อัจฉรา
นางสาว อัจฉรา มิว สุทธิสุนทรินทร์

ฐานะของกฎหมายใหญ่กว่าแต่การบังคับใช้เล็กกว่า


เมื่อนึกถึงคนจีนฮ่ออพยพ บุคคลบนพื้นที่สูง ที่ถือใบสำคัญถิ่นที่อยู่และใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว จะแปลงสัญชาติต้องมีรายได้ถึง ๓๐,๐๐๐ บาท/เดือน คงหมดหวังทีเดียว ลำพังอย่างเรา ๆ หาเงินเดือน ๓๐,๐๐๐ บาทยังลำบาก แล้วนับประสาอะไรกับพวกเขาเล่า

วันนี้ (๒๐ ก.ค. ๒๕๕๑) มีงานที่จะต้องเคลียร์อย่างมาก ทุกงานล้วนแต่ต้องใช้คอมพิวเตอร์ทั้งนั้น ช่วงหนึ่งเดือนที่ผ่านมาเราไม่มีเวลาอยู่นิ่ง ๆ สักเท่าไร ต้องทำอะไรหลายอย่างในเวลาเดียวกัน จึงอาศัยวันหยุดยาวนี้อยู่กับตัวเองให้มากที่สุด นิ่งที่สุด

เรามีเวลาอ่านหนังสือในวันหยุดยาวนี้ จึงศึกษาเรื่องหนึ่ง เรารู้สึกว่าเราทำงานด้านสถานะบุคคลมา ๒ ปีกว่าแล้ว แต่รู้เรื่องนี้ได้น้อยมากกกกกกกก (คงอีกหลายเรื่อง)

 

นั่นก็คือ การแปลงสัญชาติ

 

การขอแปลงสัญชาติตามพระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ. ๒๕๐๘ มาตรา ๑๐ ได้บอกถึงคุณสมบัติของคนต่างด้าวที่จะขอแปลงสัญชาติได้ ซึ่งมีเพียง ๕ กรณี คือ

๑)                 บรรลุนิติภาวะแล้วตามกฎหมายไทยและตามกฎหมายที่บุคคลนั้นมีสัญชาติ

๒)                มีความประพฤติดี

๓)                มีอาชีพเป็นหลักฐาน

๔)                มีภูมิลำเนาในราชอาณาจักรไทยต่อเนื่องมาจนถึงวันที่ยื่นขอแปลงสัญชาติเป็นไทยเป็นเวลาไม่น้อยกว่าห้าปี

๕)                มีความรู้ภาษาไทยตามที่กำหนดในกฎกระทรวง

 

มาตรา ๑๒ บอกวิธียื่นจะกำหนดในกฎกระทรวง

 

          เราได้ไปอ่านทั้งกฎกระทรวง(พ.ศ.๒๕๑๐) และหนังสือสั่งการที่ออกตาม มาตรา ๑๐ , ๑๒ ก็เข้าใจดี แต่เมื่อเราไปอ่านเจอหลักเกณฑ์ประกอบการใช้ดุลพินิจการให้สัญชาติไทยของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ตามมาตรา ๙ , ๑๐ กรณี ข. ข้อ ๓ ได้มีการะระบุถึงรายได้ ซึ่งไม่น้อยทีเดียว ถ้าเข้ามาเพื่อทำงานต้องมีรายได้ไม่ต่ำกว่า ๘๐.๐๐๐ บาท/เดือน แต่ถ้าเพื่อมนุษยธรรม หรือมีบุตรเกิดในไทย หรือจบการศึกษาระดับอุดมศึกษาต้องมีรายได้ไม่ต่ำกว่า ๓๐,๐๐๐ บาท/เดือน

          เมื่อนึกถึงคนจีนฮ่ออพยพ บุคคลบนพื้นที่สูง ที่ถือใบสำคัญถิ่นที่อยู่และใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว จะแปลงสัญชาติต้องมีรายได้ถึง ๓๐,๐๐๐ บาท/เดือน คงหมดหวังทีเดียว ลำพังอย่างเรา ๆ หาเงินเดือน ๓๐,๐๐๐ บาทยังลำบาก แล้วนับประสาอะไรกับพวกเขาเล่า

          อีกประเด็นหนึ่งที่น่าสนใจพระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ.๒๕๐๘ มาตรา ๑๐ ข้อ ๔ ว่า มีภูมิลำเนาในราชอาณาจักรต่อเนื่องมาจนถึงวันที่ยื่นขอแปลงสัญชาติเป็นไทยเป็นเวลาไม่น้อยกว่า ๕ ปี มีภูมิลำเนาในราชณาจักรต่อเนื่อง ๕ ปี ในพระราชบัญญัติไม่ได้บอกว่าจะต้องมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน (ทร.๑๔) ๕ ปี แสดงว่าแม้ว่าจะมีชื่อในทะเบียนบ้าน (ทร.๑๓) ก็เข้าคุณสมบัติ แต่ ในหนังสือที่ออกจากกรมการปกครอง ที่ มท ๐๓๐๙.๑/ว ๒๘๖๓ กลับระบุว่า คนต่างด้าวที่มีสิทธิอาศัยถาวรจะขอแปลงสัญชาติต้องถือใบสำคัญถิ่นที่อยู่และใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว มาแล้ว ๕ ปี

          แสดงว่า ก่อนหน้าที่เขาจะถือใบสำคัญถิ่นที่อยู่และใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว แม้ว่าจะมีชื่อในทะเบียนบ้าน (ทร.๑๓) มาหลายปีแล้วก็ตามก็คงขอแปลงสัญชาติไทยไม่ได้

มานั่งคิดว่า กฎหมาย เป็นอะไรไป ตัวพระราชบัญญัติ , กฎกระทรวง มิได้มีการระบุถึงเรื่องรายได้ และ ภูมิลำเนาในประเทศไทย แต่อย่างใด ทำไมเจ้าหน้าที่ไม่ยึดพระราชบัญญัติเป็นหลัก ประกอบกับเมื่อข้อบังคับล้าหลังแล้ว ทำไมไม่จับมันมาปัดฝุ่น

 

ให้ผู้ที่ควรได้รับประโยชน์แต่ไม่ได้ในอดีตกลับมามีความหวังครั้งใหม่

 

 

หมายเลขบันทึก: 195373เขียนเมื่อ 21 กรกฎาคม 2008 01:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 มิถุนายน 2012 13:23 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

สวัสดีครับ

             อ่านแล้วได้ความรู้ดีครับ....น่าสงสารเขานะครับ

                                                ขอบคุณครับ

คงน่าจะเป็นเพราะองค์ประกอบของหลักเกณ์ด้วยเงื่อนไขรายได้นี่เอง จึงทำให้ปัญหาการแปลงสัญชาติคับอกคับใจคนกลุ่มหนึ่งจนเหมือนจะเป็นหอกข้างแคร่ของประเทศ

เข้าใจว่า...น่าจะตั้งธงที่เรื่องของความมั่นคง เลยออกกติกาให้มันหยุมหยิมจนขยับยาก

สำหรับประเด็นสถานะของชนกลุ่มน้อยที่เกิดนอกราชอาณาจักร ที่ต้องอาศัยมาตรา ๑๗ พระราชบัญญัติคนเข้าเมือง เพื่อให้มีสถานะเป็นบุคคลต่างด้าวเข้าเมืองโดยชอบด้วยกฎหมายและมีถิ่นฐานถาวรในประเทศไทย แต่ปัญหาในการดำเนินการเริ่มตั้งแต่การขอมีสถานะดังกล่าว เช่น

๑. การยื่นคำร้องก็ต้องอาศัยมติคณะรัฐมนตรีในการอนุญาตให้กลุ่มบุคคลประเภทใดสามารถยื่นคำร้องได้ เช่นในอดีตคนที่ถือบัตรลาวอพยพที่เกิดนอกราชอาณาจักรไทยก็ไม่สามารถยื่นคำร้องขอมีสถานะเป็นบุคคลต่างด้าวเข้าเมืองโดยชอบด้วยกฎหมายและมีถิ่นฐานถาวรได้ แม้ว่าปัจจุบันจะมีแผนยุทธศาสตร์จัดการสิทธิและสถานะบุคคลที่ครอบคนเหล่านี้ก็ตาม แต่ราชการยังทำแบบคำร้องหรือหลักเกณฑ์ยังไม่เสร็จ ก็ต้องรอต่อไป

๒.หลังจากได้รับอนุมัติสถานะบุคคลต่างด้าวเข้าเมืองโดยชอบด้วยกฎหมาย ชนกลุ่มน้อยก็ต้องเตรียมค่าใช้จ่ายเพื่อขอรับใบสำคัญถิ่นที่อยู่ ซึ่งก็จะแตกต่างกันไปแต่ละกลุ่มตามกฎกระทรวง เช่นกลุ่มไทใหญ่ ก็ประมาณ ๕,๑๐๐ บาท ส่วนชาวเขาได้รับการลดหย่อนให้เหลือ ๑๐๐ บาท แต่ในทางปฎิบัติเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมือง หากไม่มีคำสั่งจากส่วนกลาง เจ้าหน้าที่ก็จะเก็บค่าธรรมเนียมจากชาวเขา ๕,๑๐๐ บาท (ก็เหมือนไม่ได้ยกเว้นหรือลดหย่อนเลย)

๓.การแปลงสัญชาติของชนกลุ่มน้อยในประเทศ ทางราชการก็ยังยึดหลักของคนต่างด้าวทั่วไป คือ ไม่เป็นภาระของสังคมไทยหากบุคคลเหล่านั้นได้สัญชาติไทยจากการแปลง วิธีการที่จะรู้ว่าไม่เป็นภาระ ทางราชการก็เลยกำหนดจากรายได้ ถ้าเป็นคนต่างด้าวที่เข้ามาประกอบอาชีพในไทย เช่นญี่ปุ่น อเมริกัน ฯลฯอย่างนี้ไม่มีปัญหาเรื่องรายได้ แต่พอเป็นชนกลุ่มน้อยรายได้ไม่ถึง ก็เลยหมดโอกาสไป ควรที่จะมีการผ่อนปรนสำหรับชนกลุ่มน้อยที่อาศัยอยู่ในไทย

ในประการแรก ก็เห็นอย่างที่มิวเห็น หนังสือสั่งการนี้ขัดต่อ ม.๑๐ และ ม.๒๙ แห่ง พ.ร.บ.ทะเบียนราษฎรฯ เพราะ ท.ร.๑๓ ก็แสดงภูมิลำเนา ปัญหาคือ ยังไม่ชาวเขาถือใบต่างด้าวลุกขึ้นฟ้อง มท.๑ หรืออธิบดีกรมการปกครอง สักหน อย่างคุณสุขสันต์ อ.พูดเรื่องนี้หลายหน อ.จึงอยากจะผลักดันเรื่องฝึกอบรมที่มุ่งถึงเจ้าของปัญหามาก ในหลักสูตร "ห้อง ๔" ของเรา จึงต้องผลักเรื่องนี้ให้ชัด

ในประการที่สอง เห็นด้วยกันใหญ่ กระบวนการแปลงสัญชาติให้คนไร้สัญชาติยากจน ไม่น่าจะใหญ่นัก แต่ปัญหาที่เราต้องยอมรับ ก็คือ คนไร้สัญชาติทุกคนก็มิได้ยากจน เราจะแยกแยะอย่างไร การจะให้ลดลงทั้งหมด งานวิชาการต้องเสนอให้ชัดในเรื่องนี้

ในประการที่สาม มิวยกเรื่องนี้ขึ้นมา การประชุมคดีที่จะเกิดขึ้น ต้องดูว่า กรณีต้นแบบที่จะนำมาทำการศึกษาในกรณีการแปลงสัญชาตินี้น่าจะเป็นใครบ้าง

ในประการที่ห้า การเสนอในรายงาน ICCPR ก็น่าจะดีนะคะ เอาไหม วันนี้เสนอต่อคณะอนุกรรมการ กก.

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท