ตามไปดูสวนทุเรียนส่งออกที่นาสาร


ตามไปดูสวนทุเรียนส่งออกที่นาสาร

 

ออกจากสวนเงาะมาเข้าสวน ทุเรียนต่อในภาคบ่าย  มาดูทุเรียนส่งออกของคุณลุงวิเชียร พวงพันธ์ ที่ชุมชน ทุ่งคาเกรียน ตำบลนาสาร  ซึ่งเป็นสวนที่ได้รับรางวัล ที่ 1 ในการประกวดสวนทุเรียนของอำเภอบ้านนาสาร ปี 2548 สวนคุณลุงวิเชียร มีพื้นที่ทั้งหมด 70 กว่าไร่ แต่เป็นพื้นที่ปลูกทุเรียน 30 กว่าไร่ เป็นพันธุ์หมอนทอง อายุ 19 ปี

 คุณลุงวิเชียร เล่าย้อนอดีต ให้ฟังว่า เมื่อก่อนมีที่แปลงหนึ่งปลูกเงาะกับทุเรียน อย่างละประมาณ 1,000 ต้น แต่ตอน ปี 2531 เกิดภัยพิบัติน้ำหลาก ทำลายสวนของลุงไปหมดเลย (ภัยเดียวกันกับที่บ้านกะทูน จังหวัดนครศรีธรรมราช) ด้วยความที่ยังรักและลงไหลในอาชีพนี้ จึงย้ายมาทำสวน ณที่แห่งนี้ต่อ

           ปีนี้ได้ผลผลิตประมาณ 80 กว่าตัน ขายแบบเหมาสวนได้ ก.ก ละ 16 บาท (ไม่ค่อยพอใจ) ปีนี้ทุเรียนออก 3 รุ่น ไม่สม่ำเสมอนัก เพราะฝนมาเร็ว ทำให้ผลไม่ค่อยสวยเท่าที่ควร คุณลุงวิเชียร บ่นว่า ปีนี้ต้นทุนสูงมาก ทั้งค่าปุ๋ย ยาบำรุง-น้ำมัน แพงหมดทุกอย่าง แต่ราคาที่ขายได้ถูกกว่าปีที่ผ่านมา (17-18 บาท)

          สำหรับเทคนิคในการจัดการสวนทุเรียน ของลุงวิเชียรนั้น คือ การจัดการโรค คุณลุงวิเชียร เล่าว่า เมื่อทุเรียนอายุได้ 10 กว่าปี ก็เจอปัญหา ต้นเริ่มตาย จึงได้ไปปรึกษา เกษตรอำเภอบ้านนาสาร เจ้าหน้าที่ได้แนะนำให้รักษาโดยการแทงเข็ม (โพลีฮาฟอส) มีเจ้าหน้าที่ได้มาสาธิตให้ดู ปรากฏว่าได้ผล จึงได้ทำตาม โดยถ้าพบต้นที่เป็นโรคบริเวณลำต้น แทงต้นละ 1 เข็ม ก็จะหาย แต่ถ้าเป็นที่รากจะไม่ค่อยหาย และปัจจุบันนี้จะทำ ปีละ 2 ครั้ง คือ ระยะที่ต้นฟื้นตัวหลังจากเก็บเกี่ยว และระยะดอกบาน ซึ่งไม่พบโรคเน่าอีกเลย

           ลุงวิเชียร ทำทุเรียนคุณภาพส่งออกได้ประมาณ 80 กว่าเปอร์เซนต์ของผลผลิต ซึ่งเป็นเปอร์เซ็นต์ ที่สูงมาก จึงทำให้เขาขายล่วงหน้าได้ทุกปี ไม่เคยมีปัญหาเรื่องตลาด  และสวนแห่งนี้ ยังเป็นสถานที่ต้อนรับการศึกษาดูงานของคณะต่าง ๆ อยู่เป็นประจำ

            ปัจจัยแห่งความสำเร็จ ของลุงวิเชียร คือ ต้อง รักต้นไม้ ก่อน ต้นไม้มันจึงจะรักเรา  ถึงจะเป็นต้นไม้ แต่เราก็ต้องให้เขาก่อน.....นะครับ

 ชัยพร  นุภักดิ์

  

หมายเลขบันทึก: 192512เขียนเมื่อ 6 กรกฎาคม 2008 16:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:15 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (19)

สวัสดีครับคุณหนุ่มร้อยเกาะ ผมชื่นชมในความสามารถของคุณตั้งนานแล้วตั้งแต่ได้เข้าไปอบรม KM (ตัวแทนครับ) คุณเขียนบทความได้ดีมากครับ อย่างไรช่วยชี้แนะต้นน้ำด้วยครับ

สวัสดีครับคุณ ต้นน้ำ

  •  ผมอ่านงานเขียนของคุณ แล้ว ผมเทียบไม่ได้เลย
  • ขอบคุณที่ให้กำลังใจครับ

สวัสดีครับคุณประจักษ์

  • กินทุเรียนระวัง น้ำหนักเพิ่มนะครับ
  • ขอบคุณที่มาเยือน
  • ต้อง รักต้นไม้ ก่อน ต้นไม้มันจึงจะรักเรา  ชอบประโยคนี้จัง  เทียบเคียงกับหลายเรื่องได้เลย
  • ตอนนี้ทุเรียนใต้ออกแล้วยังครับ  ไม่ได้คอยทานนะ เพราะตั้งแต่วัดความดัน ตอนสัมมนาคุณลิขิตแล้ว  ไม่กล้าทานเลย

คุณหนุ่มร้อยเกาะค่ะ...นักส่งเสริมฯ เรามีวิธีการทำอย่างไรค่ะ เกษตรกรถึงทำงานเรื่องนี้จนได้อันดับ 1 (อยากรู้ค่ะ)

สวัสดีครับ พี่สำราญ

  • สวนลุงวิเชียร เก็บจะหมดแล้ว
  • ส่วนสวนอื่นๆ กำลังออก ครับ

สวัสดีครับคุณ ศิริวรรณ

  • รายนี้ มา จากเกษตรกร หัวไว ใจสู้
  • จนท.เป็นพี่เลี้ยง ที่แสนดี
  • สำหรับเทคนิควิธี วันหลัง จะเล่าให้ฟังครับ
  • สวัสดีครับอ.หนุ่มฯ
  • ขอบคุณ ที่นำความรู้ดีๆมาแบ่งปันกัน
  • ขอให้มีความสุขกับการทำงานนะครับ

อยากกินทุเรียน นาสาร ทำอย่างดีครับ...ไม่ต้องส่งรถทัวร์นะ

ปัจจัยที่สำเร็จ ใจต้องมาก่อน.นะครับ

สวัสดีครับท่าน เขียวมรกต

  • เดี๋ยวนี้ อาจจะต้องเปลี่ยน วิธีการส่งเสริมแล้วครับ น้ำมันรถแพงน่าดูเลย
  • ขอบคุณ สำหรับกำลังใจ ครับ

สวัสดีครับคุณ เขยเพชรบุรี

  • ปีนี้เงาะแพง แต่ผลผลิตน้อย
  • ถ้าผ่านมา จะพาไปกิน บ้านเพื่อนๆเรา ที่นาสารมีอยู่ 2 คน

ชอบประโยคนี้จังเลยนะค่ะ  "รักต้นไม้ ก่อน ต้นไม้มันจึงจะรักเรา"

หวัดดีค่ะ อาจารย์หนุ่ม

 พี่เป็นลูกศิษย์ของอาจารย์หนุ่มอีกคนหนึ่ง

ให้ความรู้เกี่ยวกับการจัดการ  "BLOG"

ที่กรมส่งเสริมการเกษตร

ขอบคุณน๊ะค๊ะที่ได้มีความรู้เพิ่มเติมขึ้นอีกขั้นหนึ่ง

อ่านข้อความแล้ว เห็นด้วยกับลุงวิเชียร ค่ะ

ไม่เฉพาะแต่ความรักอะไรที่เราให้คนอื่นก่อน เราก็จะได้สิ่งนั้นกลับเสมอ ค่ะ

สวัสดีครับคุณ

ความรัก ไม่มีหมด ไปจากโลกใบนี้ ไปได้ ครับ

ต้องการจะเที่ยวสวนคุณลุงวิเชียร ที่นั้นมีรีสอร์ท หรือเปล่าค่ะ จะพาลูกๆ ไปชมต้อนทุเรียน

สวัสดีครับคุณน้ำอ้อย

ที่นาสาร มีรีสอร์ท ที่พัก แบบ เกษตรโอมสเตย์ ที่สวนสละอาทิตย์ ไม่ไกลกับสวนทุเรียน คับ

สวัสดีครับคุณโสภณ เปียสนิท

  • ขอบคุณ ที่มาเยือน  ครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท