KM (แนวปฏิบัติ) วันละคำ : ๕๖๐. Mental Model เกี่ยวกับความรู้


          เอกสาร “ร่างธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ” ที่ สช. ใช้ในการประชุมปฏิบัติการวันนี้ (๒๗ ส.ค. ๕๑) กระตุ้นให้ผมเขียนบันทึกนี้   เพราะในหัวข้อ “การสร้างและเผยแพร่องค์ความรู้ด้านสุขภาพ” หน้า ๒๙ – ๓๔ มีข้อความที่ผมเรียกว่า มีลักษณะ “Research-oriented” และ “Professional Knowledge Oriented”   ไม่เอ่ยถึงความรู้จากมุมของ KM Oriented หรือ Practice-Based Knowledge เลย   เป็นการคิดถึงความรู้แบบที่ผูกติดกับคนชั้นสูง คนมีการศึกษาสูง คนที่เป็นกลุ่มวิชาชีพ    ไม่เข้าใจคุณค่าของามรู้ปฏิบัติ ที่อยู่ในชีวิตของคนธรรมดา

          ยิ่งความรู้เกี่ยวกับสุขภาพ เกี่ยวกับการสร้างสุขภาพ ยิ่งมีอยู่ในคนธรรมดามากมาย    เป็นความรู้ที่ยึดโยงอยู่กับชีวิตความเป็นอยู่ของเขา    ที่ไม่มีอยู่ในตำราใดๆ    และหมอ พยาบาล และบุคลากรด้านสุขภาพก็ไม่มีความรู้เหล่านี้    เพราะไม่ได้มีวิถีชีวิตเหมือนกับคนธรรมดา หรือผู้ป่วย เหล่านั้น   

          ร่างธรรมนูญฯ น่าจะแสดงจุดยืนที่ยอมรับและยกย่องความรู้ปฏิบัติที่รวบรวมและยกระดับได้โดยกระบวนการ KM ด้วย    ให้เท่าเทียมกับความรู้ได้ได้จากการวิจัย

          นี่คือ Mental Model ที่สมดุล เกี่ยวกับความรู้

 

วิจารณ์ พานิช
๒๗ ส.ค. ๕๑

ปรับปรุงแก้ไข ๒ ก.ย. ๕๑

 

หมายเลขบันทึก: 204957เขียนเมื่อ 2 กันยายน 2008 08:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 มิถุนายน 2012 09:58 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ทำนองเดียวกัน ความรู้การแพทย์ ในระบบสุขภาพ ก็ควรสมดุล ระหว่าง ความรู้ดั้งเดิม อย่างง่าย เพื่อสุขภาพ ครอบคลุม แพร่หลาย เข้าถึงง่ายกว่า และ ความรู้วิทยาศาสตร์การแพทย์สมัยใหม่ อย่างแพง พึ่งพาเทคโนโลยี แต่ไม่ทั่วถึงเพียงพอ

แพทย์ส่วนหนึ่ง หรือ ส่วนใหญ่ ดูแล ผป ตามมาตรฐานฝรั่ง แม้มีปัญหาแทรกซ้อนอะไร ฟ้องร้องขึ้นมา ก้อาจจะเอาตัวรอดได้ ค่าใช้จ่ายกับระบบ ก็ยิ่งแพงไปตามลำดับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท