ชาวนาไทยอยู่ที่ไหน ชาติกำลังต้องการท่าน


ผมหาเพื่อนชาวนาที่จะได้เรียนการทำนาด้วยกัน แต่ก็ไม่พบเลย

 

ตั้งแต่ผมเรียนวิธีทำนามา ๓-๔ ปี  ผมพยายามเรียกตัวเองว่าเป็น “นักเรียนชาวนา”

 

เมื่อผมเป็นนักเรียนชาวนา ผมก็พยายามที่จะต้องไปนาบ่อย ๆ เพราะกลัวสอบตก ไม่ผ่านสักที

 

ในขณะเดียวกัน ผมก็พยายามสืบหาครูชาวนา หาเพื่อนเป็นชาวนา รุ่นพี่ และรุ่นน้องนักเรียนชาวนาเพื่อจะได้มาเรียนด้วยกันกับครูที่เป็นชาวนา และมาทำหน้าที่สอน ให้นักเรียนชาวนา

 

แต่ ผมหาเพื่อนชาวนาที่จะได้เรียนการทำนาด้วยกัน แต่ก็ไม่พบเลย

 

ตอนแรก ผมก็เข้าใจว่า การไปนาช้าไป หรือเร็วไป เลยไม่ค่อยเจอชาวนา

 

ผมจึงพยายามสุ่มการไปนา สุ่มไปเรื่อยๆ ว่าเวลาใดจะพบปะ เจอะเจอ ชาวนาที่ทำนาจริงๆบ้าง

 

ผมจึงวางแผนใหม่ และในบางครั้ง ผมก็ใช้วิธีสุ่มไป ตั้งแต่เวลา ตี ๕ บ้าง ๖ โมงเช้าบ้าง ๑๐ โมง  เที่ยง  บ่าย ๓ ตลอดจน ๓ ทุ่ม ๕ ทุ่ม หรือ ตี ๒  สุ่มไปเรื่อยๆ เกือบทุกวัน

 

และหวังว่า จะมีเวลาสักเวลาใดเวลาหนึ่งที่จะเจอชาวนา จะได้ถามเขาว่า เขามาทำงานเวลาใด เพราะผมอยากเรียนวิธีการทำนาด้วย

 

จนแล้วจนรอด ผมก็ยังไม่เคยเห็นชาวนาเลย มีแต่นาว่าง ๆ ไร้คน

บางทีก็มีคนขี่รถมอเตอร์ไซด์ ผ่านไปมา บ้าง บางวันเช้าบ้าง  บางวันเย็นบ้าง

มาทีไร ก็ใส่หมวกไอ้โม่ง ขี่รถไป มา ก็ไม่ค่อยได้ลงนา

ผมเลยไม่มีโอกาสรู้ว่า เขาเป็นใคร ไม่เห็นลงนา เขาขี่รถกลับไปมา

 

ผมคิดว่า เขาอาจเป็นชาวนาก็ได้ แต่ก็เห็นชี่รถ ไปมา บางทีผมก็โบกรถถามเขาว่า มาทำอะไร ที่ไหน เขาบอกว่า ผมเป็นชาวนา อยู่แถว ๆ ที่นาอาจารย์

ผมก็เลยสงสัยว่า เขาเป็นชาวนายังไง ไม่ลงนา  แล้วจะเป็นชาวนาอย่างไร

 

เหมือนอาจารย์ที่ไม่สอนหนังสือ แล้วเขาจะเรียกตัวเอง ว่าอาจารย์ ได้อย่างไร จะเป็นอาจารย์โดยตำแหน่ง ได้อย่างไร

 

 

ผมเป็นนักเรียน ที่ไปเรียน แต่ไม่เคยเห็นเพื่อนชาวนา 

 

ผมจึงอกหักมาตลอด เพื่อนก็ไม่มี รุ่นพี่ก็ไม่มี รุ่นน้องก็ไม่มี ครูก็ไม่มี เลยต้องเป็นนักเรียนชาวนาโดดเดี่ยว เรียนด้วยตนเองตามอัธยาศัย เพราะไม่รู้ว่าจะไปเรียนกับใคร

 

ผมพยายามนับรวมเวลาการมาทำงานของคนที่อ้างว่าเป็นชาวนา ปรากฏว่า เขามานากันปีละ ๕-๑๐  วัน

 

เวลาเขามา ก็มาแบบใส่หมวกไอ้โม่ง ขี่มอเตอร์ไซด์โฉบไปมา ถือว่า เขาได้มานาแล้ว

 

ผมจึงไม่เข้าใจว่า เขาเป็นชาวนาได้อย่างไร เขาแค่ขับรถโฉบไปมา

แทนที่จะลงไปสัมผัสนา ดูแลน้ำ ดิน พืช สัตว์ ผมไม่เข้าใจว่าจะดูแลนา ได้อย่างไร

 

ผมเลยสังเกตโดยวิธีหนึ่ง ว่าเขามานาตอนไหน

เลยได้จากหมอลำอีสาน ได้เวลาแต่เส้าเก้าโมง สิไปหาแม (ภาษาอีสาน) แล้วเขาก็ใช้วิธีเดียวกัน แต่เช้าเก้าโมง (ก็ คิดจะ)ไปนา แต่หลังจากคิดแล้วคิดอีก ก็เลยไม่ไป ทุกวันอาจเป็นเช่นนี้ ก็เลยไปนาแต่ในความคิด

 

เมื่อวันก่อนผมไปช่วยอบรมครูบาสุทธินันท์ ก็ได้ข้อมูลเพิ่มเติมมาว่า ผู้เข้าอบรมทุกคนบ่น คิดถึงนา ไปอยู่สวนป่า ๓ วัน นอนไม่หลับ เพราะคิดถึงนา ผมก็ดีใจ คิดว่าจะเจอชาวนาตัวจริงคราวนี้ล่ะมั้ง

 

ถามไปถามมาก็ได้ความว่า ก็แค่คิด แต่ไม่ไปถึงนา เวลากลับไปบ้าน ก็ไม่ได้ไปนาเหมือนเดิม และก็ไม่เคยไปนาเลย ในระยะ หลายวันที่ผ่านมา สงสัยการเข้าฝึกอบรมจะทำให้คนคิดถึงนาละมั้ง

 

ผมพยายามสังเกตอีกด้านหนึ่ง ว่า ถ้าเขาไปนาแล้ว เขาจะทำอะไรบ้าง อย่างมากก็ไปหลังฝนตก สัก ๒-๓  วัน ที่น้ำแห้งไปแล้ว หรือไปวันที่จะไถนา ดำข้าว แต่ไม่เคยไปนาแบบเตรียมการล่วงหน้า ก็เลยทำอะไรไม่ทันสักที น้ำก็ไม่ทัน กล้าก็ไม่ทัน ดินก็ไม่ทัน

 

พอไม่ทัน ก็ต้องไปหาคนช่วย

 

ใครหล่ะครับ จะช่วยเขาได้ มีแต่นายทุนหน้าเลือดนั่นแหล่ะครับ ยื่นมือมาช่วย พร้อมขอส่วนแบ่งก้อนโตทุกครั้ง ก็เลยกลายเป็นที่มาของการทำนา แบบขาดทุน ทุกครั้ง  เลยเป็นสาเหตุหนึ่งของความยากจน เขาคิดแต่จะพึ่งคนอื่น  คนที่เขาให้พึ่ง เขาก็ค้ากำไรกันทั้งนั้น  คนเลยไม่อยากเป็นชาวนา ไม่อยากมานา ไม่อยากทำนา เพราะอาจเห็นการทำนา เป็นเรื่องทุกข์ ไม่สนุกเลย มีแต่ขาดทุน ไม่ได้ผลประโยชน์อะไรเลย

 

แล้วกระดูกสันหลังของชาติ อยู่ตรงไหนล่ะครับ

ผมเคยท่องตำรา สมัยเด็ก  ชาวนา เป็นกระดูกสันหลังของชาติ ผมสงสัยว่า กระดูกสันหลัง อยู่ที่ไหน ผมไม่เคยเห็นเลย

บัดนี้ ผมยืนอยู่ที่นา ก็เห็นแต่นา แต่ไม่มี ชาวนา

 

เห็นแต่คนที่ทำตัวเป็นเศษขยะลอยตามน้ำ ตามกระแส แล้วยังกล้าเรียกตัวเองว่า ชาวนา

นี่แหล่ะ ชะตากรรมของประเทศไทย

 

ขาดชาวนาที่เป็นกระดูกสันหลังของชาติ แล้วเราจะพัฒนาได้อย่างไร เราจะพึ่งตัวเองได้อย่างไร ใครจะพึ่งเราได้บ้าง จะทำเนินงานตามแผนเศรษฐกิจพอเพียง ได้อย่างไร เมื่อเขาทำตัวเยี่ยงทาส รอให้คนสั่ง ค่อยทำงานตามหลังเวลาที่เหมาะสม จึงไม่สมควรเรียกตัวเองว่า ชาวนา ที่สามารถเป็นกระดูกสันหลังของชาติได้

 

แล้วต่อไป ประเทศชาติจะพัฒนา และอยู่ต่อไปได้อย่างไร

 

 ชาวนาไทย (ตัวจริง)อยู่ที่ไหนครับ ได้ยินแล้วตอบด้วยครับ

หรือ สูญพันธ์หมดแล้วครับ

 

หมายเลขบันทึก: 190624เขียนเมื่อ 26 มิถุนายน 2008 16:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 มิถุนายน 2012 21:44 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (26)

ผมคงตอบเสียงเรียกหา "ชาวนา" ของอาจารย์ไม่ได้เสียแล้วครับ ผมเป็นเพียงลูกหลานชาวนา แต่จำได้ว่า ผมเคยไปดูแลนา เฉพาะตอนเช้าๆ สายหน่อยก็กลับบ้าน แต่ถ้าจะให้อยู่ที่นาข้าวตลอดก็เฉพาะช่วงไถ่นา ดำนา และก็เก็บข้าวครับ

จะไปทำงานตอนไหนก็ได้ครับ

แตงานที่ทำจะต้องครบถ้วนไม่ตกหล่น

ตอนนี้ไม่ทำอะไร คอยแต่พึ่งคนอื่น จะเรียกตัวเองว่าชาวนาได้อย่างไร

จริงไหมครับ

สวัสดีค่ะ อ.แสวง

อ.เคยเรียนรู้การปลูกข้าวดีจังค่ะ เพราะหนูไม่เคยเรียนค่ะ หนูเรียนจบวุฒิปริญาตรี แต่หนูแย่ตรงที่ไม่เคยเรียนรู้การปลูกข้าว

วิชาการปลูกข้าวมันน่าจะเอามาลงในหลักสูตรนะค่ะ

ตอนม.ต้น มีสอนวิชาเกษตร มีให้นักเรียนลองปลูกต้น ได้ดูแลรดน้ำพรวนดิน

แต่เสียดายเราเรียนทฤษฎีเรื่องข้าว แต่ยังไม่เคยปฎิบัติปลูกข้าว

ที่โรงเรียนรุ่งอรุณมีสอนค่ะ

อยากเรียนรู้การทำนาจริงกับ อาจารย์ซะแล้วซิครับ

- ชาวนาสายพันธุ์แท้มันเป็นอย่างไรครับอาจารย์ ?

- อาจารย์ต้องการให้ชาวนา เป็นอย่างไร ถึงจะเรียกว่าชาวนาตัวจริง

- แล้วตอนนี้มีบ้านเรามีแต่ชาวนาปลอม ๆ ไม่จริงจังกับอาชีพของตนเองใช่มั๊ยครับ

- อาจจะเป็นเพราะว่า อาชีพชาวนา ไม่จูงใจให้คนเป็นชาวนาเต็มตัว

- อาจารย์ต้องแปลง อาชีพชาวนาให้เป็นวิชาชีพชาวนา ถึงจะมีชาวนาตัวจริง

- ขอเป็นกำลังใจให้อาจารย์ครับ

สวัสดีครับท่านอาจารย์

  • ขอบพระคุณท่านอาจารย์มากครับที่กระตุกให้ได้คิด และคิดได้ว่า ...ชาวนากำลังจะสูญพันธุ์จริง ๆ...?

 

ความทรงจำเมื่อวันวาน

  • ผมจำได้ตอนเด็ก ๆ พ่อจับขึ้นนั่งหลับบนหลังควายไปนาตั้งแต่ฟ้ายังไม่สางทุกวัน...และทุกวันถ้ายังมองเห็นลายมืออยู่จะยังไม่คิดจะกลับบ้าน
  • สำหรับรุ่นพ่อที่เป็นชาวนาแล้ว ยึดหลักอิทธิบาท 4 ตามธรรมชาติอย่างแท้จริง ท่านเห็นต้นข้าวต้นหญ้าทุกต้นทุกวัน
  • ภูมิปัญญาชาวบ้านถ่ายทอดผ่าน On the job trainning ภาคปฏิบัติอย่างแท้จริง
  • เรา เทียบเคียงแข่งดี กันที่ "รอมข้าว" และ กองฟาง
  • เราโสกัน (Voice Dialogues) บนริมคันนา ลานข้าว และเถียงนาทุกวัน
  • เราลงแขกบูรณาการใจกันตลอดโดยไม่ต้องร้องขอ
  • เรามีพรหมวิหาร 4 ให้ป่น ให้ปู ปลา อย่างมีความสุข
  • ...แต่... แม่ผมก็ท่านก็พร่ำบ่นสั่งและสอนตลอดว่า ตอนดำนา เกี่ยวข้าว ใครอยากสบาย ต้องหนีจากนาแห่งนี้ให้ได้ ต้องเรียนหนังสือเก่ง ๆ ให้ได้เป็นเจ้าเป็นนาย เป็นข้าราชการ

ความเป็นจริงของวันนี้

  • กระดูกสันหลังของชาติ ถูกทำให้รู้สึกไร้เกียรติ ต่ำต้อย ลดลง ทุกปี ทุกปี ทุกปี เรื่อย ๆ  จนละอาย (ต้องปิดหน้าปิดตา)
  • ใครหนีนาไม่ได้ จะถูกเรียกว่า ล้มเหลว
  • เมื่อเป็นเจ้าเป็นนาย เป็นข้าราชการไม่ได้ ก็หลบเข้าไปขายแรงงานใน กอทอมอ หลบหน้า หลบตา ไปให้พ้น ๆ จากที่นา และแอบกลับมาดมกลิ่นท้องนาบ้างตอนเทศกาลกฐิน ผ้าป่า กอทอมอ
  • คำว่า ลำบากกาย สุขใจ แต่ไร้เกียรติ เริ่มหมดความหมาย ฟังไม่ขึ้น เข้าถึงยาก ยากขึ้น ยากขึ้นเรื่อย ๆ
  • ลูก ๆ หลาน ๆ ที่เกิดใหม่ถึงวัยกลางคน (รุ่นปัจจุบัน) ทำนาไม่เป็นแล้วครับ
  • อันตราย! ภูมิปัญญาขาดช่วง ไร้คนสานต่อ นี่คือวิกฤตแห่งอนาคตอย่างแท้จริงดั่งที่ท่านอาจารย์เปิดประเด็นไว้ครับ

ท่านคุณครูแสวงครับ

ชาว(บ้าน)นาเหล่านี้ อยู่ระหว่างเดินทางไปแสวงหาสัจธรรมแบบเดียวกับชาวกัมพูชา ชาวลาว(สปปล) และพม่า ยังไม่กลับครับE10

ส่วนชาว(บ้าน)นาที่ปลดระวางแล้วก็กำลังช่วยงานสังคมอยู่ครับ Dsc01902

ส่วน(ว่าที่)ชาว(บ้าน)นาตัวน้อยๆ ก็กำลังเลียนรู้ความสุข(ไปวันๆ)อยู่ที่นี่ครับDsc01909

ชาวนาจริงๆ ต้องอยู่และทำอย่างรู้เท่าทัน รู้กัน รู้แก้

จึงจะแกร่ง ครับ

หัวข้อนี้จ๊าบจริงๆ

ชาวนาอยู่ไหน?

คนไทยอยู่ไหน?

ความรู้อยู่ไหน?

ความรักอยู่ไหน?

ไหนๆ  อยู่ไหน?

สุดยอดครับอาจารย์ สงสัยต้องให้นักร้องเพลงป็อป แบบพี่เบริด์ หรือไม่ก็พวกลูกทุ่งดังๆ ร้องเพลง ชาวนาหายไปไหน เพื่อที่จะได้แสดงตนออกมาซะที

สิ่งที่ชาวนาหรือคนที่ทำเกษตรในปัจจุบันพร่ำบ่นว่าสินค้าเกษตรราคาตกต่ำ ทำแล้วขาดทุน ทุกคนไม่เคยหันมาดูตัวเองเลยว่า ตัวเองทำอะไรบ้าง

1 ทำเกษตรแบบจุดธูปขอพรจากเทวดามากเกินไปหรือเปล่า คือไม่ทำอะไรเลย ไม่เคยไปดูแลแปลง อย่างที่อาจารย์กำลังตามหาชาวนาไงครับ ปลูกเสร็จแล้วแล้วกัน ค่อยไปอีกทีตอนเก็บเกี่ยว หรือไม่ก็มีปัญหาหนักๆเช่นน้ำท่วมหนักหรือแมลงลงหนักมากๆแล้ว ซึ่งมันก็สายเกินแก้แล้ว

2 1ปีมี 365 วัน คุณต้องกินข้าว 365วันแต่คุณมีรายได้แค่ช่วงเก็บเกี่ยวเท่านั้น เช่นถ้าคุณทำนาปีคุณก็จะมีรายได้แค่ ไม่กี่วันช่วงเก็บเกี่ยว แต่ระยะเวลาที่เหลือหล่ะคุณเอาเวลาไปทำอะไร ไม่อยู่เฉยๆ ก็เข้าเมืองทำงานโรงงาน คุณมีที่ดินอยู่แต่ไม่นำมาใช้ให้เต็มประสิทธิภาพเลย จริงๆแล้วหมดข้าวคุณก็สามารถปลูกอย่างอื่นได้ที่มันทนแล้งหน่อย ยังไงก็แล้วแต่ผมก็ยังยืนยันความคิดของผมว่าทำสินค้าเกษตรในฤดูกาลผลิตของเค้าแท้ๆ เกษตรกรจะได้ประโยชน์สูงสุดครับ ต้นทุนการผลิตของคุณจะต่ำที่สุดเลย ขอแค่ใจที่เกินร้อยอีกเท่านั้นแหละ

3 ตัดค่าใช้จ่ายฟุ่มเฟือยต่างๆ ออกไปซะบ้าง โทรศัพท์มือถือต่างๆ หรือแม้แต่มอเตอร์ไซด์ที่ต้องใช้น้ำมันลิตรละ 42 บาท คุณน่าจะสามารถขี่จักรยานไปทำงานได้ หรืออย่างภาพในอดีตเช่นกระท่อมปลายนา ซึ่งก็จะทำให้คุณลดทอนค่าใช้จ่ายหลายๆอย่างลงไปได้ เมื่อคุณออกมาทำนา ภาพในอดีตมันแสดงออกมาว่าคุณแทบไม่ต้องใช้เงินเลยครับ ผักก็มีตามคันนา ปลาก็มีอยู่ในนา ข้าวก็ปลูกเอง แล้วคุณต้องใช้เงินอะไรอีกครับ แต่ภาพในปัจจุบันมันถูกตัดฉับแสดงให้เห็นว่า คุณอยู่บ้านที่อยู่ในเมืองหรือไกลออกมาจากแปลงที่นาซักหลายๆกิโลจนต้องขับรถไปทำนา เมื่อคุณอยู่บ้านคุณก็ต้องซื้อกิน ชาวนาพกโทรศัพท์มือถือเดินไปเดินมาคุยโทรศัพท์เล่นกัน

ผมว่าอาจารย์มาถูกทางมากแล้วครับที่แสดงให้ชาวนาอีกหลายๆคนให้เห็นเป็นตัวอย่าง

ขอบคุณข้อมูลดีๆเหล่านี้อีกครั้งครับ

เป็นไปได้มั๊ยที่ชาวนาจะรวมกลุ่มกันในระดับหมู่บ้านหรือแค่ 20-30คนจัดการบริหารงานเองตั้งแต่ผลิตจนถึงสีข้าวแล้วบรรจุถุงแล้วนำไปขาย เดียวนี้การจัดส่งทางไปรษณีย์สะดวกมากกว่าแต่ก่อนเยอะเลย ผมอยากซื้อข้าวจากชาวนาโดยตรงมาทานบ้างครับเพราะทุกวันนี้ก็ทานข้าวกล้องอยู่แล้ว ลูกๆทั้งสองคนก็ชอบทานข้าวกล้อง อีกทั้งทานแล้วรู้สึกว่าอิ่มนานกว่าข้าวขาวด้วย ทำให้ประหยัดค่าของว่างลงไปอีก

ผมว่า เราเดินมาผิดทาง อย่างแรง

ชาติไทยเรากำลังขาดกระดูกสันหลังแบบธรรมชาติ

และคิดว่าเหล็กดามกระดูกสันหลังจะดีกว่ากระดูกของเดิม

เราจะได้กลับคินไหม หรือว่าจะเสียแบบเปลี่ยนไปเลย

 

ที่ท่านอ.แสวงเล่ามาทั้งหมดผมเห็นว่าอาจไม่จริงทั้งหมด เพราะที่บ้านผมไม่ตรงกลับที่อ.เล่ามาเลย ยกตัวอย่างเช่น แมผมซึ้งเป็นรับราชการครู และทำนาไปด้วยก็ไปนาทุกวัน โดยที่ไปไม่ได้ไปตอนเส้า(ที่ว่าเส้า9โมง)แต่แม่ผมไปนาตั้ง 6 โมงเช้าแล้วถึง 7 โมงก็กลับมาแต่งตัวเตรียมไปสอนหนังสือ แล้วตอนเย็นก็ไปอีก กว่าจะกลับมาก็ค่ำ และอีกคนที่ผมเห็นก็คือลุงผม ไปนาทุกวันตั้งแต่เช้า กลับมาก็เย็น เพราะลุงผมเป็นชาวนา ก่อนหน้านี้ เป็น ผู้ใหญ่บ้าน กำนัน และสจ. จากนั้นก็กลับมาเป็นชาวนาเต็มตัวดั้งเดิมซึ่งแต่ก่อนมาอาชีพเสริมอย่างที่ผมได้กล่าวมา ซึ้งผมก็เห็นอย่างนี้ก็เลยเล่าให้อ.ฟังครับ ผมก็ได้ไปช่วยบ้างครั้งเท่านั้นเอง

ผมรู้จักเถ้าแก่สวนส้มรายใหญ่แห่งหนึ่งที่อำเภอฝางจังหวัดเชียงใหม่ เค้าพูดว่าเค้าต้องออกไปคุยกับต้นส้มแสนรักของเค้าทุกวัน ตั้งแต่วันที่เค้ายังไม่ประสบความสำเร็จจนกระทั่งถึงทุกวันนี้ ในวันที่ที่เค้าประสบความสำเร็จเป็นสวนส้มที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศไทยครับ

คุยกับต้นส้มทุกวัน ไม่ได้หมายความว่าต้นส้มมันพูดได้หรอกครับ แต่ไปดูไปสังเกตุอาการต่างๆของเค้าว่าเค้าเป็นอย่างไรบ้าง ขาดเหลืออะไรหรือเปล่า มีแมลงอะไรมารังแกเค้ามากเกินไปหรือเปล่า เค้าพร้อมที่จะออกดอก จากดอกมาเป็นผลส้มให้เราแล้วหรือยัง และอื่นๆอีกมากมาย ต้นส้มเค้าไม่สามารถพูดได้หรอกครับ แต่เค้าแสดงอาการทางกายภาพออกมาได้ เมหือนกับภาษากายของมนุษย์เรานี้แหละครับ

นั่นนะซิ

ท่านทำนาอยู่ที่หนึ่ง ผมอยู่อักที่หนึ่ง จะไปเจอกันได้อย่างไร

ผมจะไปเรียนกับท่านได้อย่างไรละครับ

นาน่าจะอยู่ใกล้กันนะครับ เสียดายจริงๆ

คงเรียนไปได้หรอกครับ เพราะแม่ผมก็เป็นนักเรียนชาวนาเหมือนกันเพราะพึ่งมาทำนาเมื่อไม่กี่ปีที่แล้วเองครับ

นี่ไงคะ ชาวนาตัวจริง เป็นชาวนาที่มีอุดมการณ์มาแต่เล็กแต่น้อย ได้เรียนวิธีการทำนา

ออกไปเดินตามทุ่งนาอย่างชำฉองเกือบทุกวัน ตื่นก่อนไก่โห้ นอนหลังไก่หลับ แต่จนทุกวันนี้ก็ยังไม่มีที่นาของตัวเอง อาจารย์พอรู้ไม๊คะว่ามีใครอยากขายที่นา ที่ชาวนาแท้ๆ อย่างเราสามารถซื้อได้ ที่ได้อยากที่นามาทำ ไม่ใช่เพราะราคาข้าวแพง แต่มันเป็นความฝันที่อยากทำจริงๆคะ

ขอบคุณครับ

อยากเห็นชาวนาตัวจริงครับ ถ้าอยากได้ที่ ข้างๆนาผม ประกาศขายอยู่หลายแปลง ให้โทร.ติดต่อมาได้ แล้วผมจะติดต่อให้

ความจริงวันนี้ของชาวนาตัวปลอม..ชาวนาตัวจริงเป็นโลกสันหลังหวัะเพราะถูกฟัน(จากระบบเศรษฐกิจ)ชาวนาตัวปลอมอยากช่วยชาวนาตัวจริง...ซื้อที่ดินชาวนาตัวจริงไปโก่งราคาประกันราคาข้าว...ชาวนาต้องดำนาเงิน..(แล้วจึงจะไปดำนาข้าว)...อาจารย์ลองวิจัยดูซิ....แล้วหาทางออกให้เราชาวนาตัวปลอมหน่อยแล้วก็จะได้นำทัพกลับไปช่วยชาวนาตัวจริง...เวลาและวารีไม่เคยคอยใคร...

อยากรู้ว่า เรื่องดินเย็นเป็นยังไงครับ เพราะว่าเขาบอกว่าถ้าหว่านข้าวหลังเดือนกรกฏาคม ดินมันจะเย็นครับ ผมจะลองหว่าน เดือนสิงหาครับ

เรียนท่านอาจารย์แสวงที่เคารพ

  บันทึกนี้ ท่านอาจารย์โดนใจวัยรุ่นจริงครับผม ขอบอกว่"แจ่มมาก" ครับผม

    นิสิต

ผมไม่ทราบครับ

อาจจะแฉะหรือชื้นมาก ข้าวงอกน้อยมั้งครับ

เพราะผมทำเร็วกว่านั้น เลยไม่มีความรู้ครับ

น่าภูมิใจครับ หลายคนก็อยากกลับไปทำนานะ แต่ก็ไปไม่รอดคำตอบก็คือไปเป็นลูกจ้างขายแรงงานนะดีกว่าครับ หากเป็นดร.แล้วไปทำนาน่าสน เพราะมันประสพความสำเร็จตั้งแต่เขียนบันทึกนี้แล้วครับ ..คนทำนาเดิมควรต้องมีความรู้อย่างมากควรเป็นดร.ครับ

ชาวนาตัวจริงกว่าผมก็มีมากครับ

แต่อาจอยู่คนละที่ ไม่ค่อยพบกัน

จึงต้องทำงานเป็นเครือข่ายกันครับ

นี่คือพลังในการทำงาน และกำลังใจที่พึงพาอาศัยกันอยู่ครับ

ปริญญาต้องวัดกันที่ผลลัพธ์สุดท้ายของการทำงานครับ

ไม่ควรวัดกันที่กระดาษเปื้อนหมึก ที่นิยมแขวนไว้ติดฝาผนัง

ขอบคุณครับ

ขอสมัครเป็นสมาชิก ด้วยคนครับอาจารย์ ตอนนี้ก็หัดเป็นนักเรียนชาวนาอยู่ แต่ก็ทำได้เพียงเสาร์อาทิตย์ เพราะทำงานไกลบ้าน กลับบ้านทีไร เหมือนสารอินโดฟินมันหลั่ง มีความสุขได้แบกจอบ แบกแหตามหลังพ่อ แบบว่าตอนนี้ท่าน 70 แล้ว นึกถึงตอนเป็นเด็ก ตอนเช้าตื่นขี่ควาย ไปส่งพ่อที่ทุ่งนา พ่อแบกไถตาม แล้วกลับมาอาบน้ำไปโรงเรียน พ่อบอกเมื่อก่อนฤดูทำนา ผู้คนจะครึกครืน ลงนากันตั้งแต่เดือน หก ถึงเดือน เก้า แต่เดี๋ยวนี้ ชาวนาทำนากันแค่ 3 วัน เหมือนอาจารย์ว่าจริงๆ

ด้วยความยินดีครับ

เปิดรับ ๒๔ ชั่วโมง ไม่มีวันหยุดครับ

อิอิ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท