วิมล นาวารัตน


พหุปัญญา

ครูแบบพหุปัญญา

 

                ครูแบบพหุปัญหาจะเปลี่ยนการสอนต่อเนื่องจากภาษาไปมิติสัมพันธ์  ศิลปะ  ดนตรีเรื่อยไป  ครูมักจะเอาวิธีของปัญญาทั้ง  7  รวมเข้าด้วยกันอย่างสร้างสรรค์

                ครูพหุปัญญาอาจใช้วิธีการสอนแบบบรรยายหน้าชั้น  เขียนบนกระดานดำ  วาดภาพบนกระดานดำ  หรือทำไดอะแกรม  ฉายวีดีโอเทปเพื่อให้นักเรียนได้แนวคิดหรือใช้ดนตรีประกอบ  ครูพหุปัญญาจะจัดหาของจริงมาสอน  และให้นักเรียนได้ลุกไปเดินมา  หรือส่งผ่านสิ่งของที่ใช้เรียน  ให้โอกาสนักเรียนแสดงความเข้าใจในบทเรียนโดยการแสดงออกเป็นรูปธรรม  ครูพหุปัญญาให้นักเรียนได้มีปฏิสัมพันธ์ซึ่งกันและกันแบบต่างๆ   เช่น  เป็นคู่  เป็นกลุ่มเล็ก  และกลุ่มใหญ่  ครูให้เวลานักเรียนได้คิดไตร่ตรองเพื่อสัมพันธ์ความรูสึกของตนกับสิ่งของหรือเรื่องราวที่เรียน

               

อุปกรณ์และวิธีการของการสอนแบบพหุปัญญา

               

                ปํญญาด้านภาษา

-          ปาฐกถา  หรือ  บรรยาย

-          อภิปรายกลุ่ม

-          หนังสือ

-          ใบงาน

-          คู่มือ

-          การระดมพลังสมอง

-          กิจกรรมการเขียน

-          เกมภาษา

-          ช่วงเวลาสนทนาเล่าสู่กันฟัง

-          ปาฐกถาของนักเรียน

-          การเล่นนิทาน

-          หนังสือพูดได้และเทป

-          การพูดทันทีโดยไม่ได้เตรียม

-          โต้วาที

-          การจดบันทึกประจำวัน

-          การอ่านออกเสียงเป็นหมวดหมู่

-          การอ่านออกเสียงทีละคน

-          การอ่านหนังสือให้ฟังทั้งชั้น

-          การจำข้อมูลทางภาษา

-          การใช้เทปบันทึกเสียงตนเอง

-          การพิมพ์ดีดด้วยคอมพิวเตอร์

-          การพิมพ์หนังสือ

 

ปัญญาทางด้านตรรกะและคณิตศาสตร์

-          โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์บนกระดานดำ

-          การตั้งคำถามแบบโซคราตีส

-          สาธิตกาทดลองวิทยาศาสตร์

-          โจทย์ปัญหาทางตรรกะ

-          การจัดหมวดหมู่และจำแนกประเภท

-          สร้างสรรค์รหัส

-          เกมปริศนา

-          ปริมาณและการคิดคำนวณ

-          ภาษาสำหรับขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์

-          การคิดเชิงวิทยาศาสตร์

-          การเสนอเรื่องราวตามลำดับและเหตุผล

-          แบบฝึกหัดการคิดตามแนวเปียเจต์

-          ศึกษาค้นคว้าจากการปฏิบัติ

 

ปัญญาทางด้านมิติ

-          แผนภูมิ  กราฟ  แผนที่  ไดอะแกรม

-          การทำให้มองเห็นเป็นรูปธรรมได้

-          รูปถ่าย

-          เครื่องวิดิทัศน์  สไลด์  ภาพยนตร์

-          เกม  ปริศนา

-          วัสดุสิ่งของ  3  มิติ

-          การชื่นชมผลงานศิลปะ

-          การเล่านิทานจินตนาการ

-          รูปภาพเปรียบเทียบ

-          ผันกลางวันอย่างสร้างสรรค์

-          ระบายสีทำงานวัสดุศิลปะ

-          เขียนความคิด

-          ฝึกคิดเห็นภาพในใจ

-          สัญลักษณ์กราฟิก

-          คอมพิวเตอร์กราฟิกซอฟต์

-          ภาพลวงตา

-          สี

-          กล้องขยาย กล้องส่องทางไกล

-          กิจกรรมการดู

-          วาดภาพและระบาย/ใช้ซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์ช่วยในการออกแบบ

-          ประสบการณ์รูปภาพ

 

ปัญญาทางด้านร่างกายและสัมผัส

-          การเคลื่อนไหวแบบสร้างสรรค์

-          การคิดด้วยสิ่งของ

-          ทัศนศึกษา

-          ละครใบ้

-          ละครในห้องเรียน

-          เกมร่วมมือและเกมแข่งขัน

-          แบบฝึกหัดบิหารกาย

-          กิจกรรมด้วยของจริงและกระทำจริงทุกชนิด

-          การฝีมือ

-          การทำร่างกายเป็นแผนที่

-          การใช้การนึกคิดถึงผัสสะ

-          การทำอาหาร  ทำสวน  และกิจกรรมแบบ  คลุกฝุ่น

-          อุปกรณ์หยิบจัดสัมผัส

-          ความคิดรวบยอดทางสัมผัส

-          กิจกรรมพลศึกษา

-          การสื่อสารด้วยภาษามือและร่างกาย

-          ออกกำลังคลายเครียดของร่างกาย

-          การสอบด้วยร่างกาย

 

ปัญญาทางด้านดนตรี

-          ความคิดรวดยอดทางดนตรี

-          ร้องเพลง  ผิวปาก ฮัม

-          เล่นดนตรี  เช่น  เปียนโน  กีตาร์  หรืออื่นๆ

-          ร้องเพลงหมู่

-          ดนตรีตามอารมณ์

-          ชื่นชมดนตรี

-          เล่นดนตรี  เครื่องตี

-          จังหวะเหลง สวด

-          ใช้ดนตรีเป็นภูมิหลัง

-          ใช้ทำนองดนตรีกับความคิดรวดยอด

-          ดิสโก

-         

หมายเลขบันทึก: 200380เขียนเมื่อ 12 สิงหาคม 2008 09:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 01:32 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท