เครื่องมือและเทคนิคในการรวบรวมข้อมูล


วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล

วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล

     วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลปฐมภูมิที่ใช้ในการวิจัยทางการศึกษาได้แก่
     1. การใช้แบบทดสอบ
     2. การส่งแบบสอบถามหรือแบบวัดเจตคติ
     3. การสัมภาษณ์
     4. การสังเกต
     5. การใช้เทคนิคสังคมมิติ
     6. การทดลอง

     1. การใช้แบบทดสอบ
       การเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบทดสอบนั้น ผู้วิจัยอาจจะใช้แบบทดสอบที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเอง หรือใช้แบบทดสอบมาตรฐานก็ได้ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของการวิจัย ถ้าผู้วิจัยจะใช้แบบทดสอบมาตรฐานในการรวบรวมข้อมูล ผู้วิจัยควรจะได้ศึกษาเสียก่อนว่าแบบทดสอบมาตรฐานที่ต้องการนั้น จะไปติดต่อแหล่งข้อสอบเหล่านั้นได้ที่ไหน หลังจากที่ได้แบบทดสอบมาแล้ว ผู้วิจัยจะต้องศึกษาคู่มือการใช้แบบทดสอบฉบับที่ได้มานั้นอย่างละเอียดถี่ถ้วน และจะต้องปฏิบัติตามคำแนะนำของการใช้แบบทดสอบนั้นอย่างเคร่งครัดสิ่งสำคัญอีกประการหนึ่ง คือ ผู้วิจัยจะต้อง
ติดต่อกลุ่มตัวอย่างที่จะไปทำการทดสอบล่วงหน้า มีการนัดหมายกำหนดเวลาในการทดสอบไว้อย่างแน่นอน

     2. การส่งแบบสอบถามหรือแบบวัดเจตคติ
        การรวบรวมข้อมูลโดยการส่งแบบสอบถามนั้นเป็นวิธีที่นิยมใช้ในการวิจัยเชิงสำรวจมากที่สุด วิธีการส่งแบบสอบถามหรือแบบวัดเจตคติไปถึงกลุ่มตัวอย่างหรือกลุ่มประชากรนั้นทำได้ 2 วิธี คือ ผู้วิจัยนำแบบสอบถามหรือแบบวัดเจตคติไปส่งให้กับผู้ตอบ และรับกลับด้วยตนเอง ซึ่งอาจจะรับกลับภายในวันที่ไปส่งให้หรือนัดหมายมารับภายหลัง หรือส่งแบบสอบถามหรือแบบวัดเจตคติไปให้ผู้ตอบทางไปรษณีย์ 

     3. การสัมภาษณ์
การรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ คือ การรวบรวมข้อมูลลักษณะที่ผู้รวบรวมข้อมูลมีโอกาสพบปะ พูดคุย สนทนากับผู้ให้ข้อมูลโดยตรง ซึ่งการสัมภาษณ์นั้นจัดแบ่งได้เป็น 2 ลักษณะใหญ่ ๆ ดังนี้
1. การสัมภาษณ์แบบเป็นมาตรฐาน (Standardized interview หรือ Structured interview) เป็นการสัมภาษณ์ในลักษณะที่ผู้สัมภาษณ์จะกำหนดคำถามที่จะถามเตรียมไว้ล่วงหน้า

2. การสัมภาษณ์แบบไม่เป็นมาตรฐาน (Unstandardized interview หรือ Unstructured interview) เป็นการรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ที่มีแต่หัวข้อที่ต้องการสัมภาษณ์ เป็นประเด็นกว้าง ๆ

4. การสังเกต
     การรวบรวมข้อมูลโดยการสังเกตนั้นแบ่งได้เป็นสองประเภทคือ
     1. แบบมีส่วนร่วม (Participant observation) คือการสังเกตที่ผู้สังเกตเข้าไปมีส่วนร่วมใน กิจกรรมต่าง ๆ ที่ไปสังเกต เช่น เข้าไปใช้ชีวิตอยู่ในชุมชนนั้น เมื่อต้องการจะศึกษาถึงชีวิตความเป็นอยู่ของคนในชุมชน
     2. แบบไม่มีส่วนร่วม (Non- participant observation) คือ การสังเกตที่ผู้สังเกตไม่ได้เข้าไปมีส่วนร่วมกับกิจกรรมต่าง ๆ ที่ไปสังเกตเพียงแต่เป็นผู้สังเกตการณ์เท่านั้น

     5. การใช้เทคนิคสังคมมิติ
     การรวบรวมข้อมูลด้วยการใช้เทคนิคสังคมมิตินั้นเป็นวิธีการที่ใช้ในกรณีที่ต้องการศึกษา
ความสัมพันธ์ทางสังคมระหว่างสมาชิกในหมู่คณะ ซึ่งข้อมูลที่ได้จะเป็นประโยชน์ในการนำมาใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการแก้ปัญหาเกี่ยวกับการปรับตัวทางสังคม เนื่องจากข้อมูลที่ได้จากการใช้เทคนิคสังคมมิตินั้นจะช่วยให้ผู้รวบรวมข้อมูลมองเห็นฐานะทางสังคมของสมาชิกในกลุ่มว่าอยู่ในสภาพอย่างไร

     6. การทดลอง
     การทดลอง (Experiment) เป็นวิธีรวบรวมข้อมูลซึ่งใช้กันกว้างขวางในแขนงวิชา วิทยาศาสตร์ในปัจจุบันการทดองได้นำมาประยุกต์กับแขนงวิชาสังคมศาสตร์โดยเฉพาะจิตวิทยา สังคมวิทยา และแขนงวิชาสังคมศาสตร์อื่น ๆ การทดลองนับว่าเป็นวิธีเสาะแสวงหาความรู้ด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์อย่างหนึ่ง โดยที่เราสามารถควบคุมตัวแปรและอิทธิพลต่าง ๆ ในห้องทดลองได้ แม้ว่าการจัดการทดลองนี้ส่วนมากจะใช้ในห้องทดลองทางวิทยาศาสตร์ก็ตาม แต่ก็สามารถนำวิธีการนี้มาประยุกต์ใช้ในที่ซึ่งไม่ใช่ห้องวิทยาศาสตร์ เช่น ห้องเรียน เป็นต้น

ที่มา

          

          เครื่องมือและเทคนิคในการรวบรวมข้อมูล  ออนไลน์เข้าถึง

           http://wbc.msu.ac.th/wbc/edu/0504304/lesson6.htm

หมายเลขบันทึก: 196609เขียนเมื่อ 26 กรกฎาคม 2008 08:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มิถุนายน 2012 09:20 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

แวะมาอ่านค่ะ 

             ขอบคุณค่ะ...

                            

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท