เดินหน้าขับเคลื่อนแบบจำลองปลาทูรวมบริการประสานภารกิจงานบริการวิชาการ


ถ้ากระบวนการตรงนี้ขาดการมีส่วนร่วมจากภาคส่วนต่างๆและข้อมูลไม่แน่นพอ สภาและคณะผู้บริหาร ก็คงออกนโยบายตามความเห็นหรือเป็นแนวทางกว้างๆและคงขับเคลื่อนงานได้ยาก

ส่วนหัวปลาจะต้องเชื่อมโยงกับระเบียบสนับสนุน เริ่มจากต้นทางคืออำนาจหน้าที่ของ
1)สภามหาวิทยาลัยที่ระบุไว้ให้วางนโยบาย ออกระเบียบ ข้อกำหนด ข้อบังคับและประกาศต่างๆ
2)ที่ประชุมบริหารโดยส่วนแผนเป็นเลขานุการ ทำหน้าที่ชงเรื่องจากการศึกษาศักยภาพและกระบวนการมีส่วนร่วมของบุคลากร/กรรมการสภาฯ รวมทั้งนโยบายผู้บริหารและความต้องการของสังคมเสนอเข้าสภาฯ
ถ้ากระบวนการตรงนี้ขาดการมีส่วนร่วมจากภาคส่วนต่างๆและข้อมูลไม่แน่นพอ สภาและคณะผู้บริหาร  ก็คงออกนโยบายตามความเห็นหรือเป็นแนวทางกว้างๆและคงขับเคลื่อนงานได้ยาก

ที่จริง ในช่วงการบริหารงานของอธิการบดีท่านก่อนคือดร.สุพัทธ์ พู่ผกา สภาฯได้แต่งตั้งคณะกรรมการประเมินผลและเสนอแนะการดำเนินงานของมหาวิทยาลัยตั้งแต่วันที่1ต.ค.2545
(เข้าใจว่าถึงก.ย.2549)โดยมีศน.พ.ประเวศ วะสีเป็นประธาน ซึ่งคณะกรรมการได้สรุปผลและให้ข้อเสนอแนะที่น่าสนใจไว้7ประการ และส่วนแผนก็ได้นำมาเป็นข้อมูลในการวิเคราะห์เพื่อกำหนดยุทธศาสตร์การดำเนินงานเพื่อเสนอสภาพิจารณาในวันเสาร์ที่ผ่านมาด้วย(12ก.ค.51)


สาระสำคัญของกลยุทธ์งานบริการวิชาการของมวล.ในปีพ.ศ.2551-2555มีดังนี้

เป้าหมายที่เป็นทิศทางการพัฒนาของมหาวิทยาลัยในภาพรวม
มวล.จะเป็นมหาวิทยาลัยสมบูรณ์แบบที่เน้นการวิจัยและเป็นอุทยานการศึกษาที่ร่วมขับเคลื่อนกระบวนการพัฒนาประเทศสู่"สังคมอุดมปปัญญา" โดยเน้นพื้นที่ภาคใต้ตอนบน

ยุทธศาสตร์การพัฒนา(ภาพรวม)
1.การเพิ่มคุณภาพบัณฑิต
2.การพัฒนาขีดความสามารถของภาคใต้ตอนบนและประเทศ
3.การพัฒนาอุทยานการศึกษาเพื่อการเรียนรู้ทั้งในระบบ นอกระบบ ตามอัธยาศัยและตลอดชีวิต
4.การเพิ่มสมรรถนะองค์กร
5.การชื่นชมคุณค่าบุคลากร

ยุทธศาสตร์งานบริการวิชาการ
การพัฒนาขีดความสามารถของภาคใต้ตอนบนและประเทศ

เป้าประสงค์
ภาคใต้ตอนบนและประเทศมีศักยถาพในการสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจและสังคม สร้างภูมิคุ้มกัน และเสริมสร้างความสามารถในการแข่งขัน

กลยุทธ์
ขยายเครือข่ายการบริการวิชาการให้ครอบคลุมพื้นที่ภาคใต้ตอนบน

มาตรการ
1.พัฒนาระบบและกลไกในการสร้างเครือข่ายและพันธมิตรกับหน่วยงานภายใน/ภายนอกมหาวิทยาลัยและชุมชน
2.ค้นหาโจทย์การบริการวิชาการที่ตรงกับความต้องการของชุมชนและสังคม
3.ส่งเสริมการประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ผลงานบริการวิชาการของมหาวิทยาลัยให้ประชาคมภายในและภายนอกรับรู้มากขึ้น
4.พัฒนาระบบฐานข้อมูลด้านการบริการวิชาการของมหาวิทยาลัยให้สามารถใช้ประโยชน์ได้อย่างคล่องตัวและเป็นปัจจุบันอยู่เสมอ
5.บูรณาการคุณค่าของศิลปะและวัฒนธรรมสู่การสร้างภูมิคุ้มกันทางวัฒนธรรมให้แก่สังคมบนความเข้าใจในความหลากหลายของวัฒนธรรม
(ข้อมูลจากส่วนแผนงานมวล.15/7/51)

ในความเห็นของผมยุทธศาสตร์การพัฒนาในภาพรวม5ข้อของมหาวิทยาลัยคือ ยุทธศาสตร์งานบริการวิชาการมิใช่เฉพาะยุทธศาสตร์เชิงพื้นที่(ภาคใต้ตอนบนเท่านั้น)
เนื่องจาก การพัฒนาบัณฑิตเพื่อความเป็นเลิศทางวิชาการเชื่อมโยงกับการบริการวิชาการให้กับท้องถิ่น/ชุมชนอยู่ในข้อเสนอแนะของทีมประเมินผล

ยุทธศาสตร์การพัฒนาอุทยานการศึกษาเพื่อการเรียนรู้ทั้งในระบบ นอกระบบ ตามอัธยาศัยและตลอดชีวิต และยุทธศาสตร์ข้อ4และ5คือ การเพิ่มสมรรถนะองค์กรและการชื่นชมคุณค่าบุคลากร ถือเป็นกระบวนการจัดการความรู้ตามแบบจำลองปลาทูของการรวมบริการประสานภารกิจงานบริการวิชาการเพื่อสร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้ พัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่องอยู่เสมอ ซึ่งผมได้เชื่อมโยงกับระบบความก้าวหน้าทางอาชีพ

http://gotoknow.org/file/pakamatawee/Acade1.ppt (งานบริการวิชาการกับความก้าวหน้าในอาชีพ)

ยุทธศาสตร์ เป้าประสงค์ และมาตรการเพื่อขับเคลื่อนงานบริการวิชาการที่เสนอ แม้ว่าส่วนแผนได้ใช้ข้อมูลจากประชาคมมวล.สรุปจนเป็นแนวทางดังกล่าวแล้ว ทีมประเมินผลยังเสนอให้มีกระบวนการ    สื่อสารกับประชาคมรวมทั้งการสร้างวิสัยทัศน์และสำนึกในพันธกิจร่วมกัน โดยเสนอให้มหาวิทยาลัยสร้างคนจำนวนหนึ่งที่เรียกว่ากระบวนกร หรือคุณอำนวย เพื่อส่งเสริมการรวมตัวร่วมคิดร่วมทำ ส่งเสริมความเป็นชุมชนด้วย 

ผมเห็นว่า มหาวิทยาลัยได้จัดตั้งหน่วยพัฒนาองค์กรขึ้นมาเพื่อการนี้แล้ว อย่างไรก็ตาม ก็เป็นภารกิจของฝ่ายสนับสนุนงานบริการวิชาการด้วย ดังนั้นระบบรวมบริการประสานภารกิจในส่วนที่ว่าด้วยงานบริการวิชาการ ทีมงานของเราก็จะเข้ามาทำงานร่วมกับหน่วยพัฒนาองค์กรและประชาคมมวล.และส่วนแผนงานด้วย ซึ่งมีการทำงานร่วมกันด้วยดีอยู่แล้ว

ในมาตรการ5ข้อเพื่อการขับเคลื่อนงานบริการวิชาการข้างต้น ล้วนอยู่ภายใต้แบบจำลองปลาทู ระบบรวมบริการประสานภารกิจที่นำเสนอไว้

ขั้นต่อไปเราจะวิเคราะห์ ศักยภาพของมหาวิทยาลัยผ่านวิสัยทัศน์ พันธกิจของหน่วยบริการวิชาการต่างๆที่สำคัญคือ สำนักวิชา และหน่วยวิจัย โดยเราจะทำ baseline ประเมินสถานะภาพที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน บทบาทของฝ่ายคือ การจัดตั้ง/สนับสนุนให้เกิด/ขยายเครือข่ายบริการวิชาการซึ่งเป็นกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ส่วนตัวปลา
นอกจากวิเคราะห์ศักยภาพแล้วก็ต้องวิเคราะห์ระเบียบสนับสนุนเพื่อชี้ให้เห็นถึงความเชื่อมโยงว่ามีความสอดคล้องต้องกันหรือไม่อย่างไร?

หน้าที่ของฝ่ายคือ ตัวระบบเพื่อสร้างกระบวนการเรียนรู้/วัฒนธรรมเรียนรู้ที่ต้องทำงานร่วมกับหน่วยพัฒนาองค์กรอย่างใกล้ชิด นอกจากนี้ก็ต้องทำงานร่วมกับสถาบันวิจัยและพัฒนา และส่วนส่งเสริมวิชาการ รวมทั้งส่วนแผนงานและสำนักวิชาอย่างสำคัญด้วย

ผมขอให้น้องในฝ่ายนัดประชุมคณะทำงานเพื่อมาดูแผนกิจกรรมของกันและกัน จะได้ทำงานร่วมกันโดยไม่ซ้ำซ้อน

หมายเลขบันทึก: 194333เขียนเมื่อ 15 กรกฎาคม 2008 16:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 01:03 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

สวัสดีค่ะ

เข้ามาแลกเปลี่ยนก่อนเลิกงาน

ที่คณะฯ ก็มีงาน "บริการวิชาการ" ค่ะ

ระดับคณะฯ ไม่มียุทธศาสตร์ใดๆของงานบริการวิชาการ แต่งานบริการวิชาการเป็น "เครื่องมือ" ของพันธกิจด้านหนึ่ง คือ "บริการสังคม" ...งานบริการวิชาการที่ทำอยู่นั้นไร้แผนงาน แต่มีองค์ประกอบหลักๆ คือ วิจัย อมรม สัมมนา เผยแพร่

"วิจัย" เป็นทั้ง input และ output ของการบริการวิชาการ กล่าวคือ "ผลงานวิจัย" เป็น output ซึ่งจะกลายเป็น input ของการ "อบรม" "สัมมนา" "เผยแพร่"

เนื้องานที่ทำอยู่ก็จะมีส่วนคล้ายกับมาตรการ 1-4 ของ มวล. แต่มาตรการที่ 5 ของ มวล. นั้น น่าสนใจมากค่ะ โดยเฉพาะสำหรับพื้นที่ภาคใต้

คิดว่า "การสร้างโจทย์วิจัยที่ดี" (มาตรการข้อ 2) จะเป็นฐานสำคัญมากที่สุดสำหรับการสร้างองค์ความรู้ที่เป็นประโยชน์ ก่อนที่จะคืนสู่สังคมในรูปการอบรม สัมมนา เผยแพร่ หรือบริการวิชาการรูปแบบอื่นๆ

เครือข่ายและพันธมิตร (มาตรการข้อ 1) เป็นทั้ง input ของการสร้างโจทย์วิจัยที่ดี เป็น input ของการทำวิจัย และเป็น output ของงานบริการวิชาการด้วย คือ ถ้าเราทำงานบริการวิชาการที่เป็นประโยชน์ก็จะเป็นที่ยอมรับและมีพันธมิตร โดยเฉพาะสาธารณะชน

อย่างเช่น..ทราบมาว่า กำลังมีการเคลื่อน "เขตอุตสาหกรรม" ที่เดิมคาดว่าจะตั้งขึ้นแถวๆโรงแยกกาซที่ อ.จะนะ (ซึ่งมีความเสี่ยง) ให้มาอยู่ที่ อ.ท่าศาลาด้วยเหตุผลด้านบวกว่า จะทำให้คนในพื้นที่ท่าศาลามีงานทำ (แต่ที่จริงมีเหตุผลหลายด้าน) เกิดคำถามว่า โครงการนี้จะเกิดประโยชน์โดยสุทธิกับคนท่าศาลาจริงหรือ .... โจทย์นี้ใกล้ มวล. มาก... ต้องการคำตอบ แต่ก็หมิ่นเหม่เรื่องความขัดแย้งมาก ...และอาจจะได้ทั้งมิตรและศัตรู

มาตรการ 3-4 จะไม่เกิด หรือเกิดไม่ได้ดีถ้าไม่มีงานวิจัยที่ดี

แต่จะขยับให้เกิดงานวิจัยที่ดีได้อย่างไร คงเป็นหน้าที่ของโมเดลปลาทูกระมังคะ

เปิด powerpoint ได้แล้ว ไม่ทราบว่าถ้านำเสนอ concept เดียวกันนั้นในรูปโมเดลปลาทู จะทำให้เห็นภาพตัวอย่างการทำงานของโมเดลปลาทูชัดขึ้นหรือเปล่า..

ขออภัยในความยาว..

โชคดีค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท