เรื่องน่าปวดหัวของไวรัสและโปรแกรมป้องกันกำจัดไวรัส


เรื่องน่าปวดหัวของไวรัสและโปรแกรมป้องกันกำจัดไวรัส

        พักนี้ไม่รู้เป็นอะไรมีปัญหาเครื่องติดมัลแวร์กันน่าดู เครื่องผู้เขียนเองก็เช่นกันไม่วายต้องฟอร์แมตฮาร์ดดิสก์ไปหลายรอบแล้วเพราะเจอประเภทหนังเหนียวฆ่ายังงัยก็ไม่ตาย หรือแม้แต่กระทั่งบนเครื่องแม่ข่ายกรมส่งเสริมการเกษตรก็ยังไม่วายมีคนแจ้งว่ามีการติดไวรัส ตอนนี้ในเครื่องของผู้เขียนเองติดตั้งโปรแกรมป้องกันและกำจัดไวรัสที่ชื่อว่า Avira Antivir (ฟรี) ไว้  โปรแกรมตัวนี้ดูเหมือนจะหูตาไวเป็นพิเศษที่สำคัญมันทำให้โปรแกรมทะเบียนเกษตรกร offline ในเครื่องผู้เขียนไม่สามารถรันได้ เพราะมันพบว่ามีไฟล์นามสกุล jsp บางไฟล์มีสคริปต์ที่ไม่ปลอดภัย นอกจากนั้นยังแจ้งว่ามีเว็บแอพพลิเคชั่นบางตัวบนเครื่องแม่ข่ายกรมส่งเสริมการเกษตรมีสคริปต์ที่ไม่ปลอดภัย ทำให้เปิดเว็บนั้นไม่ได้ ผู้เขียนชอบตรงที่มันดูจะหูตาไวเป็นพิเศษ ผู้เขียนเคยดาวน์โหลดโปรแกรม Clamwin ซึ่งเป็นโปรแกรมป้องกันกำจัดไวรัสทีให้ใช้ได้ฟรีๆ มาติดตั้งในเครื่องและทดลองใช้งานดูรู้สึกว่ามันจะจับไวรัสไม่ค่อยได้เอาเสียเลย จึงถอนทิ้งไป ตอนหลังมาใช้ Avira Antivir  ก็เห็นว่ามันตรวจจับไวรัสได้ค่อนข้างดีกว่าหลายๆ ตัว แต่ไม่รู้ว่าดีเกินไปหรือเปล่าที่มันเที่ยวไปตรวจเจอดะไปหมดจนไม่รู้ว่าไวรัสจริงหรือเป็นสคริปต์ที่มีโครงสร้างคล้ายไวรัสกันแน่

       หลังจากที่ต้องฟอร์แมตฮาร์ดดิสก์ไปหลายรอบก็รู้สึกเบื่อจึงจำเป็นที่จะต้องหาวิธีมาต่อสู้กับไวรัส ก็ไปเจอคำแนะนำมาจาก
เว็บไซต์ต่างๆ เขาแนะนำว่า

       1. เมื่อลง Windows และ โปรแกรมที่สำคัญๆ เสร็จแล้วก็ให้จัดการโคลนพาร์ติชั่นของไดรฟ์ C ด้วยโปรแกรมอย่าง Norton Ghost หรือ Acronis True Image จากนั้นเก็บใส่ DVD ไว้  (ผู้เขียนชอบ Acronis มากกว่า Notron Ghost แม้จะรู้สึกว่าตอน Recovery ดูจะช้ากว่า Norton) จากนั้นก็ทำแผ่น Boot ของ Acronis ถ้าเป็น Norton Ghost มันจะมีแผ่น Recovery แยกมาต่างหาก

       2. จากนั้นลงโปรแกรม  DeepFreeze เพื่อแช่แข็ง Drive C เสีย  ในเวลาใช้งานปกติทั่วไปเราก็ยกเลิกการแช่แช็ง แต่เวลาที่เราจะทำอะไรที่มีความเสี่ยงเช่นติดตั้งโปรแกรมที่โหลดมาจากเน็ตก็จัดการแช่แข็งเสีย

      3. หาโปรแกรม CPE17 Autorun Killer มาลงซะเพื่อช่วยป้องกันพวก Autorun Virus ที่ติดมากับhandy drive  ความจริงผู้เขียนเคยใช้ AHDV ที่เขียนด้วย Visual Foxpro แต่โปรแกรมตัวนี้เวลามันทำงานจะเปิดหน้าต่างป๊อบอัพขึ้นซ้อนกันหลายหน้าต่างทำให้รู้สึกน่ารำคาญ แถมชอบลบไฟล์ exe ใน handy drive อีกต่างหาก  ก็เลยเปลี่ยนมาใช้ CPE17 แทน แต่เป็นที่น่าสังเกตุว่าเวลานำ handy drive ที่มีไวรัสมาเสียบก็จะโดน Avira Antivir ตรวจเจอก่อนทุกที   เมื่อวันที่ 23-25 มิ.ย. 2551 ไปอบรมคุณลิขิตที่กรมส่งเสริมการเกษตร ผู้เขียนเอา handy drive ไปเสียบ Notebook ที่ผู้จัดนำมาใช้ในการสัมมนาก็ยังไปติดไวรัสมาเลย ใครที่ไปสัมมนาคราวนี้แล้วไปใช้บริการเครื่องที่ติดไวรัสก็คงได้ของแถมกลับไปด้วยแน่ๆ

         วิธีที่เขาแนะนำมาก็ถือว่าใช้ได้ผลพอสมควร แม้ว่าจะไม่ใช่วิธีการแก้ปัญหาที่ต้นเหตุ แต่ปัญหาที่ต้นเหตุมันแก้ยาก เพราะฉะนั้นถ้าแก้ที่ปลายเหตุพอบรรเทาความเหนื่อยไปได้บ้างก็ยังดี แต่ถ้าไม่อยากเจอไวรัส ก็ลองหันไปใช้ Linux ดูซิครับ ผู้เขียนก็ใช้ Linux Mint อยู่ คราวหน้าจะลองไปเขียน Blog ใน Linux Mint ดูครับ

 

หมายเลขบันทึก: 190615เขียนเมื่อ 26 มิถุนายน 2008 15:13 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 00:45 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

หวัดดีครับ

  • ขอบคุณที่ แบ่งปัน ข้อมูล ความรู้ด้านไอที ให้กับชาวส่งเสริมฯเรา

สวัสดีครับ

ของผมใช้มันจนกว่าจะเปิดไม่ได้แล้วก็เสียตังค์ลงใหม่ 300 บาท

ยุคนี้ต้องประหยัดครับ 300 บาทผมเติมน้ำมันมอเตอร์ไซต์วิ่งได้หลายวันเลยน๊ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท