ชีวิตที่พอเพียง : ๕๕๕. ร่วมสร้างสรรค์คุณค่าของ PMA Conference ต่อสังคมไทย


 

          ผมมีบุญ ที่ได้เข้าร่วมทำงานนี้ทั้งๆ ที่ไม่ค่อยมีความรู้    จึงเฝ้าสังเกตว่ากิจกรรม www.pmaconference.org นี้ ก่อคุณูปการอะไรบ้างต่อสังคมไทย

 วงการต่างประเทศของไทยเข้ามาใกล้ชิดวงการสาธารณสุขมากขึ้น    วงการต่างประเทศไทยมองว่านี่คืองานรับใช้ในวัง    แต่ผมมองเป็นความร่วมมือ วัง - วิชาการ - ปฏิบัติ เพื่อสังคมไทย


 การที่ รรพ. คือศิริราช เข้ามาทำงานระบบ (สาธารณสุข) มีคุณค่าต่อสังคมมาก จะทำให้การสร้างแพทย์รุ่นใหม่มีหัวใจเชิงระบบมากขึ้น    และเป็นโอกาสร่วมมือทางวิชาการต่อไปอีก

 
 เป็นการดึงเวทีโลกด้านสุขภาพมาสู่ประเทศไทย


 ทำอย่างไรให้การทำงาน PMA Conference ไม่ใชงานของ exclusive group แต่มีท่าที inclusive ให้คนดีมีความสามารถเข้ามาร่วม


 หัวข้อของการประชุม ปี 2009 "Mainstreaming health in public policy" เป็นการสร้างเวทีให้คนใน non-health sector เข้ามามีบทบาท สำคัญในการกำหนดระบบ ที่มีผลต่อ สุขภาพของคนในสังคม


 ผมคิดหาทางส่งเสริม/ชักชวนนักวิชาการ & นักปฏิบัติสาขาต่างๆ เข้ามาแสดงบทบาทนำในการประชุม PMA Conference 2009 นี้    คือต้องเพิ่มบทบาทของคนไทยใน non-health sector ให้ได้


 ที่จริงคนใน non-health sector ไม่มี    เพราะงาน/กิจการ ทุกด้าน เกี่ยวข้องกับสุขภาวะของคนทั้งหมด   คนทุกคนจึงอยู่ใน “Health Sector” ทั้งหมด


 การประชุมนี้เน้นเอา success cases มาศึกษาทำความเข้าใจภาพใหญ่ ภาพเชิงระบบ     เป็นการจัดการความรู้อย่างหนึ่ง    ทำให้ผมได้มีตัวอย่างการใช้ KM ในการทำงานหลากหลายแบบเอาไว้คิดต่อ


 การประชุมนี้น่าจะช่วยพัฒนาการคิดกระบวนระบบ (Systems Thinking) ในสังคมไทย   ยิ่งหัวข้อ "Mainstreaming health in public policy" ยิ่งชักชวนให้คิดกระบวนระบบ   

 

วิจารณ์ พานิช
๑๗ ก.ค. ๕๑

                             
       

หมายเลขบันทึก: 197526เขียนเมื่อ 30 กรกฎาคม 2008 13:18 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 01:18 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท