Healthy Workplace ตอนที่ 1


Healthy Workplace ตอนที่ 1 : สุขภาพคือสุขภาวะที่สมบูรณ์

สวัสดีค่ะ  วันนี้ต้องเตรียมเนื้อหาทบทวนความรู้ใหม่ ๆ เกี่ยวกับ Healthy Workplace ไปให้กับพนักงานการแพทย์และคนงานของแผนก ฯ ในวันที่ 23 กรกฎาคม 2551 ในฐานะที่เป็นประธานกรรมการกิจกรรม 5สและอาชีวอนามัยบุคลากรของแผนกการพยาบาลอุบัติเหตุ - ฉุกเฉิน

พอดีเห็น Theme logo หน้าแรกของ G2K  คิดว่าน่าเป็นประโยชน์ในการนำมากำหนดเป็นเป้าหมายที่สำคัญของการดูแลสุขภาพตนเองของมวลสมาชิกในฐานะที่เป็นคนไทยคนหนึ่ง คือ การมีสุขภาวะยั่งยืน นั่นเอง ขออนุญาตนำไปใช้ด้วยนะคะ

มุมมองเกี่ยวกับ Healthy Workplace ที่ต้องการกล่าวถึง จะแบ่งออกเป็น  2 ส่วน  คือ

  • ส่วนที่ 1  สุขภาวะ  (Healthy)
  • ส่วนที่ 2  การดำรงชีวิตอย่างผาสุก (Happy Workplace)

ส่วนที่ 1  สุขภาวะ (Healthy)

คอลัมน์ จิตวิวัฒน์
ประเวศ วะสี

มติชน

14 มิถุนายน 2551

http://jitwiwat.blogspot.com

แผนงานพัฒนาจิตเพื่อสุขภาพ มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์

สนับสนุนโดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

 

 

สุขภาพคือสุขภาวะที่สมบูรณ์ ทั้งทางกาย ทางจิต ทางสังคม และทางปัญญา

สุขภาวะ ทั้ง 4 ด้าน เชื่อมโยงกันเป็นบูรณาการ เชื่อมโยงถึงกัน และอยู่ในกันและกัน แต่ละด้านมีองค์ประกอบ 4 รวมกันเป็นสุขภาวะ 4×4 = 16

การที่ว่ามีองค์ประกอบด้านละ 4 ไม่ได้แสดงว่ามีเท่านั้น แต่เป็นการพอประมาณและเพื่อให้จำได้ง่ายว่า สุขภาวะทางกาย ทางจิต ทางสังคม และ ทางปัญญา 4X4 อย่างนั้นเป็นไฉน ลองมาดูกันนะคะ

สุขภาวะทางกาย 4 อย่าง ประกอบด้วย

  • ร่างกายแข็งแรง
  • ความปลอดสารพิษ
  • มีความปลอดภัย
  • ความมีปัจจัย 4

สุขภาวะทางจิต 4 อย่างประกอบด้วย

  • ความดี
  • ความงาม หรือ สุนทรียะ
  • ความสงบ
  • ความมีสติ

    สุขภาวะทางสังคม 4 อย่างประกอบด้วย

    • สังคมสุสัมพันธ์หรือมีความสัมพันธ์ที่ดีในทุกระดับ
    • สังคมเข้มแข็ง
    • สังคมยุติธรรม
    • สังคมสันติ

    สุขภาวะทางปัญญา 4 อย่างประกอบด้วย

    • ปัญญารู้รอบรู้เท่าทัน
    • ปัญญาทำเป็น
    • ปัญญาอยู่ร่วมกันเป็น
    • ปัญญาบรรลุอิสรภาพ

    ในบทความดังกล่าว จะเน้นเกี่ยวกับ สุขภาวะทางปัญญา ซึ่งกล่าวว่า  ปัญญาเป็นศูนย์กลาง ถ้าปราศจากปัญญา สุขภาวะทางกาย ทางจิต และทางสังคมก็เป็นไปไม่ได้

    การพัฒนาปัญญาต้องนำไปสู่การพัฒนากาย จิต และสังคม การพัฒนากาย จิต และสังคม ต้องนำไปสู่การพัฒนาปัญญาทั้ง 4 ร่วมกัน จึงเกิดสุขภาวะที่สมบูรณ์ นั่นเอง

นอกจากนี้  สำนักการพยาบาล ยังได้กำหนดเป็นมาตรฐานรองรับใน หมวดที่ 5  การมุ่งเน้นทรัพยากรบุคคล  คือ

 

มาตรฐานที่ 11  ความผาสุกและความพึงพอใจของบุคลากรทางการพยาบาล  ซึ่งประกอบด้วย 

1. ความผาสุขของบุคลากร : การจัดสภาพแวดล้อม บรรยากาศ และความปลอดภัยในการทำงาน  โดย

      กำหนดข้อมูลสุขภาพพื้นฐานบุคลากร เช่น ข้อมูลการตรวจสุขภาพทั่วไป  การได้รับภูมิคุ้มกัน  การเจ็บป่วยทั่วไป

      เฝ้าระวังบุคลากรกลุ่มเสี่ยงอย่างต่อเนื่อง

      การดูแลสุขภาพและการให้ภูมิคุ้มกัน

      การดูแลเมื่อเกิดการบาดเจ็บ การติดเชื้อ โรคติดต่อ

      กำหนดนโยบายและมาตรการด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในการทำงาน

      แนวปฏิบัติการจัดสภาพแวดล้อมและเสริมสร้างบรรยากาศที่ดีและปลอดภัย

      แนวปฏิบัติทำให้สถานที่ทำงานเตรียมพร้อมต่อภาวะฉุกเฉินและภัยพิบัติ  พร้อมตัวชี้วัดชัดเจน

      ประเมินผลสภาพแวดล้อม บรรยากาศ และความปลอดภัยในการทำงาน

      นำผลการประเมินไปพัฒนาสภาพแวดล้อมและบรรยากาศ

 

 

2. ความผาสุกในการทำงาน : การให้การสนับสนุนและสร้างขวัญ กำลังใจ  แก่บุคลากร

       วิเคราะห์ปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อความสุก  พึงพอใจ

        - ด้านบุคลากร เช่น เพศ อายุ ภูมิลำเนา ประสบการณ์ ฯลฯ

        - ด้านการทำงาน เช่น ทักษะ ความก้าวหน้าในอาชีพ ปริมาณงาน ฯลฯ

        - ด้านการจัดการ เช่น การแก้ปัญหาร้องทุกข์ การให้อำนาจตัดสินใจ  ค่าตอบแทน สวัสดิการ ฯลฯ

    จัดสวัสดิการทั้งตามกฎหมาย และนอกเหนือกฎหมาย

       - ตามกฎหมาย เช่น ที่อยู่อาศัย  ค่ารักษาพยาบาล ฯลฯ

       - นอกเหนือกฎหมาย เช่น บริการดูแลบุตรของบุคลากรในชั่วโมงการทำงาน  การอนุญาตให้หยุดพิเศษ สันทนาการ ฯลฯ

 

     กำหนดตัวชี้วัดความผาสุก พึงพอใจ และแรงจูงใจของบุคลากรทางการพยาบาล เช่น อัตราการลาออก โยกย้าย หยุดงาน  ฯลฯ

     ประเมินความผาสุก  พึงพอใจ และแรงจูงใจตามตัวชี้วัด

     นำผลการประเมินไปจัดลำดับความสำคัญเพื่อพัฒนาความผาสุก บรรยากาศ  และสภาพแวดล้อมในการทำงาน 

 

เมื่อเข้าใจ ภาวะสุขภาพ แผนปฏิบัติการของสำนักการพยาบาลแล้ว

จะทำอย่างไรให้ การดำรงชีวิตอย่างผาสุก เกิดขึ้นในที่ทำงานของพวกเรา

รอติดตามตอนที่ 2 นะคะ 

(ไปหาข้อมูลก่อนค่ะ)

Photo Sharing and Video Hosting at Photobucket


แต่สำหรับ ผู้สนใจเกี่ยวกับสุขภาวะทางปัญญา

สามารถอ่านเพิ่มเติมได้จากที่นี่นะคะ

http://www.nationalhealth.or.th/blog/archives/19

http://www.matichon.co.th/matichon/matichon_detail.php?s_tag=01act02140651&day=2008-06-14&sectionid=0130

http://teetwo.blogspot.com/2008/06/httpjitwiwatblogspotcom.html

 

หมายเลขบันทึก: 195069เขียนเมื่อ 19 กรกฎาคม 2008 11:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:18 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (13)

สวัสดีครับ พี่ไก่

  • แวะมาเยี่ยมครับ
  • มาเพิ่มรอยหยักในสมองครับ
  • เป็นประโยชน์มากครับพี่
  • ขอบคุณครับ

สวัสดีค่ะ น้องโย่ง

  • มีข้อมูลใดเป็นประโยชน์นำมาแลกเปลี่ยนกันได้นะคะ
  • ที่โรงเรียนน้องโย่งมีกิจกรรมดีๆสร้างเสริมสุขภาพ ครอบคลุม ทั้ง 4 มิติ เลยนะคะ   

สวัสดีค่ะ อ.ไก่

  • อยากทำเหมือนกัน ขอก๊อปเลยดีกว่า อิอิอิ
  • ขอบคุณค่ะ
  • ได้เลยค่ะ ป้าแดง
  • ยินดีให้ใช้ทัพยากรร่วมกันค่ะ
  • เพื่อประโยชน์ของคนทำงานด้วยกัน จะได้มีสุขภาวะนะคะ

สวัสดีค่ะ พี่ไก่ พอลล่าทำโครงการรพ.เปี่ยมรัก เป็นการนำจิตปัญญามาใช้ให้เกิดสุขภาวะในองค์กร ค่ะ ส่วนหนึ่งเป็นการพัฒนาจิต ไปด้วยค่ะ

คุณหมอ ไม่สงสารคนแก่ๆ บ้างเลยนะ   ครับความไม่มีโรคคือลาภอันประเสริฐจริงๆ

สวัสดีค่ะพี่ไก่

  • แวะมารับความรู้ค่ะ
  • ฝนตกที่ขอนแก่นหรือเปล่าคะ ที่กทม.ฝนตกทุกเย็นค่ะ
  • คิดถึงพี่ค่ะ  พี่สบายดีนะคะ

แวะมาอีกรอบค่ะ มาสงสาร ท่านผอ ประจักษ์ด้วยคนค่ะ... อิอิ

สวัสดีค่ะน้องพรหล้า

  • ขอบคุณค่ะที่มา ลปรร
  • รพ.เปี่ยมรัก เป็นอย่างไร ทำอย่างไร มาเล่าให้พี่ฟังด้วยนะคะ
  • ท่าน ผอ. ใจเย็นนะคะ
  • ทุกข์ สุข อยู่ที่ใจค่ะ
  • ลด ละ เลิก บุหรี่ เหล้า จะได้ห่างไกลโรคนะคะ
  • ออกกำลังกาย  ยิ้ม หัวเราะ ผ่อนคลาย เป็นยาอายุวัฒนะ ที่ดีเลยค่ะ

สวัสดีค่ะ น้อง คนไม่มีราก

  • วันนี้ขอนแก่นฝนตกช่วงหัวค่ำค่ะ
  • พี่สบายดี
  • ขอบคุณมากค่ะ

พอดีเลยครับ...

กำลังสนใจเรื่องนี้  เพื่อขยายผลในมหาวิทยาลัย ตามนโยบายการสร้างเสริมสุขภาพ

ขอบคุณครับ

  • ยินดีค่ะ อ.แผ่นดิน
  • ได้ผลอย่างไร จะรอติดตามผลงานนะคะ
  • ขอบคุณค่ะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท