การจัดการความรู้


เจนนี่

ศูนย์การเรียนรู้ (Learning center)

ศูนย์การเรียนรู้   (Learning center) หมายถึง องค์กร หน่วยงาน ชุมชนที่มีกิจกรรมการถ่ายทอดองค์ความรู้ ในลักษณะที่ไม่เป็นทางการตามระบบราชการ                                                                              

    ศูนย์การเรียนรู้ หมายถึง การจัดพื้นที่การเรียนทางกายภาพเพื่อให้ผู้เรียนสามารถควบคุม
การเรียนด้วยตนเองเป็นรายบุคคลหรือผู้เรียนในกลุ่มเล็ก ตามงานที่โปรแกรมกำหนดให้ โดยจัดเป็น
คูหาหรือโต๊ะ และมีสื่อการเรียนในรูปแบบสื่อประสม  ช่วยในการเรียนรู้โดยมีครูผู้สอนคอยแนะนำ
                 ลักษณะของศูนย์การเรียนรู้มีพื้นฐานจากแนวคิดการศึกษาระบบเปิดในช่วงทศวรรษ 1960s ถึง
1970s โดยการจัดพื้นฐานการเรียนให้ผู้เรียนมีโอกาสควบคุมการเรียน เพิ่มขึ้น เพื่อส่งเสริมการทำ
กิจกรรมด้วยตนเองหรือโดยกลุ่ม จะจัดโดยแบ่งกลุ่ม ตามที่ได้รับมอบหมาย การจัดพื้นที่นี้สามารถ
จัดภายในห้องเรียนในห้องปฏิบัติการ จะจัดโดยแบ่งออกเป็น 4-6 ศูนย์ ภายในห้องหรือศูนย์เดียว
กลางห้องหรือมุมใดมุมหนึ่งของห้องหรือแม้แต่ระเบียบทางเดินก็ทำได้แต่ต้องสามารถกำจัดเสียง
รบกวนต่าง ๆ ได้ หรือจัดไว้ในห้องสมุด
                  แต่ละศูนย์จะจัดในลักษณะเป็นโต๊ะ 1 ตัว และมีเก้าอี้อยู่โดยรอบเพื่อให้ผู้เรียนได้มีโอกาสเรียน อภิปราย วิจัย แก้ปัญหา หรือทดลองร่วมกัน หรืออาจจัดโต๊ะคอมพิวเตอร์ที่ต่อเป็น เครือข่ายหรือ
ในลักษณะที่สามารถทำกิจกรรมคนเดียวหรือเป็นกลุ่มเล็กได้ นอกจากนี้ยังจัดในลักษณะเป็นคูหา
เพื่อกำจัดเสียงรบกวนในขณะเรียนหรือทำกิจกรรมจากศูนย์ใกล้เคียง หรือเสียงรบกวนอื่น ที่จะทำให้
เสียสมาธิในการเรียน คูหายังแบ่งได้เป็น 2   ประเภท คือ คูหาแห้ง (Dry Carrel) และ คูหาเปียก
(Wet Carrel) คูหาแห้งจะประกอบด้วยสื่อการเรียนที่ไม่มีวัสดุอุปกรณ์อิเลกทรอนิกส์ ส่วนคูหาเปียก
จะประกอบด้วยสื่อการเรียนที่เป็นวัสดุอุปกรณ์อิเลกทรอนิกส์  เช่น  เทปเสียง ทีวีมอนิเตอร์ เครื่องเล่น
แถบวีดีทัศน์ เครื่องคอมพิวเตอร์ เป็นต้น สื่อการเรียนที่ประจำในแต่ละศูนย์จะอยู่ในรูปแบบสื่อประสม
ที่แยกตามกิจกรรม หรือเป็นชุดการเรียนก็ได้
                 ในการเรียนที่แต่ละศูนย์แยกตามกิจกรรมการเรียนออกจากกัน ผู้เรียนที่แบ่งออกเป็นกลุ่ม ๆ แต่ละกลุ่มต้องเรียนให้ครบทุกศูนย์ ส่วนศูนย์การเรียนรู้ที่จัดทุกกิจกรรมไว้ในศูนย์เดียว แต่ละกลุ่มต้องเปลี่ยนกันเข้าไปเรียน

 

ข้อดีของศูนย์การเรียนรู้
       1. เรียนตามอัตราการเรียนรู้ของผู้เรียนแต่ละคนหรือภายในกลุ่ม (Self-Pacing) ศูนย์การเรียนรู้
ช่วยให้ผู้เรียนเรียนตามความต้องการความสามารถของแต่ละคนหรือผู้เรียนภายในกลุ่ม
       2. เรียนรู้อย่างกระฉับกระเฉง (Active Learning) ศูนย์การเรียนรู้ช่วยให้ผู้เรียนได้มีส่วนร่วมใน
ประสบการณ์การเรียน การตอบสนอง และให้ผลย้อนกลับทันที
       3. บทบาทของผู้สอน (Teacher Role) ศูนย์การเรียนรู้จะเปลี่ยนบทบาทของผู้สอนมาเป็น
ผู้แนะนำและคอยช่วยเหลือการเรียนมากขึ้น
       4. กระบวนการกลุ่ม (Group Process) ส่งเสริมการทำงานเป็นกลุ่ม ภาวะเป็นผู้นำยอมรับฟัง
ความคิดเห็นผู้อื่น มีปฏิสัมพันธ์ทางสังคม

 

ข้อจำกัดของศูนย์การเรียนรู้
        1. ต้นทุนมาก (Cost) การวางแผน การจัดสร้างศูนย์ การรวบรวมและการจัดวัสดุต้องใช้เวลา
มาก รวมทั้งการซื้อวัสดุอุปกรณ์การออกแบบและพัฒนาสื่อการเรียนที่จะนำมาใช้ในศูนย์ก็ต้องใช้
เงินจำนวนมาก
        2. การจัดการ (Management) ผู้สอนที่จัดการศูนย์การเรียนรู้ต้องมีการจัดระบบและการจัดการ
ห้องเรียนที่ดี

การประยุกต์ใช้ศูนย์การเรียนรู้
       
1. ศูนย์การเรียนสามารถนำไปใช้กับทุกระดับการศึกษา ทุกรายวิชา
        2. ศูนย์ฝึกทักษะ (Skill Centers) ศูนย์นี้ให้ผู้เรียนได้ฝึกทักษะเพิ่มขึ้น โดยได้รับการสอนจาก
บทเรียนผ่านสื่อหรือวิธีการอื่นมาก่อน ทักษะพื้นฐานจะทำให้ฝึกและปฏิบัติในศูนย์จนทำให้มี
ความชำนาญด้วยตัวผู้เรียนเอง
        3. ศูนย์ความสนใจ (Interest Centers) เป็นศูนย์ที่สร้างขึ้นมาเพื่อกระตุ้นให้เกิดความสนใจ
ใหม่ๆ และให้เกิดความคิดสร้างสรรค์
        4. ศูนย์สอนเสริม  (Remedial Centers) เป็นศูนย์ที่จะช่วยผู้เรียนที่ต้องการช่วยเสริมความรู้
หรือทักษะที่ยังไม่เพียงพอจากการเรียนปกติ หรือแยกผู้เรียนที่ต้องการความช่วยเหลือเป็นพิเศษ
        5. ศูนย์เพิ่มพูนความรู้ (Enrichment Centers) ศูนย์นี้จะกระตุ้นประสบการณ์การเรียนรู้เพิ่มขึ้น
หลังจากที่ผู้เรียน ได้เรียนหรือทำกิจกรรมบรรลุจุดประสงค์ที่ตั้งไว้แล้ว เช่น ผู้เรียนที่มีความสามารถ
สูงเรียนบทเรียนคณิตศาสตร์จบแล้ว แต่ยังมีเวลาให้ไปเรียนในศูนย์นั้นที่มีบทเรียนยากเพิ่มขึ้น หรอ
มีกิจกรรมอื่นให้ทำเพิ่มความชำนาญ หรืออาจจะเป็นศูนย์ที่มีคอมพิวเตอร์ที่มีเกมทางคณิตศาสตร์
        6. ศูนย์สำรอง (Reserved Centers) อาจจะมีศูนย์สำรองไว้ในกรณีที่มีศูนย์แยกกิจกรรม เมื่อ
ผู้เรียนทำกิจกรรมในศูนย์ใดเสร็จแล้วจะเข้าไปทำกิจกรรมในศูนย์อื่น แต่ศูนย์นั้นยังไม่ว่างเนื่องจาก
ผู้เรียนในศูนย์นั้นยังทำกิจกรรมไม่เสร็จ ก็ให้มารอในศูนย์สำรองนี้โดยมีกิจกรรม ที่สอดคล้อง
กับเรื่องที่ศึกษาเตรียมไว้อาจเป็นกิจกรรมในลักษณะผ่อนคลาย ซึ่งจะทำให้ไม่ว่างในขณะ ที่รอหรือ
รบกวนผู้ที่กำลังทำกิจกรรมในศูนย์อื่น

 

 

ศูนย์การเรียนรู้ภูมิปัญญาไทย หมายถึง การจัดการเรียนรู้เกี่ยวกับภูมิปัญญาท้องถิ่นของไทย อันได้แก่ ความรู้ในการเข้าใจชีวิต ธรรมชาติ ทรัพยากร สังคม และความรู้ในการจัดการทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ ศูนย์การเรียนภูมิปัญญาไทยนี้ มีได้หมายถึง "ตัวอาคารสถานที่" หากแต่หมายถึงสถานที่ที่มีผู้รู้ ประสบการณ์ สามารถจัดการเรียนรู้ได้อย่างเหมาะสมกับสภาพแวดล้อมของชุมชน ไม่ว่าจะเป็นที่วัด โรงเรียน สำนักงานองค์กรบริหารส่วนตำบล สถานีอนามัย ที่ทำการผู้ใหญ่บ้าน กำนัน หรือบ้านของผู้รู้ ของผู้ที่ได้รับการยกย่องว่าเป็น "ครูภูมิปัญญา" กล่าวได้อีกนัยหนึ่งก็คือ "เป็นการจัดการที่เกิดขึ้นโดยชุมชน โดยผู้นำที่สามารถดำเนินการให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ด้วยวิธีการที่เหมาะสมกับศักยภาพของชุมชนนั้น ๆ นั่นเอง"                                                                                                                         

  วัตถุประสงค์การจัดตั้งศูนย์การเรียนภูมิปัญญาไทย                                                                                      

    1. การส่งเสริม สนับสนุน การจัดการประสานการเรียนรู้ของชุมชนโดยกระบวนการสืบทอดภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยผ่านผู้รู้หรือผู้นำภูมิปัญญาของท้องถิ่น                                                                     

2. ประสานความร่วมมือกับองค์กรต่างๆ ในชุมชน อันได้แก่ โรงเรียน อบต. วัด สถานีอนามัย และองค์กรอื่นๆ เพื่อให้มีการจัดการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องทั้งการเรียนรู้ในระบบโรงเรียน นอกระบบโรงเรียนและตามอัธยาศัย                                                                                                                                                               

3. ประสานให้เกิดเครือข่ายการเรียนรู้ร่วมกับองค์กรชุมชนอื่นในเครือข่ายเดียวกัน ทั้งระดับท้องถิ่น ระดับภาค ระดับชาติ เพื่อให้เกิดกระบวนการเรียนรู้และการพัฒนาแบบพึ่งพาอาศัยกัน โดยกำหนดให้การเรียนรู้ร่วมกันนำไปสู่เป้าหมายของการพึ่งตนเองในชุมชน อย่างมีประสิทธิภาพ
                4. เป็น "ศูนย์" รวบรวมข้อมูล ข่าวสาร ความรู้ และองค์ความรู้ที่เกิดจากกระบวนการเรียนรู้ของชุมชน โดยวิธีการจัดเก็บรวบรวมที่เหมาะสมกับบริบททางสังคม และศักยภาพของแต่ละท้องถิ่น และสามารถนำออกมาใช้และแบ่งปันให้แก่บุคคลอื่นได้
                5. เป็น "ศูนย์" เพื่อการวางแผนการเรียนรู้และการพัฒนาหมู่บ้านร่วมกับตำบลและเครือข่ายในจังหวัด ประสานให้เกิดการนำแผนไปสู่การปฏิบัติ รวมทั้งมีการติดตามประเมินผลโครงการที่เกี่ยวกับการการเรียนรู้และการพัฒนาด้านต่างๆ อย่างมีประสิทธิภาพ

บทบาทและหน้าที่ของศูนย์การเรียนภูมิปัญญาไทย                                                                                                 

  1. เป็นศูนย์กลางในการถ่ายทอดองค์ความรู้ การศึกษาทั้งในระบบโรงเรียน การศึกษานอกระบบโรงเรียน และการศึกษาตามอัธยาศัย
                2. เป็นศูนย์ประสานเครือข่ายภูมิปัญญาไทย เพื่อเป็นศูนย์กลางแลกเปลี่ยนและพัฒนาการเรียนรู้ทั้งในระดับท้องถิ่นและระดับชาติ
                3. เป็นศูนย์คลังข้อมูลภูมิปัญญา

 

ประเภทศูนย์การเรียนรู้ภูมิปัญญาไทย           ศูนย์การเรียนภูมิปัญญาไทย สามารถแบ่งออกเป็น 4 รูปแบบ ดังนี้                                                                                                                                                                         

  1.ศูนย์การเรียนครอบครั การถ่ายทอดและสืบทอดภูมิปัญญาแห่งแรก คือ ครอบครัว จากพ่อแม่สู่ลูก จากพี่น้อง เครือญาติใกล้ชิด ถ่ายทอดแก่กันและกัน เพื่อสืบทอดภูมิปัญญาไว้ ความรู้หลายอย่างจะไม่มีการเผยแพร่ให้ผู้อื่น เพราะถือเป็น "มรดก" ของวงศ์ตระกูล เช่น ความรู้เรื่องการรักษาโรค ยาสมุนไพร ศิลปการแสดง ศิลปหัตถกรรมต่างๆ เป็นต้น ส่วนใหญ่จะมี "เคล็ดลับ" เก็บไว้ถ่ายทอดให้ผู้ที่ตนต้องการให้เป็นผู้สืบทอดภูมิปัญญานี้ ในการถ่ายทอดนั้น มีหลายประการที่ไม่ได้แสดงออกมาอย่างชัดเจนว่าเป็นการถ่ายทอดหรือเป็นการสืบทอด เพราะเป็นการเรียนรู้จากการปฏิบัติในชีวิตประจำวัน พ่อสอนลูกให้ไถนา ดูแลสัตว์เลี้ยง สอนให้ทำเกวียน สอนให้ตีเหล็ก เป็นคนช่วยพ่อ ดูว่าพ่อทำอย่างไรแล้วเลียนแบบพ่อ เหล่านี้เป็นการสอนโดยการลงมือปฏิบัติร่วมกัน เช่นเดียวกับที่แม่สอนลูกให้หุงข้าว ประกอบอาหาร ทำขนม ทอผ้า ทำงานบ้านต่างๆ ให้ลูกสาวช่วยแม่ทำตามแม่ โดยมีแม่คอยแนะนำในระยะแรกจนกระทั่งลูกสามารถทำเองได้ในที่สุด                                                                                                                  2. ศูนย์การเรียนวัดและชุมช  วัดเป็นศูนย์กลางของชุมชน ศูนย์กลางการจัดกิจกรรมนานาประการทั้งที่เป็นกิจกรรมทางศาสนา ศาสนพิธี พิธีกรรมต่างๆ รวมทั้งการจัดงานตามประเพณี เช่น ทอดผ้าป่า ทอดกฐิน การทำบุญในโอกาสสำคัญ รวมไปถึงกิจกรรมทางสังคมของส่วนรวม พระภิกษุเป็นผู้ ริเริ่ม เป็นผู้ประสาน ส่งเสริมสนับสนุนให้เกิดกิจกรรม ดังจะเห็นได้จาก วัดทำหน้าที่เป็นสุขศาลา ดูแลรักษาคนเจ็บป่วย รักษาด้วยยาสมุนไพร เป็นที่อบที่นวด เป็นที่พักพิงของคนต่างถิ่น รวมทั้งเป็นศูนย์กลางการพบปะของสมาชิกในชุมชน ผู้นำฝ่ายสงฆ์ และผู้นำฝ่ายฆราวาสต่างมีความสำคัญในฐานะที่เป็น "ครู" แม้อาจจะไม่เป็นผู้ถ่ายทอดเองโดยตรง แต่ก็ทำหน้าที่กำกับดูแลการจัดพิธีกรรมต่างๆ ให้ถูกต้อง ซึ่งพิธีกรรมเหล่านี้ต้องอาศัยผู้มีความรู้ความชำนาญปฏิบัติไม่ผิดเพี้ยนไปจากเดิมปัจจุบันวัดได้ฟื้นฟูบทบาทของตนเอง ภิกษุสงฆ์จำนวนมากมีบทบาทสำคัญในสังคม มีบทบาทในการกระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้ ส่งเสริม สนับสนุน และประสานให้เกิดการเรียนรู้ในชุมชน และวัดเองก็ได้กลับมาทำหน้าที่เป็นศูนย์การเรียนรู้ของชุมชนดังที่เคยเป็นในอดีตมาช้านาน วัดนอกจากจะเป็นสถานที่ให้การศึกษาในระบบแล้ว ยังเป็นศูนย์กลางการศึกษานอกระบบ เป็นที่ฝึกอาชีพ ที่ประชุมสัมมนา และที่นัดหมายสำหรับการทำกิจกรรมของชุมชน เช่นการจัดการออมทรัพย์ประจำเดือนสำหรับสมาชิกในชุมชน เป็นต้น                                                                                                                                

   3. ศูนย์การเรียนครูเจ้าสำนัก  การถ่ายทอดภูมิปัญญาที่เด่นชัดที่สุด คือ การถ่ายทอดโดยบุคคลซึ่งเป็นผู้รู้ ผู้ชำนาญให้แก่บุคคลอื่น ลูกศิษย์อาจเป็นลูกหลาน หรือผู้สนใจสมัครเป็นลูกศิษย์ ครูเองก็ได้รับการถ่ายทอดมาจาก "ครู" ของตนเองในลักษณะเดียวกัน ทำให้เกิดความเชี่ยวชาญในเรื่องนั้น ๆ ได้เป็นอย่างดีการรับครูและศิษย์จะเริ่มด้วยพิธีกรรม ที่เรียกว่า "ยกครู" อันเป็นเครื่องหมายสำคัญของความสัมพันธ์ ซึ่งมีความลึกซึ้งอย่างยิ่ง เพราะครูจะเป็นผู้ถ่ายทอดไม่เพียงแต่ทักษะหรือวิธีการต่างๆ ให้เท่านั้น แต่จะถ่ายทอด "จิตวิญญาณ" ให้แก่ศิษย์ ศิษย์ที่เก่งและดีจริง จะสามารถสืบทอด "ทุกอย่าง" จากครู ทั้งในเรื่องทักษะ เนื้อหา รูปแบบ และจิตวิญญาณของเรื่องนั้นๆ ด้วยเหตุนี้ กระบวนการถ่ายทอดของครูและกระบวนการสืบทอดของศิษย์จึงมิใช่การนั่งฟังคำสอนจากครูหากแต่เป็นการเรียนรู้จากชีวิตจริง ปฏิบัติจริงร่วมกับครู ถ้าเป็นด้านศิลปะการแสดงก็หมายถึงการได้ติดสอยห้อยตามครูไปทุกแห่ง โดยเริ่มจากการรับใช้ครู จึงไม่แปลกที่ศิษย์ในอดีตจะตักน้ำ ตำข้าว กวาดบ้าน ถูเรือน และทำงานทุกอย่างที่บ้านครูประหนึ่งเป็น"ลูก" หรือสมาชิกคนหนึ่งของครอบครัวของครู                                                           

  4. เครือข่ายศูนย์การเรียนรู้ใหม่ของชุมชน   การรวมกลุ่มเพื่อจัดการทรัพยากร จัดการผลผลิต จัดการทุนของตนเองจำเป็นต้องมีการเรียนรู้ใหม่ การเรียนรู้ภายในชุมชนเท่านั้นไม่เพียงพอ อาศัยผู้รู้ภายนอกหรือจากการไปศึกษาดูงาน จากการประชุมสัมมนา การฝึกงาน และการทดลองปฏิบัติ ให้คนรุ่นหลังได้สืบทอดต่อไป รวมทั้งกรณีอื่นๆ ซึ่งล้วนเป็น "มหาวิทยาลัยชาวบ้าน" ทั้งนั้น
การเรียนรู้โดยองค์กรชุมชนและเครือข่ายเป็นรูปแบบการถ่ายทอดและสืบทอดภูมิปัญญาที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดรูปแบบหนึ่งในปัจจุบัน เป็นผู้นำ เป็นผู้รู้ เป็น "ครู" ที่ทำงานร่วมกับองค์กรชุมชน โดยส่วนใหญ่มิได้ก่อตั้ง "สถาบัน" หรือ "สำนัก" แต่ประการใด หากแต่มีบุคคลอื่นมาช่วยดำเนินการจัดตั้งให้สิ่งที่เหมือนกันใน "ศูนย์การเรียนรู้ภูมิปัญญา" ทั้ง 4 แบบที่กล่าวมาข้างต้น คือ
                1. รูปแบบการถ่ายทอดการเรียนรู้ที่เกิดจากการปฏิบัติ
                2. เป็นการเรียนรู้ "ตัวต่อตัว" เกิดจากความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิดระหว่างผู้ถ่ายทอดและผู้สืบทอด
                3. เป็นกระบวนการถ่ายทอดที่มีลักษณะบูรณาการ ทั้งเนื้อหาสาระและจิตวิญญาณ เป็นกระบวนการแบบองค์รวม

รูปแบบการจัดกิจกรรม      กิจกรรมนั้นควรมีรูปแบบ ประกอบด้วย :                                                                               

                                    1. การประสานงานให้สมาชิกนำไปปฏิบัติจริง : โดยกระตุ้นให้สมาชิกได้เรียนรู้ฝึกปฏิบัติสามารถนำไปใช้ได้จริงในการดำเนินชีวิต                                                                                                                        

                                2. การมีส่วนร่วม : สนับสนุนให้สมาชิกในชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมมากยิ่งขึ้นตลอดจนกระตุ้นให้องค์กรทั้งภาครัฐและเอกชนให้การสนับสนุน เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างต่อเนื่อง ประสบผลสำเร็จด้วยดี                                                                                                                                                                              

                        3. การจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ : จัดเวทีและการศึกษาดูงาน เพื่อกระตุ้นให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง สามารถนำไปใช้พัฒนางานได้                                                                                                        

                   4. การสร้างเครือข่าย : สร้างเครือข่ายในการดำเนินงานโดยการขยายผลการเรียนรู้ไปยังกลุ่มชุมชนอื่นๆ มากขึ้น เพื่อพัฒนาให้คนในชุมชนมีความรู้ ความ เข้าใจ ตระหนัก และเห็นความสำคัญของภูมิปัญญาด้านนั้นๆ มากขึ้น

                5. การติดตามและประเมินผลการดำเนินงาน : ต้องมีการติดตามและประเมินผลการทำงานของศูนย์เพื่อให้ทราบถึงผลการเรียน และผลการสอน สามารถนำผลที่ได้ไปใช้เป็นข้อมูลในการพัฒนางานต่อไป ซึ่งการประเมินนี้ควรจะประเมินจากสภาพจริง โดยวิธีการประเมินผลที่สำคัญ ได้แก่ การสังเกต การบันทึกเหตุการณ์ในการถ่ายทอดหรือการเรียนการสอน การสอบถาม การสัมภาษณ์ การให้ทดลองปฏิบัติ รวมทั้งการรวบรวมข้อมูลจากผลงานของผู้ที่ได้รับการถ่ายทอดอีกด้วย                                                      

การเชื่อมโยงกับองค์กรต่าง ๆ                 การดำเนินงานของศูนย์ฯ นั้นจะเป็นผลสำเร็จหากได้ร่วมมือและประสานเชื่อมโยงกับองค์กรต่างๆ ในชุมชนที่จะมาช่วยแปรเปลี่ยนพลังที่มีอยู่ให้เป็นพลังเพื่อการพัฒนาชุมชนได้อย่างต่อเนื่องและยั่งยืน กลุ่มองค์กรเหล่านี้ ได้แก่                                                                                           

                                           1. บ้าน วัด องค์กรชุมชน องค์กรเอกชน ที่มีความเอื้ออาทร ผูกพัน ร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมรับผิดชอบ และร่วมรับผลประโยชน์จากกระบวนการพัฒนาคุณภาพชีวิต                                                    

                                     2. สภาตำบล ซึ่งเป็นกลุ่มผู้นำชุมชนที่เป็นต้นแบบในการพัฒนาท้องถิ่นมีอำนาจตามกฎหมายและมีงบประมาณในการให้การสนับสนุน                                                                                                                  

                                           3. หน่วยงานภาครัฐในพื้นที่ ซึ่งจะเป็นแกนนำสำคัญที่มีบทบาทในการถ่ายทอดความรู้ เทคนิค วิชาการ รวมทั้งอำนวยความสะดวกในเรื่องวัสดุอุปกรณ์แก่ชุมชน กระตุ้นเกิดกระบวนการเรียนรู้และการแก้ไขปัญหาร่วมกัน                                                                                                                                              

                            ทั้งหมดที่กล่าวมานี้ รัฐควรมีบทบาทเป็นเพียงผู้อำนวยความสะดวก (Facilitator) เพื่อให้เป็นการดำเนินงานโดยชุมชน สนองคามต้องการของชุมชนในระดับรากหญ้าอย่างแท้จริง งานดำเนินงานดังกล่าว สามารถแสดงแผ่นภาพระบบการเรียนรู้ได้ดังนี้

 

 

 

 

การเรียนรู้แบบเน้นการปฏิสัมพันธ์ (Interactive Instruction)

ความหมายของปฏิสัมพันธ์

                แคมเบลล์ (Campbell. 1999) กล่าวว่า การมีปฏิสัมพันธ์ในการเรียนการสอนมีควา

คำสำคัญ (Tags): #เจนนี่
หมายเลขบันทึก: 199492เขียนเมื่อ 8 สิงหาคม 2008 09:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 01:27 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ขอบคุณครับ ได้รู้มากๆๆขึ้นเลยครับ.จะลองประยุกต์ดูนะครับ...ชยพร แอคะรัจน์

ขอบคุณครับคุณ ชยพร

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท