พาณิชยศิลป์การผลิตหนังโฆษณา


ศึกษาเรียนรู้ขบวนการถ่ายหนังโฆษณาแบบมืออาชีพ

การผลิตหนังโฆษณา

 

         ภาพยนตร์โฆษณาเป็นสื่อตัวหนึ่งที่ได้เราความนิยม และได้ผลกระทบอารมณ์กลุ่มเป้าหมายได้เร็วและได้ผลที่สุด  จดจำได้ง่าย    ทั้งนี้ลูกค้าจะได้เห็นทั้งภาพ และหูได้ยินเสียง   ถ้าอยากได้หนังโฆษณาที่มีคุณภาพ   ควรที่จะประสานงานอยู่ใกล้กับกองถ่าย ในการให้รายละเอียดเมื่อสบโอกาสอย่างสำรวมใจ  อย่าปล่อยให้ผู้สร้างเดียวโดดเดี่ยวเสียทีเดียวแล้วจะแก้ไขไม่ทัน จนไม่อยากจะดูหนังโฆษณาสินค้าตัวเอง

 

        การทำหนังโฆษณาก่อนถ่ายทำ จะมีการประชุมกันระหว่างเอเยซี่ / ลูกค้า ( เรา หรือ  เจ้าของสินค้า ) / และบริษัทถ่ายหนัง เพื่อทำการตกลงในรายละเอียดของเสื้อผ้า / ตัวแสดง / ฉาก / ขนาดของสินค้าที่ใช้ถ่าย / สีสัน / ซูเปอร์ และเบ็ดเตล็ดเท่าที่จะทำได้ เพื่อให้แต่ละฝ่ายมีความเข้าใจในเรื่องเดียวกัน เราเรียกขั้นตอนนี้ว่า Pre – Production ซึ่งเป็นขั้นที่สำคัญที่สุด

 

      หลังจากที่ตกลงกันได้แล้วคุณจะได้รับ Call Sheet ซึ่งเป็นกำหนดการและสถานที่ ในใบนี้จะมีชื่อผู้รับผิดชอบด้านต่าง ๆ ใครเป็นครีเอทีฟ / ผู้กำกับ / ตากล้อง / แสง / เมคอัพ / ทำผม / สไตล์ลิสท์ / ฯ ลฯ  เราจะได้เรียกได้ถูกคน  และถามได้ถูกหน้าที่ ( บุคคลที่เราจะฝากความหวังได้มากที่สุดคือ โปรดิวเซอร์ )

 

      ถ้าเป็นการถ่ายทำในสตูดิโอหรือโลเคชันก็ตามแต่ เขาจะแนบแผนที่มากับ Call Sheet นี้ด้วย  ความหมายสำคัญของ Call Sheet ก็ให้ดูหลักใหญ่ ๆ คือ Crew Call กี่โมง Shouting Call กี่โมง 

      Crew Call หมายถึงเวลาที่กำหนดแน่นอนว่า ผู้ที่ทำงานด้วยการถ่ายทำพวกแสง / กล้อง / กำกับ /  เมคอัพ / ตัวแสดง / ฯลฯ  ต้องไปพร้อมที่นัดหมายเวลานั้น  ไม่ไช่บอกว่าตี 5 แต่ไป 7 โมงเช้า   เพราะถ้ามรการถ่ายแกพระอาทิตย์ขึ้น ถ้าตากล้องตื่นสาย ผลก็คือเราต้องเสียเวลาอีกวันเต็ม ๆ

 

       ในฐานะที่เป็นเอเยนซี่หรือลูกค้า ก็แล้วแต่วาคุณจะไปตาม Crew Call หรือ Shouting Call  ตามปกติลูกค้าจะไปถึงสถานที่ถ่ายทำตามกำหนดเช่น ระบุ 9 โมงเช้า แปลว่า  แสงต้องพร้อมแล้ว ตัวแสดงต้องเมคอัพ ทำผม ใส่เสื้อผ้าเสร็จแล้ว ทุกอย่างพร้อมจะถ่ายช็อตแรกเลย

 

      ถ้าจะให้ดีลูกค้าควรไปก่อน Shouting Call เพื่อดูนายแบบนางแบบก่อนก็ได้  แต่ถ้าคุณไปออกความเห็นมากเกินไป   ดีไม่ดีคีเอทีฟหรือโปรดิวเซอร์ของคุณอาจพาลเก็บของกลับบ้าน แล้วมอบหน้าที่ให้คุณทำแทน คุณจะทำอย่างไร

ฉะนั้นเมื่อรับ  Call Sheet  โทรตกลงกับแผนกบริกหารลูกค้าว่า  เราจะไปดูเขาถ่ายหนังไหม และควรไปเวลากี่โมง  แล้วบอกว่าเราจะดูเพื่อประสบการ  หรือไปช่วยตัดสินใจในกรณีที่เกิดมีปัญหาด้านการตลาดใน หนังโฆษณา  ถ้าคุณทำงานมานาน ก็จะรู้ว่ามันเป็นเรื่องไม่สนุกสักนิดที่จะเสียเวลาไปดูการถ่ายทำ  เพราะทั้งหมดที่จะถ่าย คุณได้ประชุมตกลงกันไปเรียบร้อยแล้วในขั้น Pre – Production  และแต่ละช็อท แต่ละคัท เสียเวลานานทีเดียวกว่าจะได้ตามที่ต้องการแม้เราจะทำงานกับทีมที่มีการเตรียมงานอย่างพร้อมเพรียงแล้วก็ตาม 

 

       เนื่องจากการถ่ายหนัง  เป็นทั้งศิลปะและเทคนิค  นักการตลาดอย่างเราอาจมีความเข้าใจน้อยมาก  คงจะต้องเจียมตัวเจียมใจ และสงบปากสงบคำบ้าง  ขึ้นชื่อว่าศิลปะคนแต่ละคนมีมุมมองที่ต่างกัน ทั้งยังผสมเทคนิคเฉพาะอย่าง  วิธีปฏิบัติที่ดีในการไปดูน่าจะเป็นดังนี้

 

1.    ประกบกับเออีของคุณตลอดเวลา  ทำไมต้องอย่างนั้น ก็เพราะบางรายถือวิสาสะ เข้าไปกำกับเสียเอง หรือไปวุ่นวายกับตัวแสดง  ในกรณีที่มีเออีของคุณไปด้วย คุณก็ต้องพูดคุยปรึกษากับเออีก่อนตามขั้นตอนแล้วถ้าเออีของคุณเห็นว่าจุดที่คุณต้องการเป็นไปได้  เขาก็จะไปปรึกษาครีเอทีฟและโปรดิวเซอร์ เออีจะช่วยลดความตรึงเครียดให้ทีมงานด้วย  เช่น เห็นว่านางแบบของคุณแต่งหน้าเชยไปนิด   ผมแข็งดูไม่เป็นธรรมชาติ คุณก็ควรกระซิบกับเออีของคุณ  ไม่ใช่เข้าไปสั่งเมคอัพอาร์ติส หรือคนดูแลผมให้เปลี่ยนสไตล์ตามคุณ เพราะถ้าทำอย่างนี้ถือเป็นการก้าวก่าย หรือถ้าเป็นเรื่องเสื้อผ้า ถ้าเสื้อผ้าที่คุณซื้อแล้วในที่ประชุม Pre-producttion  พอวันถ่าย คุณเกิดเห็นว่านางแบบใส่แล้วไม่เข้า คุณก็นาจะลองคุยกับทีมงานของเอเยซี่ดูว่ามีโอกาสเปลี่ยนแปลงแก้ไขได้หรือไม่

 

2.    พิถีพิถันกับสินค้า  ช็อทที่คุณควรสนใจมากที่สุด  ควรจะเป็นเรื่องของแพ็คหรือตอนถ่ายวิธีใช้สินค้าของคุณ   ตัวอย่างง่าย ๆ คือ หนังโฆษณาเครื่องดื่มประเภทบำรุงร่างกายอย่างไมโลโอวัลติน  สมมุติคุณเป็นเจ้าของสินค้ามีโอกาสไปดูการถ่ายทำ  เมื่อถึงช็อทโคสอัพชงโอวัลติน แก้วที่ใช้คุณคิดว่าถูกหรือไม่ เห็นสินค้าของคุณหรือเปล่า สีจางไหม คุณต้องการให้ใส่ช็อคโกแล็ตมากขึ้นหรืออย่างไร  จะดูเข้มข้นสวยเป็นต้น  หรือเวลาถ่ายโอวัลตินเย็น  โคสอัพเห็นหลายแก้ว สิ่งที่คุณควรดูคือ  น้ำแข็งในแก้วมากไปหรือน้อยไป  สีโกโก้ในแก้วอ่อนหรือจางเกินไปหรือเปลา  ควรจะเข้มข้นหว่านี้  เพราะไม่อย่างนั้นกลายเป็นว่า  ถ่ายน้ำแข็งละลายแล้ว  และแก้วภายนอกมีหยดน้ำเกาะอยู่เต็มให้เห็นความเย็นและความน่ารับประทานหรือเปล่า  ความจริงสิ่งเหล่านี้ครีเอทีฟ / โปรดิวเซอร์ เขาทำหน้าที่พิทักษ์ผลประโยชน์คุณเต็มที่อยู่แล้ว  ถ้าคุณละเอียดลออกับฉากนี้  ก็ถือว่าคุณทำหน้าที่ของเรา ไม่ไช่คุณไปก้าวก่ายเขา 

 

3. ใช้ขนาดของสินค้าที่เหมาะสมในหนัง  ขนาดของสินค้าเป็นสิ่งหนึ่งที่คุณควรศึกษาใน   กรณีที่สินค้าคุณมีหลายขนาด เวลาจะถ่ายหนังช็อทที่ตัวแสดงต้องใช้ ต้องเลือกขนาดที่เหมาะกับโอกาสสถานที่และมือคน  เช่นนมผง ส่วนใหญ่จะใช้ขนาด 1 ก.ก. เพราะไม่ใหญ่ ม่เล็กเกินไป ยาสรฟัน ใช้ขนาดใหญ่ เพราะเหมาะกับมือและแปรงสีฟัน ส่วนช็อทสำคัญคือแพ็ทช็อท  ถ้าคุณต้องการให้เห็นสินค้าทุกขนาด ที่มีขายตามท้องตลาด  ก็ต้องบอกเขาไปก่อนถ่ายทำด้วย

 

    

      โดยทั่วไป นักโฆษณาสมัยใหม่มักจะเสนอคุณว่า  แพ็คช็อทควรจะโชว์สินค้าขนาดเดียวให้เด่นให้เด่นไปเลย  เพราะจอทีวีที่เล็ก   ถ้าเห็นของเล็ก ๆ วางเรียงกันมากจะมีผลกระทบต่อจิตใจผู้บริโภคน้อยมากเห็นเพียงขนาดเดียว แต่ตราสินค้าเด่นกว่า เป็นหน้าที่ของคุณที่จะเลือกว่าคุณจะใช้กลยุทธ์ไหน  บางทีคุณอาจจะไม่จำเป็นต้องมีแพ็คช็อทเลยก็ได้  ถ้าโลโก้ของคุณเด่นแล้วมีนักการโฆษณาหลายท่านต้องการแหวกแนวทางหรือกฎเกณฑ์ซ้ำซากจำเจ ในหนังเรื่องหนึ่งจะไม่ให้มีแพ็ทช็อทเลย คุณจะตามใจเขาก็ได้ แต่ต้องมั่นใจว่าคนดูหนังโฆษณา ของคุณจบแล้ว  จะจำสินค้าของคุณได้ ไม่งั้นจะทำหนังโฆษณาสินคาไปทำไมกัน

 

 

 

 

คำสำคัญ (Tags): #rnm
หมายเลขบันทึก: 202038เขียนเมื่อ 19 สิงหาคม 2008 16:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 03:51 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
ผม กำลังต่อ มหา ลัย

ขอคำ ปรึกษาหน่อย คัพ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท