การใช้อินเตอร์เน็ตอย่างสร้างสรรค์


การใช้อินเตอร์เน็ต

การใช้อินเตอร์เน็ตอย่างสร้างสรรค์

 

การป้องภัยกันจากอินเตอร์เน็ต

 

1.ให้ฝ่ายผู้เป็นเจ้าของข้อมูลมีหน้าจอแรกที่เข้าถึงเนื้อหาเหล่านั้นเตือนว่า"เนื้อหาที่คุณจะได้พบต่อไปนี้อาจขัดกับกฏหมายหรือศีลธรรมอันดีงามในประเทศที่คุณอยู่" และถามในทำนองว่า " คุณอายุถึง 18ปีแลัวหรือยัง" " คุณต้องดูจริงๆหรือ " ถ้าผู้ใช้ตอบยืนยันจึงปล่อยผ่านเข้าไป

2.ให้ฝ่ายผู้เป็นเจ้าของมีการแจ้งรายชื่อหรือออกตัวให้โปรแกรมอีกประเภทหนึ่ง(เป็นโปรแกรมสำหรับการเข้าถีงข้อมูลโดยผู้ปกครองหรือParentalControlSoftware)ได้ทราบซึ่งโปรแกรมนี้จะดักจับผู้ใช้ไม่ให้เข้าถึงแหล่งข้อมูลได้

3.ฝ่ายผู้ให้บรการเชื่อมต่อกับอินเตอร์เน็ตให้มีส่วนร่วมโดยการเตือนให้ผู้ใช้ระมัดระวังในการเข้าถึงแหล่งข้อมูลต่างๆและให้ความรู้แก่ผู้ใช้ที่เป็นผู้ปกครองเด็กถึงวิธีการต่างๆที่จะป้องกันการเข้าถึงแหล่งข้อมูต้องห้ามไม่ว่าจะดัวยวิธีแจกจ่ายหรือติดตั้งโปรแกรมหรือกลไกลป้องกันอื่นๆทั้งบนเครื่องของผู้ให้บริการเองและเครื่องของผู้ใช้บริการ

4.ผู้ใช้บริการต้องใช้วิจารณญาณในการเข้าถึงแหล่งข้อมูลต่างๆเองว่าเนื้อหาขัดต่อกฏหมายหรือศีลธรรมหรือไม่ และผู้ปกครองคอยดูแลเอาใจใส่บุตรหลานที่อินเตอร์เน็ต

5.มาตรฐานใหม่ของอินเตร์เน็ตอันหนึ่งที่กำลังอยู่ระหว่างพัฒนาและเริ่มมีการนำมาใช้บ้างแล้วเรียกว่า PlatformForInternetContentSelection(PICS)ซึ่งจะมีกลไกลที่ช่วยให้ผู้สามารถเลือกสรรหรือสกรีนในการเข้าถึงแหล่งข้อมูลต่างๆได้อย่างเป็นมาตรฐานเดียวกันโดยที่จะใช้การเซ็นเซอร์หรือห้ามการเผยแพร่เนื้อหาต่างๆ ก็ใช้วิธีการแบ่งระดับของข้อมูลคล้ายกับการจำกัดอายุของผู้เข้าชมภาพยนต์ที่ใช้กันในหลายประเทศโดยมีองค์กร ทำหน้าที่จัดระดับในเรื่องนี้หลายแห่ง เช่น Recreational Software Advisory Ccuncil (RSAC) และ  SafeSurf  เป็นต้น

ที่มา: ต้น ตัณฑ์สุทธิวงค์ สุพจน์ ปุณณชัยยะ และสุวัฒน์ ปุณณชัยยะ. รอบรู้ Internet และWord Wide Web. พิมพ์ครั้งที่ 2.

                     กรุงเทพฯ: โปรวิชั่น,2539

 

การใช้อินเตอร์เน็ตเชิงสร้างสรรค์

ไดอารี่เว็บ:เว็บเน็ตคู่ใจนักบริหารเว็บไซต์ตลาดออนไลน์สะดุดตากับเธอ..เมื่องานแถลงข่าวการทำชุมชนเว็บไซต์ให้อีริคสัน เพราะความคล่องแคล่วว่องไวและมาดมั่นใจในสไตล์ผู้บริหารสาวยุคใหม่โดยเฉพาะเมื่อต้องมาทำงานทางด้านไอทีสาวมั่นคนนี้...ก็คือ ศรีกัญญา มงคลศิริ กรรมการผู้จัดการและประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการบริษัทแอดฟอร์พอร์ทัล (ประเทศไทย)ที่ดำเนินธุรกิจให้บริการการตลาดออนไลน์อย่างครบวงจรเธอเคยทำงานด้านการวางแผนกลยุทธ์การตลาดจากChuo Senko มาก่อนที่บริษัทฯจะแตกไลน์มาทำด้านเว็บไซต์และให้เธอเป็นผู้ดูแลแม้จะคุ้นเคยกับอินเทอร์เน็ตมานานแต่การก่อตั้งบริษัทใหม่นี้ทำให้ศรีกัญญาต้องใช้เวลาศึกษาวิจัยถึง1ปีเต็มและอาศัยอินเทอร์เน็ตเป็นเครื่องมือหลักในการค้นคว้าหาข้อมูลต่างๆและใช้มากมาจนถึงปัจจุบันเริ่มต้นในแต่ละวันด้วยเสิร์ซเอ็นจิ้นยอดฮิต www.google.com หรือค้นหาข้อมูลใน www. altavista.com ก่อนที่จะแวะเวียนไปที่อื่นส่วนมากจะเป็นเว็บไซต์เกี่ยวกับอินเทอร์เน็ตโดยเฉพาะ..ซึ่งเว็บไซต์ที่คุณศรีกัญญาชอบมากที่สุดก็คือ www.webopedia.com เนื่องจากเป็นเว็บที่ให้ความรู้เกี่ยวกับอินเทอร์เน็ต และลิงค์ไป ยังเว็บเน็ตอื่นๆได้อีกหลากหลายมีพจนานุกรมออนไลน์และที่ชอบมากก็คือจะมีคำศัพท์เกี่ยวกับอินเทอร์เน็ตประจำวัน... คนทำงานที่เกี่ยวข้องกับวงการอินเทอร์เน็ตไม่ควรพลาด มีทุกอย่างที่ควรจะรู้จริง ๆ

สำหรับเว็บไซต์ไทยที่เข้าบ่อยก็คือwww.siamguru.comเพื่อค้นหาเว็บไซต์ภาษาไทยนอกจากใช้เว็บไซต์เพื่อการทำงานแล้ว คุณศรีกัญญายังใช้เพื่อการพักผ่อนอีกด้วย โดยมักจะเข้าไปเล่นเกมที่ www. discoverykids.com เพราะมีอะไรอีกมากที่ผู้ใหญ่ยังไม่รู้ แถมเรียนรู้คำศัพท์ได้อย่างแท้จริง ส่วนเกมในเว็บ ไซต์ไทย ก็จะเล่นบ้างเช่นที่ www. yumyai.com
ในฐานะนักการตลาดคุณศรีกัญญาบอกว่าเว็บไซต์ของไทยแยกได้เป็น2กลุ่มกลุ่มแรกคือพวกที่รู้ว่าตัวเองกำลังทำอะไรอยู่ จะกำหนดเป้าหมายเว็บไซต์ชัดเจนว่าทำเพื่ออะไรกลุ่มเป้าหมายคือใครส่วนกลุ่มที่2จะเป็นพวกทำเว็บไซต์เป็นแต่ยังหาตัวเอง ไม่พบจึงไม่มีจุดยืนมักเลียนแบบเว็บที่ประสบความสำเร็จนำมาประกอบกันขึ้นและเว็บไซต์ประเภทหลังนี้ที่จะพบมากขึ้น ในเมืองไทยทำให้เอเจนซี่โฆษณาทำงานยากไม่สามารถลงแบนเนอร์ให้ได้เพราะกลุ่มเป้าหมายกว้างมากหากจะลงก็เลือกให้ ้กับรายใหญ่ๆที่มีชื่อเสียงแล้วมากกว่าสำหรับผู้ทำเว็บไซต์มือใหม่อยากให้หาตัวเองให้เจอก่อนว่าต้องการจะเป็นอะไร หากกำหนดเป้าหมายอย่างชัดเจนแล้ว ไม่ต้องห่วง มีโฆษณามาลงอย่างแน่นอน.

ที่มา: นาตยา พิสิฐานนท์ คอลัม ไอที หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ ฉบับวัน พุธ ที่ 19 กันยายน พ.ศ.2544

หมายเลขบันทึก: 197082เขียนเมื่อ 28 กรกฎาคม 2008 13:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 พฤษภาคม 2012 13:02 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท