การคิดวิเคราะห์


บทคัดย่องานวิจัย

สายสมร  ปาระมี : ผลการใช้แผนผังความคิดที่มีต่อความสามารถในการคิดวิเคราะห์   

กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์  ชั้นประถมศึกษาปีที่  6  โรงเรียนวัดขี้เหล็ก 

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา  ลำพูน  เขต  1

               

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์  เพื่อศึกษาผลของการใช้แผนผังความคิดที่มีต่อความสามารถในการคิดวิเคราะห์  กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  6  โรงเรียนวัดขี้เหล็ก  และศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้แผนผังความคิด

กลุ่มตัวอย่าง  เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  6  โรงเรียนวัดขี้เหล็ก  สำนักงานเขตพื้นที่

การศึกษาลำพูน  เขต  1  ปีการศึกษา  2550  จำนวน  42  คน ผู้วิจัยทำการสุ่มอย่างง่าย  (simple  random  sampling) นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/2 เป็นกลุ่มทดลอง และนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  6/1  เป็นกลุ่มควบคุม  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่  แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้แผนผังความคิด  แบบทดสอบวัดความสามารถในการคิดวิเคราะห์  แบบประเมินผลงานนักเรียนซึ่งใช้ประเมินความสามารถในการคิดวิเคราะห์ จากการสร้างแผนผังความคิด  แบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้แผนผังความคิด  สถิติที่ใช้ในการวิจัย  คือ เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างคะแนนความสามารถในการคิดวิเคราะห์  ก่อนเรียนของกลุ่มตัวอย่าง   โดยใช้ค่าที (t – test independent) ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .05 เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างคะแนน  ความสามารถในการคิดวิเคราะห์  หลังเรียนของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ค่าที (t – test independent)             ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ  .05  เปรียบเทียบคะแนนความสามารถในการคิดวิเคราะห์  ก่อนเรียน  และหลังเรียน  ของกลุ่มทดลองโดยใช้ค่าที  (t – test  dependent)  ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ  .05  วิเคราะห์ข้อมูลจากการประเมินผลงานการสร้างแผนผังความคิดของนักเรียน โดยการหาค่าเฉลี่ย  (Mean)  และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  (Standard  Devition)  วิเคราะห์ข้อมูลจากแบบสอบถาม          ความคิดเห็นของนักเรียนโดยการหาค่าเฉลี่ย  (Mean)  และ  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  (Standard  Devition) 

ผลการวิจัยพบว่า

1.       นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  6  มีคะแนนความสามารถในการคิดวิเคราะห์  ก่อนเรียน

ไม่แตกต่างกัน

2.       นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  6  ที่ได้รับการฝึกการใช้แผนผังความคิดมีความสามารถ

ในการคิดวิเคราะห์  หลังเรียน แตกต่างกันกับนักเรียนที่ไม่ได้รับการฝึกการใช้แผนผังความคิด  อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ  .05 

3.       นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  6  ที่ได้รับการฝึกการใช้แผนผังความคิดมีความสามารถ

ในการคิดวิเคราะห์  ก่อนเรียน  และหลังเรียน  แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ  .05

4.       การประเมินผลงานนักเรียนจากการสร้างแผนผังความคิด  มีระดับคะแนนเฉลี่ย 

(Mean)  เท่ากับ  3.40  แสดงว่านักเรียนมีความสามารถในการคิดวิเคราะห์  อยู่ในระดับมาก  และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  (Standard  Devition)  เท่ากับ  0.53 

5.  นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  6  ที่ได้รับการฝึกการใช้แผนผังความคิด  เห็นด้วยกับการสร้างแผนผังความคิด  อยู่ในระดับมาก  (  เฉลี่ย= 4.43,  S.D = 0.61)

 

คำสำคัญ (Tags): #mind map
หมายเลขบันทึก: 204329เขียนเมื่อ 30 สิงหาคม 2008 13:14 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 17:10 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (9)

สุดยอดเลยครับพี่ เป็นงานวิจัยที่ดีครับ ถ้าเอาไปใช้กับคณิตศาสตร์ก็คงดีครับ

พอดีผมสอนคณิตศาสตร์ เดี๋ยวจะขอคำแนะนำจากพี่นะครับ

ขอบคุณมากสำหรับกำลังใจที่ให้ อยากทราบอะไรเกี่ยวกับงานวิจัยเชิญถามได้นะคะ

เยี่ยมมากเลย น้าของเรา ขอให้ขี้เหล็ก จงเจริญ

ได้อาจารย์ 4 เร็ว ๆ นะคะ

แนนเองจ้า

สอนยากไหมครับ การใช้แผนผังเนี่ย

เล่าสู่กันฟังบ้างนะครับ เผื่อมีคนปิ๊งไอเดีย จะได้นำไปใช้

ขอบคุณครับ

สอนไม่ยากค่ะ แต่ต้องให้ความรู้พื้นฐานการเขียน Mind Map ก่อนแล้วจึงเริ่มให้เขียนเรื่องที่ใกล้ตัว เช่น ประวัติของฉัน สิ่งที่ฉันชอบ ฯลฯ แล้วบอกเกณฑ์การประเมิน มีการประเมินแก้ไขจุดบกพร่องและมีตัวอย่างที่ถูกต้องให้ดู เท่านี้ก็เขียนได้แล้วค่ะ

สวัสดีค่ะ

วิจัยไม่ใช่เรื่องยากจริงเหรอค่ะ ฮิๆ

เทอมหน้านี้ต้องได้ทำวิจัยแล้ว

เขาให้คิดไว้ว่าจะทำเรื่องอะไรยังคิดไม่ออกเลยค่ะ

ยังงี้สงสัยต้องมาขอคำแนะนำนะค่ะ อิอิ

ขอบคุณค่ะ...

เชิญปรึกษาได้ค่ะ..เรียน ป. โท ใช่ปล่าว..

ผลงานเป็นประโยชน์ดีมากค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท