แถลงการณ์ คณาจารย์และนักวิชาการทางการแพทย์และสาธารณสุข


85 คณาจารย์ และนักวิชาการทางการแพทย์และสาธารณสุข เรียกร้องรัฐบาลเสียสละเพื่อให้เกิดกระบวนการที่นำไปสู่การร่วมมือกัน เพื่อสร้างระบบการเมืองและกติกาใหม่ที่ทุกกลุ่มยอมรับ

       
       แถลงการณ์ คณาจารย์และนักวิชาการทางการแพทย์และสาธารณสุข
       เรื่อง สถานการณ์ความขัดแย้งของบ้านเมือง

       
       ด้วยคณาจารย์และนักวิชาการทางการแพทย์ สาธารณสุขและสังคมศาสตร์ ดังมีรายนามต่อท้ายแถลงการณ์ฉบับนี้ มีความวิตกกังวลกับสถานการณ์และความขัดแย้งของบ้านเมืองในขณะนี้ ว่า จะนำไปสู่ความรุนแรง และการต่อสู้กันของชนในชาติในท้ายที่สุด และอาจส่งผลเสียหายแก่ประเทศชาติและสังคมไทยอย่างหนักหนาสาหัสมากกว่าทุกครั้งที่ผ่านมา
       
       เราเห็นว่า ความขัดแย้งในขณะนี้เป็นความขัดแย้งทางการเมือง และเป็นความขัดแย้งในระดับหลักการพื้นฐานของระบบการเมืองไทย ที่ประชาชนกลุ่มหนึ่งซึ่งมีเป็นจำนวนมากทั่วประเทศ ในนามของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย เห็นว่า ระบบการเมืองในปัจจุบันมีปัญหาเพราะถูกบิดเบือนและครอบงำจากการซื้อเสียงและอำนาจทุน จนไม่อาจอาศัยกลไกทางรัฐสภาโดยวิธีปกติ หรือหนทางตามกระบวนการยุติธรรมเป็นทางออกในการนำไปสู่ระบบการเมืองใหม่ และแก้ไขปัญหาสำคัญของชาติได้ ทำให้ประเทศชาติในปัจจุบันต้องเผชิญกับปัญหารุนแรงหลายประการ ทั้งการรักษาอธิปไตยเหนือดินแดน การปกป้องสถาบันพระมหากษัตริย์ การใช้งบประมาณของรัฐอันส่อไปในทางทุจริตและประชานิยมเพื่อหวังคะแนนเสียงและกลับมากุมอำนาจรัฐใหม่
       
       เมื่อประชาชนกลุ่มดังกล่าว เห็นว่า ไม่สามารถหาทางออกได้จากระบบการเมืองปัจจุบันและเห็นว่าปัญหาของประเทศได้ทวีความรุนแรงมากขึ้นเป็นลำดับ ประชาชนกลุ่มนี้จึงได้กดดันนอกสภา เพื่อให้รัฐบาลลาออกและหวังให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองที่ดีขึ้น การกดดันดังกล่าวได้กระทำต่อเนื่องยาวนานกว่าเก้าสิบวันโดยรัฐบาลเพิกเฉยไม่สนใจ ทำให้การกดดันได้ทวีความเข้มข้นขึ้นเป็นลำดับ จนเสี่ยงจะเกิดวิกฤติสถานการณ์ความรุนแรงขึ้นในขณะนี้
       
       เราในฐานะคณาจารย์และนักวิชาการทางการแพทย์ สาธารณสุขและสังคมศาสตร์ ดังรายชื่อแนบท้าย เห็นว่า ปัญหาทางการเมืองขณะนี้ ควรแก้ไขโดยวิถีทางทางการเมืองเท่านั้น การบังคับใช้กฎหมายหรือใช้หลักนิติศาสตร์ในสถานการณ์เช่นนี้จะไม่อาจแก้ไขสถานการณ์ให้ดีขึ้นได้และจะนำไปสู่ความรุนแรงให้ขยายตัวมากยิ่งขึ้น เพราะความขัดแย้งขณะนี้เป็นความขัดแย้งในระดับหลักการพื้นฐานของระบบการเมืองไทย รัฐบาลอาจต้องเสียสละเพื่อให้เกิดกระบวนการที่นำไปสู่การร่วมมือกันเพื่อสร้างระบบการเมืองและกติกาใหม่ที่ทุกกลุ่มยอมรับ
       
       รายนามคณาจารย์และนักวิชาการทางการแพทย์และสาธารณสุข
       
       ชื่อ-สกุล หน่วยงาน
       1. นพ.ปูม มาลากุล ณ อยุธยา คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
       2. ศ.พญ.เพ็ญศรี พิชัยสนิธ นักวิชาการอิสระ
       3. นพ.หทัย ชิตานนท์ สถาบันส่งเสริมสุขภาพไทย
       4. ศ.นพ.สมเกียรติ วัฒนศิริชัยกุล คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
       5. นพ.ศิริวัฒน์ ทิพย์ธราดล สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข
       6. ผศ.ดร.ลักขณา เติมศิริกุลชัย คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
       7. ผศ.ดร.มณฑา เก่งการพานิช คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
       8. รศ.ธราดล เก่งการพานิช คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
       9. ผศ.ฉวีวรรณ บุญสุยา คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
       10. ศ.ดร.อรษา สุตเธียรกุล คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
       11. อ.พรรณี บุญสุยา มหาวิทยาลัยศรีปทุม
       12. ดร.ศรัณญา เบญจกุล ศูนย์วิจัยและจัดการความรู้เพื่อการควบคุมยาสูบ ม.มหิดล
       13. รศ.วชิระ สิงหะคเชนทร์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
       14. ผศ.นิวัฒน์ อุณฑพันธ์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
       15. อ.เกษแก้ว เสียงเพราะ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร
       16. ผศ.ดร.ปัญญารัตน์ ลาภทวีวงศ์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
       17. รศ.ดร.สุนีย์ ละกำปั่น คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
       18. รศ.ดร.ประสิทธิ์ ลีระพันธ์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
       19. รศ.ดร.สุปรียา ตันสกุล คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
       20. ผศ.ดร.ภรณี วัฒนสมบูรณ์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
       21. ผศ.ดร.บุษบา สงวนประสิทธิ์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
       22. ผศ.ดร.พิมพ์สุภาว์ จันทนโสตถิ์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
       23. ผศ.ดร.อาภาพร เผ่าวัฒนา คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
       24. ผศ.เฟื่องฟ้า อุตรารัชกิจ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
       25. ดร.ปาหนัน พฤฒิภิญโญ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
       26. อ.ศุภชัย แสงรัตนกุล คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
       27. รศ.ดร.นัยนา บุญทวียุวัฒน์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
       28. ผศ.ดร.สุคนธา คงศีล คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
       29. ผศ.อังสนา บุญธรรม คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
       30. รศ.ดร.ปาริชาต สถาปิตานนท์ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
       31. รศ.ดร.ภูษิตา อินทรประสงค์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
       32. รศ.ดร.เนาวรัตน์ พลายน้อย คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
       33. รศ.ดร.ธีรเดช ฉายอรุณ คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
       34. ภก.คทา บัณฑิตานุกูล เครือข่ายวิชาชีพเภสัชกรรมเพื่อการควบคุมยาสูบ
       35. ทพญ.เรวดี ต่อประดิษฐ์ เครือข่ายวิชาชีพทันตแพทย์เพื่อการควบคุมยาสูบ
       36. ผศ.ดร.กนกนาฏ จินตนานนท์ ศูนย์เทคโนโลยีทางทันตกรรมขั้นสูง
       37. รศ.สิริประภา กลั่นกลิ่น คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
       38. ผศ.อำนาจ วังจีน มหาวิทยาลัยศรีปทุม
       39. ผศ.บันเทิง แก่นสาร มหาวิทยาลัยศรีปทุม
       40. ผศ.ดร.สงวน ธานี คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
       41. รศ.ดร.อาภรณ์ ดีนาน คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
       42. ดร.กรกนก ลัธธนันท์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพฯ
       43. รศ.ดร.ประมุข โอศิริ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
       44. รศ.พญ.กนกรัตน์ ศิริพานิชกร คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
       45. ภญ.ชวนชม ธนานิศักดิ์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
       46. ผศ.ดร.นิยดา เกียรติยิ่งอังศุลี คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
       47. รศ.ดร.วิทยา กุลสมบูรณ์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
       48. นางเสาวนีย์ กุลสมบูรณ์ นักวิชาการสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข
       49. ผศ.ดร.วรรณา ศรีวิริยานุภาพ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
       50. รศ.ดร.เนาวรัตน์ เจริญค้า คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
       51. รศ.ดร.นิภาพรรณ กังสกุลนิติ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
       52. รศ.พญ.ชุติมา ศิริกุลชยานนท์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
       53. ดร.ภิฤดี ภวนานันท์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
       54. รศ.ดร.ทัศนีย์ นนทสร นักวิชาการอิสระ
       55. ผศ.วิภาพร เอกศิริวรานนท์ วิทยาลัยพยาบาลสภากาชาดไทย
       56. รศ.บรรดล สุขปิติ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม
       57. ผศ.ดร.เกศินี จุฑาวิจิตร (ประทุมสุวรรณ) มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม
       58. รศ.ดร.นันทวรรณ วิจิตรวาทการ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
       59. ทพญ.จินตนา โพคะรัตน์ศิริ ศูนย์บริการสาธารณสุข 11 กรุงเทพมหานคร
       60. อ.ดวงดาว รุ่งเจริญเกียรติ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม
       61. อ.ณัชชา ศิริธราธร มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม
       62. คุณธิติมา สิงนวน นักวิชาการอิสระ
       63. คุณชุติมน ศรีศิริสิทธิกุล นักวิชาการอิสระ
       64. ผศ.ดร.ยุทธนา หมั่นดี คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
       65. รศ.ดร.เกรียงไกร กิจเจริญ คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
       66. ผศ.บุษบา มาตระกูล มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
       67. รศ.ทพญ.เพ็ญพรรณ เลาหพันธ์ คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
       68. ทพญ.ศิริเพ็ญ อรุณประพันธ์ เครือข่ายวิชาชีพทันตแพทย์เพื่อการควบคุมยาสูบ
       69. รศ.ยุพา เอื้อวิจิตรอรุณ คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
       70. ผศ.ดร.อภิญญา จำปามูล คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
       71. อ.ดร.ชนกฤทัย ชื่นอารมณ์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
       72. นายสาโรจน์ นาคจู นักวิชาการอิสระ
       73. นายณัฐพล เทศขยัน นักวิชาการอิสระ
       74. ผศ.ดร.พิมพ์สุรางค์ เตชะบุญเสริมศักดิ์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
       75. ดร.อุทัยวรรณ เจริญสุข วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร ชลบุรี
       76. นางสาวประภาพรรณ เอี่ยมอนันต์ นักวิชาการอิสระ
       77. อ.ดร.ขวัญใจ อำนาจสัตย์ซื่อ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
       78. อ.กรรณิการ์ บันเทิงจิต นักวิชาการอิสระ
       79. คุณปภาวี ไชยรักษ์ นักวิชาการอิสระ
       80. อ.ธัญญทร คำพวง มหาวิทยาลัยศรีปทุม
       81. อ.วันเพ็ญ อนันตกานต์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม
       82. คุณศิริชัย พรรณธนะ กระทรวงสาธารณสุข
       83. อ.สุภาภรณ์ คำพวง มหาวิทยาลัยศรีปทุม
       84. อ.ยุพิน วังจีน โรงเรียนสายปัญญา
       85. อ.ธนพล สมหวัง มหาวิทยาลัยศรีปทุม

หมายเลขบันทึก: 204102เขียนเมื่อ 28 สิงหาคม 2008 23:18 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 18:34 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ผมพันธมิตรครับ สู้ สู้ ๆ ต่อเอาประ เทศ ไทยของเราคืนมา เราสนับสนุนอารยะขัดขืน

ขอบคุณครับ

ร่วมด้วยครับ

สวัสดี ครับ

ผู้อยากเสนอแนวคิด แก้ไขปัญหาทางการเมืองได้แบบยั่งยืน กล่าวคือ ต้องมีระบบการคัดกรองนักการเมือง(Politician Filtration) ก่อนให้นักการเมือง เข้าสู่แวดวงการเมือง อย่างน้อยจะได้นักการเมืองที่ได้มาตรฐานหนึ่ง ก่อนเข้าสู้ทางการเมืองของบุคคลเหล่านี้

กรุณาอ่านรายละเอียด ได้ ที่ www.smartthailand.blogspot.com

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท