ภาวะผู้นำ (Leadership)


ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ ความหมาย ลักษณะ รูปแบบ ปัจจัย บทบาท องค์ประกอบ

1. เนื้อหาที่สนใจ  :  ภาวะผู้นำ

2. สาระสำคัญของเนื้อหาโดยสรุป

ภาวะผู้นำ ภาวะผู้นำเป็นกระบวนการที่ค่อนข้างซับซ้อน เป็นสิ่งที่คนใช้อิทธิพลต่อคนอื่น เพื่อทำให้ภารกิจ งาน และวัตถุประสงค์ต่าง ๆ ขององค์การบรรลุผลเป็นวิธีทำให้เกิดการเชื่อมโยงและประสานสามัคคี การที่บุคคลดำเนินการให้กระบวนการดำเนินได้เป็นเรื่องของคุณลักษณะของผู้นำ เช่น ความเชื่อ ค่านิยม จริยธรรม คุณลักษณะความรู้และทักษะต่าง ๆ

ผู้นำเชิงกลยุทธ์ หมายถึง ผู้นำที่รับผิดชอบต่อความสัมพันธ์ระหว่างสภาพแวดล้อมภายนอก กับวิสัยทัศน์ พันธกิจ กลยุทธ์ และการนำวิสัยทัศน์ พันธกิจ และกลยุทธ์ดังกล่าวไปสู่การปฏิบัติ

                ผู้นำเชิงกลยุทธ์ คือ ผู้นำที่ใช้แผนกลยุทธ์เป็นเครื่องมือในการบริหารจัดการองค์การไปสู่เป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ที่ต้องการ

บุคคลสามารถเลือกเป็นผู้นำ บุคคลสามารถเรียนรู้ ทักษะ ภาวะผู้นำ ได้ด้วยตนเอง

องค์ประกอบสำคัญของภาวะผู้นำ อยู่ที่

1.       ความไว้เนื้อเชื่อใจและความมั่นใจของผู้นำระดับสูงเป็นตัวพยากรณ์ที่น่าเชื่อถือ

มากที่สุด สร้างความพึงพอใจให้กับบุคลากรในองค์การ 

2.       การสื่อสารที่มีประสิทธิผลของผู้นำ ซึ่งสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจและเกิดความ

มั่นใจในด้านที่ทำให้องค์การชนะคู่แข่งหลักการของผู้นำ  คือ รู้จักตนเองและปรับปรุงตนเอง  มีเทคนิคด้านวิชาชีพ รับผิดชอบและแสวงหาความรับผิดชอบ  ตัดสินใจอย่างดีและทันเวลา  ทำตัวเป็นแบบอย่างที่ดี รู้จักบุคลากรและเอาใจใส่ดูแล  ให้ข้อมูลบุคลากร พัฒนาจิตสำนึก  ทำให้แน่ใจว่าทุกคนทำงาน ฝึกบุคลากรให้ทำงานเป็นทีม  และใช้ศักยภาพให้เต็มที่ 

มนุษย์สัมพันธ์ของผู้นำ  สิ่งที่ควรพูดให้มาก คือ ผมยอมรับ ผมผิดเอง” “คุณทำงานดีมาก” “คุณคิดอย่างไร ขอบคุณ เรา” “โปรดกรุณา  และพูดให้น้อย คือ ฉัน

ปัจจัยสำคัญของภาวะผู้นำ  คือ ผู้ตามเป็นสิ่งจำเป็นที่ผู้นำต้องรู้จริง  ผู้นำต้องมั่นใจผู้ตาม  ต้องสื่อสาร 2 ทาง  ใช้ดุลยพินิจตัดสินใจให้รอบคอบ 

คุณลักษณะผู้นำ  มีลักษณะดังนี้  เป็นมืออาชีพ รู้ปัจจัย  รู้ตนเอง รู้ผู้ตาม รู้งาน รู้องค์การ กำหนดทิศทาง ดำเนินการแรงจูงใจ

บทบาทของผู้นำ  ให้ระวังวัฒนธรรมและบรรยากาศขององค์กร            

รูปแบบของผู้นำ  หลากหลายรูปแบบ เช่น

การเมือง (Political Framework) ร่วมจิตร่วมใจ แบ่งสันปันส่วน ต้องได้มา ทำอย่างไรก็ได้

                ทรัพยากรมนุษย์ (Human Resource Framework) เชื่อในตัวบุคคล

                สัญลักษณ์ (Symbolic Framework) ผู้นำที่ไม่ประสิทธิผล ผู้นำแบบกระตือรือร้นอย่างคลั่งไคล้หรือเบาปัญญา สไตล์ผู้นำไม่ชัดเจน

                ผู้นำแบบมีอำนาจเบ็ดเสร็จ (Authoritarian Leader) มุ่งงานสูง, ความสัมพันธ์ มุ่งงานมาก และให้คนทำงานอย่างหนัก หรืออัตตาธิปไตย ความร่วมมือและความร่วมจิตร่วมใจมีน้อย

                ผู้นำทีม (Team Leader) มุ่งงานสูง, ความสัมพันธ์สูง ทำเป็นตัวอย่างที่พยายามสร้างสิ่งแวดล้อมเป็นทีมงาน

                ผู้นำแบบลูกทุ่ง (Country Club) งานต่ำ, สัมพันธ์สูง ผู้นำแบบนี้ใช้อำนาจและการให้รางวัลครอบงำไว้ก่อน เพื่อการรักษาวินัยและส่งเสริมให้ทีมทำงานให้บรรลุเป้าหมาย

ผู้นำแบบย่ำแย่ (Impoverished Leader) งานต่ำ, สัมพันธ์ต่ำ ใช้สไตล์การบริหารแบบมอบอำนาจแล้วหายตัว

กระบวนการของผู้นำที่ยิ่งใหญ่  กระบวนการของผู้นำจะขึ้นอยู่กับสิ่งเหล่านี้ ได้แก่ กระบวนการที่ท้าทาย,   สร้างวิสัยทัศน์ร่วมกันให้เกิดแรงบันดาลใจ,   ให้บุคลากรคนอื่นได้แสดงความสามารถใช้เครื่องมือและวิธีการต่าง ๆ ในการแก้ปัญหา,  ทำตนเป็นแบบอย่าง เมื่อกระบวนการเกิดความยุ่งยากก็ยอมให้มือเปื้อนบ้าง เจ้านายสั่งการให้คนอื่นทำงาน ผู้นำจะแสดงให้ลูกน้องเห็นว่าเขาก็สามารถทำได้  และให้กำลังใจ ให้การยกย่อง สรรเสริญลูกน้องของท่านจากใจและเก็บความเจ็บปวดไว้
3. แง่คิดที่ได้จากเนื้อหา

ภาวะผู้นำ ไม่ได้เกิดขึ้นเองในตัวคน ต้องฝึก ผู้นำมีหลายลักษณะและมีรูแบบที่น่าสนใจ แต่ในความเห็นของผู้ศึกษา ชอบผู้นำแบบทรัพยากรมนุษย์  น่าจะนำไปใช้ประโยชน์ได้ถูกใจทั้งตนเองและผู้อื่นได้ดี ที่สำคัญ คือ เป็นสายกลางดี ได้ทั้งงาน ทั้งคนและสังคมวัฒนธรรม

 

4.  ผู้บันทึก  :  นายสมหวัง  พันธะลี

5.  ตัวแทนสมาชิกกลุ่ม 2 (FIVE FOR SHARE)          

หมายเลขบันทึก: 194874เขียนเมื่อ 18 กรกฎาคม 2008 12:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 22:18 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

สนในเรื่องภาวะผู้นำมาก ๆ เหมือนกันครับ ในยุคของการบริหารการเปลี่ยนแปลงที่ ผู้บริหารต้องใช้กระบวนการบริหารการเปลี่ยนแปลง(Change Management) เพื่อบริหารให้องค์การมีคุณภาพ และเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ มีตัวแปรที่สำคัญคือ ตัวผู้บริหารที่จะต้องเป็นผู้นำเชิงกลยุทธ์(Strategic Leader) และตัวผู้บริหารและองค์การต้องมีการวางแผนกลยุทธ์(Strategic Planing) ถ้าสนใจศึกษาได้จากเอกสารผู้นำเชิงกลยุทธ์เพื่อสร้างองค์การแห่งการเรียนรู้ ของสถาบันพัฒนาครู คณาจารย์และบุคลากรทางการศึกษา นะครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท