ร่วม ลปรร. บทที่ 1-3 ครับ


สมรรถนะ

ขอเชิญสมาชิกได้ร่วม  ลปรร.กันครับ

บทที่ 1

 

บทนำ

 

ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา

 

                การศึกษามีความสำคัญต่อการพัฒนาประเทศ โดยเฉพาะในปัจจุบันโลกมีวิวัฒนาการ        ด้านเทคโนโลยี และข้อมูลข่าวสารที่รวดเร็วมากขึ้นจึงจำเป็นต้องพัฒนาการศึกษาให้มีคุณภาพ       และมีประสิทธิภาพเพื่อให้ทันต่อความเปลี่ยนแปลงของสภาพสังคมปัจจุบัน ทั้งนี้เพราะการศึกษาจะช่วยพัฒนาคนให้มีคุณภาพ ทำให้คนรู้จักคิดวิเคราะห์ รู้จักแก้ปัญหา มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์       รู้จักเรียนรู้ด้วยตนเอง สามารถปรับตัวให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว มีจริยธรรม       คุณธรรม รู้จักพึ่งตนเอง และสามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข (สำนักงาน            คณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ 2543 : 1)

ประเทศไทยเป็นประเทศหนึ่งที่ให้ความสำคัญต่ออาชีพครู ดังจะเห็นได้จากรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา 81  ที่ให้ความสำคัญในการพัฒนาวิชาชีพครูและการปฏิรูปการศึกษาโดยจัดให้มีกฎหมายเกี่ยวกับการศึกษาของชาติ  (สำนักงานเลขาธิการรัฐสภา 2545 : 38) และพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 มาตรา 52  ได้ให้กระทรวงส่งเสริมให้มีระบบ กระบวนการผลิต การพัฒนาครู และบุคลากรทางการศึกษา ให้มีคุณภาพและมาตรฐานที่เหมาะสมกับการเป็นวิชาชีพชั้นสูง ให้มีความพร้อมและมีความเข้มแข็งในการเตรียมบุคลากรใหม่และพัฒนาบุคลากรประจำการอย่างต่อเนื่อง  มาตรา 53  กำหนดให้มีองค์กรวิชาชีพครู ผู้บริหารสถานศึกษา และผู้บริหารการศึกษา  มีฐานะเป็นองค์กรอิสระภายใต้การบริหารของสภาวิชาชีพ ในกำกับของกระทรวง มีอำนาจหน้าที่ในการกำหนดมาตรฐานวิชาชีพ ออกและเพิกถอนใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ กำกับดูแลการปฏิบัติตามมาตรฐานและจรรยาบรรณของวิชาชีพ รวมทั้งการพัฒนาวิชาชีพครู ผู้บริหารสถานศึกษาและผู้บริหารการศึกษา 

                แม้อาชีพครูจะได้รับการพัฒนามาทุกยุคทุกสมัย แต่ปัญหาของครูไทยก็มีมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน สมหวัง  พิธิยานุวัฒน์ (2543 : 15) ได้กล่าวถึงปัญหาที่สำคัญของการผลิตและพัฒนาครูที่ผ่านมาโดยสรุปได้ 4 ด้าน ดังนี้

                1. ด้านผู้เข้าสู่วิชาชีพครู ได้แก่ ไม่ได้คนดีคนเก่งมาเรียนครู

                2. ด้านการผลิตครู ได้แก่

                      2.1 ขาดการประสานเชื่อมโยงระหว่างองค์กรวิชาชีพครู สถาบันผลิตครู และหน่วยงานใช้ครู

                      2.2 เน้นเนื้อหาวิชาการมากกว่าส่งเสริมพัฒนาบุคลิกภาพและเชาว์ทางอารมณ์

                      2.3 คณาจารย์ย่อหย่อนในบทบาทและความรับผิดชอบ

                      2.4 การประเมินผลไม่มีคุณภาพ

                      2.5 เน้นการควบคุมมากกว่าการพัฒนาวิชาการ

                      2.6 แยกตัวจากความเป็นจริงของสังคม

                      2.7 บัณฑิตครูไม่เป็นครู

                      2.8 สอนเทคนิควิทยาการมากกว่าปรัชญาและความคิด

                      2.9 การได้มาซึ่งผู้บริหารไม่ส่งเสริมบรรยากาศทางวิชาการ

                3. ด้านวิชาชีพและการปฏิบัติงาน ได้แก่

                      3.1 เงินเดือนต่ำ

                      3.2 ไม่ได้รับการยกย่องจากสังคม

                      3.3 ภาระงานมากและหลากหลาย

                      3.4 แรงจูงใจในการทำงานต่ำ

                      3.5 ประสิทธิภาพและประสิทธิผลต่ำ

                      3.6 ต้องการเปลี่ยนงาน

                4. ด้านการพัฒนา ได้แก่

                      4.1 ขาดระบบการพัฒนาครูประจำการ

                      4.2 การอบรมครูไม่ทั่วถึง

                      4.3 การอบรมไม่ตรงกับความต้องการ

                      4.4 เน้นทฤษฎีมากกว่าการปฏิบัติ

                ปัญหาครูดังกล่าวชี้ให้เห็นถึงการที่จะพัฒนาคนในชาติ ต้องให้การศึกษาที่มีคุณภาพโดยครูที่มีคุณภาพมีมาตรฐานทางวิชาชีพเป็นตัวกำหนดคุณสมบัติและคุณลักษณะของครู ที่ผ่านมาแม้    ไม่สามารถแก้ปัญหาให้สำเร็จลุล่วงได้ทั้งหมด แต่ผู้ที่เกี่ยวข้องหลายฝ่ายก็ได้พยายามพัฒนาปรับปรุงกฎหมาย ระเบียบข้อบังคับที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพครูมาโดยตลอด ทั้งสถาบันผลิตครู กระทรวงศึกษาธิการ และหน่วยงานอื่นๆ

                ผู้บริหารสถานศึกษา คือ ครูที่ได้รับการคัดเลือกให้มาทำหน้าที่หัวหน้าสถานศึกษา ซึ่งมีหน้าที่ และความรับผิดชอบในการบริหารจัดการเกี่ยวกับการจัดการศึกษาของสถานศึกษาในภาพรวม ไม่ว่าจะเป็นการบริหารงานวิชาการ  งานงบประมาณ งานบุคคล และงานบริหารทั่วไป  รวมทั้งการพัฒนายุทธศาสตร์ และการระดมทรัพยากรเพื่อปรับปรุงพัฒนาสถานศึกษาด้วย ผู้บริหารสถานศึกษาจึงถือเป็นกลไกหลักในการขับเคลื่อน และพัฒนาสถานศึกษาให้มีคุณภาพ ประสิทธิภาพ อันจะส่งผลให้ผู้เรียนมีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ตามความมุ่งหมายต่อไป

                การที่ผู้บริหารสถานศึกษาจะบริหารงานได้อย่างราบรื่น และมีประสิทธิภาพสอดคล้องกับภารกิจ และนโยบายของทางราชการนั้น ผู้บริหารสถานศึกษาจะต้องมีความรู้อย่างกว้างขวาง ทั้งความรู้เกี่ยวกับหลักการบริหารทั่วไป การบริหารโรงเรียน ระเบียบ กฎหมายที่เกี่ยวข้อง นโยบายของทางราชการ รวมทั้งจะต้องเรียนรู้และก้าวทันเทคโนโลยีเพื่อเป็นเครื่องมือในการค้นคว้า          หาความรู้ และจัดการข้อมูล จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องพัฒนาผู้บริหารอย่างหลากหลาย และต่อเนื่อง เพราะสาระความรู้ทางการบริหารนั้นย่อมเปลี่ยนแปลงไปตามบริบทของสังคม

โรงเรียนบ้านตอเรือ มีปรัชญาในการบริหาร คือ "สถานศึกษาดีเด่น เป็นเลิศทางวิชาการ ผู้บริหารและครูสู่มืออาชีพ"  บทบาทหน้าที่ที่สำคัญประการหนึ่ง คือ การส่งเสริมสนับสนุนการพัฒนาครู และผู้บริหารสถานศึกษาให้มีความรู้ความสามารถและทักษะในการปฏิบัติงานตามภาระหน้าที่ตามมาตรฐานกำหนดตำแหน่ง รวมทั้งมีคุณธรรมจริยธรรมเพื่อประโยชน์ของผู้เรียนเป็นสำคัญ จึงได้กำหนดยุทธศาสตร์ในการส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาสมรรถนะหลักของผู้บริหารสถานศึกษา ให้สอดคล้องกับการปฏิรูประบบราชการและการปฏิรูปการศึกษา  ผู้ศึกษาในฐานะผู้อำนวยการสถานศึกษาโรงเรียนบ้านตอเรือ  รับผิดชอบงานทุกกลุ่มงาน  โดยเฉพาะงานบริหารบุคคล จึงได้จัดทำการศึกษา เรื่อง " การพัฒนาสมรรถนะหลักของผู้บริหารสถานศึกษา " ขึ้น ผลที่ได้จากกระบวนการศึกษาจะช่วยให้ทราบถึงความต้องการจำเป็น        ที่แท้จริงในการพัฒนาสมรรถนะหลักของผู้บริหารสถานศึกษาในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาพิษณุโลก เขต 2  ซึ่งมีความต้องการในการพัฒนาที่แตกต่างกันตามสภาพบริบทของแต่ละสถานศึกษาตามลักษณะของการจัดการศึกษา นอกจากนี้ผลของการศึกษายังเป็นดัชนีให้ทราบว่า บุคลากรเหล่านี้ควรได้รับการพัฒนาในสมรรถนะหลักใด ทำให้เกิดความคุ้มค่าคุ้มประโยชน์กับทรัพยากรที่ใช้ สามารถลดปัญหาความสูญเปล่าทางทรัพยากรและทำให้เกิดการพัฒนาเปลี่ยนแปลงในตัวบุคคลได้อย่างแท้จริง   

 

 

 

 

 

วัตถุประสงค์ของการศีกษา

1. เพื่อศึกษาความต้องการในการพัฒนาสมรรถนะหลักผู้บริหารสถานศึกษาตามแนวทาง      การปฏิรูประบบราชการ

2. เพื่อศึกษาความต้องการในการพัฒนาสมรรถนะหลักผู้บริหารสถานศึกษาตามแนวทาง       การปฏิรูปการศึกษา 

3. เพื่อจัดทำแผนในการพัฒนาสมรรถนะผู้บริหารสถานศึกษาตามแนวทาง การปฏิรูปการศึกษาและปฏิรูประบบราชการ 

กรอบแนวคิดที่ใช้ในการศึกษา

                การศึกษาครั้งนี้ได้กำหนดกรอบแนวคิดในการศึกษา โดยอาศัยแนวทางการประเมินสมรรถนะหลักของข้าราชการตามแนวทางการปฏิรูประบบราชการของ ก.พ.ร. และมาตรฐานความรู้และสมรรถนะหลักของผู้บริหารสถานศึกษาตามมาตรฐานและประสบการณ์วิชาชีพครูของคุรุสภา พ.ศ. 2548  ดังนี้

 

สมรรถนะหลักของผู้บริหารสถานศึกษาตามแนวทางการปฏิรูประบบราชการ ประกอบด้วย

มาตรฐาน 1 การมุ่งผลสัมฤทธิ์

มาตรฐาน 2 การบริการที่ดี

มาตรฐาน 3 การสั่งสมความเชี่ยวชาญในงานอาชีพ

มาตรฐาน 4 จริยธรรม

มาตรฐาน 5 ความร่วมแรง ร่วมใจ

สมรรถนะหลักของผู้บริหารสถานศึกษาตามแนวทางการปฏิรูปการศึกษา ประกอบด้วย

มาตรฐานที่ 1 หลักและกระบวนการนิเทศการบริหารการศึกษา

มาตรฐานที่ 2 นโยบายและการวางแผนการศึกษา

มาตรฐานที่ 3 การบริหารด้านวิชาการ

มาตรฐานที่ 4  การบริหารด้านธุรการ การเงิน พัสดุ และอาคารสถานที่

มาตรฐานที่ 5 การบริหารงานบุคคล

มาตรฐานที่ 6 การบริหารกิจการนักเรียน

มาตรฐานที่ 7 การประกันคุณภาพการศึกษา

มาตรฐานที่ 8 การบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ

มาตรฐานที่ 9 การบริหารการประชาสัมพันธ์และความสัมพันธ์ชุมชน

 

กรอบแนวคิดที่ใช้ในการศึกษา  สามารถแสดงให้เห็นได้ ดังนี้

 

ตัวแปรต้น

ตัวแปรตาม

 

 

1. ประสบการณ์

2. วุฒิการศึกษา

3. ขนาดโรงเรียน

1. สมรรถนะหลักผู้บริหารสถานศึกษาตามแนวทางการปฏิรูประบบราชการ

2. สมรรถนะหลักผู้บริหารสถานศึกษาตามแนวทางการปฏิรูปการศึกษา

 

 

 

 

 

 

 

 

แผนภูมิที่ 1.1  กรอบแนวคิดที่ใช้ในการศึกษา

 

สมมติฐานของการศึกษา

1. ความต้องการในการพัฒนาสมรรถนะหลักผู้บริหารสถานศึกษาตามแนวทางการปฏิรูประบบราชการ จำแนกตามประสบการณ์ มีความแตกต่างกัน

2. ความต้องการในการพัฒนาสมรรถนะหลักผู้บริหารสถานศึกษาตามแนวทางการปฏิรูประบบราชการ จำแนกตามวุฒิการศึกษา มีความแตกต่างกัน

3. ความต้องการในการพัฒนาสมรรถนะหลักผู้บริหารสถานศึกษาตามแนวทางการปฏิรูประบบราชการ จำแนกตามขนาดโรงเรียน มีความแตกต่างกัน

4. ความต้องการในการพัฒนาสมรรถนะหลักผู้บริหารสถานศึกษาตามแนวทางการปฏิรูปการศึกษา จำแนกตามประสบการณ์ มีความแตกต่างกัน

5. ความต้องการในการพัฒนาสมรรถนะหลักผู้บริหารสถานศึกษาตามแนวทางการปฏิรูปการศึกษา จำแนกตามวุฒิการศึกษา มีความแตกต่างกัน

6. ความต้องการในการพัฒนาสมรรถนะหลักผู้บริหารสถานศึกษาตามแนวทางการปฏิรูปการศึกษา จำแนกตามขนาดโรงเรียน มีความแตกต่างกัน

 

 

ขอบเขตของการศึกษา

1. ตัวแปรที่ใช้ในการศึกษา

1.1 ตัวแปรต้น หรือ ตัวแปรอิสระ (Independent variable) ประกอบด้วย

1.1.1 ประสบการณ์

1.1.2 วุฒิการศึกษา

1.1.3 ขนาดโรงเรียน

1.2 ตัวแปรตาม (Dependent variable) ได้แก่

1.2.1 ความต้องการในการพัฒนาสมรรถนะหลักผู้บริหารสถานศึกษาตามแนวทาง

การปฏิรูประบบราชการ

1.2.2 ความต้องการในการพัฒนาสมรรถนะหลักผู้บริหารสถานศึกษาตามแนวทาง

การปฏิรูปการศึกษา 

 

                2. ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง

ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาในโรงเรียนสังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาพิษณุโลก เขต 2 จำนวน  170   คน

กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา  คือ ผู้บริหารสถานศึกษาในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาพิษณุโลก  เขต 2  จำนวน 110 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน(Multi-Stage Sampling) กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตาราง Krejcie และ Morgan

นิยามศัพท์เฉพาะ

เพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ตรงกัน ผู้ศึกษา จึงได้กำหนดนิยามศัพท์ของการศึกษา  ดังนี้

1. สมรรถนะ  หมายถึง ความรู้ ความสามารถ ทักษะ เจตคติ และพฤติกรรมของบุคคล ที่จะเป็นประโยชน์ต่อการประกอบวิชาชีพ เพื่อก่อให้เกิดพัฒนาตามจุดมุ่งหมายที่พึงประสงค์

สมรรถนะหลักผู้บริหารสถานศึกษา หมายถึง ความรู้ ความสามารถ ทักษะ เจตคติ และพฤติกรรมของผู้บริหารสถานศึกษาที่จะเป็นประโยชน์ในการประกอบวิชาชีพ เพื่อก่อให้เกิดพัฒนาการของนักเรียนในทุก ๆ ด้านตามจุดมุ่งหมายที่พึงประสงค์

สมรรถนะหลักของผู้บริหารสถานศึกษาในที่นี้ประกอบด้วยสมรรถนะหลักสำคัญ 2 ด้าน คือ สมรรถนะหลักตามแนวทางการปฏิรูประบบราชการและสมรรถนะหลักตามแนวทางการปฏิรูปการศึกษา

                2. ผู้บริหารสถานศึกษา หมายถึง ข้าราชการครูที่ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสถานศึกษา รองผู้อำนวยการสถานศึกษา ตลอดจนผู้รักษาการในตำแหน่งดังกล่าว ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่      การศึกษาพิษณุโลก  เขต 2 ในปีการศึกษา 2551

                3. ประสบการณ์ หมายถึง ระยะเวลาในการปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งผู้บริหารสถานศึกษา แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ

                            1. ต่ำกว่า 20  ปี

                            2. ตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไป

                4. วุฒิการศึกษา หมายถึง ระดับการศึกษาของผู้บริหารสถานศึกษาในโรงเรียนสังกัด         สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาพิษณุโลก  เขต 2 ในปีการศึกษา 2551 แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ

                            1. ระดับปริญญาตรี

                            2. ระดับสูงกว่าปริญญาตรี

                5. ขนาดโรงเรียน หมายถึง ขนาดโรงเรียนตามเกณฑ์การจำแนกของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน แบ่งเป็น 3 ขนาด  คือ

  • 1. ขนาดเล็ก (นักเรียนไม่เกิน 120 คน)
  • 2. ขนาดกลาง (นักเรียน 121 - 300 คน)
  • 3. ขนาดใหญ่ (นักเรียนตั้งแต่ 301 คนขึ้นไป)

 

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

1. ผลที่ได้จากกระบวนการวิจัยจะช่วยให้ทราบถึงความต้องการจำเป็นที่แท้จริงในการพัฒนาสมรรถนะหลักของผู้บริหารสถานศึกษาในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาพิษณุโลก  เขต 2  และมีความต้องการในการพัฒนาที่แตกต่างกันตามสภาพบริบทของสถานศึกษา ตามลักษณะของการจัดการศึกษา

2. ผลของการวิจัยยังเป็นดัชนีให้ทราบว่าผู้บริหารสถานศึกษา ควรได้รับการพัฒนาในสมรรถนะหลักใด ทำให้เกิดความคุ้มค่าคุ้มประโยชน์กับทรัพยากรที่ใช้ สามารถลดปัญหาความสูญเปล่าทางทรัพยากรและทำให้เกิดการพัฒนาเปลี่ยนแปลงในตัวบุคคลได้อย่างแท้จริง

              3. ผลที่ได้จากการศึกษา จะช่วยในการจัดทำแผนพัฒนาผู้บริหารสถานศึกษา     ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาพิษณุโลก  เขต 2  

 

 

บทที่ 2

 

วรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง

 

           การศึกษา  เรื่อง   "การพัฒนาสมรรถนะหลักของผู้บริหารสถานศึกษา" ตามแนวทางการปฏิรูประบบราชการและการปฏิรูประบบการศึกษา ผู้ศึกษาได้ศึกษาวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง ดังนี้

                1. แนวคิดเกี่ยวกับการพัฒนาวิชาชีพครู

                         1.1 ความหมายของคำว่า "ครู"

                         1.2 ความหมายของคำว่า "ผู้บริหารสถานศึกษา"

                         1.3 การพัฒนาวิชาชีพครู

                2. แนวคิดเกี่ยวกับสมรรถนะผู้บริหารสถานศึกษา

                         2.1 ความหมายของคำว่า "สมรรถนะ"

                         2.2 สมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษาตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ                พ.ศ.2542

                         2.3 สมรรถนะผู้บริหารสถานศึกษาตามแนวทางการปฏิรูประบบราชการ

                         2.4 สมรรถนะผู้บริหารสถานศึกษาตามแนวทางการปฏิรูปการศึกษา

                3. งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

บทที่ 3

 

วิธีดำเนินการ

 

การศึกษา เรื่อง การพัฒนาสมรรถนะหลักของผู้บริหารศึกษาตามแนวทาง การปฏิรูประบบราชการและการปฏิรูปการศึกษา เป็นการศึกษาเชิงบรรยาย (Descriptive research) รูปแบบการศึกษาโดยการสำรวจ (Survey study) กำหนดให้ผู้บริหารสถานศึกษา เป็นหน่วยวิเคราะห์ (Unit of Analysis) มีรายละเอียดของวิธีดำเนินการศึกษา ดังนี้

      1. ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง

      2. แบบแผนการศึกษา

      3. เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา

      4. การวิเคราะห์ข้อมูล

      5. สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล

ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง

 

ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาพิษณุโลก เขต 2   จำนวน 150 โรงเรียน   เป็นผู้บริหารสถานศึกษาจำนวน 170  คน

กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ ผู้บริหารสถานศึกษาในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาพิษณุโลก เขต 2    จำนวน 110 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตาราง Krejcie และ Morgan (1970 : 607-610) ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Sampling) ตาม            ขั้นตอนดังนี้

ขั้นตอนที่ 1 กำหนดอำเภอ ในเขตสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาพิษณุโลก เขต 2         จำนวน 3  อำเภอ คือ อำเภอวังทอง   อำเภอบางกระทุ่ม  อำเภอเนินมะปราง

                ขั้นตอนที่ 2  กำหนดขนาดโรงเรียนในแต่ละอำเภอ เป็น 3 ขนาด คือ ขนาดเล็ก ขนาดกลาง และขนาดใหญ่ ตามเกณฑ์การจำแนกของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ดังแสดงใน ตารางที่ 3.1

 

 

ตารางที่ 3.1    แสดงประชากรโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาพิษณุโลก เขต 2        จำแนกตามอำเภอ และขนาดโรงเรียน

 

ขนาดโรงเรียน

ประชากร

เล็ก

กลาง

ใหญ่

รวม

วังทอง

25

33

20

78

บางกระทุ่ม

20

12

8

40

เนินมะปราง

12

11

9

32

รวม

57

56

37

150

 

                ขั้นตอนที่ 3  สุ่มสถานศึกษาในแต่ละอำเภอ ตามสัดส่วนของขนาดโรงเรียน ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 110 โรงเรียน ดังแสดงใน ตารางที่ 3.2

 

ตารางที่ 3.2    แสดงกลุ่มตัวอย่างโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาพิษณุโลก เขต 2

                         จำแนกตามอำเภอ และขนาดโรงเรียน

 

ขนาดโรงเรียน

ประชากร

กลุ่มตัวอย่าง

เล็ก

กลาง

ใหญ่

รวม

เล็ก

กลาง

ใหญ่

รวม

วังทอง

25

33

20

65

19

25

15

59

บางกระทุ่ม

20

12

8

54

15

8

6

29

เนินมะปราง

12

11

9

21

8

7

7

22

รวม

57

56

37

150

42

40

28

110

 

                ขั้นตอนที่ 4  ผู้บริหารสถานศึกษาจากโรงเรียนที่สุ่มได้ในขั้นตอนที่ 3  จำนวนโรงเรียนละ 1 คน  ได้จำนวนผู้บริหารสถานศึกษาทั้งสิ้น 110 คนเป็นกลุ่มตัวอย่าง

 

แบบแผนการศึกษา

 

การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงบรรยาย (Descriptive research) รูปแบบการศึกษาโดยการสำรวจ (Survey study) กำหนดให้ผู้บริหารสถานศึกษาในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาพิษณุโลก เขต 2 เป็นหน่วยวิเคราะห์ (Unit of Analysis) มีแบบแผนการศึกษาแสดงดังนี้

 

กลุ่มตัวอย่าง

ตัวแปรต้น

ตัวแปรตาม

 

ผู้บริหารสถานศึกษา           ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาพิษณุโลก เขต 2          จำนวน 110 คน

ประสบการณ์

วุฒิการศึกษา

ขนาดโรงเรียน

การพัฒนาสมรรถนะหลักของผู้บริหารศึกษา ตามแนวทางการปฏิรูประบบราชการ

 

การพัฒนาสมรรถนะหลักของผู้บริหารศึกษา ตามแนวทางการปฏิรูปการศึกษา
 
 
 
 

 

เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา

 

            การศึกษาครั้งนี้ผู้ศึกษากำหนดเครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลสำหรับการศึกษาเป็นแบบสอบถาม จำนวน 1 ฉบับ คือ แบบสอบถามความต้องการในการพัฒนาสมรรถนะผู้บริหารสถานศึกษาตามแนวทางการปฏิรูประบบราชการและปฏิรูปการศึกษา ซึ่งเป็นแบบสอบถามของสถาบันพัฒนา           ผู้บริหารการศึกษา สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ที่ผู้ศึกษาเป็นคณะทำงานในการสร้าง           แบบสอบถามดังกล่าว และได้รับอนุญาตให้ใช้แบบสอบถามในการศึกษาครั้งนี้ โดยแบบสอบถามมีวิธีการสร้างดังนี้

                ขั้นที่ 1 ผู้ศึกษาได้ศึกษาแนวคิด ทฤษฎี กฎหมายการศึกษาและเอกสารรายงานการศึกษาที่            เกี่ยวข้องกับสมรรถนะหลักของครูและบุคลากรทางการศึกษา  แล้ววิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูลเพื่อนำไปใช้สร้างแบบสอบถามสำหรับกลุ่มตัวอย่าง คือ แบบสอบถามสำหรับผู้บริหารสถานศึกษา

                ขั้นที่ 2  จัดสัมมนาผู้เชี่ยวชาญด้านการศึกษาและการศึกษาทางการศึกษา จำนวน 38 คน จากเขตพื้นที่การศึกษาต่าง ๆ เพื่อกำหนดสมรรถนะหลักของผู้บริหารสถานศึกษา (รายละเอียดสมรรถนะหลักของผู้บริหารสถานศึกษาปรากฏในบทที่ 2)

                ขั้นที่ 3  ศึกษาหลักการและวิธีสร้างแบบสอบถามความคิดเห็น 2 ลักษณะ ได้แก่ แบบสอบถามชนิดเลือกตอบว่า "ต้องการ" หรือ "ไม่ต้องการ" แบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ คือ มากที่สุด มาก ปานกลาง น้อย น้อยที่สุด แบบสอบถามชนิดเลือกตอบตามรายการที่กำหนดให้

                ขั้นที่ 4  สร้างแบบสอบถามสำหรับผู้บริหารสถานศึกษาเป็นฉบับร่างและตรวจสอบ                คุณภาพของแบบสอบถามโดยวิธีของ Edwards Allen and Kilpatrick (1969: 381, อ้างถึงในประคอง    กรรณสูต 2525 : 91) ที่ว่ารายการสอบถามที่ดีต้องมีคุณลักษณะ ดังนี้

หลังจากตรวจสอบคุณภาพของรายการสอบถามที่ดีแล้ว หากพบว่ารายการสอบถาม

ใดมีความบกพร่องได้ทำการปรับปรุงแก้ไข

ขั้นที่ 5  นำแบบสอบถามทั้งหมดให้ผู้เชี่ยวชาญ .......ท่าน เพื่อให้ดุลยพินิจตรวจสอบความตรง (Validity) คือ การตรวจสอบว่าแบบสอบถามนั้นสามารถสอบถามได้ตรงตามที่ต้องการและมีความสอดคล้องระหว่างรายการสอบถามกับวัตถุประสงค์ของการศึกษา

หลังจากได้ผลรวมของดุลยพินิจของผู้เชี่ยวชาญทั้ง 38 ท่าน ในแต่ละรายการสอบถามแล้ว   ได้วิเคราะห์ดัชนีความสอดคล้องระหว่างรายการสอบถามกับวัตถุประสงค์ของการศึกษาด้วยค่า IOC (Index of item objective Congruence) (พวงรัตน์  ทวีรัตน์ 2540:117) แล้วเลือกรายการสอบถามที่มีค่า IOC ตั้งแต่ 0.50 ขึ้นไป จัดเป็นรายการสอบถามที่ถือว่ามีค่าความตรงที่ยอมรับได้ หากข้อคำถามใดมีค่า IOC ไม่ถึงเกณฑ์ตามที่กำหนด ผู้ศึกษาได้นำไปปรับปรุงแก้ไขและตรวจสอบด้วยค่า IOC          อีกครั้ง เมื่อดำเนินการเสร็จแล้วผู้ศึกษาได้จัดทำแบบสอบถามให้เป็นฉบับสมบูรณ์เตรียมพร้อมสำหรับการทดลองใช้

ขั้นที่ 6  แบบสอบถามที่ผ่านการตรวจสอบความตรงแล้วได้นำไปทดลองใช้กับกลุ่มตัวอย่างซึ่งเป็นผู้บริหารสถานศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษา............................................   จำนวน  เขตละ ......คน ทดลองเมื่อวันที่ ......................................................เพื่อวิเคราะห์ค่าอำนาจจำแนก (Discrimination) คือ การตรวจสอบคุณภาพของรายการสอบถามว่าสามารถจำแนกความคิดเห็น    ที่แตกต่างกันระหว่างผู้ตอบได้หรือไม่

ขั้นที่ 7  แบบสอบถามความต้องการในการพัฒนาสมรรถนะหลักของผู้บริหารสถานศึกษาได้นำไปตรวจสอบคุณภาพความเชื่อมั่น (Reliability)

ขั้นที่ 8  นำแบบทดสอบที่ได้ผ่านการตรวจสอบคุณภาพด้วยค่าความตรง (Validity) อำนาจจำแนก (Discrimination) และความเชื่อมั่น (Reliability) แล้ว นำไปจัดทำให้เป็นแบบสอบถามความต้องการในการพัฒนาสมรรถนะหลักของผู้บริหารสถานศึกษาฉบับสมบูรณ์ แล้วนำไปเก็บข้อมูลกับกลุ่มตัวอย่างต่อไป

การวิเคราะห์ข้อมูล

                การวิเคราะห์สำหรับการศึกษาในครั้งนี้ ผู้ศึกษาแบ่งการวิเคราะห์เป็น 2 ส่วน ดังนี้

                ส่วนที่ 1 การวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา

                        แบบสอบถามความต้องการในการพัฒนาสมรรถนะหลักของผู้บริหารสถานศึกษา  มีการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อตรวจสอบคุณภาพ  ดังนี้

                         1.1 ตรวจสอบความตรง (Validity) โดยการวิเคราะห์ค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่าง

รายการสอบถามกับวัตถุประสงค์ของการศึกษาด้วยค่า IOC (Index of item objective Congruence)

                         1.2 ตรวจสอบค่าอำนาจจำแนก (Discrimination) ของแบบสอบถามด้วยค่า t-test 

สำหรับกลุ่มตัวอย่างที่เป็นอิสระต่อกัน(Independent) แล้วคัดเลือกรายการสอบถามที่มีค่าอำนาจจำแนก ตั้งแต่ 1.75 ขึ้นไป

                         1.3 ตรวจสอบค่าความเชื่อมั่น (Reliability) ด้วยวิธีแบ่งครึ่ง (Split-half) โดยสูตร

ของ

คำสำคัญ (Tags): #สมรรถนะ
หมายเลขบันทึก: 202761เขียนเมื่อ 22 สิงหาคม 2008 21:14 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 มิถุนายน 2012 01:38 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

ทำไมถึงเก่งขนาดนี้..สมบูรณ์ทุกอย่างแล้ว ล้ำหน้าไปไกล..ขอชื่นชมครับผม..

  • ขอ ลปรร.ด้วยครับ
  •  ด้านการผลิตครู น่าจะเน้น
  • ปลูกฝังด้านจิตวิญญาณความเป็นครู
  • แล้วตรวจสอบประเมินเข้มข้น ให้ใบอนุญาตได้เลย
  • อีกประการหนึ่ง เครื่องมือสำคัญที่ต้องฝึกให้เกิดทักษะ
  • คือกระบวนการคิดที่เป็นระบบ โดยเฉพาะการนำไปใช้กับเด็ก
  • แถมท้ายที่สำคัญ ค่าตอบแทนต้อง  เหมาะสมกับภารหน้าที่
  • ขอบคุณ
  •  

ขอขอบคุณทุก ๆความเห็น ...จะพยามทำให้ถูกต้องครับ

 

เก่งจังค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท