เทคนิคกิจกรรมฝึกอบรม


การจัดกิจกรรมด้วยหลัก 4ส

                    ผมเป็นวิทยากรด้านกลุ่มสัมพันธ์บ่อย ๆ คนส่วนใหญ่เห็นว่าความสนุกสนานอย่างเดียวองค์กรจะได้ประโยชน์อะไร แต่ผมมีวิธีการจัดกิจกรรมและการสรุปผลด้วยหลักการง่าย ๆ ที่ได้ทั้งความสนุกและประโยชน์อื่น ๆ ขององค์กร ด้วยหลักการ 4 ส ดังนี้

                    1. ส. ส่วนร่วม โดยเน้นการมีบทบาทของผู้เข้าร่วมกิจกรรมทุกคนให้มากที่สุด โดยการใช้กิจกรรมที่ต้องคิด แสดงออก ร่วมกัน

                    2. ส. สาระ  กิจกรรมนั้น ๆ ต้องสรุปให้ได้ว่าให้ทำเพื่ออะไร

                    3. ส. สร้างสรรค์ ต้องเป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมความคิดเชิงบวก ผู้ร่วมกิจกรรมรู้สึกภูมิใจ เต็มใจในการปฏิบัติ (ผมไม่ชอบใช้กิจกรรมที่ให้มีการแสดงท่าทางตลก เพราะบางคนรู้สึกอาย)

                    4. ส. สนุกสนาน อันนี้ขึ้นอยู่กับความสามารถของวิทยากรที่จะสร้างบรรยากาศได้

                     จากที่ผมเป็นวิทยากรมา ทุกครั้งผมจะสำรวจตัวเองเสมอว่าทำได้ครบทั้ง 4 ส หรือเปล่า และต้องปรับเปลี่ยนกิจกรรมให้เหมาะสมกับกลุ่มผู้อบรมทุกครั้ง

หมายเลขบันทึก: 205343เขียนเมื่อ 3 กันยายน 2008 16:14 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 ตุลาคม 2018 13:21 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

สวัสดีครับ

ผมเป็นหนึ่งที่สนใจในเรื่องทำกิจกรรม ผมก็เคยเป็นผมถูกอบรม และ เป็นผู้อบรม แต่ผมไม่รู้จะเอาวิธีการยังไงมาช่วยให้เด็ก ทำได้ครบ 4 ส ท่านมีความคิดเห็นยังไงครับ

ช่วยแนะนำหน่อยเพื่อเป็นวิทยาทานในการอบรม

ผมมีโครงการหนึ่ง คือ โครงการปัจฉิม นักเรียน เราจะทำอย่างไรครับ

ขอบคุณร่วงหน้าครับผม

วัตถุประสงค์ประการหนึ่งของการปัจฉิมนิเทศ คือ การเตรียมความพร้อมในการเข้าสู่สังคม (สังคมของการทำงาน) ซึ่งแตกต่างจากสังคมในสถาบันการศึกษา ดังนั้นนักศึกษาต้องเข้าใจในบทบาทของการแสดงพฤติกรรมที่เหมาะสม และการปรับตัวเพื่ออยู่ร่วมกับผู้อื่น

ผมคิดว่าน่าจะใช้เวลาทำกิจกรรม ประมาณ 2 ชั่วโมง ตามขั้นตอนดังนี้

จัดห้องประชุมแบบตัว U เก้าอี้อย่างเดียว ไม่ต้องใช้โต๊ะ

1.เริ่มด้วยกิจกรรมการวิเคราะห์ตนเองของนักศึกษา โดยแจกกระดาษคนละ 1 แผ่น ให้วาดหน้าของตัวเอง พร้อมเขียนชื่อและเขียนข้อดี ข้อเสียของตนเองที่มีอย่างละ 5 ข้อ หลังจากนั้น ให้นักศึกษานำไปแลกกับเพื่อน ๆ โดยการส่งต่อไปเรื่อย ๆ เมื่อมีเสียงนกหวีด หรือ สัญญาณเพลงจบ ให้ทุกคนดูว่าภาพที่ถืออยู่ในมือนั้นเป็นภาพของใคร ให้อ่านข้อดี ข้อเสียที่เจ้าของภาพเขียนไว้พร้อมวิเคราะห์เพิ่มเติมด้วยความคิดเชิงบวก เช่น เขียนให้กำลังใจในข้อเสีย หรือแนะนำวิธีแก้ ชื่นชมในข้อดี หรือเขียนแซวแบบสนุกสนานก็ได้ แล้วลงชื่อผู้วิเคราะห์ หลังจากนั้นอาจารย์สุ่มมาอ่านซัก 4 – 5 ใบ แบบขำ ๆ ก่อนให้ทุกคนนำไปคืนเจ้าของ กิจกรรมนี้ใช้เวลา 30 นาที

2.เริ่มแบ่งกลุ่ม อาจแบ่งด้วยวิธีนับเลข หรือ ใช้กิจกรรมเพลงก็ได้ กิจกรรมกลุ่มใช้ขั้นตอนนี้ครับตั้งชื่อกลุ่ม - เลือกหัวหน้ากลุ่ม – เขียนสัญลักษณ์กลุ่ม – กำหนดจุดแข็ง จุดอ่อนของกลุ่ม ซึ่งได้จากข้อดี ข้อเสียที่แต่ละคนเขียนมา มารวมกัน ถ้าข้อดีตรงกันหลายข้อให้ใช้เป็นจุดแข็งของทีม ถ้าข้อเสียตรงกันหลายข้อให้ใช้เป็นจุดอ่อนของทีม แต่ละกลุ่มต้องนำ Present ให้อาจารย์ฟัง (อาจารย์สรุปด้วยนะครับ)

3.ให้แต่ละกลุ่มทำกิจกรรมเพื่อทดสอบศักยภาพทีมประมาณ 2 – 3 กิจกรรม (กิจกรรมนี้เน้นความสนุกสนานแต่อาจารย์ต้องสรุปผลให้ได้นะครับ)

4.เหลือเวลาในช่วงท้ายประมาณ 30- 45 นาที เพื่อบรรยายความรู้ แต่ไม่ต้องบรรยายแบบวิชาการหรือเป็นทางการมาก ใช้วิธีการพูดแบบสบาย ๆ หรือให้ตัวแทนนักศึกษามาแสดงความคิดเห็นในเรื่องต่าง ๆ บ้างก็ได้

ผมอธิบายสั้น ๆ แค่นี้นะครับ......เหนือเหนือจากนี้ อาจารย์สามารถประยุกต์เพิ่มเติมได้ครับ ...ขอบคุณครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท