มาเริ่มเขียนบทที่ 2


การทบทวนวรรณกรรม (Literature Review) หมายถึง การค้นคว้าศึกษา รวบรวมและประมวลผลงานทางวิชาการ เช่น ผลงานวิจัย บทความเอกสารทางวิชาการ และตำราที่เกี่ยวข้องกับเรื่องหรือประเด็นที่ทำการวิจัย

ความสำคัญ

               บทนี้สำคัญมาก เพราะจะใช้ในการวิเคราะห์และอภิปรายผลการวิจัย เช่น

               ใช้อภิปรายสาเหตุที่อาจจะเป็นไปได้ในการเกิดผลวิจัยรูปแบบนี้ หรือ

   ใช้เขียนสนับสนุนผลการวิจัย ทำให้งานวิจัยเราดูหนักแน่นยิ่งขึ้น

              

               1. หลีกเลี่ยงการทำซ้ำซ้อน 

               2. เพื่อหาข้อเท็จจริง

               3.   เป็นการสร้างคุณภาพและมาตรฐานทางวิชาการให้แก่งานวิจัยนั้น

วัตถุประสงค์ของการทบทวนวรรณกรรม

การแสวงหาพื้นฐานทางทฤษฎีหรือแนวคิดรองรับการวิจัยใหม่

การแสวงหาสถานภาพทางการวิจัยในเรื่องหรือหัวข้อนั้น การทบทวนวรรณกรรมจะช่วยให้เราทราบทิศทางของการวิจัย และสถานภาพขององค์ความรู้ในเรื่องนั้น ๆ ในขณะที่เราทำวิจัย

 

การแสวงหาแนวทางการวิจัย

1.ขั้นค้นหา
ผู้วิจัยจะต้องจำกัดขอบเขตของเนื้อหาที่ต้องการศึกษาก่อนลงมือค้นคว้า เพื่อให้การค้นหาวรรณกรรมมีความเฉพาะเจาะจง จะช่วยประหยัดเวลาการรวบรวมวรรณกรรมต่างๆ จากนั้นผู้วิจัยจะต้องค้นหาข้อมูล วรรณกรรมและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องในเรื่องที่จะทำทั้งหมด โดยพยายามให้ครอบคลุมทั้งเนื้อหา ประเด็นต่างๆ ที่ควรกำหนดไว้ในปัญหาและวัตถุประสงค์ รวมถึงครอบคลุมระยะเวลาของการวิจัยที่ทำมาแล้ว
ความครอบคลุมในแง่ของเวลาไม่สามารถกำหนดแน่นอนว่า ควรค้นหางานวิจัยย้อนหลังไปนานสักกี่ปี ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปัญหาการวิจัยนั้นมีผู้เคยศึกษาไว้มากน้อยเพียงใด ถ้ามีผู้ศึกษาไว้มากและศึกษาติดต่อกันมาเรื่อยๆ คงใช้เวลาครอบคลุม 3 ถึง 5 ปี แต่ถ้ามีผู้ศึกษาไว้น้อย และเว้นระยะห่าง อาจใช้เวลาย้อนหลังไปมากกว่านั้น มีข้อสังเกต ว่าถ้าเป็นข้อมูลเกี่ยวกับทฤษฎีหรือแนวความคิดเชิงทฤษฎี หรือรูปแบบจำลอง ที่ผู้วิจัยจะต้องนำมาใช้ในงานวิจัย จำเป็นที่จะต้องรวบรวมวรรณกรรมที่เป็นต้นฉบับเหล่านั้นมาให้ได้ ไม่ว่าจะศึกษามานานแค่ไหนก็ตาม
การศึกษาค้นคว้ามาก-น้อย ขึ้นอยู่กับ
1. ภูมิหลังของผู้วิจัย
2. ความซับซ้อนของงานวิจัยที่จะทำ ถ้าเป็นเรื่องใหม่ไม่เคยมีคนทำ การค้นคว้าอาจไม่กว้างมาก
3. วรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง มีการตีพิมพ์มากหรือน้อย ถ้ามีคนศึกษาวิจัยมาก ต้องค้นมาก
สิ่งสำคัญในการพิจารณา : ไม่เน้นจำนวน เน้นคุณภาพโดยดูจากการมีผู้รับรอง และเนื้อหามีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับงานที่จะทำ

1.      แหล่งศึกษาค้นคว้าที่สำคัญคือ ห้องสมุด เพราะเป็นที่รวมของหนังสือ ตำรา วรรณกรรมต่างๆ รวมถึง วารสาร รายงานการวิจัย วิทยานิพนธ์ รายงานสถิติต่างๆ ผู้วิจัยสามารถค้นหาความรู้เกี่ยวข้องกับปัญหาการวิจัยจากแหล่งย่อยๆ ต่อไปนี้
3.1 หนังสือ ตำราเกี่ยวข้องกับหัวข้อวิจัย
3.2 ปทานุกรม ที่รวบรวมผลงานวิจัยสาขาต่างๆ และสารานุกรมที่เกี่ยวข้อง
3.3 วารสารทางการวิจัยสาขาต่างๆ ตลอดจนจุลสารและวรรณกรรมเผยแพร่
3.4 ปริญญานิพนธ์ วิทยานิพนธ์ ของผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท และเอก
3.5 หนังสือรวมบทคัดย่อปริญญานิพนธ์ วิทยานิพนธ์
3.6 หนังสือพิมพ์ นิตยสาร อาจมีบทความบางเรื่องใช้อ้างอิงได้

 

แหล่งที่มาของการทบทวนวรรณกรรม

1.      บทความทางวิชาการสาขาวิชานั้นและสาขาวิชาอื่นที่เกี่ยวข้อง

2.      งานวิจัย  วิทยานิพนธ์ 

แหล่งศึกษาค้นคว้า

สามารถค้นคว้าหาข้อมูลได้จากแหล่งต่างๆ เช่น

1. ปฐมภูมิ (primary source) ศึกษาจากบทความ รายงานจากผู้ต้นคิดเขียนเอง เจ้าของทฤษฎี เจ้าของงานวิจัย

2. ทุติยภูมิ (secondary source) ได้แก่ ข้อความที่อ้างจากของผู้อื่นมาอีกครั้ง ในการทำวิจัยพยายามเลี่ยงข้อมูลทุติยภูมิ เพราะผู้อ้างจะมีความคิดเห็นของเขาปนเข้ามา การตีความของผู้อ้างอาจมีการบิดเบือนหรือตีความผิด แต่ อาจใช้ได้กรณีไม่สามารถหาข้อมูลปฐมภูมิได้ หรือ ผู้เขียนคนที่สอง มีข้อแสดงความคิดเห็นสามารถอ้างอิงได้และจะกลายเป็นข้อมูลปฐมภูมิ

 วิธีการเขียน

เวลามีใครถามถึงวิธีการเขียน Literature review ผมจึงบอกเพียงวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายของการเขียน   ส่วนวิธีการเขียนผมให้เป็นหน้าที่ของเขา แน่นอนครับผมก็มี Style ของผม ผมจะพยายามไม่ให้กรอบแก่เขา ผมว่ามันเป็นศิลปะ และผมก็เห็นความสวยงามของความแตกต่างครับ พี่น้อง

รูปแบบที่ดีที่สุดของการเขียน Literature review ก็คืออย่าไปติดกับรูปแบบ แต่ควรเป็นการ"เล่าเรื่อง" ว่าเรา (และคนก่อนหน้าเรา) กำลังมายืนที่ทางแพร่งตรงนี้ได้อย่างไร โดยทุกคำล้วนมีหลักฐานหรือแจกแจงระบบคิดให้ชัด

               ควรเขียนแบ่งหัวข้อตามกลุ่มเนื้อหาที่เราได้วางกรอบแนววิจัยเอาไว้แล้ว

และในแต่ละหัวข้อหลักๆ เนื้อหาจะต้องเขียนโดยการอ้างทฤษฎีและประกอบด้วยหลักฐานทางงานวิจัยที่ผ่านมาไม่ว่าจะเป็นข้อสนับสนุนหรือข้อโต้แย้ง

               นอกจากนี้ ในแต่ละย่อหน้าก็ต้องมีการเชื่อมประโยคเพื่อให้เห็นแนวการไหลของกระบวนการคิดอย่างสอดคล้อง

การทบทวนวรรณกรรมนี้ผู้ทำวิจัยควรสรุปงานวิจัยที่ตนกำลังทบทวน (Review) ด้วยถ้อยคำของตนเอง (Rewrite) ไม่ควรตัดตอน หรือคัดลอกข้อความมาจากต้นฉบับทั้งดุ้น หรือคัดลอกการทบทวนวรรณกรรมของคนอื่นมาเป็นการทบทวนของตนเองซึ่งถือว่าเป็นการขโมยผลงานหรือความคิดของผู้อื่น (Plagiarism)

วิธีการเขียนเสนอการทบทวนวรรณกรรม

                        1.   รูปแบบการเสนอเอกสาร อาจกล่าวว่าเป็นรูปสามเหลี่ยม คือ เริ่มจากฐานที่กว้างก่อน แล้วค่อยตีวงให้แคบ จนท้ายสุดมาหยุดตรงปัญหาทางการวิจัยของผู้วิจัยซึ่งเป็นยอดของรูปสามเหลี่ยม

                        2.   การทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องควรจะวางไว้ตอนต้นของเค้าโครงการวิจัยเพราะการประมวลเอกสารจะช่วยให้ผู้วิจัยเขียนส่วนอื่นๆของเค้าโครงการวิจัยต่อไปได้

                        3.   ถ้าผู้วิจัยต้องการให้ทราบถึงพัฒนาการของแนวคิดหรือผลการวิจัย สามารถทำได้โดยเรียบเรียงปีพ..จากปีต้นๆ เรื่อยมาถึงปัจจุบันเพื่อดูพัฒนาการทางวิชาการ และตัวแปรที่สำคัญว่าเป็นเช่นไร และมีผลเป็นอย่างไร

 

2.ขั้นเขียนเรียบเรียง

ข้อมูลที่วิเคราะห์ออกมาได้ทั้งหมดจากการอ่าน ผู้วิจัยต้องนำมาเรียบเรียงเชื่อมโยงประสานเข้าด้วยกัน เนื้อหาการเขียน แต่จะต้องมีโครงสร้างหลักในการเขียนเป็นของผู้วิจัยเอง ที่กำหนดโดยใช้ความคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ความรู้ที่ได้จากการอ่าน ค้นคว้า ให้เข้าประเด็นปัญหาวิจัยของตน และเรียบเรียงเนื้อหาเชื่อมโยงเข้าด้วยกัน ในเชิงวิเคราะห์ วิจารณ์ มิใช่เป็นการนำข้อค้นพบที่บันทึกไว้ของแต่ละส่วนมาเรียงต่อกัน

ความยากของการเขียนเรียบเรียงสิ่งที่อ่านและวิเคราะห์ออกมาได้ทั้งหมดอยู่ที่การวางโครงสร้างของเรื่อง และการเชื่อมโยงให้เห็นประเด็นปัญหาการวิจัยอย่างชัดเจน ซึ่งเป็นเทคนิคและศิลปะที่ผู้วิจัยต้องฝึกฝนเอง หลักสำคัญในการเขียน คือ ผู้วิจัยจะต้องแสดงให้เห็นว่า สิ่งที่ได้ศึกษามามีอะไรบ้าง ค้นพบความรู้ใหม่ๆอะไร สิ่งไหนเป็นข้อเท็จจริงที่มีอยู่แล้ว สิ่งไหนค้นพบใหม่ ยังมีช่องว่างตรงจุดไหนอีกในส่วนข้อมูลที่เป็นการแสดงความคิดเห็น การชี้จุดประเด็นสำคัญ และการสรุปผลของการวิจัย ต้องมีการอ้างอิงแหล่งข้อมูลกำกับไว้ด้วยเสมอ

การเขียนเรียบเรียง ผู้วิจัยต้องเขียนด้วยใจเป็นกลาง ไม่มีอคติ เสนอข้อมูลทั้ง 2 ด้าน ทั้งสนับสนุนและคัดค้าน รูปแบบการเขียน ในส่วนของการศึกษาวรรณกรรมและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ส่วนใหญ่จะเขียนเป็นการเชื่อมโยงผลการวิจัยที่ค้นพบอย่างต่อเนื่อง ไม่ได้มีการวิเคราะห์วิจารณ์เพิ่มเติม ทั้งนี้เพราะการเขียนเรียบเรียงในลักษณะที่มีการวิเคราะห์วิจารณ์เป็นเรื่องยาก ต้องยึดหลักทางวิชาการไว้เสมอ ไม่ใช้ความคิดส่วนตัวสอดแทรกเข้าไปในการวิจารณ์ ผู้ที่จะเขียนได้ในลักษณะนี้จึงเป็นผู้รู้หรือเกี่ยวข้องกับปัญหาการวิจัยนั้นมานานและมีประสบการณ์ในการทำงานวิจัยมากพอควร

แค่นี้ก่อนนะครับ พี่น้อง ง่วงแล้วครับ

หมายเลขบันทึก: 203907เขียนเมื่อ 27 สิงหาคม 2008 21:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 มิถุนายน 2012 06:20 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (13)

ขอบคุณครับ ที่พึ่งทางการเรียน ของเหล่าครู

ปัญหาที่สำคัญของกิจกรรมในการทบทวนเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ได้แก่

การไม่รู้จักแบ่งเวลาให้เหมาะสมสำหรับการค้นคว้าเอกสาร

ไม่รู้จักแหล่งของเอกสารและข้อมูล

ไม่รู้จักหลัก และเทคนิคของการสกัดข้อมูลที่สำคัญออกมาจากเอกสาร และงานวิจัยที่อ่าน

ไม่รู้จักวิธีเขียนเรียบเรียงเชื่อมโยงข้อมูลทั้งหมดจากเอกสารเข้าด้วยกัน

ทั้งหมดเนี่ย ผมน่ะเหรอ เฮอะๆ มีครบเลย

สวัสดีค่ะ

  • แวะมาอ่านสาระดีๆ คะ
  • อ่านแล้วได้ประโยชน์มากคะ
  • จะนำความรู้ที่ได้อ่านไปบอกต่อให้เพื่อนครูที่กำลังทำผลงานคะ
  • ขอบคุณคะ

ขอบคุณครับ ก็อย่างที่ใครๆพูดกัน เรื่องดีๆมีไว้เเบ่งปันครับ

การเผยแพร่แบ่งปันความรู้แก่เพื่อนครูเป็นสิ่งที่ดี น่ายกย่องชมเชย ยอดเยี่ยมมากค่ะ

ขอนำบล็อกนี้เข้าแพลนเน็ตของผมนะครับ เก็บไว้อ่าน ศึกษาเพิ่มเติม

นับว่ามีประโยชน์มาก....ขอบคุณครับ

ขอบคุณครับ ที่แวะเวียนเข้ามาทักทายกันครับ ส่วนใหญ่จะมีแต่เรื่องทั่วไปครับ

นานทีจะมีเวลาเข้าบล็อกนี้

วันนี้อ่านย้อนหลังค่ะ

หมดจดในแต่ละบท

ขอบคุณที่นำเรื่องดีๆมาฝาก

โอ้โห ขอบคุณครับ ขอบคุณมากๆที่มาอ่านเรื่องราวของผมครับ ขอบคุณครับ

ขอบคุณที่ไปทักทายให้กำลังใจนะคะ

ขออนุญาตนำเรื่องเข้าแพลนเน็ตนะคะ

ขอบคุณค่ะ

เจริญพร คนพลัดถิ่น

อาตมาอ่านข้อเขียนของคุณ คนพลัดถิ่น แล้ว จึงใครขอก็อปปี่ ข้อความของคุณ ไปนำเสนอในห้องเรียน พอดีได้งานเกี่ยวกับ การเขียนเค้าโครงการวิจัย 5 บท จึงขอนำเนื้อหานี้ไปเผยแผ่ต่อไป

เพลงอะไรคะเนี่ย(มานอกเรื่องเชียว - -*)

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท