กลยุทธ์คลินิกเบาหวาน


การดูแลแบบองค์รวมผู้ป่วยเบาหวาน

          เมื่อกลับมามองคลินิกเบาหวานในหลาย ๆ โรงพยาบาล ตอนนี้ดูจะเป็นปัญหาสาธารณสุข เพราะดูจะพบผู้ป่วยใหม่เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ  เกือบจะทุกวัย ตั้งแต่เด็กจนถึงผู้ใหญ่   แถมโรคนี้ก็เป็นโรคที่มีโอกาสเป็นโรคอื่น ๆ ได้มาก เช่น หัวใจ โรคไตวาย ตาบอด และอื่น ๆ อีกถ้าหากยังดูแลตัวเองไม่ดี

 

         ทางด้านสาธารณสุขก็ต้องปรับกลยุทธ์รับมือกับโรคนี้ เพราะเป็นโรคที่มีค่าใช้จ่ายสูง ,เสี่ยงสูง ,แถมปริมาณมาก ตามหลัก ที่ว่า high cost,high volume,high risk สูงทุกอย่างทีเดียว

 

            กลยุทธ์ ผู้ให้บริการ

 

- จัดตั้งคลินิก เพราะมีผู้รับบริการมากขึ้น หากจะรอรวมกับกลุ่มอื่น ๆ ก็ดูจะน่าเบื่อ เพราะกลุ่มนี้มาโรงพยาบาลบ่อย ๆ เกือบทุกเดือน หากจะรอก็นาน ทำให้เกิดคลินิกเฉพาะโรค

- ระบบ one stop service  จึงเกิดตามมา เพื่อความสะดวกรวดเร็ว ลดขั้นตอนการบริการ

- ระบบการนัด การติดตามผล เมื่อผู้ป่วยไม่ได้มาตามนัด การติดตามผู้ป่วยเพื่อให้รับการรักษาอย่างทันท่วงที ไม่ให้ขาดยา

- สมุดพกเบาหวาน/สมุดประจำตัว ที่ประกอบด้วยความรู้มากมาย สีสรรน่าจับ

- แผ่นพับ /ใบปลิว ความรู้ต่าง ๆ สีสดใส น่ามอง น่าอ่าน

- การดูแลด้วยทีมสหวิชาชีพต้องร่วมด้วยช่วยกัน เพราะตามหลัก high ต่าง ๆ ที่กล่าวมา ทำให้ต้องดูแลเป็นพิเศษ เพราะต้องเสียค่าใช้จ่ายสูงมาก หากเกิดภาวะแทรกซ้อนตามมา

 

* ทีมเยี่ยมบ้าน ออกติดตามผล อาการ การรักษา เพื่อประเมินผลความรู้ต่าง ๆ ที่ทีมให้คำแนะนำ/การปรึกษา

* การทำ discharge planning ในหอผู้ป่วย ด้วยทีมสหวิชาชีพ เพื่อเตรียมความพร้อมทั้งผู้ป่วยและญาติในการดูแลตนเองและผู้ป่วย

 

        โครงการต่าง ๆ ตามมา เช่น การให้บริการเชิงรุก ตั้งแต่

 

-- การคัดกรองผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยง เพื่อคัดกรองให้ได้ผู้ป่วย เพื่อรีบรักษา ป้องกันก่อนเกิดภาวะแทรกซ้อน  ,

---- โครงการค่ายเบาหวานในกลุ่มเบาหวานที่อาจจะควบคุมระดับน้ำตาลไม่ได้ เพื่อปรับพฤติกรรมการบริโภค การใช้ยา การออกกำลังกาย  

-- ตอนนี้เห็นเริ่มมีการบริการให้ยืม เครื่องมือที่เจาะระดับน้ำตาล แก่ผู้ป่วย พร้อมสอนการใช้ ค่าระดับน้ำตาลที่สามารถดูแลตัวเองได้ บางรายมีความรู้ขนาด ปรับยาได้เอง นี่ก็เป็นนวตกรรมใหม่ ๆ ที่ใช้กันในสถานบริการหรือผู้ป่วยที่มีความพร้อมสูงก็ว่าได้

- การพัฒนานวตกรรมต่าง เช่น แผนที่เบาหวาน

 

     จะเห็นได้ว่าการดูแลผู้ป่วยเป็นสิ่งสำคัญ การยึดผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง  แต่อย่าลืมการดูแลผู้ป่วยด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์เหนือสิ่งอื่นใด

 

                                     

 

หมายเลขบันทึก: 203254เขียนเมื่อ 25 สิงหาคม 2008 02:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:28 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

สวัสดีครับพี่เพชรน้อย

ผมอ่านแล้วไม่ค่อยเข้าใจเลย

ภาษาแพทย์มันเป็นแบบนี้หรอครับ

สวัสดีค่ะน้องชาย

- น่ายินดีครับที่ได้รู้จัก ภาษาไหน ๆ ก็น่าสนใจนะหากเราสนใจครับ

เจริญพร โยมเพชรน้อย

ตามที่ทางแพทย์ได้สำรวจสุขภาพพระ

พระป่วยเป็นเบาหวานกันเยอะและอื่นๆ

 

เจริญพร

นมัสการพระคุณเจ้า

- ตามทางสาธารณสุขได้ออกโครงการ นับเป็นโครงการที่ดีเจ้าค่ะ..เพราะใส่ใจคนทุกกลุ่มอายุ เจ้าค่ะ

สวัสีดีคะ แวะมาอ่าน และจะนำไปปฏิบัติตัว เพราะอายุใกล้ 60

สวัสดีค่ะคุณรัชนี

- ขอบพระคุณค่ะที่แวะเข้าทัก อย่างนี้ต้องเป็นคนแข็งแรงแน่เลย เพราะใส่ใจดูแลสุขภาพค่ะ

ระบบงานประจำ ในเวลาปกติ มีเวลาน้อยมาก

สำหรับผู้ป่วยเบาหวานครับ

การไปเยี่ยมบ้าน ทำให้มีเวลา

มีบรรยากาศที่ผ่อนคลาย

ได้พูดคุย รับฟังผู้ป่วย ได้ใจ

จำเป็นมาก สำหรับการดูแลผู้ป่วยเบาหวานครับ

สวัสดีค่ะคุณหมอ ศุภรักษ์

- การเยี่ยมบ้านเป็นงานที่จำเป็นต้องมีเป็นอย่างยิ่งค่ะ

- ได้ใจ คนไข้และคนในสังคมรวมทั้งคนในครอบครัว

- เป็นสุขใจมาก ทั้งผู้ให้และผู้รับ

- หมอให้ความสำคัญเราขนาดนี่เชียวหรือ

- คนไข้กระตือรือร้น ให้ความร่วมมืออย่างดียิ่งค่ะ

ขอบคุณค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท