ตามครูต้นแบบ ไปดูสวนยางพารา


ตามครูต้นแบบ ไปดูสวนยางพารา

          วันนี้ถึงคิวตัวแทนเกษตรกรต้นแบบการปลูกยางพารา (ที่มีทั้งหมด 7 คน จากอำเภอพระแสง 1  คน อำเภอไชยา 3 คนและอำเภอกาญจนดิษฐ์ 3  คน)

ภาคเช้า มาประชุมคณะทำงาน โครงการนำร่องระบบส่งเสริมการเกษตรที่อำเภอกาญจนดิษฐ์  

ภาคบ่าย จึงลงพื้นที่ ที่นี่ต่อ ซึ่งผมได้เชิญทุกคนที่ไม่มีภารกิจในช่วงบ่ายให้ไปด้วยกัน  โดยทีมงานจากสำนักงานเกษตรจังหวัด ประกอบด้วย คุณระนอง  เหมทานนท์ คุณยัญยงค์  ปล้องอ่อน คุณประพันตรี ประกอบ   และผม ส่วนทีมงานจาก สำนักงานเกษตรอำเภอ คุณสายัญต์ มะอนันท์ คุณสุทธิชัย  ช่วยสงค์ คุณสุภาวดี  บุญสุวรรณ คุณธนาคม   พรหมเพ็ญและคุณอรพินธ์ สิทธิพงษ์ ทีมค่อนข้างใหญ่ รวม  9 คน ตั้งใจเพื่อไปแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน เพราะทีมงานวันนี้ ส่วนใหญ่จะเป็นมือใหม่(น้องใหม่) เป้าหมายอยู่ที่แปลงของ ครูต้นแบบ ที่ร่วมกันถอดบทเรียน ลดต้นทุนการผลิต เมื่อวันก่อน

ไปถึง ครูทั้ง  3 ท่าน ก็ได้รอพวกเราอยู่แล้ว (คุณประยุทธ์  ผ่องแก้ว คุณโสพนา  แซ่ฉ่าย และคุณนิสิต แพรเพชร)  พร้อมเพื่อนบ้าน ที่มาร่วมกัน แลกเปลี่ยน   รวม  8 คน หลังจากแนะนำตัวกันเสร็จแล้วเพื่อไม่ให้เสียเวลา จึงเริ่มพูดคุยแลกเปลี่ยนกันเลย  ในประเด็น การปฏิบัติกับยางพารา ในช่วงที่กำลังเปิดกรีด 

          ใช้เวลาประมาณ 1   ชั่วโมง กว่า ๆ  สรุปได้ว่า  การจะลดต้นทุนการผลิตยางในยุคปุ๋ยราคาแพงอย่างนี้ต้องมีระบบการจัดการเปลี่ยนแปลงที่ดี ซึ่งประกอบด้วย

          1.  การจัดการระบบกรีด จากการกรีดแบบหน้ากรีด   ½ หรือ 1/3ของลำต้น เปลี่ยนมาเป็นการกรีด ¼  ของลำต้น ทำให้ประหยัดหน้ากรีดและประหยัดเวลาในการกรีด ลดความเสี่ยงต่อการเกิดบาดแผลและการเกิดโรคกับหน้ายาง ทำให้ต้นยางเจริญเติบโตดี ช่วยยืดระยะเวลาในการให้ผลผลิตยาวขึ้น เป็น   25 ปี ขึ้นไป

          2.  การใช้ปุ๋ยอินทรีย์ เข้ามาทดแทนปุ๋ยเคมี จากการที่เกษตรกรมักจะใช้ปุ๋ยเคมีเพียงอย่างเดียวในการบำรุงต้นยาง เปลี่ยนมาใช้ปุ๋ยเคมีครึ่งหนึ่งและปุ๋ยอินทรีย์อีกครึ่งหนึ่ง  ปุ๋ยอินทรีย์ต้องผลิตใช้เอง เพราะจะได้รู้ถึงปริมาณธาตุอาหารและความปลอดภัยกับต้นยาง

          3.  ต้องมีการวิเคราะห์ ดิน หาค่า ความเป็นกรดเป็นด่างของดิน  และปริมาณธาตุอาหารในดินก่อนการตัดสินใจใช้ปุ๋ยตามปริมาณความต้องการของต้นยาง โดยใช้บริการ การวิเคราะห์ ดิน จากหมอดินอาสา หน่วยงานพัฒนาที่ดินหรือหน่วยงานของกรมวิชาการเกษตรที่มีอยู่ในพื้นที่  

  

          ถ้าดำเนินการใน  3 เรื่องนี้ ในวงสนทนา พูดคุย แลกเปลี่ยน สรุป รับรองว่าจะลดต้นทุนการผลิตได้อย่างแน่นอนครับ   จากนั้นเกษตรกรได้นำคณะไปดูการปฏิบัติ ที่เป็นความคิดของเกษตรกรอีกส่วนหนึ่ง ซึ่งจากการไปสัมผัสในพื้นที่แต่ละครั้ง จะได้พบเห็น การปฏิบัติเรื่องใหม่ ๆ ที่เกษตรกรเขาทำกันในพื้นที่ แต่นักวิชาการ หรือนักส่งเสริมฯ ยังไม่รู้ มีอีกมาก  แล้วจะนำมาเล่าต่อในโอกาสต่อไปครับ

 

          ชัยพร  นุภักดิ์  

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 193956เขียนเมื่อ 13 กรกฎาคม 2008 16:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:17 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (12)

ที่ยะลายังไม่ได้ตามไปดูเลยค่ะ

มีครูต้นแบบยางพาราเหมือนกัน โดยมีแนวทางลดต้นทุนการผลิตโดยการใช้ปุ๋ยผสมเองร่วมกับปุ๋ยเคมี นอกจากนี้ก็เป็นในเรื่องโรคหน้ายางและราก

ขอบคุณที่นำมาเล่านะคะ

หวัดดีครับ

  • ที่ยะลา น่าจะเป็น เวลากรีด มากกว่านะ กรีดกลางคืนน่ากลัว..

มีเรื่องของปาล์ม ไหมครับ อยากได้เพื่อนำไปบอกต่อที่เพชรบุรีปลูกมาก จะใด้ไปใช้ในวันที่ 20 ส.ค.นี้ (DW) เน้นเรื่อง ปาล์มน้ำมัน ครับ

หวัดดีครับคุณเขยเพชรบุรี

  • เรื่องปาล์ม มีเยอะเลย
  • จะส่งเมล์ ไปให้ครับ

หวัดดีครับ น้องจิ

  • เป็นผักอะไรเอ่ย ช่างเหมาะกับยุคเศรษฐกิจพอเพียงจริงๆนะ
  • น้ากินผัก จนตัวเขียวหมดแล้ว ครับ

ขอบคุณหนุ่มร้อยเกาะล่วงหน้าครับผม กลับบ้านนครศรีฯ ผ่านไปซื้อขนมหวามเมืองเพขรไปฝาก อร่อย มาก แต่อ้วนนะ

  • หวัดดีค่ะพี่
  • สบายดีนะค่ะ
  • แวะมาเยี่ยมค่ะ

หวัดดีค่ะ

* ตามพี่อ้อยควันมาดูต้นยางค่ะ

* คิดถึงบ้านจังหู เลยค่ะ

* จะไปถามป๋าดู ว่าที่บ้านมีครูต้นแบบ?

* น่าสนใจนะคะ ... ลดต้นทุน

* อยากให้ท่านเกษตรฯ ลงปชส. เยอะๆค่ะ

* ชาวบ้านจะได้ตื่นตัว ... ขอบคุณค่ะ

หวัดดีครับคุณเขยเพชรบุรี

  • หนมหวาน ของชอบครับ
  • คิดว่าจะได้เจอกันที่ ลดต้นทุนที่กรมฯ

หวัดดีครับ คุณอ้อย

  • เดี๋ยวนี้มีทีมงานเยอะนะ
  • ขอบคุณที่ มาเยี่ยม มาเยือน ครับ

หวัดดีครับคุณ poo

  • ยินดี ที่ได้แลกเปลี่ยนกัน ครับ
  • จะพยายาม ปชส.ให้เกษตรกร ชาวสวน ได้ทราบ ครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท