การพัฒนาหลักสูตรกับการพัฒนาการเรียนการสอน


หลักสูตรและการสอน

การพัฒนาหลักสูตร

         

         ในการพัฒนาหลักสูตรมีผู้ศึกษาวิจัยหลายท่าน อาทิ เช่น         สันต์  ธรรมบำรุง  (2527 : 65)  ให้ความเห็นไว้ว่า  การพัฒนาหลักสูตร  หมายถึง การสร้างหลักสูตรขึ้นมาใหม่  โดยอาศัยข้อมูลพื้นฐานต่าง ๆ ในการจัดทำหลักสูตร  และต้องอาศัยความร่วมมือจากบุคคลหลายฝ่าย  เช่น  ครู  ผู้บริหารการศึกษา  นักวิชาการ  ผู้เรียน  ผู้ปกครอง  ประชาชน เป็นต้น  โดยต้องมีหลักการสร้างหลักสูตร ได้แก่  การใช้ข้อมูลที่ถูกต้องเชื่อถือได้  กล่าวคือ  เป็นข้อมูลที่ได้จากการวิเคราะห์  ศึกษาวิจัย  ทั้งนี้เพื่อให้ได้หลักสูตรที่เหมาะสมกับผู้เรียนและท้องถิ่น  และต้องมีการประสานกันอย่างกว้างขวางระหว่างนักพัฒนาหลักสูตร  ครูผู้สอน  และบุคคลในอาชีพ   ต่าง ๆ

         สงัด  อุทรานันท์ (2532 : 31 – 33)  ได้แสดงความคิดเกี่ยวกับการพัฒนาหลักสูตรไว้หลายประการได้แก่

1.       การพัฒนาหลักสูตร หมายถึง การจัดทำหลักสูตรขึ้นมาใหม่โดยไม่ใช้พื้นฐานของหลักสูตรเดิม  และหมายความรวมถึงการผลิตเอกสารต่าง ๆสำหรับผู้เรียนด้วย

2.       การจัดหลักสูตรมีความหมายเดียวกับการออกแบบหลักสูตร หมายถึงลักษณะของการจัดเนื้อหาสาระ  และมวลประสบการณ์ในหลักสูตร

3.       การสร้างหลักสูตร หมายถึง  การสร้างรายวิชาโดยดำเนินการเป็น ระบวนการ

         วิชัย  ดิสสระ  (2535 : 31)  มีแนวคิดว่า   การพัฒนาหลักสูตรเป็นกระบวนการของการตัดสินใจเลือกอย่างเป็นระบบ  ที่จะหาทางเลือกสำหรับการเรียนการสอนที่เหมาะสมและสามารถปฏิบัติได

         ใจทิพย์  เชื้อรัตนพงษ์ (2539 : 109 – 110)  ได้กล่าวถึงเหตุผลและความจำเป็นในการพัฒนาหลักสูตรระดับท้องถิ่นไว้หลายประการ  ซึ่งขณะนั้น  (ก่อน พ.ศ.2539)  การศึกษาของเราใช้     หลักสูตรเดียวของกรมวิชาการทั่วทั้งประเทศ  สำหรับขณะนี้  (พ.ศ. 2545ขอนำเหตุผลมาแสดง   เพียง 2 ประการ คือ  ประการหนึ่ง  การเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วทางด้านเศรษฐกิจ  การเมือง  วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่มีผลกระทบโดยตรงต่อทรรศนะและการดำเนินชีวิตของคนไทยทั้งเมืองและชนบท จึงต้องมีหลักสูตรท้องถิ่นเพื่อปรับสภาพของผู้เรียนให้สามารถรับกับการเปลี่ยนแปลงทั้งหลายได้ เพื่อความสามารถในการดำเนินชีวิตอยู่ในท้องถิ่นได้อย่างเป็นสุข         อีกประการหนึ่งคือการเรียนรู้ที่ดีควรจะเรียนรู้เรื่องใกล้ตัว  การเรียนรู้จึงจะมีความหมายกับผู้เรียน  จึงต้องมีหลักสูตรท้องถิ่น  เพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ชีวิตจริงตามสภาพปัญหา

      สุดสายใจ  ชาญณรงค์  (2540 : 17)  มีความเห็นว่า  ควรมีการพัฒนาหลักสูตรให้เหมาะสมกับท้องถิ่น  เพื่อให้ผู้เรียนนำความรู้และประสบการณ์ไปใช้ได้จริงในชีวิต

         พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 มาตรา 9   กำหนดให้การจัดหลักสูตรและกระบวนการจัดการศึกษาให้เกิดจากการมีส่วนร่วมของบุคคล  ครอบครัว  ชุมชนและองค์การต่าง ๆ ในท้องถิ่น (มาตรา 9 วงเล็บ 6)  จะทำให้ได้หลักสูตรที่ผู้เรียนได้เรียนรู้ชีวิตจริงและการแก้ปัญหาของตนและท้องถิ่น

         นาตยา  ปิลันธนานนท์, มธุรส  จงชัยกิจ,และศิริรัตน์ นีละคุปต์ (2542 : 36)  ได้กล่าวถึงความคิดเห็นของ Glatthorn (1987)ว่าหลักสูตรระดับการสอน (Taught Curriculum)  หมายถึง  หลักสูตรที่ครูนำไปใช้จัดการเรียนการสอนจริงในชั้นเรียน  ซึ่งควรเป็นหลักสูตรที่คณะของครูผู้สอนจัดทำขึ้นมาใช้เอง  เพราะจะเป็นการสื่อสารให้ทราบว่า  ครูรู้ว่าจะสอนอะไร  สอนอย่างไร  ใช้สื่อการสอนอะไร และประเมินผลอย่างไร  และจะเป็นหลักสูตรที่สอดคล้องกับความต้องการ  ปรัชญา  ปณิธานของโรงเรียนและท้องถิ่น  สามารถสร้างความมั่นใจได้ว่าผู้เรียนทุกคนมีโอกาสที่จะได้รับการเรียนรู้ตามมาตรฐานที่ได้วางไว้  ด้วยการเรียนการสอนที่เหมาะสมกับวัยและวุฒิภาวะของเขา(http://gotoknow.org/file/classroom/%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99.doc) 

         จากความหมายและความสำคัญของการพัฒนาหลักสูตรที่กล่าวข้างต้น  สรุปได้ว่าการพัฒนาหลักสูตร  หมายถึง  การออกแบบและจัดทำหลักสูตรขึ้นมาเพื่อให้มีความเหมาะสมกับวิถีชีวิต  และปัญหาของผู้เรียนและสังคม 

การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาในต่างประเทศนั้นมีการดำเนินการมาก่อนประเทศของเรามากกว่า 40 ปี โดยนับถึงวันประกาศใช้หลักสูตรการศึกษาการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2544   ซึ่งการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษามีจุดเริ่มต้นมาจากแนวคิดการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ (Child-Centred Approaches)  ซึ่งจากแนวคิดนี้ทำให้ครูมีส่วนร่วมในการตัดสินใจในการจัดทำหลักสูตรและมีการทำงานร่วมกันกับเพื่อนร่วมงานในการวางแผนจัดทำหน่วยการเรียนมากขึ้น โดยเฉพาะในรัฐวิคตอเรีย ของประเทศออสเตรเลียในช่วงปี 1960s  จากการเคลื่อนไหวด้านหลักสูตรสถานศึกษานี้ จึงได้มีการจัดตั้งคณะกรรมการหลักสูตรขึ้น เพื่อทำหน้าที่ให้ข้อเสนอแนะในการปรับปรุงหลักสูตร และเป็นการกระตุ้นให้โรงเรียนได้วางแผนและจัดทำหลักสูตรระดับท้องถิ่นด้วยตนเอง โดยมีการสนับสนุนและอนุญาตให้ครูหยุดสอนในวันหลักสูตร (curriculum  days)  เพื่อให้ครูได้วางแผนและดำเนินการเกี่ยวกับหลักสูตร  ต่อมาได้มีการรวมตัวกันของครูในรัฐวิคตอเรียนี้ทำให้เกิดพลังและนำไปสู่การเขียนวารสารที่ชื่อ ครูออสเตรเลีย (Australian Teacher)   ซึ่งกลายเป็นวารสารที่ช่วยประชาสัมพันธ์ด้านการศึกษาและการปฏิรูปหลักสูตร ของรัฐต่าง ๆ ในออสเตรเลีย                                องค์กรหลักที่มีบทบาทสำคัญในปี 1970s  คือ ศูนย์พัฒนาหลักสูตร (Curriculum Development Centre:  CDC)  ซึ่งมีผู้เกี่ยวข้องสำคัญที่มีส่วนผลักดันการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา คือ Malcom Skilbeck  ซึ่งเขาได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้อำนวยการของศูนย์พัฒนาหลักสูตร ซึ่งต่อมาในปี 1977 ได้มีโครงการสำคัญ คือ โครงการ  

                                                                                                                                                          ประเมินหลักสูตรโดยครู ภายใต้การนำของ Phillip Hughes  ซึ่งจะเตรียมครูเกี่ยวกับทักษะที่จำเป็นในการประเมินหลักสูตรของตนเอง โครงการดังกล่าวสิ้นสุดในปี 1982  ซึ่งเป็นความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่จากการที่ครูในรัฐได้รับประโยชน์จากการเข้าประชุมปฏิบัติการและได้รับการชี้แนะเกี่ยวกับการประเมินหลักสูตรของตนเอง  (Marsh et al, 1990:  7-20)  ( http://ci.psru.ac.th/article/04-09-2548_21-46-28.doc)ดังนั้นจะเห็นได้ว่าตัวจักรสำคัญในการพัฒนาหลักสูตรและการพัฒนาการเรียนการสอน  คือครู

            การพัฒนาการเรียนการสอนที่ดีมีคุณภาพคนที่เป็นครู และผู้ที่เกี่ยวข้องในการให้การศึกษาจะต้องมีการศึกษาหลักสูตรในการให้การศึกษากำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการให้ถูกต้องและเหมาะสม  การพัฒนาการเรียนการสอนที่ดีมีคุณภาพนั้น  ควรจะต้องมีการศึกษาสภาพความเป็นจริงของผู้เรียนหลักสูตรต้องการให้อะไร

กับผู้เรียนจะมีเทคนิควิธีการในการพัฒนาผู้เรียน อย่างไร จึงจะทำให้ผู้เรียนมีคุณภาพและมีประสิทธิภาพในการดำรง

ชีวิตหลักการอันสำคัญประการหนึ่งคือการพัฒนาข้าราชการครู กอบกู้คุณภาพ (http://www.moe.go.th/webtcs/Table4/Kosin12/a6.doc )

แหล่งอ้างอิง

การพัฒนาหลักสูตรวิชาสุขศึกษาและพลศึกษาช่วงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 - 3 ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544  ศึกษาเฉพาะกรณีโรงเรียนในเขตเทศบาลนครนครสวรรค์   จากการพัฒนาหลักสูตรในประเทศแล้วลองหันไปดูการพัฒนาหลักสูตรในต่างประเทศบ้าง.  [ ออนไลน์  ].  เข้าถึงได้จาก: http://gotoknow.org/file/classroom/%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99.doc

ชัยวัฒน์  สุทธิรัตน์.  การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา: ฝันที่ยังไปไม่ถึง.  [ ออนไลน์  ].  เข้ถึงได้จาก:

http://ci.psru.ac.th/article/04-09-2548_21-46-28.doc

โกสินทร์ วรเศรษฐสิงห์.  การพัฒนาการเรียนการสอนที่ดีมีคุณภาพ ”.  [ ออนไลน์  ].  เข้ถึงได้จาก:

http://www.moe.go.th/webtcs/Table4/Kosin12/a6.doc

 

หมายเลขบันทึก: 196788เขียนเมื่อ 26 กรกฎาคม 2008 20:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 22:16 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท