ดนตรีสากล(ดนตรีกับชีวิตประจำวัน)


ดนตรีกับชีวิตประจำวัน

เรื่อง ดนตรีกับชีวิตประจำวัน

             นับตั้งแต่อดีตกาลจนถึงปัจจุบันดนตรีจะมีความสัมพันธ์กับชีวิตมนุษย์อย่างมากตั้งแต่เริ่มแรกของการกำเนิดชีวิตจนกระทั่งถึงตาย จะเห็นว่าในตลอดชีวิตของคนจะต้องมีดนตรีเข้ามาเกี่ยวข้องอยู่เสมอ ทั้งนี้จะเป็นไปตามความเชื่อ วัฒนธรรมหรือวิถีชีวิตของมนุษย์แต่ละชนชาติ ดนตรีมีส่วนเสริมสร้างความเข้มแข็ง ความสุขความสนุกสนาน เพื่อให้มนุษย์คลายจากความกลัว ความกังวล ความเหน็ดเหนื่อย หรือความทุกข์ทั้งปวง ดนตรีนับว่ามีคุณค่าต่อชีวิตมนุษย์มากมาย

             แต่ก่อนที่นักเรียนจะใช้ประโยชน์จากดนตรีได้อย่างแท้จริง นักเรียนต้องรู้จักรู้วิธีการสร้างสรรค์ผลงานจากดนตรีเสียก่อน แล้วจึงนำไปใช้ประโยชน์ต่อไป

             1.     การสร้างสรรค์ทางดนตรี

                      ให้นักเรียนได้ทบทวนสิ่งที่ได้เรียนรู้เกี่ยวกับดนตรีที่ผ่านมาแล้วเรียบเรียงสาระความรู้แลประสบการณ์ที่นักเรียนได้รับ จะเห็นว่านักเรียนเกิดการเรียนรู้และมีประสบการณ์เกี่ยวกับดนตรีเพิ่มขึ้นมาก ทั้งดนตรีพื้นเมือง ดนตรีไทยและดนตรีสากลการฟังเพลงหรือการฟังดนตรี ตลอดจนการวิเคราะห์วิจารณ์ หรือแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับงานดนตรี ถ้านักเรียนสามารถนำความรู้และประสบการณ์เหล่านี้ มาคิดสร้างสรรค์เป็นผลงานทางดนตรีจะได้กิจกรรมดนตรีเกิดขึ้นมากมาย ซึ่งจะเป็นพื้นฐานให้นักเรียนที่มีความสนใจทางด้านดนตรี สามารถพัฒนาตนเองให้เป็นผู้ที่มีความรู้และประสบการณ์ มีความสามารถในเชิงดนตรีต่อไปในภายหน้าได้ หรืออาจนำไปปรับ
และประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้

             ผลงานทางดนตรีที่นักเรียนสามารถสร้างสรรค์ขึ้นได้ด้วยตนเองมีมากมาย ได้แก่

                 1.1   การจัดทำสมุดภาพรวบรวมเครื่องดนตรีประเภทต่าง ๆ ทั้งดนตรีไทยและดนตรีสากล

                 1.2   การรวบรวมบทเพลงทั้งเพลงไทยและเพลงสากล

                 1.3   การรวบรวมความรู้ทางด้านดนตรีและการขับร้อง

                 1.4   การร้องเพลงไทยและเพลงแนวสากล  

                 1.5   การร้องเพลงประกอบการแสดง

                 1.6   การเล่นเครื่องดนตรีที่ตนเองถนัดหรือสนใจ

                 1.7   การร่วมเล่นดนตรีกับเพื่อน ๆ เป็นวงดนตรีประเภทต่าง 

                 1.8   การแสดงท่าทางประกอบเพลง

                 1.9   การแสดงชุดร้องรำทำเพลงหรือชุดแสดงต่าง 

               1.10   การแต่งเพลงง่าย 

             2.   การนำความรู้ทางดนตรีไปใช้ในการเรียนรู้

                   การเรียนรู้ในยุคนี้คงไม่เรียนเฉพาะวิชาใดวิชาหนึ่งเท่านั้น คงจะต้องเรียนรู้อย่างกว้างขวางและสอดคล้องกับวิถีชีวิตของมนุษย์ ดังนั้นความรู้และประสบการณ์ที่นักเรียนได้รับ สามารถนำไปใช้ในการเรียนรู้กับกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่น ๆ ได้เป็นอย่างดี ดังนี้

                   2.1   ดนตรีกับศิลปะด้านอื่น  เกี่ยวกับเรื่องทฤษฎี รูปแบบ เทคนิค กระบวนการ หลักการวิธีการสร้างสรรค์และสุนทรียภาพมาเชื่อมโยงสัมพันธ์กัน

                   2.2   ดนตรีกับภาษา เกี่ยวกับเรื่องการใช้ภาษา การประพันธ์ การพูด การเขียน การสื่อความหมาย และการสื่อสาร

                   2.3   ดนตรีกับคณิตศาสตร์ เกี่ยวกับเรื่องการคิดคำนวณ การวิเคราะห์ จินตนาการ และการสร้างสรรค์

                   2.4   ดนตรีกับวิทยาศาสตร์ เกี่ยวกับกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เครื่องไม้เครื่องมือ เครื่องดนตรี หลักกลไก การเกิดเสียงและระบบไฟฟ้า

                   2.5   ดนตรีกับสุขศึกษา-พลศึกษา เกี่ยวกับเรื่องการรักษาสุขอนามัย การเคลื่อนไหว การพัฒนาบุคลิกภาพ และการออกกำลังกาย

                   2.6   ดนตรีกับงานอาชีพ สามารถเชื่อมโยงในเรื่องการเลือกประกอบอาชีพการพัฒนางานโดยใชนวัตกรรมและเทคโนโลยีการจัดระบบข้อมูลสารสนเทศ และการสร้างสรรค์ผลงานด้านอื่น 

             จะเห็นว่าความรู้ทางดนตรีสามารถที่จะนำไปเชื่อมโยงกับความรู้จากกลุ่มสาระการเรียนรู้ต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี ถ้านักเรียนสามารถเรียนรู้ในลักษณะการเชื่อมโยงกันอย่างนี้ จะทำให้นักเรียนสามารถเรียนรู้ได้สอดคล้องกับชีวิตจริงและสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างแท้จริง

             3.   การนำความรู้ทางดนตรีไปใช้ในชีวิตประจำวัน

             ถ้าเรามีความรู้ความเข้าใจหรือมีประสบการณ์ทางดนตรีและสามารถสร้างสรรค์ผลงานได้ เราสามารถนำสิ่งเหล่านี้ไปปรับและประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้ ดังนี้

                 3.1   การแสดงความสามารถพิเศษในการร้องเพลงและเล่นดนตรีที่ตนเองถนัดและสนใจ

                 3.2   การแสดงออกในโอกาสต่าง ๆ เมื่อได้รับเชิญหรือถูกกำหนดให้แสดงความสามารถ

                 3.3   การฟังเพลง ร้องเพลงหรือเล่นดนตรีเมื่อมีเวลาว่าง เพื่อเป็นการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์

                 3.4   การฟังเพลงร้องเพลงหรือเล่นดนตรีเพื่อผ่อนคลายความเห็นเหน็ดเหนื่อยหรือความเครียด

                 3.5   การฟังเพลง ร้องหรือเล่นดนตรีเพื่อพัฒนาความคิดหรือความสามารถในการเรียนรู้

                 3.6   การฟังเพลง ร้องเพลงหรือเล่นดนตรีเพื่อพัฒนาความสามารถทางดนตรี

                 3.7   การฟังเพลง ร้องเพลงหรือเล่นดนตรีเพื่อเป็นการฝึกสมาธิและส่งเสริมสุขภาพจิต

                 3.8   การฟังเพลง ร้องเพลงหรือเล่นดนตรีเพื่อเป็นการพัฒนาบุคลิกภาพและค่านิยม

                 3.9   การฟังเพลง ร้องเพลงหรือเล่นดนตรีเพื่อส่งเสริมการสร้างมนุษยสัมพันธ์

               3.10   ประกอบอาชีพสุจริต

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 200651เขียนเมื่อ 13 สิงหาคม 2008 15:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 22:53 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

ครูโรงเรียนเก่งทุกคน วันแรกบันทึกได้ดีมากครับ

คิดถึง พี่ ตลอด

"ฑฎะีะัรียร่ยบ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท