ยอด "คุณเอื้อ"


สคส. มีรางวัล "ยอดคุณกิจ" "ยอดคุณอำนวย" และ "ยอดคุณเอื้อ" แห่งเดือน เสนอผลงานขอรับรางวัลโดยการเล่าเรื่อง ทาง บล็อกนี้ก็ได้ หรือที่ [email protected]

ได้ตัวแล้วครับ ผู้ได้รับรางวัล "ยอดคุณเอื้อ" คนแรก คือ รศ. พญ. ปารมี ทองสุกใส  หัวหน้าภาควิชาพยาธิวิทยา  คณะแพทยศาสตร์  ม. สงขลาฯ   ในฐานะที่ริเริ่มโครงการประยุกต์ใช้ KM เพื่อพัฒนางาน อย่าง innovative สุดๆ  โปรดอ่านโครงการต่อไปนี้

โครงการพยาธิ 1 ทีม 1 โครงการ
(Pathology - One Team One Project (Patho-OTOP))

หน่วยงานผู้รับผิดชอบโครงการ

          ภาควิชาพยาธิวิทยา คณะแพทยศาสตร์ ม.สงขลานครินทร์

1. หลักการและเหตุผล

            ตามแนวทางการดำเนินงานของคณะฯ ที่มุ่งเน้นให้องค์กรสู่ความเป็นเลิศ โดยยึดเกณฑ์ตามกรอบรางวัลคุณภาพแห่งชาติ (TQA) เป็นแนวทางในการดำเนินงาน  เกณฑ์สำคัญประการหนึ่ง ใน 7 หมวดที่จะทำให้องค์กรได้ผลลัพธ์ที่เป็นเลิศ คือการมุ่งเน้นพัฒนาทรัพยากรบุคคล  การที่องค์กรมีทรัพยากรบุคคลที่มีศักยภาพสูง และองค์กรสามารถใช้ศักยภาพเหล่านั้นได้เต็มที่ เป็นที่เชื่อกันโดยทั่วไปว่า จะเป็นปัจจัยกำหนดความสำเร็จสำคัญประการหนึ่ง
            การพัฒนาทรัพยากรบุคคลให้สามารถขับเคลื่อนองค์กรไปสู่เป้าหมายที่ต้องการได้ การพัฒนานั้นจะต้องสอดคล้อง หรือเดินไปในแนวทางเดียวกับภาระกิจขององค์กร   ภาระกิจหลักสำคัญของภาควิชาพยาธิวิทยา คือการให้บริการทางห้องปฏิบัติการทางการแพทย์โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาศัยการปฏิบัติงานบุคลากรสาย ข , ค   ดังนั้นการพัฒนาบุคลากรในงานหน้าที่หลัก เป็นเรื่องที่จะทำให้บุคลากรสามารถเพิ่มคุณค่า หรือเพิ่มคุณภาพงานบริการ จึงเป็นกลยุทธ์ที่จะนำไปสู่การเพิ่มคุณค่าให้กระบวนการ ซึ่งจะส่งผลให้เกิดผลลัพธ์ตามที่ภาควิชาได้ตั้งเป้าประสงค์ไว้ว่าจะให้บริการที่มีคุณภาพ  มีประสิทธิภาพ  และมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง  
            คณะฯ ได้ให้ความสำคัญกับการพัฒนางาน โดยการสนับสนุนให้หัวหน้าหน่วย/หัวหน้างานในการจัดทำโครงการพัฒนางานโดยการสนับสนุนปัจจัยด้านการเงิน  อย่างไรก็ตาม การขับเคลื่อนหน่วยงานอย่างมั่นคงและก้าวกระโดด ต้องอาศัยบุคลากรทุกคนในหน่วยงาน ร่วมแรงร่วมใจกันพัฒนางาน 
โดยเหตุผลดังกล่าวข้างต้น ภาควิชาพยาธิวิทยา จึงดำริให้มีการจัดโครงการเพื่อเพิ่มศักยภาพบุคลากร โดยเฉพาะบุคลากรระดับปฏิบัติงานในหน่วย ให้สามารถพัฒนางานได้อย่างเป็นระบบ และในขณะเดียวกัน จะใช้กระบวนการบริหารการจัดการความรู้ มาเป็นเครื่องมือในการพัฒนา

2. วัตถุประสงค์โครงการ

1.      เพิ่มคุณภาพ  ประสิทธิภาพ และประสิทธิผล ของงานบริการ
2.      ส่งเสริมการทำงานเป็นทีมในหน่วย
3.      ส่งเสริมกระบวนการจัดการความรู้ในการพัฒนางาน
4.      ส่งเสริมการคิดสร้างสรรค์ และ การปฏิบัติอย่างเป็นวิทยาศาสตร์ อันเป็นสมรรถนะหลักของภาควิชาพยาธิวิทยา
5.      เพิ่มศักยภาพบุคคล

3. กรอบแนวคิด

       พัฒนางานโดยกระบวนการทบทวนตนเอง เพื่อร่วมกันกำหนดโจทย์ปัญหา และแนวทางการพัฒนาอย่างเป็นระบบ ร่วมกันทำงานเป็นทีม โดยเน้นกระบวนการกลุ่มของระดับผู้ปฏิบัติงาน และมีพี่เลี้ยงโครงการตั้งแต่เริ่มดำเนินการเพื่อช่วยเหลือ สนับสนุน และผลักดันจนสำเร็จ และมีที่ปรึกษาจากต่างหน่วยงาน   รวมทั้งจัดให้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกลุ่มโดยการนำเสนอ และสร้างแรงจูงใจต่อความทุ่มเท และความสำเร็จโดยการให้รางวัล โดยในกระบวนการจัดทำโครงการผ่านวงล้อ P D C A และสอดคล้องกับกระบวนการจัดการความรู้ดังแผนภาพ

KM process

PDCA cycle

ทบทวนตนเองเพื่อค้นหา /ระบุปัญหา/ความเสี่ยง

กำหนดแนวทางแก้ไข (P)

ปรับปรุงแนวคิด

นำไปปฏิบัติ (D)

แลกเปลี่ยนความรู้ในทีม

ปรึกษาผู้รู้นอกทีม

หาตัวอย่าง

กำหนดความรู้

ประเมินผล (C)

ปรับปรุงงาน (A)

แลกเปลี่ยนระหว่าง ทีม

ประยุกต์ใช้


 

4. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1.      คุณภาพ ประสิทธิภาพ และประสิทธิผลของงานดีขึ้น ด้วยการพัฒนาอย่างเป็นระบบ
2.      บุคลากรเกิดความพึงพอใจในการได้รับการพัฒนาอย่างเท่าเทียม
3.      เกิดการบูรณาการกระบวนการจัดการความรู้และการพัฒนางานประจำ
4.      บุคลากรสามารถมีผลงานไปขอตำแหน่งที่สูงขึ้น

5. ผู้เข้าร่วมโครงการ: เจ้าหน้าที่/พนักงานวิทยาศาสตร์  นักเทคนิคการแพทย์  นักวิทยาศาสตร์/การแพทย์ รวมทั้งลูกจ้างและบุคลากรฝ่ายสนับสนุน ประมาณ 80 คน รวมทั้งพี่เลี้ยงและที่ปรึกษาโครงการ รวมทั้งสิ้นประมาณ 100 คน

6.      วิธีดำเนินการ
จัดให้มีทำโครงการพัฒนางาน โดยรับสมัครเป็นกลุ่ม กลุ่มละ 3-5 คน ซึ่งสมาชิกอาจเป็นหน่วยเดียวกัน หรือต่างหน่วย โดยมีเป้าหมายเพื่อพัฒนางานอย่างเป็นระบบ  แต่ละกลุ่มมีพี่เลี้ยง 1 คน ที่ปรึกษาจากต่างหน่วย 1 คน   การพัฒนาจะเน้นกระบวนการ  P D C A  โดยมีการอบรมเชิงปฏิบัติการ 1 ครั้ง  และมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกลุ่มโดยการนำเสนอผลงาน  และมีรางวัลแห่งความทุ่มเท
-          กลุ่มพี่เลี้ยงได้แก่: หัวหน้าหน่วย หรือหัวหน้างาน หรือผู้มีประสบการณ์ในหน่วย หรือระหว่างหน่วยที่เกี่ยวข้องกับงาน ทำหน้าที่ช่วยเหลือ สนับสนุน และผลักดันโครงการตั้งแต่ต้นจนสำเร็จ
-          กลุ่มที่ปรึกษา คือผู้มีประสบการณ์จากต่างหน่วยงาน มีหน้าที่ให้ความเห็น และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ที่เป็นประโยชน์ต่อคุณภาพและการดำเนินงาน ได้แก่คุณชวดี, คุณนุวิท, คุณวาสนา, คุณณัฐณิชา, คุณจินตนา, คุณนุชรัตน์, คุณปนัดดา, .มุกดา, คุณประภาภรณ์, คุณอานุไร, คุณทนงศักดิ์, .อุไรรัตน์
·       รางวัลผลงาน
รางวัลดีเยี่ยม                       5,000 บาท           
รางวัลดีเด่น                         3,000 บาท             
รางวัลชมเชย 2 รางวัลๆ ละ   2,000 บาท
·       กรอบการประเมินโครงการ
-          ดำเนินการเป็นทีม/กลุ่ม  สมาชิกของทีมแต่ละคน มีบทบาทชัดเจน
-          โจทย์ปัญหาเกิดจากการทบทวนกระบวนการที่ทำอยู่เพื่อหาโอกาสพัฒนา
-          เน้นระบบงาน/กระบวนการที่มีความเป็นไปได้
-          มีการประชุม ติดตาม และประเมินการดำเนินงานของทีมเป็นระยะ อย่างสม่ำเสมอ (P D C A)
-          มีตัววัดผลสัมฤทธิ์โครงการชัดเจน

7.      แผนการดำเนินโครงการ

รายละเอียดการดำเนินการ

กำหนดการ
1.      เปิดรับสมัครทีมพัฒนางาน ทีมละ 3-5 คน
ภายในวันที่ 30 เม.. 2548
2.      อบรมเชิงปฏิบัติการ
การบรรยาย:
-          เริ่มโครงการพัฒนางานอย่างไรดี
-          การจัดการความรู้กับการพัฒนางาน
-          การสร้างตัวชี้วัด
ประชุมกลุ่มย่อย : ร่างโครงการ และนำเสนอ
เสาร์ที่ 14 พค. 2548
(9.00-15.00)
3. ส่งโครงการฉบับสมบูรณ์ที่ภาควิชา
14 มิย. 2548
4. ทีมดำเนินการตามโครงการที่เสนอ
มิย.-พย. 2548
5. ส่งรายงานผลการดำเนินโครงการให้กรรมการ
30 พย. 2548
6. นำเสนอผลของโครงการและตัดสินให้รางวัล
24 ธค. 2548
8.      การประเมินผลโครงการ
·       มีโครงการพัฒนาอย่างน้อย 8 โครงการ

·       ผู้ร่วมโครงการพึงพอใจต่อการจัดทำโครงการระดับดี ดีมาก > 80 %

เราจะมอบเสื้อแจ็กเก็ต สคส. เป็นรางวัล ๑ ตัวครับ

 

วิจารณ์ พานิช

๑๕ มิ.ย. ๔๘

 

 

หมายเลขบันทึก: 196เขียนเมื่อ 14 มิถุนายน 2005 22:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 เมษายน 2012 09:02 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท