การจัดทำหนังสือกรณีตัวอย่างการจัดการความรู้ในหน่วยงานสังกัดกระทรวงสาธารณสุข


เราจะได้หนังสือ 1 เล่ม ที่เป็น Explicit Knowledge ที่ดี ของกระทรวงสาธารณสุข ที่สร้างจากTacit Knowledge ของแท้ คือ บุคคลของหน่วยงานต่างๆ ที่ได้มุ่งมั่นดำเนินการมาเป็นระยะเวลาที่ยาวนาน จนเห็นผลดี เป็นที่ยอมรับกันในปัจจุบัน
                เมื่อวันที่ 13 มีนาคม ช่วงบ่าย ผมได้ไปร่วมประชุมที่ สคส.กับทีมงานที่ทางนพ.พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ได้จัดตั้งขึ้นเพื่อจัดทำหนังสือกรณีตัวอย่างการจัดการความรู้ในหน่วยงานสังกัดกระทรวงสาธารณสุข โดยมีอาจารย์หมอวิจารณ์ อาจารย์ ดร.ประพนธ์ มาร่วมประชุมด้วย มีอาจารย์หมอสมชาติ โตรักษา ทำหน้าที่เป็นบรรณาธิการ โดยได้รับเงินสนับสนุนจาก สสส. และมีอาจารย์หมอกฤษฎา มาร่วมประชุมด้วย ตอนที่ผมไปถึงประมาณบ่ายโมงครึ่งก็ได้เริ่มประชุมไปบ้างแล้ว
                ประเด็นสรุปในการประชุมที่ประชุมได้อภิปราย ซักถาม และ ให้ข้อคิดเห็น กันอย่างกว้างขวาง สรุปได้ว่า หนังสือเล่มนี้ จะแบ่งเป็น 3 ส่วน 9 บท ดังนี้
                                ส่วนที่ 1. ส่วนนำ
                                        มี 1 บท คือ บทที่ 1. KM นานาชาติ ทฤษฎีการจัดการความรู้
                                ส่วนที่ 2. กรณีตัวอย่างการจัดการความรู้ในหน่วยงานสังกัดกระทรวงสาธารณสุข
                                        มี 7 บท คือ
                                        บทที่ 2. กรณีตัวอย่างการจัดการความรู้ในกรมอนามัย
                                        บทที่ 3. กรณีตัวอย่างการจัดการความรู้ในสสจ.พระนครศรีอยุธยา
                                        บทที่ 4. กรณีตัวอย่างการจัดการความรู้ในสสจ.นครสวรรค์
                                        บทที่ 5. กรณีตัวอย่างการจัดการความรู้ในรพศ.ขอนแก่น
                                        บทที่ 6. กรณีตัวอย่างการจัดการความรู้ในโรงพยาบาลพิจิตร
                                        บทที่ 7. กรณีตัวอย่างการจัดการความรู้ในโรงพยาบาลวังน้อย จ.พระนครศรี อยุธยา
                                        บทที่ 8. กรณีตัวอย่างการจัดการความรู้ในโรงพยาบาลบ้านตาก จ.ตาก
                                ส่วนที่ 3. ส่วนสรุปและการนำไปประยุกต์ใช้ในอนาคต
                                        มี 1 บท คือ บทที่ 9.
                        ผู้เป็น “แกนนำ” ในการจัดทำเนื้อหาในแต่ละบท
                                บทที่ 1. KM นานาชาติ ทฤษฎีการจัดการความรู้
                                        คือ อาจารย์ ดร.ประพนธ์ ผาสุขยืด และ นพ.พรเทพ ศิริวนารังสรรค์
                                บทที่ 2. กรณีตัวอย่างการจัดการความรู้ในกรมอนามัย
                                        คือ พญ.นันทา อ่วมกุล นส.สร้อยทอง เตชะเสน และ ทีมงาน
                                บทที่ 3. กรณีตัวอย่างการจัดการความรู้ในสสจ.พระนครศรีอยุธยา
                                        คือ นพ.รัตนชัย จุลเนตร นายประกิจ โพธิอาศน์ และ ทีมงาน
                                บทที่ 4. กรณีตัวอย่างการจัดการความรู้ในสสจ.นครสวรรค์
                                        คือ นพ.บัวเรศ ศรีประทักษ์ นางคชาภรณ์ เจียนิวัตต์ นางเปรมฤดี  กาญจนาพร และ ทีมงาน
                                บทที่ 5. กรณีตัวอย่างการจัดการความรู้ในรพศ.ขอนแก่น
                                        คือ นพ.วิทยา จารุพูนผล นพ.สมบัติ บวรผดุงกิตติ และ ทีมงาน
                                บทที่ 6. กรณีตัวอย่างการจัดการความรู้ในโรงพยาบาลพิจิตร
                                        คือ พญ.สุนีย์ ธีรการุณวงศ์  นางศิริวันต์ ยิ้มเลี้ยง และ ทีมงาน
                                บทที่ 7. กรณีตัวอย่างการจัดการความรู้ในโรงพยาบาลวังน้อย จ.พระนครศรี อยุธยา
                                        คือ นพ.รณชัย ตั้งมั่นอนันตกุล และ ทีมงาน
                                บทที่ 8. กรณีตัวอย่างการจัดการความรู้ในโรงพยาบาลบ้านตาก จ.ตาก
                                        คือ นพ.พิเชฐ บัญญัติ และ ทีมงาน
                                บทที่ 9.    การนำ KM ไปประยุกต์ใช้ ข้อควรระวังในการปรับใช้ การต่อยอด และ การขยายผล (ชื่อบทยังสามารถปรับเปลี่ยนได้)
                                        คือ นพ.สมชาติ โตรักษา ทีมบรรณาธิการ และ ทีมงาน
                ผมเองก็ได้เตรียมวางแผนที่จะเขียนในส่วนที่ตนเองรับผิดชอบโดยแบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือในส่วนที่เขียนความเป็นมาของการพัฒนาโรงพยาบาลบ้านตากตั้งแต่ปี 2540 ซึ่งผมจะเขียนเล่าให้เห็นการจัดการความรู้ที่ทำมาจนถึงการสรุปถอดประเด็นออกมาจนได้ตัวแบบการจัดการความรู้แบบบูรณาการ LKASA Model และส่วนที่สองจะให้คุณสุภาภรณ์ไปเก็บจากเจ้าหน้าที่โดยผ่านการสัมภาษณ์ด้วยกล้องวีดีโอแล้วค่อยมาถอดออกมาเป็นตัวอักษร
                ที่สำคัญก่อนกลับอาจารย์มหอวิจารณ์ได้ให้หนังสือการจัดการความรู้ฉบับนักปฏิบัติให้ผม 1 เล่มและได้ซีดีการจัดการความรู้ของโรงพยาบาลบ้านตากที่ทางสคส.จัดทำขึ้นใหม่เพื่อจำหน่ายมาอีก 1 แผ่น ผมเอามาเปิดดูแล้วรู้สึกทึ่งในตัวเจ้าหน้าที่ของโรงพยาบาลมากและการถ่ายทำนี้ส่วนใหญ่เป็นช่วงที่ผมไม่อยู่โรงพยาบาล ซีดีชุดนี้อาจารย์ ดร.ประพนธ์บอกว่าเวลาไปบรรยายก็จะเปิดให้ผู้ฟังบรรยายดูด้วย โดยทาง สคส.จะทำขายแผ่นละ 100 บาท ถ้าสนใจสั่งได้ที่ สคส.ครับ
หมายเลขบันทึก: 19241เขียนเมื่อ 16 มีนาคม 2006 09:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 14:33 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท