การพัฒนาคุณภาพการศึกษาของโรงเรียน


คุณภาพของคน ต้องได้รับการฝึกอบรม เพื่อให้ทำงานอย่างถูกต้องมีประสิทธิภาพ รู้ถึงวิธีทำงานที่ถูกต้อง และจะต้องพัฒนาคุณภาพของคนในลักษณะที่สร้างบรรยากาศของการรักการเรียนรู้ให้เกิดขึ้นในองค์กร ซึ่งจะทำให้มีการปรับปรุงงาน และพัฒนาเทคโนโลยีได้ด้วยตนเองมีมูลค่าเพิ่มอยู่ในตัว

            

                   ปัจจุบันมีกระแสเรียกร้องที่รุนแรง    ต้องการการศึกษาที่มีคุณภาพสูง
ต้องการให้มีการตรวจสอบมากขึ้น ผู้ปกครองต้องการรู้ว่าบุตรหลานของตน เมื่ออยู่
ในโรงเรียนทำอะไรได้ดีเพียงไร และชุมชนต้องการที่จะมั่นใจว่าโรงเรียนปฏิบัติหน้าที่
ได้ตามมาตรฐาน  โรงเรียนที่มีระบบการประกันคุณภาพการศึกษานั้น จะต้องเป็นโรงเรียน
ที่มุ่งมั่นจะสร้างระบบคุณภาพให้ผลผลิต (นักเรียน) สอดคล้องกับความต้องการของ
ลูกค้า โรงเรียนที่ไม่มีเด็กเข้าเรียน   โรงเรียนที่มีเสียงกล่าวขานว่า    ผู้บริหาร
ไม่อยู่โรงเรียน ผู้บริหารเผด็จการ  ทุจริต ปล่อยปละละเลย ขาดภาวะผู้นำ  ผู้สอนทิ้ง
ห้องเรียน  ไม่เอาใจใส่นักเรียน  ชอบใช้อารมณ์   ชอบใช้คำพูดทำลายนักเรียน ฯลฯ
คำกล่าวขานเหล่านี้ล้วนแต่ทำให้ขาดความมั่นใจในโรงเรียน

     แนวทางการประกันคุณภาพการศึกษาของโรงเรียน จำแนกได้ 2 ระดับ

1. ระดับ Accountability นั้นหมายถึงโรงเรียนมีระบบการบริหารคุณภาพ (Quality Management) ที่สร้างความมั่นใจ พึงพอใจต่อผู้ปกครอง ชุมชน ลูกค้าว่า ผู้จบการศึกษามีคุณภาพตามมาตรฐานที่กำหนด ในระดับนี้ ผู้ปกครอง และชุมชน จะ เป็นผู้ยอมรับในคุณภาพของผู้จบการศึกษา โดยผู้ปกครองและชุมชนเข้ามาเกี่ยวข้องใน รูปคณะกรรมการโรงเรียน ดังนั้นโรงเรียนจะต้องเปิดโอกาสให้คณะกรรมการโรงเรียนได้ มีส่วนร่วมในการวางแผนการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของโรงเรียน (ธรรมนูญโรงเรียน) ร่วมรับผิดชอบและร่วมตัดสินใจ

2. ระดับ Accreditation นั้นหมายถึง โรงเรียนมีระบบการบริหารคุณภาพ (Quality Management) ที่สร้างความมั่นใจ พึงพอใจต่อผู้ปกครอง ชุมชน สังคม ลูกค้า ว่า ผู้จบการศึกษามีคุณภาพตามมาตรฐานที่กำหนด โดยมีองค์กรภายนอกเป็นผู้รับรอง มาตรฐานการศึกษา

 ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของโรงเรียน โรงเรียนจะเป็นผู้ดำเนินการ โดยประชาชนมีส่วนในการพัฒนา และโรงเรียนจะต้องดำเนินการตามภาระงานต่อไปนี้ 1. การควบคุมคุณภาพการศึกษา ( Quality Control )

1.1 การกำหนดมาตรฐาน

 1.1.1 จัดทำมาตรฐานการศึกษาให้สอดคล้องกับความต้องการของท้องถิ่น จากมาตรฐานกลาง โดยคณะกรรมการโรงเรียนซึ่งประกอบด้วย ผู้บริหารโรงเรียน ครู ผู้ปกครองและประชาชน

1.1.2 จัดทำข้อมูลพื้นฐานด้านปัจจัย กระบวนการและผลผลิตของโรงเรียน

1.2 การพัฒนาเข้าสู่มาตรฐานการศึกษา

1.2.1 พัฒนาโรงเรียนให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ และพัฒนา กระตุ้นจูงใจให้ ผู้ร่วมงานรู้จักและรักการเรียนรู้อยู่เสมอ เน้นให้บุคลากรในองค์กรมี ความคิดริเริ่ม เพื่อการสร้างสรรค์ปรับปรุงสิ่งต่าง ๆ ให้ดีขึ้น

1.2.2 มีการสร้างจิตสำนึกของผู้ร่วมงานให้เห็นว่าการปรับปรุงคุณภาพจะ ต้องปรับปรุงอยู่ตลอดเวลาและเป็นหน้าที่ของทุกคน                     

1.2.3 เป็นสมาชิกชมรมทางวิชาการของจังหวัดและเป็นเครือข่ายศูนย์วิทยบริการ
                    

1.2.4 จัดทำธรรมนูญโรงเรียน

1.2.5 พัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นและสื่อการเรียนการสอน

1.2.6 ดำเนินการบริหารคุณภาพ ( Quality Management ) โดยมุ่งเน้น ผลผลิต (นักเรียน) ที่ตอบสนองความต้องการของลูกค้า ดังนี้

- ควบคุมคุณภาพ และประเมินตนเอง ในทุก ๆ กิจกรรมของกระบวน การบริหาร และกระบวนการเรียนการสอน โดยใช้วงจรควบคุมคุณภาพ ( Quality Control Circle ) PDCA ของเดมมิ่ง

- มีการทำงานเป็นมาตรฐาน โดยควบคุมกระบวนการตามเอกสารคู่มือ 3 ระดับที่จัดทำขึ้น คือ

ก. คู่มือนโยบาย

ข. คู่มือขั้นตอนการทำงาน/แนวปฏิบัติ/วิธีการ

ค. คู่มือการทำงาน/แผนการสอน

- ต้องให้ทุกคนในองค์กรมีส่วนร่วม ( Total Participation ) เพื่อให้พลังที่ มีอยู่อย่างไม่จำกัดของทุกคนในองค์กร ร่วมกันพัฒนาให้ตรงตามความ ต้องการของลูกค้าและความต้องการที่เปลี่ยนแปลง

- มีการทำงานเป็นทีมในทุกระดับ เน้นให้ทุกคนมีอำนาจตัดสินใจ ซึ่งจะ ส่งผลให้ปรับปรุงและสร้างขวัญกำลังใจและทัศนคติที่ดี

1.2.7 พัฒนาระบบสารสนเทศของโรงเรียน

1.2.8 ระดมความร่วมมือจากชุมชนและเอกชน

2. การตรวจสอบคุณภาพ หรือการทบทวนคุณภาพภายใน ( Internal Audit or Internal School Review )

2.1 โรงเรียนต้องดำเนินการทบทวนคุณภาพภายในด้านคุณภาพโรงเรียนและ คุณภาพการสอนทุกปี

2.2 นำผลการทบทวนมาดำเนินการพัฒนาและปรับปรุงให้ได้คุณภาพตามมาตรฐาน ที่กำหนด

3. การประเมินคุณภาพการศึกษา โรงเรียนควรกำหนดให้มีการประเมินความก้าวหน้า และประเมินเมื่อสิ้นสุด โครงการของโรงเรียนในทุกๆ แผนงาน แล้วนำผลมาพัฒนาปรับปรุง

          โรงเรียนที่มีระบบการประกันคุณภาพ    เป็นการรับประกันระบบการ
บริหารคุณภาพขององค์กร เป็นการสร้างความมั่นใจว่า ผลผลิต (นักเรียน)  เมื่อออก
มาจากกระบวนการแล้วจะมีคุณภาพที่ดีตรงตามความต้องการของลูกค้า

(แต่เพลียเวลาที่มีการตรวจจากสมศ.นั่นแหละครับพี่น้อง)

หมายเลขบันทึก: 193388เขียนเมื่อ 11 กรกฎาคม 2008 08:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:16 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท