ศักราช
อาจารย์ ศักราช ลุงปั๋น ฟ้าขาว

ความเชื่อข้อห้ามขึดล้านนา : อดีต ปัจจุบัน อนาคต(๘)


กำพืดของตนเอง หมายถึง การรู้จักถิ่นที่อยู่ คติความเชื่อ ความเป็นไปเป็นมาของตนเอง ของชุมชนล้านนา และปัจจุบันหมายความรวมไปถึงความเป็นชาติไทย การยอมรับในการปฏิบัติต่อขนบธรรมเนียมจารีตประเพณี และตัวบทกฎหมาย

บทวิเคราะห์ข้อห้ามเรื่องขึดจากสภาพบริบทในปัจจุบันและอนาคต

                    ในอดีตที่ผ่านมาชาวล้านนาประพฤติปฏิบัติต่อประเพณีพิธีกรรมทางศาสนาจากความเชื่อในสิ่งศักดิ์สิทธิ์เป็นหลัก ตลอดถึงเชื่อในไสยศาสตร์ โหราศาสตร์ เป็นความเชื่อด้วยศรัทธาที่ไม่มีการโต้แย้งหรือหาเหตุผล เป็นการนำไปปฏิบัติร่วมกัน เป็นกิจกรรมที่เสริมสร้างความสามัคคีความมั่นคงในด้านจิตใจและการรวมกลุ่มในสังคม

                   ชาวล้านนาในปัจจุบันไม่น้อยที่มีวิถีชีวิตที่ยังผูกพันอยู่กับความเชื่อดั้งเดิม และยังแสวงหาความงามหรือสร้างความสุนทรียภาพให้แก่ชีวิตของตนเอง จากสิ่งที่เป็นความงามจากแบบแผนหรืออัตลักษณ์เดิมต่อไป และชาวล้านนาส่วนหนึ่งหรืออาจจะส่วนใหญ่ที่นิยมความงามที่เกิดขึ้นจากบริบทของกระแสโลกที่นิยมความงามแบบโลกตะวันตกหรือแบบทุนนิยม ในกระแสโลกปัจจุบัน ทำให้วิธีคิดของชาวล้านนาเปลี่ยนไป มีอิสระทางความคิดมากขึ้น มีมุมมองต่อความเชื่อต่าง ๆ เปลี่ยนไป ชาวล้านนายุคใหม่หลายส่วนลืมกำพืดของตนเองที่เป็นอัตลักษณ์ดั้งเดิมที่บ่มเพาะและสืบทอดมาอย่างยาวนาน

                  กำพืดของตนเอง หมายถึง การรู้จักถิ่นที่อยู่ คติความเชื่อ ความเป็นไปเป็นมาของตนเอง ของชุมชนล้านนา และปัจจุบันหมายความรวมไปถึงความเป็นชาติไทย การยอมรับในการปฏิบัติต่อขนบธรรมเนียมจารีตประเพณี และตัวบทกฎหมาย

                   จากสภาพการณ์ในอดีตของชาวล้านนายังผูกพันความเชื่อด้านศาสนามาจนถึงปัจจุบัน จึงมีข้อห้ามที่เกี่ยวข้องกับศาสนา กล่าวคือ ห้ามไม่ให้บุคคลกระทำต่อวัดวาอาราม สถูป เจดีย์ พระพุทธรูป เช่น ห้ามไม่ให้ขุดรื้อซากวัดร้างเพื่อทำเป็นสวน ที่นา หรือตั้งเป็นบ้านอาศัยอยู่ หรือขุดทำลาย ปิดประตูกุฏิ ประตูวัดวาอารามแล้วเจาะทำใหม่ สร้างหอกลองสูงกว่าพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ย้ายพระพุทธรูปจากวัดอื่นมารวมกันไว้ในวัดเดียวกัน สร้างเพิ่มเติมพระพุทธรูปองค์เล็กให้มีขนาดใหญ่ หรือทำให้ขนาดใหญ่และเล็กลง ฯลฯ การกระทำเหล่านี้ผู้กระทำจะเกิดเภทภัยและวิบัติฉิบหายได้ภายหลังเหล่านี้ถือว่าขึด

              ในปัจจุบันสังคมล้านนาไทยหลายส่วนที่มีความอ่อนแอ อ่อนด้อยในเรื่องการปกป้องคุ้มครองต่อกำพืดของตนเอง ความเข้าใจ การเห็นคุณค่า การเห็นเข้าไปถึงจิตวิญญาณความเป็นไปเป็นมาอย่างลึกซึ้ง รู้อย่างเท่าทันของคนในหลายระดับไม่ค่อยมีหรือหายไป มีเพียงแต่การมองแบบกระพี้และเห็นประโยชน์ในเชิงสินทรัพย์ตามบริบทของการบริโภคนิยม         จึงไม่แปลกที่สังคมล้านนา ตลอดถึงสังคมไทยโดยเฉพาะถิ่นที่แสดงออกทางสังคมวัฒนธรรมมาอย่างยาวนานไม่ว่าจะเป็นกรุงเทพฯ เชียงใหม่ กำแพงเพชร อยุธยาฯลฯ ถูกรุกรานย่ำยี เหยียบย่ำทางศิลปวัฒนธรรม โดยเฉพาะคติความเชื่อด้านศาสนาอย่างไม่รู้จักกาลเทศะ ไม่เข้าใจหรือเข้าใจอย่างผิด ๆ ต่อสิ่งที่นำไปเสนอออกไป

หมายเลขบันทึก: 201026เขียนเมื่อ 14 สิงหาคม 2008 23:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 01:34 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

สวัสดีค่ะ อาจารย์

ครูอ้อยมาบอกว่า  คิดถึง คนเชียงใหม่เจ้า

ขอบคุณสำหรับ เรื่องราวที่ดี นำมาให้อ่านเจ้า

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท