เห็นตัวอย่าง การตามรอยทางคลินิกใน 2 บันทึกก่อนแล้ว บางคนอาจเกิดคำถามว่า
จะใช้แนวทาง การตามรอย กับงานสนับสนุนอื่นได้ไหม?
คำตอบก็คือได้ (จากหนังสือที่แจกประกอบการประชุม) เพราะ แนวคิดเรื่อง tracer คือการหาอะไรสักอย่างหนึ่งที่เคลื่อนไปตามกระบวนการ ไปสัมพันธ์กับสิ่งต่างๆ แล้วตามรอยสิ่งนั้น ไปเพื่อดูคุณภาพขององค์ประกอบต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับสิ่งนั้น เช่น การเงินอาจตามรอยการเบิกจ่ายเงินบางประเภท เภสัชกรอาจตามรอยยาบางตัวเช่น เคมีบำบัด ฯลฯ
เอ.. แล้วทางห้องปฏิบัติการพยาธิวิทยาของเราหล่ะ ใช้แนวคิดนี้ได้ไหม คำตอบของตัวเอง (รวมทั้งคุณโอ๋ และพี่เม่ยใน comment ของบันทึกก่อน) คือได้แน่นอน และเป็นเรื่องที่น่าสนใจ และน่าทำด้วย ตัวตามรอยที่น่าสนใจ (เลือกจากประเด็นความเสี่ยง) เช่น การตรวจวิเคราะห์ HIV, การให้เลือดและส่วนประกอบของเลือด เป็นต้น และรวมไปถึงหน่วยงานสนับสนุนในพยาธิเอง เช่นจ่ายกลาง และ ธุรการ จ่ายกลางอาจตามรอยวัสดุอุปกรณ์บางอย่าง หรือ ธุรการอาจตามรอย การเรียกเก็บเงินค่าบริการของโรงพยาบาลบางแห่งที่มักพบความผิดพลาดบ่อยๆ เป็นต้น (สงสัย งานนี้ คงเป็นหนังเรื่องยาวสำหรับชาวพยาธิ มอ.เสียแล้ว)
พูดถึงการตรวจ HIV ก็เลยนึกถึงที่ทีม sero ที่จะทำโครงการเกี่ยวกับ HIV ที่ขอผลด่วนใน Patho Otop 2 ก็อาจลองเอาแนวทาง tracer ไปใช้ โดยทบทวนกระบวนการหรือองค์ประกอบที่เกี่ยวข้องให้มากที่สุด นอกเหนือจากการพัฒนาการตรวจให้แม่นยำ รวดเร็วแล้ว เช่น กระบวนการขอตรวจ การขนส่งตัวอย่าง กระบวนการรายงานผล กระบวนการสื่อสารกับผู้รับบริการ ระบบสารสนเทศที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น
ซึ่งหากทำได้แบบที่ว่านี้
จะเข้ากับ concept ของ Patho Otop
2 ที่ต้องการให้มีการพัฒนาในทุกๆ
กระบวนการที่เกี่ยวข้องทั้งหมด
ไม่มีความเห็น