การจัดทำสาระการเรียนรู้ท้องถิ่น


หลักสูตรการจัดทำสาระการเรียนรู้ท้องถิ่น

การจัดทำสาระการเรียนรู้ท้องถิ่น

                   การจัดทำสาระการเรียนรู้ท้องถิ่น  ( อ้างถึง ศน.อนนท์  ศรีพิพัฒน์. การจัดทำสาระการเรียนรู้ท้องถิ่น )เป็นการมองแหล่งเรียนรู้ที่อยู่ใกล้นำมาปรับใช้ให้เกิดประโยชน์ 

การพัฒนาหลักสูตรสาระการเรียนรู้ท้องถิ่น และปรับใช้ในการพัฒนาคุณภาพเด็กควบคู่ไปกับการพัฒนาเป็นผลงานทางวิชาการได้ดังนี้

1. กรอบแนวคิดการพัฒนาผลงาน

        1.1 พัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา สาระการเรียนรู้ท้องถิ่น      

          1.2 ทดลองใช้หลักสูตร เพื่อหาประสิทธิภาพของหลักสูตร

        1.3 รายงานการวิจัยผลการทดลองใช้หลักสูตร หรือผลการหาประสิทธิภาพของหลักสูตร

        1.4 ต่อยอด โดยพัฒนาสื่อหลักและสื่อเสริมต่างๆ เช่น สื่อการเรียนรู้อิเล็กทรอนิกส์  (อาจพัฒนาในระบบผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ หรือระบบเครื่องเดี่ยวตามลำพัง) บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ชุดฝึกทักษะด้านต่างๆ (ด้านใดด้านหนึ่ง) โดยใช้เนื้อหาวัดเกษมฯ เป็นประเด็นหลัก  เอกสารเสริมความรู้ บทความ เรื่องสั้น ฯลฯ

        1.5 ขอความเห็นชอบ/อนุมัติ จากคณะกรรมการสถานศึกษา แล้วแจ้ง สพท.ที่เราอยู่เพื่อทราบและประชาสัมพันธ์ หากต้องการผลักดันให้เป็นหลักสูตรท้องถิ่นระดับเขตพื้นที่การศึกษา ให้ทำเรื่องขออนุมัติจาก นั้น ๆ

 2. ประเด็นหลักได้แก่ โครงสร้างหลักของเนื้อหา หากพัฒนาทั้งระบบทุกช่วงชั้น เมื่อแบ่งตามช่วงชั้นควรสัมพันธ์สอดคล้องกับธรรมชาติการเรียนรู้และพัฒนาการทางการเรียนรู้ เช่น

         ช่วงชั้นที่ เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับตัวเอง เน้นการใช้แหล่งเรียนรู้ใกล้ตัวที่สุด

         ช่วงชั้นที่ เป็นการใช้แหล่งเรียนรู้ท้องถิ่นที่อยู่ใน สพท.เราสังกัดอยู่ และ/หรือภายในจังหวัด

         ช่วงชั้นที่ ใช้แหล่งเรียนรู้ท้องถิ่นจังหวัดใกล้เคียง (และหรือ/ภายในภาค)

         ช่วงชั้นที่ 4  ใช้แหล่งเรียนรู้สากล เน้นการสืบค้นอย่างเป็นระบบ และใช้กระบวนการทาง ICT  ประเด็นรองได้แก่กิจกรรมบูรณาการตามสาระการเรียนรู้ต่างๆ (ตาม Concept Mapping)

       3.  กรอบแนวคิดการพัฒนาสาระการเรียนรู้ท้องถิ่น และขั้นตอนการพัฒนา

         3.1 เสนอแต่งตั้งคณะทำงานเพื่อพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา สาระการเรียนรู้ท้องถิ่น (ประกอบด้วยคณะครู และผู้รู้ด้านต่างๆ )

         3.2 ศึกษาข้อมูลพื้นฐาน

               - ศึกษาและวิเคราะห์นโยบายรัฐ (ทุกระดับ)

               - รวบรวมสารสนเทศท้องถิ่นจากแหล่งความรู้/ผู้รู้

               - สำรวจสภาพปัจจุบัน และปัญหาความต้องการของผู้เรียน รวมถึงท้องถิ่น ให้ทราบถึงปัญหาและสิ่งที่ควรพัฒนา - จุดเน้นของสถานศึกษา (วิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าประสงค์ คุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน

        3.3 ศึกษาหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน (หลักสูตรแกนกลาง)  วิเคราะห์มาตรฐานหลักสูตร  มาตรฐานกลุ่มสาระการเรียนรู้ ที่เกี่ยวข้อง และมาตรฐานช่วงชั้น

        3.4 กำหนดมาตรฐานสาระการเรียนรู้ท้องถิ่น เรื่องที่จะพัฒนา และข้อมูลพื้นฐานที่ได้ศึกษาจากข้อ 3.2 และข้อ 3.3

        3.5 กำหนดผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง ซึ่งวิเคราะห์มาจากมาตรฐาน

        3.6 กำหนดคำอธิบายรายวิชา (แบ่งตามช่วงชั้น)  กำหนดเวลาเรียน/จำนวนหน่วยการเรียน (40 ช.ม. : 1 หน่วยกิต)

        3.7 ออกแบบการเรียนรู้  กำหนดโครงสร้างเนื้อหา  หน่วยการเรียนรู้ เนื้อหาสาระและกิจกรรมการเรียนรู้ (Content Mapping)

        3.8 พิจารณาเลือกรูปแบบการจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ เพื่อการออกแบบการเรียนรู้

        3.8 กำหนดวิธี/เกณฑ์ การวัดและประเมินผลอิงมาตรฐาน 

        3.9 เขียนแผนการจัดการเรียนรู้ (ตามแบบฟอร์มที่เลือก) 

              - จัดทำเครื่องมือ/แบบฟอร์มต่างๆ

              - ผลิตสื่อที่ใช้ประกอบในบทเรียน ตามแผนการจัดการเรียนรู้ เช่น ใบงาน ใบความรู้ แบบสรุปความรู้ แบบบันทึกคะแนน แบบฝึกหัด ชุดฝึก ชุดกิจกรรม สื่อกิจกรรมศูนย์การเรียนรู้ รวมถึงเอกสารหลักสูตรอื่นๆ เช่น คู่มือครู หนังสืออ่านเพิ่มเติม สื่อเอกสาร ฯลฯ

        3.10 จัดทำข้อสอบ ก่อนและหลังเรียน พร้อมทั้งหาคุณภาพข้อสอบ

4. ควรหาประสิทธิภาพสื่อหลัก ที่ใช้ในแต่ละบทเรียน และเขียนรายงานผลการหาประสิทธิภาพ ก็จะได้งานวิจัยเพิ่มขึ้นอีกหลายชิ้นครับ

 

หมายเลขบันทึก: 194544เขียนเมื่อ 16 กรกฎาคม 2008 14:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 มิถุนายน 2012 23:10 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ไม่อนุญาตให้แสดงความเห็น
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท