ศักราช
อาจารย์ ศักราช ลุงปั๋น ฟ้าขาว

ความเชื่อข้อห้ามขึดล้านนา : อดีต ปัจจุบัน อนาคต(๖)


สิ่งที่เกิดขึ้นในเมืองเรียกว่า “ขึดเมือง” สิ่งที่เกิดขึ้นเกี่ยวกับบ้านเรียกว่า “ขึดบ้าน”

ภาพการบูชา การบวงสรวง

ที่มา :  หนังสือ Lanna Renaisance, 2549, หน้า 36

 

                  ข้อห้ามที่เกิดจากการกระทำของมนุษย์ เป็นเรื่องที่มนุษย์เป็นผู้กระทำขึ้นเอง ธรรมชาติมักจะเกิดที่ปลายเหตุ ถ้าคนประพฤตินอกรีตนอกรอย ก็จะเกิดปรากฏการณ์ธรรมชาตินำไปสู่ความหายนะ เรียกกว่าขึด(ยุพิน  เข็มมุกด์, 2527, หน้า 136)  และผลของขึดนั้นอาจทำให้เสื่อมและเดือดร้อนเฉพาะบุคคลคนเดียว หรือหลายคน หรือกระทบต่อชุมชนตลอดถึงบ้านเมือง แล้วแต่ความหนักเบาของข้อห้ามขึดที่กระทำ

                  นอกจากนั้น ศรีเลา  เกษพรหม (2541,หน้า19-20) กล่าวว่า ขึดแบ่งออกเป็น ขึดน้อย และ  ขึดหลวง ทั้งขึดน้อยและขึดหลวง แบ่งออกเป็นหัวข้อย่อยได้อีกหลายอย่าง เช่น สิ่งที่เกิดขึ้นเกี่ยวข้องกับป่าหรือทำขึ้นในป่าเรียกว่า ขึดป่า สิ่งที่เกิดขึ้นในเมืองเรียกว่า ขึดเมือง สิ่งที่เกิดขึ้นเกี่ยวกับบ้านเรียกว่า ขึดบ้าน  สิ่งใดที่ทำขึ้นเกิดขึ้นสร้างความเดือดร้อนให้กับคนส่วนน้อยหรือคนในครอบครัว เรียกว่า    ขึดน้อย ขึดน้อยที่ทำให้เกิดในบ้านเรือน  เช่น ย้ายประตูบ้านหรือประตูเรือน ประตูบ้านตรงกับประตูเมือง  ประตูเรือนตรงกับประตูบ้าน สร้างเรือนให้กลอนหลังคาพาดลงตรงกลางของเรือน ไม่ซ่อมแซมเสาเรือนที่ผุขาดปล่อยให้เรือนตรงนั้นยุบลง ฝังและตั้งครกมองไว้ใต้ยุ้งข้าวหรือใต้ถุนเรือน สร้างเรือนร่วมกับยุ้งข้าว สร้างเล้าเป็ด เล้าไก่ คอกหมู่ คอกวัวควายไว้ใต้ยุ้งข้าว เป็นต้น

 

หมายเลขบันทึก: 201023เขียนเมื่อ 14 สิงหาคม 2008 23:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:25 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท