ไม้ตะกู ไม้โตเร็วที่น่ารู้จัก


ไม้ตะกูปลูก 5 ปี ได้ความโต 1 คนโอบจริงหรือ ?

ไม้ตะกูปลูก 5 ปี ได้ความโต 1 คนโอบจริงหรือ  ?

ไม้ตะกู หรือ  กระทุ่ม มีชื่อทางพฤกษศาสตร์ว่า  Anthocephalus chinensis Rich. ex Walp. อยู่ในวงศ์  Rubiaceae  พบกระจายพันธุ์ตามธรรมชาติเกือบทั่วประเทศ  มีชื่อสามัญเรียกแตกต่างกันไปตามท้องถิ่นว่า ไม้กระทุ่มหรือกระทุ่มบก (ภาคกลางและภาคเหนือ) ตะโกใหญ่ หรือตะโกส้ม (ภาคตะวันออก) และตุ้มขี้หมู (ภาคใต้) ไม้ตะกูเป็นไม้เบิกนำที่เจริญเติบโตได้เร็วมากชนิดหนึ่ง แต่ปัจจัยแวดล้อมที่สำคัญมากต่อการเจริญเติบโตของไม้ตะกูคือ ปริมาณความชื้นทั้งในดินและอากาศ  โดยไม้ตะกูที่พบในธรรมชาติมักพบที่ราบลุ่มบริเวณใกล้แหล่งน้ำเช่นร่องห้วย หุบในป่าที่ชุ่มชื้น ริมหนองน้ำ หายากที่จะพบบริเวณที่ไกลจากแหล่งน้ำหรือตามลาดเขาที่สูงชัน  ถ้าจะปลูกเป็นสวนป่าก็ควรต้องปลูกเลียนแบบสภาพความเป็นอยู่ในธรรมชาติจึงจะเจริญเติบโตได้ดี  จากรายงานการศึกษาที่สวนป่าลาดกระทิง   จังหวัดฉะเชิงเทรา เมื่ออายุประมาณ  6  ปีครึ่ง ไม้ตะกูมีความสูงเฉลี่ยประมาณ  12.62  เมตร  มีความโตทางเส้นรอบวง  56.8  ซม.  (เส้นผ่านศูนย์กลาง 18.7 ซม.)  ในประเทศฟิลิปปินส์  Manzo et al. (1971)  ได้บันทึกไว้ว่า ในเวลา  12  ปี  ตะกูสามารถเจริญเติบโตถึงขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางเฉลี่ย  45  ซม. และสูง  12.6  เมตร  ที่เปอร์โตริโก สวนป่าตะกูที่นำพันธุ์ไปจากเอเชียบางต้นหลังจากปลูกแล้ว  5  ปี มีความโตทางเส้นผ่าศูนย์กลางถึง  38.10  ซม.  และสูง  15  เมตร โดยที่หมู่ไม้ตะกูอายุ  17  ปี จำนวน 37 ต้น ที่ขึ้นหลังจากเกิดวาตภัยเมื่อปี 2532 ในบริเวณร่องห้วยในป่าธรรมชาติในจังหวัดชุมพร พบว่า มีความสูงเฉลี่ยประมาณ  23.5  เมตร  มีความโตทางเส้นผ่าศูนย์กลางเพียงอกเฉลี่ย  44.75  ซม.

หมู่ไม้ตะกูอายุ 17 ปี ตามธรรมชาติที่จังหวัดชุมพร

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ลักษณะทั่วไปของไม้ตะกู

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 


ไม้ตะกูสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการทำเครื่องเรือน  ไม้ประสาน กรอบและบานหน้าต่าง งานกลึง แกะสลัก ทำพื้นและฝาที่ใช้งานในร่ม   ทำไม้อัด ไม้บาง ก้านไม้ขีดไฟ ไฟเบอร์บอร์ด พาร์ติเคิลบอร์ด แปรงลบกระดาน และรองเท้าได้เป็นอย่างดี   การใช้ประโยชน์ที่สำคัญอีกประการหนึ่งของไม้ตะกู ได้แก่ ใช้ในการทำเยื่อและกระดาษ

 

ในด้านคุณภาพของเนื้อไม้ ไม้ตะกูถูกจัดให้อยู่ในประเภทไม้เนื้อแข็งปานกลางแต่ความทนทานตามธรรมชาติต่ำ/ไม่มี โดยหลักเกณฑ์การแบ่งไม้เนื้ออ่อนเนื้อแข็งตามมาตรฐานกรมป่าไม้

โดยพิจารณาจาก

1.       ค่าปริมาณความชื้น (moisture content) หมายถึงปริมาณความชื้นที่มีอยู่ในเนื้อไม้ คิดเป็นส่วนร้อยของน้ำหนักไม้อบแห้ง

2.       ความถ่วงจำเพาะ (specific gravity) หมายถึงอัตราส่วนของน้ำหนักไม้อบแห้งต่อน้ำหนักของปริมาตรเท่านั้น

3.       ความแน่น (density) หมายถึงอัตราส่วนน้ำหนักต่อปริมาตรของไม้ที่มีความชื้นในขณะที่ทำการทดลองเป็นเกณฑ์

4.       ความแข็งแรงจากการตัด (static bending)

4.1  ค่าสัมประสิทธิ์ของการหัก (M.O.R.) หมายถึงแรงสูงสุดที่ทำให้ไม้แตกหัก   เสียหาย

4.2  ค่าสัมประสิทธิ์ของการยืดหยุ่น (M.O.E., ค่าความแข็งตึง) เป็นค่าที่ชี้ความดื้อของไม้จากการตัด

5.       ความแข็งแรงจากการบีบขนานเสี้ยน (compression// to grain) คือ ค่าแรงบีบสูงสุดตามแนวเสี้ยน

6.       ความแข็งแรงจากการเชือดขนานเสี้ยน (shear// to grain) คือ ค่าแรงเชือดสูงสุดที่ทำให้ไม้ขาดออกจากกันแนวขนานเสี้ยน

7.       ความเหนียวจากการเดาะ (impact bending) คือค่าพลังงานที่ใช้ทำให้ไม้หัก เป็นค่าที่บอกความเหนียวของไม้ที่มีต่อแรงกระแทก

8.       ความแข็ง (hardness) คือ ค่าน้ำหนักที่ใช้ในการกดลูกปืนให้จมลงไปในเนื้อไม้ในระดับที่กำหนด

9.       ความทนทานตามธรรมชาติจากการทดลองปักดิน (durability)  คือ ความทนทานตามธรรมชาติของไม้ที่ฝังดิน เพื่อดูความคงทนต่อมอด ปลวก และต่อการผุ (ธีระและคณะ, 2533)

 

ในด้านคุณสมบัติในการใช้งาน ทั้งการเลื่อย การไส การเจาะและการกลึงทำได้ ค่อนข้างง่าย ส่วนการยึดเหนี่ยวตะปูมีน้อย การขัดเงาทำได้ง่ายมาก

 

 

 

 

 

 

 

 

เนื้อไม้มีทั้งสีน้ำตาลอ่อนและสีเหลืองอ่อน

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 


ตารางที่ 1. เปรียบเทียบคุณสมบัติของไม้โตเร็วบางชนิดกับไม้ตะกู

           ที่มา : กลุ่มงานพัฒนาผลิตผลป่าไม้ สำนักวิจัยการจัดการป่าไม้และผลิตผลป่าไม้ กรมป่าไม้ (2548)

จากตารางที่ 1 จะเห็นได้ว่าเมื่อเปรียบเทียบความแข็งแรงกับไม้โตเร็วบางชนิด  เช่น  ยางพารา จำปาป่า กระถินเทพา และยูคาลิปตัสแล้ว ไม้ตะกูมีค่าความแข็งแรง  ความเหนียวจากการเดาะและความแข็งต่ำที่สุด

 

ส่วนเรื่องราคาไม้ตะกูยังไม่ชัดเจนนัก เนื่องจากไม่มีเผยแพร่จากกลุ่มผู้ค้าไม้ และราคาจากการสอบถามชาวบ้านแต่ละท้องที่ก็ยังไม่แน่นอน

 

                    แต่ข้อจำกัดของการปลูกไม้ตะกูก็คือ ถ้าปลูกในที่ค่อนข้างแห้งแล้งและสภาพแวดล้อมไม่ใกล้เคียงกับความเป็นอยู่ในธรรมชาติดังที่กล่าวข้างต้นแล้ว  จะได้ผลผลิตที่ดีดังที่มีการโฆษณาเพื่อชักชวนให้ปลูกหรือไม่  อีกทั้งควรมีการตรวจสอบวงปี (annual ring)โดยผู้เชี่ยวชาญทางกายวิภาคและการพิสูจน์ไม้เสียก่อนว่าสวนป่าไม้ตะกูที่มีความโตประมาณ 1 คนโอบมีอายุการปลูกประมาณ 5-6 ปีจริงหรือไม่  เพื่อความมั่นใจได้ว่าเกษตรกรหรือเอกชนผู้สนใจจะปลูกสร้างสวนป่าไม้ตะกูจะไม่ถูกหลอกลวงหรือโฆษณาชวนเชื่อเกินความเป็นจริงเพื่อขายกล้าไม้ซึ่งมีราคาสูงมากในตลาดซื้อขายกล้าไม้ โดยอยู่ระหว่างช่วงราคาประมาณต้นละ  70-150  บาทหรือถ้าไม้ตะกูเป็นไม้ที่มีการเจริญเติบโตที่เร็วมากดังกล่าวจริง  คุณภาพของเนื้อไม้จะเป็นอย่างไรบ้าง  เนื่องจากโดยทั่วไปแล้วการปลูกสร้างสวนป่าถ้ามีการเร่งให้ต้นไม้มีการเจริญเติบโตมากเร็วเกินไปแล้วคุณภาพเนื้อไม้และความแข็งแรงทนทานก็จะต่ำลงไปด้วย  เพราะฉะนั้นก่อนที่ท่านจะพิจารณาที่จะปลูกไม้ตะกูโดยซื้อกล้าไม้มาปลูกควรคิดให้รอบคอบเสียก่อนว่าคุ้มค่ากับการลงทุนหรือไม่ มิฉะนั้นแล้วประวัติศาสตร์จะไปซ้ำรอยกับไม้เพาโลเนีย  ซึ่งมีการการโฆษณาเพื่อชักชวนให้ปลูกเพื่อที่จะทำกำไรในการขายกล้าไม้ในราคาแพงของผู้ประกอบการและก็ไม่ได้ผลดีจริงเหมือนอย่างที่บอก

 

คำสำคัญ (Tags): #ต้นตะกู
หมายเลขบันทึก: 190430เขียนเมื่อ 25 มิถุนายน 2008 17:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 2 มิถุนายน 2012 21:07 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

หวัดดีครับ

  • เคยได้ยิน ข่าวโฆษณา ทาง วิทยุ ทีวี เหมือนกัน แต่ยังไม่รู้รายละเอียด
  • ขอบคุณที่นำมาฝาก
เมล็ดพันธุ์ดาวเรืองงตัดดอกลูกผสม ภูพานเพชร เมล็ดพันธุ์ดาวเรืองกระถางลูกผสม ภูพานทอง

เมล็ดพันธุ์ดาวเรืองงตัดดอกลูกผสม ภูพานเพชร เมล็ดพันธุ์ดาวเรืองกระถางลูกผสม ภูพานทอง

Marigold Seeds F1 PhuPhanPhet – PhuPhanThong

hạt giống hoa cúc vạn thọ (PhuPhanPhet) - PhuPhanThong

เมล็ดพันธุ์ดาวเรืองลูกผสม ภูพานเพชร

ความสูงต้น 70-100 ซม. ขนาดดอก 8-10 ซม. อายุออกดอก 58 วัน หลังเพาะเมล็ด

Marigold Seed F1 PhuPhanPhet

Plant Height 70-100 cm. Flower size 8-10 cm. first flower 58 days after seedling.

hạt giống hoa cúc vạn thọ (PhuPhanPhet)

Cây cao từ 70-100 cm cho hoa kích thước 8-10cm. Cây sẽ ra hoa sau 58 ngày gieo hạt

เมล็ดพันธุ์ดาวเรืองลูกผสม ภูพานทอง

ความสูงต้น 30-45 ซม. ขนาดดอก 7-9 ซม. อายุออกดอก 45 วัน หลังเพาะเมล็ด

Marigold Seed F1 PhuPhanThong

Plant Height 30-45 cm. Flower Size 7-9 cm. first flowering 45 days after seedling

hạt giống hoa cúc vạn thọ (PhuPhanThong)

Cây cao từ 30-45cm cho hoa kích thước 7-9cm. Cây sẽ ra hoa sau 45 ngày gieo hạt

ดูรายละเอียด เพิ่มเตืม

www.agroforests.com

www.phuphanphet.com

www.greenbullseed.com

Email: [email protected]

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท