เครื่องดื่มบำรุงกำลัง(กระทิงแดง) กับงานวิจัยที่ไม่ตรงไปตรงมา


การศึกษานี้มีอะไรที่ไม่ชอบมาพากล และส่อให้เห็นว่า คณะนักวิจัยอาจจะมี "ผลประโยชน์ทับซ้อน" ผิดปกติ เนื่องจากเจาะจงเครื่องดื่มยี่ห้อเดียว ไม่ยอมใช้เครื่องดื่มยี่ห้ออื่นของฝรั่ง และกาแฟเปรียบเทียบ ทั้งๆ ที่ฝรั่งก็ผลิตเครื่องดื่มผสมกาเฟอีนออกมาขายหลายยี่ห้อเช่นกัน

...

เร็วๆ นี้มีการเปิดเผยว่า การศึกษาวิจัยทางด้านสุขภาพและวงการแพทย์ส่วนใหญ่ไม่ยอมเปิดเผยแหล่งที่มาของเงินสนับสนุน (สปอนเซอร์)

ทำให้เกิดข้อสงสัยกันอย่างกว้างขวางว่า มีความเป็นไปได้ที่บริษัทยา อาหาร อาหารเสริม หรือเครื่องดื่มอาจทำอะไร "ใต้โต๊ะ" เพื่อให้ผลการวิจัยออกมาดูดี วิจัยแอบแฝงเพื่อทำร้าย หรือกีดกันคู่แข่งทางการค้า

...

สำนักข่าวรอยเตอร์ตีพิมพ์ผลการศึกษาเกี่ยวกับเครื่องดื่ม 'Red bull (เรดบูล)' ซึ่งเป็นเครื่องดื่มเติมกาเฟอีน (caffeine) ที่บริษัทไทย (กระทิงแดง) ร่วมลงทุนกับออสเตรียผลิตออกขายทั่วโลก

เครื่องดื่ม "เรดบูล" ในไทยมักจะเป็นที่ชื่นชอบของแฟนกีฬา และคนทำงานประเภทใช้แรงงาน ผู้เขียนไปพม่ามาหลายครั้ง พบว่า ชาวพม่าก็ชื่นชอบกระทิงแดงเช่นกัน

...

คุณอู ตอง หนุ่ย ชาวมอญเชื้อสายจีนในพม่าที่มีประสบการณ์ทำงานก่อสร้างในไทยประมาณ 14 ปีมาก่อน ทุกวันนี้ท่านอยู่ที่เมาะละแหม่ง เขตมอญของพม่าบอกว่า

ตอนทำงานก่อสร้าง... ทำงานเก็บเงินตั้งแต่เช้า ต่อไปจนดึกทุกวัน ได้นอนจริงๆ วันละ 4 ชั่วโมง... "ต้องกินวันละ 2 ขวด" ไม่อย่างนั้นทำงานไม่ไหว

...

ท่านอาจารย์สกอตต์ วิลโลบี และคณะ แห่งศูนย์วิจัยหัวใจ-หลอดเลือด โรงพยาบาลรอยัล อะเดเลด ออสเตรเลีย ทำการศึกษาวิจัยในผู้ใหญ่อายุน้อย 30 คน

ท่านเจาะเลือดไปตรวจก่อนและหลังดื่มกระทิงแดงขนาด 250 มิลลิลิตร ซึ่งมีกาเฟอีน 80 มิลลิกรัม ขนาดใกล้เคียงกับกาแฟสำเร็จรูป 1 ถ้วย

...

อาจารย์วิลโลบีกล่าวว่า การดื่มเรดบูล หรือกระทิงแดงทำให้เกิดความเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมองแตก-ตีบตัน อัมพฤกษ์ อัมพาตเพิ่มขึ้น

เครื่องดื่มเรดบูลขายได้ปีลประมาณ 3,500 ล้านกระป๋องใน 143 ประเทศทั่วโลก ขณะที่บ้านเราเป็นเครื่องดื่มของแฟนกีฬา และคนทำงานประเภทใช้แรงงาน ฝรั่งที่ดื่มส่วนใหญ่กลับเป็นแฟนกีฬา และนักศึกษามหาวิทยาลัย

...

การศึกษานี้มีอะไรที่ไม่ชอบมาพากล และส่อให้เห็นว่า คณะนักวิจัยอาจจะมี "ผลประโยชน์ทับซ้อน" ผิดปกติ เนื่องจากเจาะจงเครื่องดื่มยี่ห้อเดียว ไม่ยอมใช้เครื่องดื่มยี่ห้ออื่นของฝรั่ง และกาแฟเปรียบเทียบ ทั้งๆ ที่ฝรั่งก็ผลิตเครื่องดื่มผสมกาเฟอีนออกมาขายหลายยี่ห้อเช่นกัน

ผู้เขียนขอเรียนเสนอให้รอการศึกษาที่ "ตรงไปตรงมา" มากกว่านี้ และไม่แนะนำให้เชื่อผลการศึกษานี้ด้วย

...

อย่างไรก็ตาม... ถ้าคิดจะดื่มเครื่องดื่มบำรุงกำลังที่มีกาแฟอีนผสม (ไม่ว่าจะยี่ห้อใดก็ตาม) ควรระวังในเรื่องต่อไปนี้

  • ไม่ควรดื่มเกิน 2-3 กระป๋องต่อวัน คล้ายๆ กับกาแฟที่ไม่ควรดื่มเกิน 2-3 ถ้วยต่อวันเช่นกัน

...

  • ควรตรวจเช็คความดันเลือดเป็นประจำ > ถ้ามีปัญหาความดันเลือดสูง ควรปรึกษาหมอใกล้บ้านก่อนว่า จะดื่มได้หรือไม่
  • ควรตรวจเช็คว่า เป็นเบาหวานหรือไม่ > กาเฟอีน... ไม่ว่าจะในกาแฟ หรือเครื่องดื่มบำรุงกำลังอาจทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้นได้ ทั้งจากผลของกาเฟอีน และน้ำตาลในเครื่องดื่ม

...

  • ระวังไม่ดื่มเครื่องดื่มบำรุงกำลังที่มีกาเฟอีนพร้อมเหล้า เบียร์ ไวน์ สาโท หรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ > เนื่องจากอาจทำให้ดื่มเหล้ามากขึ้น และเสี่ยงอันตรายจากเหล้าเพิ่มขึ้นได้ (นักศึกษาฝรั่งนิยมนำมาผสมกับเหล้า ทำให้เสี่ยงอันตรายเพิ่มขึ้นมาก)
  • คนท้องหรือตั้งครรภ์ไม่ควรดื่มเครื่องดื่มผสมกาเฟอีน

...

เรียนเสนอให้พวกเราติดตามการศึกษาเพิ่มเติมที่ "ตรงไปตรงมา" มากกว่านี้ต่อไป และควรพิจารณาข้อควรระวังข้างต้นก่อนดื่มเครื่องดื่มบำรุงกำลัง... ไม่ว่าจะเป็นยี่ห้อใดก็ตาม

ถึงตรงนี้... ขอให้พวกเรามีสุขภาพดีไปนานๆ ครับ

...

ที่มา                                                             

  • Thank Reuters > Rob Taylor. David Fogarty ed. > Red bull drink lifts stroke risk > [ Click ] > August 14, 2008. // ข้อควรระวัง... อย่าเพิ่งเชื่อการศึกษานี้ มีอะไรที่ไม่ตรงไปตรงมา และอาจมุ่งโจมตีสินค้าไทยด้วยความลำเอียง

...

  • ข้อมูลและการอ้างอิงในบล็อก "บ้านสุขภาพ" เป็นไปเพื่อส่งเสริมสุขภาพ และป้องกันโรค ไม่ใช่รักษาโรค
  • ท่านที่มีโรคประจำตัว หรือมีความเสี่ยงต่อโรคสูง... ควรปรึกษาแพทย์ ทันตแพทย์ พยาบาล เภสัชกร หรือหมออนามัยที่ดูแลท่านก่อนนำข้อมูลไปใช้

...

  • ขอขอบพระคุณ > อ.นพ.ศิริชัย ภัทรนุธาพร สสจ.ลำปาง + อ.นพ.โอฬาร ยิ่งเสรี ผอ.รพ.ห้างฉัตร, อ.อนุพงษ์ แก้วมา + อ.ณรงค์ ม่วงตานี > สนับสนุนเทคนิค iT.
  • นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์ ศูนย์แพทย์ชุมชน (CMU) โรงพยาบาลห้างฉัตร ลำปาง > 15 สิงหาคม 2551.
หมายเลขบันทึก: 202065เขียนเมื่อ 19 สิงหาคม 2008 17:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 14:16 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ไม่ทราบว่าที่เขียนมานั้นมาจากบทความอะไร และการวิจัยที่ว่าคืออการวิจัยอะไร เพราะว่าการไม่ได้พูดถึงข้อมูลวิจัยและอื่นๆ โดยที่มุ่งพูดแค่ว่ากระทิงแดงไม่ดีอย่างนั้นอย่างนี้เนื่องจากมีกาเฟอีนนั้น ดูจะไม่ยุติธรรมสักเท่าไหร่นะคะ

เนื่องจากทราบมาว่าเครื่องดื่มบำรุงกำลังที่มีวางจำหน่ายอยู่ในท้องตลาดทั้งหมดนั้นล้วนแล้วแต่ผ่านการรับรองและได้รับอนุญาตจาก อย. เรียบร้อยแล้ว จึงมั่นใจในการบริโภคได้ หากปฏิบัติตามคำเตือนบนฉลากนะคะ

ต้นฉบับมาจากรอยเตอร์ครับ // คนวิจัยอยู่ในออสเตรเลีย ซึ่งผมเองก็ไม่เห็นด้วยกับการศึกษานี้ ดูจะเป็นการทำลายสินค้าไทย-ออสเตรีย (Red Bull เป็นการลงทุนร่วมระหว่างนักธุรกิจออสเตรีย-ไทย) มากผิดปกติ // ไม่ควรเชื่อถือ และไม่ควรไว้วางใจการวิจัยแบบนี้ครับ... // ผลิตภัณฑ์ของไทยมีดี และมีคุณภาพสูงทีเดียว ถ้ากินแต่พอประมาณ...

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท