GotoKnow

เสวนา การสร้างความรู้ในภาคชุมชน

Prof. Vicharn Panich
เขียนเมื่อ 15 มิถุนายน 2548 05:34 น. ()
แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2555 13:51 น. ()
รับผู้เข้าร่วมเสวนาเพียง ๑๐ คน ผู้ลงทะเบียนก่อนได้ก่อน

<h5 align="left">            สถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม (สคส.)    จะจัดเวทีเสวนาเรื่อง  การสร้างความรู้ในสังคมไทย เพี่อการพัฒนาที่ยั่งยืน  การเสวนาในครั้งนี้เป็นการนำเสนองานวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาเอก ที่เน้นการสร้างความรู้จากปฏิสัมพันธ์ระหว่าง ภูมิปัญญาท้องถิ่น (LW – Local Wisdom) กับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสมัยใหม่ (MST – Modern Science & Technology) จากเก้ากรณีศึกษา ในภาคเกษตรกรรม การแพทย์แผนไทย หัตถกรรม และ  ธุรกิจชุมชนจุลภาค    โดย ดร.ยุวนุช ทินนะลักษณ์ จากมหาวิทยาลัยปอยเตียรส์   ประเทศฝรั่งเศส และ ผู้ริเริ่มการสร้างความรู้ (critical persons) ของทั้งเก้ากรณีศึกษา  จะนำเสนอการสร้างความรู้ที่ชี้ให้เห็นวิวัฒนาการการสร้างความรู้ในบริบทและมุมมองของแต่ละกรณีศึกษา  ตั้งแต่เริ่มก่อตัวจนถึงระดับการนำไปใช้  ให้ข้อคิดเห็นต่อวิทยานิพนธ์ที่ได้นำเสนอ  รวมถึงร่วมถกเถียงกระบวนการสร้างความรู้ที่เกิดจากปฏิสัมพันธ์    ระหว่าง          ภูมิปัญญาท้องถิ่น กับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสมัยใหม่ อย่างละเอียดและลงลึกจริง ๆ เพื่อนำไปสู่การส่งเสริมให้เกิดประโยชน์ต่อการเรียนรู้ในภาคเศรษฐกิจพอเพียง
</h5><h5>            การเสวนาดังกล่าวจะจัดในวันพุธที่ 13 กรกฎาคม 2548  เวลา 09.00-17.00 น. ณ ห้องประชุมคุณพ่อเปาโล   อาคาร ๑  ชั้น ๑๑  โรงพยาบาลเปาโลฯ
</h5><h5>            ผู้สนใจเข้าร่วมประชุม   ติดต่อลงทะเบียนล่วงหน้า ที่คุณชุติมา อินทรประเสริฐ 
</h5><h5 align="left">โทร. 02 298 0455  ต่อ 188 (ชุติมา)    E-mail:  [email protected].    ค่าลงทะเบียน 500 บาท รับไม่เกิน ๑๐ คน   การลงทะเบียนหมายความว่าจ่ายค่าลงทะเบียนแล้ว
</h5>
<h5 align="left"></h5><h5 align="center"></h5><h5 align="center">กำหนดการการเสวนา
</h5>เพื่อให้ข้อคิดเห็นต่อการนำเสนอวิทยานิพนธ์
เรื่อง การสร้างความรู้ในสังคมไทย เพี่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
                                      ณ  ห้องประชุมคุณพ่อเปาโล  อาคาร ๑  ชั้น ๑๑  โรงพยาบาลเปาโลฯ  กรุงเทพฯ
วันที่พุธที่ 13 กรกฎาคม 2548
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------
08.00-09.00 .               ลงทะเบียน
09.00 .                        กล่าวเปิดการเสวนา และแจ้งวัตถุประสงค์ 
                                    โดย ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช
09.05 – 10.15 .            นำเสนอภาพรวมของวิทยานิพนธ์
                                    โดย ดร.ยุวนุช ทินนะลักษณ์
                                    จากมหาวิทยาลัยปอยเตียรส์   ประเทศฝรั่งเศส
10.15 - 10.30 น.             กาแฟ - อาหารว่าง
10.30 - 12.30 น.             นำเสนอกรณีศึกษา   ภาคเกษตรกรรม (4 กรณีศึกษา)
§        การพัฒนาพันธุ์ข้าว  จ.พิจิตร
§        ผลิตภัณฑ์น้ำนมข้าว   จ.ปทุมธานี
§        สมุนไพรไร้สารพิษ   จ.ระยอง
§        การปรับปรุงดินในโครงการ ฟ้าสู่ดิน   จ.บุรีรัมย์
                                    โดย ดร.ยุวนุช ทินนะลักษณ์
                                    นำเสนอข้อคิดเห็น โดยผู้ริเริ่มการสร้างความรู้ ของแต่ละกรณีศึกษา
                                               
12.30 – 13.30 .            พัก-อาหารกลางวัน
13.30 - 15.00 น.             นำเสนอกรณีศึกษา   การแพทย์แผนไทย และหัตถกรรม (3 กรณีศึกษา)
§        หมอเมืองล้านนา   จ.เชียงราย
§        การพัฒนาผลิตภัณฑ์สมุนไพร  รพ.เจ้าพระยาอภัยภูเบศร์   จ.ปราจีนบุรี
§        ผ้าหม้อฮ่อม   แม่ชีตา   จ.สกลนคร
                                    โดย ดร.ยุวนุช ทินนะลักษณ์
                                    นำเสนอข้อคิดเห็น โดยผู้ริเริ่มการสร้างความรู้ ของแต่ละกรณีศึกษา
15.00 - 15.15 น.             กาแฟ - อาหารว่าง
15.15 - 16.15 น.             นำเสนอ กรณีศึกษาหัตถกรรม และ ธุรกิจชุมชนจุลภาค (2 กรณีศึกษา)
§        เฟอร์นิเจอร์ผักตบชวา   จ.ปทุมธานี
§        โรงงานแป้งขนมจีน  อ.นพพิตำ   จ.นครศรีธรรมราช
                                   
                                    โดย ดร.ยุวนุช ทินนะลักษณ์
                                    นำเสนอข้อคิดเห็น โดย   ผู้ริเริ่มการสร้างความรู้ ของแต่ละกรณีศึกษา
16.15-17.00.              ข้อคิดเห็นเพื่อการนำไปสู่การส่งเสริมให้เกิดประโยชน์ต่อการเรียนรู้ในภาค                             เศรษฐกิจพอเพียง
                                    โดย ผู้เข้าร่วมการเสวนา
17.00- .                               ปิดการเสวนา
<p> </p>-------------------------------------------------------------------------------------------------------------
<p> </p>หมายเหตุ:                            ผู้ริเริ่มการสร้างความรู้ ของแต่ละกรณีศึกษาจะได้รับเอกสารเพื่อเตรียมนำเสนอความ
                                    คิดเห็น (กรณีศึกษา) ภายใน 30 มิถุนายน 2548  โดยแต่ละท่านมีเวลาในการนำเสนอ
<p>                                    ท่านละประมาณ 10 นาที</p><p></p>
 

คำสำคัญ (Tags): #นศ. #ป.เอก #phd #program 

ความเห็น

ยังไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท
ภาษาปิยะธอน (Piyathon)
เขียนโค้ดไพทอนได้ด้วยภาษาไทย