งานวิจัยและงานสอน


วิจัยและการบริหารเวลา

หากพูดถึงงานหลักของอาจารย์ก็คือผลิตบัณฑิตให้มีความรู้ความเข้าใจในวิชาที่มีอยู่ให้มากที่สุด ถ่ายทอดให้นักศึกษาเข้าใจให้ง่ายที่สุด แต่ก่อนถึงกระบวนการถ่ายทอดความรู้ที่มีอยู่นั้น ถามว่าอาจารย์ของเราจะเพิ่มทักษะ องค์ความรู้ได้โดยวิธีไหนบ้าง ใช่เราต้องขยันอ่านตำรา ขยันเข้าห้องสมุด และต้องทำวิจัยเพื่อได้ข้อสรุปใหม่ๆ แต่ปัญหามีอยู่ว่าเราจะบริหารเวลาได้หรือเปล่า บริหารได้อย่างไร ความพร้อมของแหล่งข้อมูล (ห้องสมุด) มีการตระเตรียมตำราตามที่ต้องการไหม อีกอย่างที่เราต้องตั้งเป็นประเด็นคำถาม อาจารย์ต้องมาสอนและบรรยายในห้องสี่เหลี่ยมให้ครบตามจำนวนคาบแค่นั้นหรือ หรือว่านักศึกษาต้องทำการค้นคว้าเอง ต้องป้อนข้าวป้อนน้ำหรือป่าว ต้องไปกำหนดตารางเวลานอน อ่านหนังสือ หรือพักผ่อนเหมือนเด็กๆ ที่เรียนชั้นอนุบาลหรือเปล่า

งานวิจัยก็เป็นอีกหน้าที่หนึ่งที่คณาจารย์ต้องทำการศึกษา แต่ในทางปฏิบัติอาจมีปัญหา ใช่เราบริหารเวลาเองได้ แต่ถ้าเวลาดังกล่าวคนที่บริหารไม่ใช่เรา มันก็น่าจะมีปัญหาทันที เพราะเขา (คนอื่น) ย่อมไม่รู้อะไรดีเท่าตัวเราเอง เรื่องเวลามาทำงานของอาจารย์มีคนเสนอให้อาจารย์ทุกคนมาเซ็นต์ชื่อทุกวัน มาเซ็นต์เช้า - เย็น เหมือนเจ้าหน้าที่ท่านอื่นๆ ใช่มันเป็นการดีสำหรับการควบคุมการทำงานของอาจารย์เพื่อไม่ให้หลับหรือเผลอในการสอน ต้องผูกมัดกับมหาวิทยาลัย แต่บางทีสถานันลืมว่าภาระหน้าที่ของอาจารย์ไม่ใช่แค่สอนนักศึกษาในห้องสี่เหลี่ยมอย่างเดียว แต่ต้องเพิ่มพูนความรู้โดยการอ่านตำรา เขียนตำรา ทำวิจัย และอื่น

ประเด็นต่อมา อาจารย์จะทำวิจัยลงพื้นที่ได้อย่างไรในเมื่อเวลาที่มีอยู่เราไม่สามารถบริหารเอง แต่เป็นการบริหารของสถาบันที่เราอยู่ จากการพูดคุยกับอาจารย์ในสถาบันเดียวกันเกี่ยวกับการลงทะเบียนมาทำงานของอาจารย์ (ข้อคิดเห็นของอาจารย์บางท่าน) เกี่ยวกับการลงชื่อมาและกลับ (หากบริหารเหมือนกับเจ้าหน้าที่ต้องมาเซ็นต์ชื่อแปดโมงเช้า และกลับบ้านสี่โมงเย็น) เขามองว่าสถาบันการศึกษาไม่ใช่โรงงาน ที่ต้องมาเช็คว่าอาจารย์อยู่ในรั้วมหาลัยครบแปดชั่วโมงหรือเปล่า แล้วถ้าคุมเช่นนี้จะเอาเวลาไหนไปเก็บข้อมูลลงพื้นที่ทำวิจัย หรือเข้าห้องสมุดหละ

ส่วนตารางสอน และวันเวลาที่จัดให้อาจารย์แต่ละท่านสอนนั้นก็ไม่ค่อยเห็นด้วยที่อาจารย์ต้องมาสอน 5 วันเต็มๆ หรืออาจารย์บางท่านต้องมาทำงานเกือบทุกวัน (เพราะต้องสอนทั้งภาคปกติและโครงการพิเศษ) เวลาพบปะสอนนักศึกษา วิชาหนึ่งๆ มีการพบปะ 2 ครั้ง คือจะแบ่งเป็น หนึ่งชั่วโมง และ สองชั่วโมง แทนที่จะควบเป็นสามชั่วโมงเลย ซึ่งในส่วนนี้อาจารย์บางท่านก็ไม่เข้าใจกับนโยบายของมหาลัย เพราะหากแบ่งเวลาเรียนเป็น 2:1 หรือ 1:2 แต่ละครั้งที่มีการพบปะ อาจารย์ก็ต้องทำการเกริ่นนำก่อน บางทีเกริ่นนำเสร็จ เวลาหนึ่งชั่วโมงนั้นก็หมดไปแล้ว และชั่วโมงถัดไปที่มีการพบปะ 2 ชั่วโมงก็ต้องมีการเกริ่นนำอีกเพราะเป็นคนละวันกัน หรือบางทีหากจะใช้เวลาให้นักศึกษาทำการนำเสนอ บางทีเวลา 2 ชั่วโมงไม่เพียงพอ (เป็นไปได้ต้องใช้ 3 ชั่วโมงรวบเดียวเลย)

อีกประเด็นหนึ่ง จากที่ทางสถาบันกำหนดให้มีการสอนในวิชาเดียวกัน (วิชาที่มี 3 หน่วยกิต) แต่ต้องแยกสอนเป็น หนึ่งชั่วโมง และสองชั่วโมง ทำให้อาจารย์ต้องมาทำงานทุกวัน (ไม่ใช่สอนหลายวิชานะ) แต่พอดีการเรียนการสอนมีการแยกห้องระหว่างนักศึกษาชายและหญิง แทนที่ต้องมาสอนสามหรือสี่วัน ก็ต้องมาทุกวัน แล้วจะเอาเวลาไหนไปทำวิจัย จะเอาเวลาไหนไปหาหนังสือห้องสมุด (ห้องสมุดมีแต่หนังสือไม่มาก) เลยต้องอาศัยห้องสมุดของสถาบันอื่น แล้วจะเอาเวลาไหนไปหละ หากจะลงพื้นที่เก็บข้อมูล (ไปต่างจังหวัดหรือไปต่างประเทศ) ก็ไปไม่ได้ เพราะสอนเกือบทุกวัน หรือไม่ก็ วันหนี้สอน พรุ่งนี้หยุด มะรืนนี้สอนอีก แล้วทิ้งไปได้หรือเปล่า (ออกนอกพื้นที่ เป็นไปไม่ได้) ไปแล้วกลับเลยในวันเดียวกัน ไหนต้องเตรียมตัวเพื่อเข้าสอนนักศึกษาอีก

อาจจะมองว่าการบริหารเวลาไม่ดีพอ ถามว่าเราต้องบริหารเวลาอย่างไร ใครเป็นผู้บริหาร อยากได้ข้อชี้แนะครับ เพื่อความเข้าใจและสามารถเดินไปสู่งานวิชาการที่เต็มไปด้วยการบริหารที่ดีต่อไป

วัสสาลาม

หมายเลขบันทึก: 197493เขียนเมื่อ 30 กรกฎาคม 2008 12:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 01:18 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท