาย และเกิดการหลั่งสาร endorphin ช่วยให้มีภูมิต้านทานโรคด้วยค่ะ

citrus ก็เป็นคนหนึ่งที่ชอบร้องเพลงตั้งแต่เด็กๆ จนถึงทุกวันนี้ ร้องเอง ฟังเอง ก็ได้ผ่อนคลายแล้วค่ะ เคยไปเรียนร้องเพลงกับ อ.ดุษฎี พนมยงค์ เลยได้เคล็ดเพิ่มเติมว่า เวลาร้องเพลงที่แต่งแบบปราณีต ถ้าเราจินตนาการให้เห็นภาพตามเนื้อร้อง มันจะยิ่งได้อารมณ์มากขึ้น เพลงที่อาจารย์นำมาใช้สอน เป็นเพลงเก่าๆ เช่น ลุ่มเจ้าพระยา หนึ่งในร้อย บัวขาว ชอบทุกเพลงเลยค่ะ แต่ที่อาจารย์ไม่ได้สอน แล้วชอบฟังพร้อมจินตนาการ ก็คือ เพลง มนต์รักลูกทุ่งค่ะ

เสียงดนตรีทำให้เด็กมีพัฒนาการที่ดีครับ

  • ขอบคุณ คุณ citrus ที่เห็นความสำคัญและประโยชน์ของดนตรีค่ะ
  • ขอบคุณ คนพลัดถิ่นที่แวะมาให้กำลังใจเสมอๆค่ะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท