รู้ก่อนติดแก๊ส แอลพีจี-เอ็นจีวี...ดีด้อยต่างกัน


รู้ก่อนติดแก๊ส แอลพีจี-เอ็นจีวี...ดีด้อยต่างกัน

รู้ก่อนติดแก๊ส แอลพีจี-เอ็นจีวี...ดีด้อยต่างกัน

http://ads.dailynews.co.th/news/images/2008/variety/7/23/171018_80127.jpg

        แม้ช่วงนี้จะมีข่าวดีเล็ก ๆ กับราคาน้ำมันที่เริ่มปรับลดลง ชั่วโมงนี้ประชาชนที่ยังจำเป็นต้องใช้รถยนต์ โดยเฉพาะรถยนต์ส่วนตัว ไม่รอให้รัฐบาลมาพยุงราคาน้ำมัน หรือรอน้ำมันลดราคา รีบออกมาจัดการปัญหาราคาค่าใช้จ่ายจากราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้น ด้วยการนำรถไปติดตั้งแก๊ส

ปัจจุบันสถิติรถยนต์ใช้ก๊าซ เชื้อเพลิงทั่วประเทศมี 309,064 คัน แบ่งเป็นรถที่ใช้ก๊าซแอลพีจี 256,083 คัน และใช้ก๊าซเอ็นจีวี 52,981 คัน จากตัวเลขความต้องการที่สูงขึ้น ตัวรัฐบาลเองก็ปรับ ตัวไม่ทันกับความต้องการของประชาชน จะเห็นว่าเรื่องของการออกมาตรฐานรับรองเรื่องของอู่ หรือให้ความรู้กับประชาชนเกี่ยวกับการติดตั้งแก๊สยังไม่มีหน่วยงานจากภาครัฐออกมาให้ความรู้อย่างจริงจัง ก่อนจะพารถคู่ใจไปยังอู่ติดตั้งแก๊ส มาทำความรู้จักกับแก๊ส 2 ชนิดกันก่อนคือ NGV และ LPG

ยานยนต์ที่ใช้ก๊าซธรรมชาติ หรือภาษาอังกฤษเรียกว่า Natural Gas Vehicles หรือเรียกย่อ ๆ ว่า NGV หมายถึง ยานยนต์ที่ใช้ก๊าซธรรมชาติอัด (Compressed Natural Gas : CNG) เป็นเชื้อเพลิง ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิงประเภทฟอสซิลอย่างหนึ่ง พบ ในแอ่งใต้ดิน หรืออาจพบร่วมกับน้ำมันดิบ

คาดว่าจะเป็นแหล่งพลัง งานหลักที่จะนำมาใช้ได้อีก 60 ปีข้างหน้า ปริมาณสำรองที่มีข้อมูลแล้วทั่วโลกเมื่อปี 2541 มีปริมาณ 5,086 ล้านล้านลูกบาศก์ฟุต พบมากที่สุดในสหภาพโซเวียตเดิม มีปริมาณ 1,700 ล้านล้านลูกบาศก์ฟุต

ส่วน LPG คือคำย่อ ซึ่งได้มาจากตัวอักษรหน้าของก๊าซปิโตรเลียมเหลว (Liquefied Petroleum Gas) และเป็นส่วนประกอบที่เบาที่สุดที่มีอยู่ในน้ำมันปิโตรเลียม LPG เป็นสารประกอบ ไฮโดรคาร์บอนมีหลายชนิดด้วยกันขึ้นอยู่กับการรวมตัวของคาร์บอนอะตอม และไฮโดรเจนอะตอม ได้แก่ โพรเพน โพรพิลีน บิวเทน บิวทีลีน เป็นต้น

มีส่วนประกอบที่สำคัญคือโพรเพน และบิวเทน ก๊าซเหล่านี้มีคุณสมบัติพิเศษที่ว่า เมื่อได้รับความเย็นหรือความดันจะเปลี่ยนสภาพเป็นของเหลวได้โดยง่าย ในทางกลับกัน เมื่อให้ความร้อนหรือลดความดันก็จะกลายเป็นก๊าซ ซึ่งจะมีน้ำหนักประมาณ 1.5-2 เท่า ของอากาศ โดยปกติ LPG จะ ถูกทำให้เป็นของเหลวโดยได้รับความดัน และถูกเก็บไว้ในภาชนะความดันสูง

แอลพีจีมี 2 ชนิด คือชนิดก๊าซบ่อน้ำมัน (oil field gas) ที่ได้จากการแยกและกลั่นก๊าซธรรมชาติที่ได้ (ทั้งแอลพีจี และเอ็นจีวี) และชนิดก๊าซโรง กลั่นน้ำมันที่ได้จากการแยกก๊าซ อันเป็นผลพลอยได้จากการกลั่น น้ำมันดิบ เนื่องจาก LPG มีสภาพ เป็นก๊าซที่อุณหภูมิและความดันปกติ จึงต้องทำให้เป็นของเหลวอยู่เสมอ โดยการอัดความดันหรือแช่แข็ง แล้วต้องขนส่งด้วยเรือที่ใช้บรรทุก LPG โดยเฉพาะ

ดูจากตัวเลขการติดตั้งข้างต้นการติดตั้ง แอลพีจีสูงกว่าเอ็นจีวี ปรากฏการณ์นี้ ชัยฤทธิ์ กาญจนาเวส นายกสมาคมติดตั้งแก๊สไทย บอกว่า แอลพีจีใช้ในบ้านเรามา นาน 27 ปีแล้ว ขณะที่เอ็นจีวี เพิ่งมาใช้ เมื่อ 7 ปีที่ผ่านมา ช่างติดตั้ง ช่างซ่อมบำรุงจะมีประสบการณ์มีความเชี่ยวชาญมากกว่า มีผู้ค้าแก๊สรายใหญ่หลายรายไม่ถูกผูก ขาดเหมือนเอ็นจีวี ดังนั้นจึงหาปั๊มเติมได้สะดวกกว่า อีกทั้งรถยนต์ที่ติดตั้งแก๊สแอลพีจีบรรจุก๊าซขนาดใกล้เคียงกันวิ่งได้ระยะทางมากกว่า ซึ่งระยะเฉลี่ยแอลพีจีต่อถังวิ่งได้ 350 กม. ขณะที่เอ็นจีวีวิ่งได้แค่ 100 กม. อีกทั้งขนาดของถังที่หนัก กว่าแอลพีจี

นอกจากนี้ยังรวมถึงราคาค่าติดตั้งเอ็นจีวีสูงกว่าแอลพีจี เหตุ ผลหลักของราคาแพง มาจากราคา ค่าถังแก๊ส เพราะถังเอ็นจีวีต้องใช้ แรงดัน 3,000 ปอนด์ ขณะที่แอลพีจี 300 ปอนด์ ต่างกัน 10 เท่า ดังนั้นเมื่อมีความดันสูง ถังเอ็นจีวี จำเป็นต้องใช้เหล็กที่หนากว่า ถังที่ เป็นเหล็กล้วนที่เรียกว่า Type 1 ราคาอยู่ที่หมื่นกว่าบาท ขณะที่ถัง Type 2 ใช้วัสดุเหล็กผสมไฟเบอร์ กลาสเบาลงอีก ราคาขยับขึ้นกว่า 20,000 บาท และถัง Type 3 ขยับขึ้นมาเกือบ 50,000 บาท น้ำหนักเบาลงมาแต่ยังมีเหล็กผสม และถัง Type 4 เป็นไฟเบอร์กลาส ล้วน น้ำหนักใกล้เคียงกับถังแอล พีจี ราคาตกใบละ 100,000 บาท ซึ่งเมื่อรวมอุปกรณ์ชุดฉีด และค่าติดตั้งเบ็ดเสร็จแล้ว 150,000 บาท

อย่างไรก็ตาม ราคาน้ำมันสูงขึ้นเมื่อไม่กี่เดือนที่ผ่านมา ทำให้ ราคาค่าติดตั้งแก๊สแอลพีจีและเอ็นจีวีสูงขึ้นเฉลี่ย 20 เปอร์เซ็นต์ บวก กับราคาเหล็กขึ้น ทองเหลืองขึ้น

ส่วนรูปแบบของถังที่ถูกต้องตามกฎหมาย ถังตามมาตรฐาน มอก. ที่อนุญาตให้ใช้ในประเทศไทยต้องเป็นถังชนิด แคปซูล เท่านั้น ส่วนถังล้ออะไหล่หรือถังโดนัท ไม่ได้รับอนุญาตจาก มอก. ในบ้าน เรา แต่ในต่างประเทศใช้กันแพร่หลาย ปลอดภัยเหมือนกันหากได้รับรอง มอก. รถยนต์ที่เลือกติดถังโดนัทจะไม่ผ่านการตรวจสภาพจาก กรมการขนส่งทางบก

สำหรับรถยนต์ที่ใช้เครื่องดีเซล หากต้องการติดตั้งแก๊สต้องเสียค่าใช้จ่ายสูงถึง 80,000-90,000 บาท เพราะต้องเปลี่ยนลูกสูบใหม่ เปลี่ยนฝาหัวเทียน เพิ่มระบบ ราคา ที่สูงมากจนทำให้ผู้บริโภครับไม่ไหว ยกเครื่องดีเซลออกไปเปลี่ยนมาเป็นเครื่องเบนซินแทน

นายกสมาคมติดตั้งแก๊สไทย บอกถึงข้อเท็จจริงของเอ็นจีวี อีกด้านหนึ่งว่า ก๊าซเอ็นจีวีในบ้านเรามีกากมาก คือยังมีคาร์บอน ยัง แยกก๊าซที่ไม่ใช้เชื้อเพลิงออกหมด มีความบริสุทธิ์แค่ 73% เมื่อเทียบ กับเอ็นจีวีของมาเลเซียบริสุทธิ์ถึง 99% เมื่อมีความบริสุทธิ์น้อย ส่งผลให้เครื่องยนต์เสื่อมสภาพเร็ว แม้ขณะนี้ราคาของเอ็นจีวีจะถูกกว่า คือลิตรละ 8.50 บาท และจะปรับขึ้นเป็น 12 บาท ในวันที่ 1 ม.ค. ปีหน้า ขณะที่ราคาแอลพีจีอยู่ที่ลิตร ละ 11.50 ซึ่งรัฐบาลพยายามให้ข่าวเป็นระยะว่าจะปรับราคาแอลพีจี โดยจะแยกเป็น 2 ราคา คือราคาก๊าซหุงต้ม และภาคขนส่ง คาด ว่าจะปรับราคาขึ้นอีก 4 บาทต่อลิตร

วันนี้ไม่มีใครมาการันตี ได้ว่าเอ็นจีวีจะปรับราคาเป็น 20 บาท หรือราคาจะถูกลงครึ่งหนึ่งของ ราคาดีเซล ที่ผ่านมาเกิดปัญหาขาดแคลนแอลพีจี จน ปตท. ต้องนำเข้า แล้ว ปตท. ออกมาขอค่าชดเชยจากรัฐบาล อยากถามว่ารัฐบาลนำเข้าเองไม่ได้หรือทำไมต้องผ่าน บริษัทดังกล่าว แอลพีจีคือสัญชาติไทย 100 เปอร์เซ็นต์ แล้วทำไมต้องนำเข้า แอลพีจีได้มาจากการกลั่นน้ำมันด้วย เวลาได้ก๊าซจากหลุมได้ทั้งแอลพีจีและเอ็นจีวีด้วย ที่ผ่านมาไม่เคยมีการแสดงตัวเลขการกลั่น การนำเข้าที่ชัดเจนให้ประชาชนดูอ้างแต่ว่าขาดแคลนต้องนำเข้า

นายกสมาคมติดตั้งแก๊สไทย ตั้งข้อสังเกตปัญหาขาดแคลนแก๊ส พร้อมออกมาฟันธงว่า เวลานี้แอลพีจีพร้อมกว่า แม้จะผ่านวิบากกรรมลอยตัวขึ้น 4 บาทต่อลิตร แต่ยังถูกกว่าน้ำมัน ที่สำคัญเป็นตลาดเสรี อีกทั้งการเทียบความเร็วของรถเมื่อเปลี่ยนระบบ มาใช้แก๊ส จากความเร็วที่ 150 กม. ต่อชั่วโมง

ขณะที่รถยนต์ใช้ก๊าซแอล พีจียังคงความเร็วที่ 150 กม. ได้แต่เอ็นจีวีแรงตกวิ่งได้แค่ 110 กม.

นั้นยังไม่รวมถึงสถานีบริการเอ็นจีวี ที่ ปตท. ออกมา บอกว่าในปลายปี จะมีปั๊มเอ็นจีวี 225 ปั๊มทั่วประเทศ และ 550 ปั๊ม ในปี 2554 ทั้งที่ก่อนหน้านั้นจะมีการเพิ่มสถานีบริการ แต่ไม่สามารถทำได้ตามเป้า ซึ่งตามข้อเท็จจริงแล้ว ปั๊มเอ็นจีวี ต้องมีระยะ ถี่และมากกว่าแอลพีจี (ขณะนี้ มีอยู่ราว 500 แห่งทั่วประเทศ) เพราะถังบรรจุแก๊สได้น้อยกว่า

คิดว่ารัฐบาลน่าจะไปส่งเสริมให้รถขนาดใหญ่รถบรรทุก ใช้ เอ็นจีวี ตอนนี้มีประชาชนที่ไปติดตั้งเอ็นจีวีมาแล้วจะมาขอเทิร์นเป็นระบบแอลพีจีทุกวัน บอกยอมขาดทุน เพราะเจอปัญหาเยอะ เราบอก เราทำไม่ได้

ปัจจุบันประชาชนที่ต้องการติดตั้งแก๊สรถยนต์เพื่อความปลอดภัยและมั่นใจนอกจากอู่มีการ ประกันหลังติดตั้ง พร้อมมีใบวิศว กรรมรับรอง อีกทางเลือกคือเลือกหาอู่ที่เป็นสมาชิกใน เครือสมาคมติดตั้งแก๊ส เพราะมีช่างติดตั้งผ่านการรับรองจากสมาคม มีประกันภัย ของบริษัทเอกชนเข้ามาดูแลกรณีเกิดปัญหาระหว่างอู่กับเจ้าของรถ พร้อมรับคู่มือดูแลรักษารถและตรวจ สภาพทุกระยะ

สิ่งที่ต้องปฏิบัติ เมื่อรถยนต์เปลี่ยนมาใช้ระบบแก๊ส ต้องนำรถมาตรวจสภาพที่กรมการขน ส่ง ภายใน 15 วัน พร้อมแนบใบรับรองจากวิศวกร บัตรประชาชนเจ้าของรถ กรอกแบบฟอร์มเพิ่มเติมรายการทะเบียนรถ

ถ้าเจ้าของรถไม่มาแจ้งถือว่ามีความผิดตาม พ.ร.บ.รถยนต์ พ.ศ. 2522 มาตรา 36 ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท ซึ่งจะบังคับใช้ ก.ม. อย่างจริงจัง วันที่ 1 ส.ค. นี้

ส่วนการคุ้มครองรถยนต์จากบริษัทประกันภัย หลังแจ้งกับการขนส่งแล้วส่งหลักฐานยังบริษัทประกันภัยเงื่อนไขการคุ้มครองต่างกัน บางแห่งขอเก็บเบี้ยประกันเพิ่ม บางแห่งขอเพิ่มวงเงินและเบี้ย ประกัน บางแห่งไม่ขอเก็บประกันในปีนี้แต่ทบไปเก็บปีถัดไป

เห็นข้อดีข้อด้อยของเอ็นจีวีกับแอลพีจีกันแล้ว คงตัดสินใจได้สำหรับคนที่จะนำรถคู่ใจไปติดตั้งแก๊ส.

 

พรประไพ เสือเขียว

หมายเลขบันทึก: 197016เขียนเมื่อ 27 กรกฎาคม 2008 22:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 01:16 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท