สมรรถนะคืออะไร


สมรรถนะ

เอกสารหมายเลข 4

 

ผลการศึกษาข้อมูลรายบุคคลในฐานข้อมูลหมวดความรู้จากหนังสือ

 

1. เรื่องที่อ่าน/จากหนังสือ/ผู้เขียน/ปีที่พิมพ์

ย้อนอดีต ... ก่อนที่จะไปไกลเกิน  พลิกปูมประวัติ : ส ม ร ร ถ น ะ          

วารสารข้าราชการ ปีที่ 52 ฉบับที่ 2 เดือนมีนาคม-เมษายน 2550 : www.ocsc.go.th

ดร. สุรพงษ์ มาลี

 

2. สาเหตุที่ให้ความสนใจกับเรื่องนี้/เหตุผลที่เลือกอ่านเรื่องนี้

             จากการที่เราได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับกลุ่มต่างๆ และโดยเฉพาะกลุ่มที่ 1 ซึ่งเป็นกลุ่มของตนเอง มีสมาชิกหลายท่านได้เขียนถึงการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์  (Human resource)  และสมรรถนะ “Competency”  ของบุคคลในอาชีพต่าง ๆ เราในฐานะผู้อำนวยการสถานศึกษา มีหน้าที่ในการบริหารตัวเองและบุคลากรผู้ใต้บังคับบัญชา ซึ่งเรื่องสมรรถนะนั้นถึงจะเป็นเรื่องเก่าแต่เราก็ไม่ค่อยได้สนใจอ่านและศึกษา ดังนั้นเมื่อจะมีการปรับเปลี่ยนวิทยฐานะ ทุกคนจึงต้องเรียนรู้เพื่อจะได้นำไปปฎิบัติและดำเนินการให้ได้มาตรฐานตามสมรรถนะนั้นๆ

ประเภทของสมรรถนะ

  1. การจัดประเภทสมรรถนะตามเกณฑ์การอ้างอิง

           ศาสตรมจารย์ McClelland หรือของ Spencer and Spencer แบ่งประเภทของสมรรถนะตามเกณฑ์การอ้างอิงออกเป็น 2 ประเภท คือ

F สมรรถนะขั้นพื้นฐาน (Threshold Competencies) หมายถึง สมรรถนะที่ผู้ปฏิบัติงานทุกคน จะต้องมีเพื่อที่จะสามารถทำงานในบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบนั้นได้ ถือเป็นสมรรถนะขั้นต่ำ แต่ไม่ได้มุ่งเน้นว่า หากมีสมรรถนะดังกล่าวแล้วจะทำให้ทำงานได้ผลงานโดดเด่นกว่าคนอื่น สมรรถนะพื้นฐานนี้ Schroder เรียกว่าสมรรถนะขั้นต่ำ หรือ Basic Competencies

F สมรรถนะเชิงจำแนก (Differentiation Competencies) หมายถึง สมรรถนะที่สามารถใช้จำแนกผู้ปฏิบัติงาน ว่าคนใดจะมีผลงานดีกว่าหรือด้อยกว่ากันอย่างไร สมรรถนะเชิงจำแนกนี้ Schroder เรียกว่า สมรรถนะสำหรับการสร้างผลงาน หรือ High-Performance Competencies

                การจัดประเภทของสมรรถนะออกเป็นสมรรถนะพื้นฐานและสมรรถนะเชิงจำแนก มีความสำคัญในเชิงปฏิบัติ เพราะจะมีผลต่อวิธีการกำหนดกรอบสมรรถนะสำหรับการปฏิบัติงานและการประเมินโดยองค์กรสารถเลือกได้ว่า จะกำหนดแต่เพียงว่ามีหรือไม่มีสมรรถนะตามมาตรฐานขั้นต่ำ หรือจะกำหนดระดับของสมรรถนะออกเป็นลำดับขั้น

                2. การจัดประเภทสมรรถนะตามความจำเป็นของงาน

                สมรรถนะสำหรับการทำงานในองค์กรอาจแบ่งเป็นสมรรถนะหลักหรือสมรรถนะ และสมรรถนะทางเทคนิค ซึ่งเป็นการตอบสนองความจำเป็นที่จะต้องปฏิบัติงานให้บรรลุผล มักจะประกอบด้วย

                 T  สมรรถนะหลัก หรือ Core Competency หมายถึง สมรรถนะซึ่งทุกตำแหน่งงานในองค์กรจำเป็นจะต้องมี เพราะเป็นปัจจัยที่องค์กรกำหนดขึ้นเพื่อผลักดันให้องค์กรบรรลุตามวิสัยทัศน์ ยุทธศาสตร์ เป้าหมายและค่านิยมขององค์กร เป็นสมรรถนะระดับองค์กรที่บุคคลทุกระดับในองค์กรต้องมีเพื่อให้การปฏิบัติงานบรรลุผลสัมฤทธิ์ โดยสมรรถนะหลักอาจจะแบ่งย่อย

                  T สมรรถนะด้านเทคนิคหรือสมรรถนะที่เกี่ยวข้องกับงาน (Job-related หรือ Functional/Technical Competency) คือ สมรรถนะที่กำหนดขึ้นเพราะมีความจำเป็นสำหรับการปฏิบัติงานในหน้าที่ หรือตำแหน่งงานนั้น ๆ

                3. การจัดประเภทของสมรรถนะตามลำดับขั้นของโครงสร้างงานและองค์กร

 

&สมรรถนะหลัก (Core Competency) คือ สมรรถนะที่ผู้ปฏิบัติงานในทุกตำแหน่งและในทุกระดับในองค์กรจำเป็นที่จะต้องมี ในฐานะที่เป็นสมาชิกขององค์กร ซึ่งมีภารกิจสำคัญคือการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์องค์กรไปสู่ความสำเร็จ หรือพันธกิจในการสร้างคุณค่าให้กับองค์กร

&สมรรถนะประจำกลุ่มงาน (Job Family Competency) คือ สมรรถนะที่ผู้ปฏิบัติงานซึ่งอยู่ในกลุ่มงาน กลุ่มตำแหน่ง หรือสายงานเดียวกัน จำเป็นต้องมีเพื่อให้การทำงานตามบทบาทในกลุ่มงานหรือสายงานนั้นบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้

& สมรรถนะเฉพาะหน้าที่งาน (Job-Specific Competency) คือ สมรรถนะที่เกี่ยวข้องและจำเป็นโดยตรงต่อการปฏิบัติงานในหน้าที่หรือกิจกรรมสำคัญในกระบวนงาน (Key Result Areas) ให้ได้ผล

3. การนำไปใช้ (เพื่อพัฒนาตนเอง/พัฒนาองค์กร)

        จากการที่ได้อ่าน ก่อนที่จะไปไกลเกิน  พลิกปูมประวัติ : สมรรถนะ   แล้ว ทำให้เราได้ทราบถึงประเภทของสมรรถนะ โดยเฉพาะสมรรถนะเฉพาะหน้าที่งาน  หรือสมรรถนะประจำสายงาน ซึ่งจะเป็นแนวทางในการเจาะลึกเข้าไปถึงสมรรถนะประจำสายงานโดยตรงของตัวเราและเพื่อนร่วมงาน เพื่อศึกษาเรียนรู้แล้วนำมาปฏิบัติเพื่อพัฒนาตนเองและบุคลากรในโรงเรียนได้รับการพัฒนา  สามารถเข้ารับการประเมินและผ่านจนได้เลื่อนวิทยฐานะ  อันจะทำให้โรงเรียนเป็นองค์กรที่มีคุณภาพและเป็นที่ยอมรับของคนในชุมชน    

 


                                                      ลงชื่อ  มานะ   โตสมบัติ   ผู้บันทึก

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 196396เขียนเมื่อ 25 กรกฎาคม 2008 09:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 10:13 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

สมรรถนะ หากนำมาใช้จริง น่าจะเป็นประโยชน์ในการพัฒนาองค์การครับ

อาจารย์มานะคะ

สัปดาห์หน้า สมาชิกกลุ่มที่ 1 คงจะเริ่มดำเนินประเมินสมรรถนะ ในแบบที่ต้องการแล้วค่ะ ลอง ลปรร. กับสมาชิกในกลุ่มนะคะ เพราะทราบว่าเมื่อวาน (พฤหัส) ผชช. รอบเที่ยงและรอบค่ำ พูดเรื่องเดียวกัน ผอ. สัมพันธ์ตั้งคำถามที่ตรงประเด็นดีมาก น่าจะเป็นคำตอบและแนวทางสำหรับกลุ่มได้ค่ะ

ปาท่องโก๋ น่าทานนะคะ หน่วยงานไหนจัดคะ

ครับ คงได้ความรู้และประสบการณ์มากขึ้น แต่เสียดายไม่ได้ ลปรร,กับ ผชช, คงมีสักครั้งทีเวลาว่างตรงกัน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท