การจัดการความรู้ มองต่างมุม
วิจารณ์ พานิช
สคส. ได้รับหนังสือเชิญจากคุณภีม ภคเมธาวี ผู้ประสานงานหน่วยจัดการความรู้องค์กรการเงินชุมชน มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ให้เข้าร่วมสัมมนาที่ลำปาง ในการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ “การจัดการความรู้เพื่อพัฒนาองค์กรการเงินชุมชน ครั้งที่ 3” เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์การจัดการความรู้องค์กรการเงินชุมชนของเครือข่ายวิจัยแต่ละพื้นที่ การประชุมจัดระหว่างวันที่ 25 – 26 มิ.ย.48
ในช่วงเวลา 2 วันนี้ ผู้จัดการประชุมใช้เวลา 8.5 ชม. จัด “อบรมปฏิบัติการ การจัดการความรู้เพื่อพัฒนาองค์กรชุมชน” แยกเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มละ 3 วง (วงคุณวิจัย, คุณอำนวย, และคุณกิจ) โดยมีผู้เข้าร่วมประชุมประมาณ 45 คน โดยมี “หัวปลา” ของการอบรมแต่ละวงคือ
· คุณวิจัย : วัตถุประสงค์ของการวิจัย
· คุณอำนวย : การจัดการเรียนรู้ที่เอื้อให้คุณกิจบรรลุผลตามเป้าหมายที่ตั้งไว้
· คุณกิจ : บรรลุผลตามเป้าหมายที่ตั้งไว้
การประชุมนี้มีวัตถุประสงค์ 2 ประการ ประการแรกเป็นเรื่องของการจัดการความรู้คือ “เพื่อ
สร้างความเข้าใจและฝึกทักษะการจัดการความรู้เพื่อพัฒนาองค์กรการเงินชุมชนให้กับ 1) นักวิจัย 2) ผู้เอื้ออำนวยการเรียนรู้ (คุณอำนวย) และ 3) ผู้จัดการความรู้ (คุณกิจ)
ผมพยายามอ่านจากเอกสารที่คุณภีมส่งไปให้ คิดว่าวิธีการที่คุณภีมจัดไม่เหมือนกับที่ สคส. ใช้ และเข้าใจว่าวิธีการของคุณภีมจะเน้นที่ “ความรู้ชัดแจ้ง” (Explicit Knowledge) มากกว่า “ความรู้ฝังลึก” (Tacit Knowledge) แต่ผมอาจเข้าใจผิดก็ได้
เนื่องจากคุณภีมฉีกแนวปฏิบัติไปจาก สคส. ดังนั้นถ้าพบอะไรใหม่ ๆ ในวิธีการที่ฉีกแนวไปนี้ สคส. ก็อยากเรียนรู้จากประสบการณ์ของคุณภีมและคณะ เล่าประสบการณ์ให้ฟังกันบ้างนะครับ
วิจารณ์ พานิช
14 มิ.ย.48
วิจารณ์ พานิช
สคส. ได้รับหนังสือเชิญจากคุณภีม ภคเมธาวี ผู้ประสานงานหน่วยจัดการความรู้องค์กรการเงินชุมชน มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ให้เข้าร่วมสัมมนาที่ลำปาง ในการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ “การจัดการความรู้เพื่อพัฒนาองค์กรการเงินชุมชน ครั้งที่ 3” เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์การจัดการความรู้องค์กรการเงินชุมชนของเครือข่ายวิจัยแต่ละพื้นที่ การประชุมจัดระหว่างวันที่ 25 – 26 มิ.ย.48
ในช่วงเวลา 2 วันนี้ ผู้จัดการประชุมใช้เวลา 8.5 ชม. จัด “อบรมปฏิบัติการ การจัดการความรู้เพื่อพัฒนาองค์กรชุมชน” แยกเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มละ 3 วง (วงคุณวิจัย, คุณอำนวย, และคุณกิจ) โดยมีผู้เข้าร่วมประชุมประมาณ 45 คน โดยมี “หัวปลา” ของการอบรมแต่ละวงคือ
· คุณวิจัย : วัตถุประสงค์ของการวิจัย
· คุณอำนวย : การจัดการเรียนรู้ที่เอื้อให้คุณกิจบรรลุผลตามเป้าหมายที่ตั้งไว้
· คุณกิจ : บรรลุผลตามเป้าหมายที่ตั้งไว้
การประชุมนี้มีวัตถุประสงค์ 2 ประการ ประการแรกเป็นเรื่องของการจัดการความรู้คือ “เพื่อ
สร้างความเข้าใจและฝึกทักษะการจัดการความรู้เพื่อพัฒนาองค์กรการเงินชุมชนให้กับ 1) นักวิจัย 2) ผู้เอื้ออำนวยการเรียนรู้ (คุณอำนวย) และ 3) ผู้จัดการความรู้ (คุณกิจ)
ผมพยายามอ่านจากเอกสารที่คุณภีมส่งไปให้ คิดว่าวิธีการที่คุณภีมจัดไม่เหมือนกับที่ สคส. ใช้ และเข้าใจว่าวิธีการของคุณภีมจะเน้นที่ “ความรู้ชัดแจ้ง” (Explicit Knowledge) มากกว่า “ความรู้ฝังลึก” (Tacit Knowledge) แต่ผมอาจเข้าใจผิดก็ได้
เนื่องจากคุณภีมฉีกแนวปฏิบัติไปจาก สคส. ดังนั้นถ้าพบอะไรใหม่ ๆ ในวิธีการที่ฉีกแนวไปนี้ สคส. ก็อยากเรียนรู้จากประสบการณ์ของคุณภีมและคณะ เล่าประสบการณ์ให้ฟังกันบ้างนะครับ
วิจารณ์ พานิช
14 มิ.ย.48
บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย Prof. Vicharn Panich ใน KMI Thailand
คำสำคัญ (Tags)#uncategorized
หมายเลขบันทึก: 203, เขียน: 15 Jun 2005 @ 05:37 (), แก้ไข: 11 Feb 2012 @ 13:51 (), สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการ, ความเห็น: 2, อ่าน: คลิก
แสดงความคิดเห็น
สวัสดีค่ะ ดิฉัน ชริยา จันทร์อินทร์
ขณะนี้ กำลังทำวิทยานิพนธ์เกี่ยวกับ "สารสนเทศในการจัดการความรู้" ภายในมหาวิทยาลัยเอชียอาคเนย์ และจากการสืบค้น การจัดการความรู้ในมหาวิทยาลัยของไทยมีข้อมูลน้อย โดยเฉพาะเรื่องที่จะกล่าวถึงความสำคัญของห้องสมุดเพื่อการจัดการความรู้ จึงขอเสนอให้มีการเขียนถึง การใช้สารสนเทศในการจัดการความรู้บ้างค่ะ
ขอบพระคุณค่ะ
ชริยา