Creative Thinking Model


คิดให้ต่างอย่างสร้างสรรค์

คำสำคัญ (Tags): #hc#phd
หมายเลขบันทึก: 198127เขียนเมื่อ 1 สิงหาคม 2008 18:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:22 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)
  • ดูอย่างพินิจ พิเคราะห์ อาจารย์ กำลัง เป็นอรหันต์แล้ว
  • หลุดจากกรอบได้จริงๆ
  • คิดตั้งนาน คิดนอกกรอบไม่ได้ ทำไม ไม่ทำประตูออก
  • วนเวียน เหมือนพายเรือในอ่าง
  • เป็นเพราะคิดแต่สิ่งที่คนคิดไว้แล้ว

เรียนถามอาจารย์เจ้าของกระทู้หรือผู้รู้ที่บังเอิญแวะเวียนผ่านมานะคะ

๑. การคิดถูกที่ ถูกทาง ถูกไทม์ ที่เสนอข้างต้น ต่างจากการคิดที่อยู่ในกรอบของกฎระเบียบความเชื่อ มาตรฐาน วัฒนธรรมองค์กร(ที่-ทาง) และวัฒนธรรมที่แวดล้อมในช่วงระยะเวลานั้นๆ(ไทม์) อย่างไรคะ สรุปแล้วไม่ใช่ ที่-ทาง-ไทม์ หรือคะที่เป็นกรอบหรือปัจจัยที่ช่วยกำหนดในการคิด

๒. ทำไมการคิดพ้นกรอบเป็นแนวทางที่สร้างสรรค์เสมอไปจริงหรือ เพราะสร้างสรรค์คือการทำสิ่งที่ดี เป็นประโยชน์ (ดูจากสัญลักษณ์หลอดไฟรอบกรอบ) แต่ดูจากชื่อวิชาแล้ว การสร้างสรรค์ในที่นี้น่าจะมองในเรื่องของนวัตกรรมหรือการสร้างสิ่งประดิษฐ์หรือทฏษฎีความคิดใหม่ๆซึ่งช่วยแก้ปัญหาที่ค้างคาหรือปัญหาใหม่ๆได้ดีกว่าของที่มีอยู่เดิม เราต้องยอมรับว่า ไม่ใช่ทุกเรื่องที่พ้นกรอบจะต้องเป็นแนวทางที่สร้างสรรค์เสมอไป ใช่ไหมคะ

๓. ทำไมจึงต้องคิดพ้นกรอบ ดิฉันไม่เถียงสำหรับนวัตกรรมทางวิทยาศาสตร์ที่มุ่งความเปลี่ยนแปลง แต่สำหรับสังคม วัฒนธรรม ประเพณี จะใช้ทฤษฎีนี้ควรคิดให้ดีๆอีกครั้ง ความวุ่นวายในบ้านเมืองทุกวันนี้ไม่ใช่เกิดจากมุมมองโลกทัศน์ใหม่ๆที่เราได้รู้ลึกรู้จริงและรับมาหรือคะ กรอบที่เราเป็นอยู่ใช้อยู่ไม่มีดีเลยหรือ ทำไมเราไม่มุ่งศึกษา กรอบ ของเราว่าเรามีจุดแข็งจุดอ่อนอย่างไร ลักษณะดังกล่าวทำให้เกิดคุณหรือโทษกับบ้านเมืองอย่างไร และเตรียมรับมือกับของที่จะเข้ามาใหม่อย่างไร

เรียนคุณ nuchchanata

 

โมเดลที่อรวาดมีพื้นมาจากบทความเรื่อง Creative Thinking ซึ่งในความหมายของการคิดนอกกรอบนั้น  ต้องการสื่อถึงการคิดที่แปลกใหม่นอกเหนือจากสิ่งที่คนทั่วไปคิด ไม่ใช่การคิดนอกกฎระเบียบวิธีการ หรือวิถีในแต่ละสังคม ทั้งนี้ในการคิดในกรอบก็ ไม่ได้หมายความว่าไม่เกิดการสร้างสรรค์ จะเห็นได้ว่าแม้การคิดในกรอบหากเราคิดและทำให้แตกต่างเสมือนทฤษฎี Blue Ocean ก็เป็นสิ่งที่สร้างสรรค์ได้ และแม้แต่ในปัจจัยของความคิดสร้างสรรค์นั้น ควรอย่างยิ่งที่จะเป็นความคิดสร้างสรรค์เชิงบวก สร้างสรรค์โดยไม่ทำลายสิ่งที่ดีที่มีอยู่ก่อน  ทั้งนี้หากสังเกตุจะเห็นได้ว่า หลอดไฟในกรอบจะดวงใหญ่ที่สุดและมีความเด่นชัด พร้อมองค์ประกอบรอบด้านที่เสมือนเป็นปัจจัยร่วมในการคิดอย่างสร้างสรรค๋

 

การที่อรทำประตูทางออกไว้ให้ เนื่องจากบางครั้งการคิดนอกกรอบนั้น หากเราไม่เดินตามช่องที่ควรจะเดิน ก็อาจจะกลายเป็นช่องทางคนที่คิดไม่ดีนำเอาไปแสวงหาผลประโยชน์แทน อรคิดว่าการที่เราจะคิดสร้างสรรค์อะไรขึ้นมาสักอย่างปัจจัยหนึ่งขึ้นกับเวลา ถ้ามีนัวตกรรมใหม่ขึ้นมาแต่ไม่ตอบสนองความต้องการขององค์กร เป็นแค่สนองความอยากของผู้คิดค้น ก็ย่อมส่งผลเชิงลบต่อองค์กรมากกว่า (ซึ่งถ้ามองในระยะสั้นแล้วถือว่าเป็นค่าใช้จ่ายไม่ใช่การลงทุน ) แต่ในขณะเดียวกันเมื่อวันผ่าน เวลาเปลี่ยนชิ้นงานที่ไร้ค่า ก็อาจจะกลายเป็นสินทรัพย์ที่เพิ่มมูลค่าได้ (ถือเป็นความเสี่ยงที่แม้จะคาดการณ์ว่าในอนาคตอาจจะได้ใช้ประโยชน์ แต่บนความไม่แน่นอน มีความเป็นไปได้ที่จะไม่เกิดประโยชน์เมื่อวันเวลาผ่านไป)

 

ต่างกรรม ต่างเวลา ต่างวาระ ผลที่ได้รับมักจะแตกต่างกัน

 

ปล. ทั้งภาพวาดและแนวความคิดเป็นทัศนคติส่วนตัวทั้งสิ้น ไม่มีความเกี่ยวข้องกับครูผู้ประสิทธิ์ประสาทวิชา หากแม้มีความผิดพลาด ขอน้อมรับไว้เพียงผู้เดียวค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท