ระบบหอพักที่เอื้อต่อการพัฒนานักศึกษา เรื่องของ IR VS R2R


วิจัยสถาบัน (Institutional Research, IR) เหมือนหรือต่างจาก R2R หรือไม่ อย่างไร

ในการประชุมของที่ประชุมบริหาร มวล. ครั้งที่ ๘/๒๕๕๑ เมื่อวันพุธที่ ๒๐ สิงหาคม ที่ผ่านมา มีวาระที่เป็นการนำเสนอผลงานวิจัยสถาบันเรื่อง “ระบบหอพักที่เอื้อต่อการพัฒนานักศึกษา” ซึ่งมีอาจารย์ไพโรจน์ นวลนุ่ม ศิษย์เก่าของ มวล.เป็นหัวหน้าดำเนินการ งานวิจัยชิ้นนี้เก็บข้อมูลทั้งจากการทบทวนเอกสาร สัมภาษณ์ผู้เกี่ยวข้อง ทำให้ได้รู้ถึงปรัชญา/หลักคิดในการดำเนินงานหอพักที่มีมาแต่เดิม ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในระยะเวลาที่ผ่านมา ความคาดหวังของส่วนต่างๆ ตัวชี้วัดในการพัฒนาระบบงานหอพัก

แม้ว่าผลงานวิจัยจะยังไม่สมบูรณ์ แต่ก็ทำให้เราได้ทบทวนการทำงานที่ผ่านมาว่าเป็นไปในทิศทางที่สอดคล้องกับปรัชญาพื้นฐานมากน้อยเพียงใด ดิฉันรู้สึกว่าการพัฒนาระบบหอพักให้เป็นทั้งที่เรียนรู้และอยู่อาศัยเป็นเรื่องท้าทายมาก การทำงานในเรื่องนี้ต้องอาศัยความร่วมมือของหลายส่วนงาน

รศ.ดร.วัฒนพงศ์ เกิดทองมี คณบดีสำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์และทรัพยากร ให้ความเห็นต่อการวิเคราะห์ SWOT โดยเฉพาะในส่วนของภาวะคุกคาม ว่าน่าจะมีอะไรบ้างและจะเอาจุดแข็งที่มีอยู่ไปใช้อย่างไร ดร.เลิศชาย ศิริชัย รักษาการแทนคณบดีสำนักวิชาศิลปศาสตร์ ให้ความเห็นว่า การ set ความหมายต่างๆ เช่น คนดี คนเก่ง เป็นอย่างไร ต้องสนใจความหมายของ key actors คือนักศึกษาด้วย จะต้องสร้างกระบวนการของการหาความหมาย ให้นักศึกษามีส่วนร่วม และต้องมองบริบทที่เปลี่ยนไปด้วย

การทำวิจัยสถาบันในเรื่องที่สำคัญๆ ทำให้เราได้ทบทวนและวางแผนนโยบาย/การพัฒนาเรื่องต่างๆ บนพื้นฐานของข้อมูลที่ลึกและรอบด้าน ไม่ใช่บนความรู้สึกหรือจากประสบการณ์เสี้ยวใดเสี้ยวหนึ่ง ที่ประชุมจึงเสนอว่าอีกเรื่องที่ควรจะหยิบยกขึ้นมาคือ ระบบรวมบริการ ประสานภารกิจ โดยเริ่มจากเรื่องของการเรียนการสอน

พูดเรื่องการวิจัยสถาบันแล้วก็หันไปเห็นวาระเพื่อทราบเรื่องโปรแกรม Happiness R2R ของหน่วยพัฒนาองค์กร เกิดคำถามว่าวิจัยสถาบัน (Institutional Research, IR) เหมือนหรือต่างจาก R2R หรือไม่ อย่างไร เพราะหน่วยนี้ list วิจัยเรื่องหอพักที่กล่าวมาแล้วข้างต้นว่าอยู่ในกลุ่มนี้ด้วย แถมวิจัย R2R หลายเรื่องเป็นการสำรวจเรื่องนั้นเรื่องนี้ ดูชื่อแล้วก็นึกไม่ออกว่าคำตอบที่ได้จะเป็น Routine development อย่างไร

ดิฉันคิดว่าโจทย์ของ IR และ R2R แตกต่างกัน

วัลลา ตันตโยทัย

หมายเลขบันทึก: 202601เขียนเมื่อ 22 สิงหาคม 2008 05:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 มิถุนายน 2012 16:46 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ผมว่าเมื่อเปลี่ยนแล้วยิ่งขาดความชัดเจน และขาดความเป็นธรรมครับ

น่าจะลองพิจรณาใหม่ ถ้าให้ผมเสนอ นะครับ ระบบชั่วโมงควรจะเอาออกเหตุผลมีหลายประการเลยครับ (รู้ศึกไม่เป็นธรรมและไม่เป็นไปในทิศทางเดียวกัน ) แต่การเลือกหอ เมื่อปีการศึกษา 2551 ถือว่าผ่านครับ เพราะตอนนี้นักศึกษาเริ่มรู้สึกแย่ครับ

นศ. มวล

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท