เกิดเป็นมนุษย์นี้แสนยาก ตอนเกิดเป็นเด็กผู้หญิงอินเดีย


องค์กร "แอคชั่นเอด" (ActionAid) แห่งสหราชอาณาจักร (หมู่เกาะอังกฤษ) และศูนย์วิจัยการพัฒนานานาชาติหรือ IDRC แห่งแคนาดา (International Development Research Center) ทำการสำรวจพื้นที่ต่างๆ ในอินเดีย เพื่อตรวจหาชะตากรรมเด็กผู้หญิงอินเดียในพื้นที่หลายแห่ง

...

การเกิดเป็นมนุษย์นี้ได้มาด้วยยาก ทว่า... ถ้าไปเกิดผิดที่ บางทีเกิดมาแล้วก็อาจจะไม่มีชีวิตรอดปลอดภัยไปได้

วันนี้มีข้อมูลชะตากรรมของเด็กผู้หญิงอินเดียมาฝากครับ

...

องค์กร "แอคชั่นเอด" (ActionAid) แห่งสหราชอาณาจักร (หมู่เกาะอังกฤษ) และศูนย์วิจัยการพัฒนานานาชาติหรือ IDRC แห่งแคนาดา (International Development Research Center) ทำการสำรวจพื้นที่ต่างๆ ในอินเดีย เพื่อตรวจหาชะตากรรมเด็กผู้หญิงอินเดียในพื้นที่หลายแห่ง

แหล่งตัวอย่างที่ทำการสำรวจประกอบด้วยบ้านมากกว่า 6,000 แห่ง ในพื้นที่ 5 รัฐทางตะวันตกเฉียงเหนือของอินเดีย

...

ผลการศึกษาพบว่า เด็กผู้หญิงในอินเดียมีอัตราการถูกทำแท้งสูงขึ้น เมื่อคลอดออกมาแล้วก็ถูกทอดทิ้ง เช่น ปล่อยให้ตาย ปล่อยให้สายสะดือติดเชื้อ ซึ่งทำให้เด็กแรกคลอดติดเชื้อตายได้ ฯลฯ มากขึ้น

พื้นที่สำรวจแห่งหนึ่งอยู่ในรัฐปันจาบ (Punjab)... ที่นั่นมีสัดส่วนเด็กผู้ชายต่อเด็กผู้หญิงเท่ากับ 1,000:300 หรือมีสัดส่วนเด็กผู้ชาย 1,000 คนต่อเด็กผู้หญิง 300 คน

...

ปกติเด็กแรกเกิดจะมีสัดส่วนผู้ชายมากกว่าผู้หญิงเล็กน้อยในสัดส่วน 1,000 ต่อ 950

เมื่อเด็กๆ เหล่านี้โตขึ้น... สัดส่วนผู้ชายจะค่อยๆ น้อยลง เนื่องจากตายจากอุบัติเหตุ การทะเลาะวิวาท โรคเอดส์ สงครามมากกว่า แถมผู้ชายยังมีอายุสั้นกว่าผู้หญิงอีกต่างหาก

...

พื้นที่สำรวจ 3 ใน 5 แห่งพบมีสัดส่วนเด็กผู้หญิงน้อยกว่า 800 ต่อเด็กผู้ชาย 1,000 คน

พื้นที่สำรวจอีก 4 ใน 5 แห่งพบมีสัดส่วนเด็กผู้หญิงลดลงเรื่อยๆ ตั้งแต่ปี 2001 หรือ พ.ศ. 2544

...

สาเหตุที่ทำให้สัดส่วนเด็กผู้หญิงลดลงคือ การตรวจคลื่นเสียงความถี่สูงหรืออัลตราซาวด์ (ultrasound) ในผู้หญิงตั้งครรภ์หรือท้อง

เมื่อตรวจพบเด็กผู้หญิง... คุณแม่คุณพ่อส่วนหนึ่งจะทำแท้งเสีย หรือปล่อยให้ตายหลังคลอด

...

ปี 1994 หรือ พ.ศ. 2537 มีการออกกฎหมายห้ามทำแท้ง เพื่อเลือกเพศเด็ก หลังจากนั้นพบว่า มีการปล่อยให้เด็กผู้หญิงแรกเกิดตาย เช่น ปล่อยให้สายสะดือติดเชื้อ ฯลฯ เพิ่มขึ้น

ข้อมูลจากวารสารแพทย์แลนเซท (Lancet) พบว่า 20 ปีที่ผ่านมา... มีการทำแท้ง เพื่อทำลายทารกเพศหญิงในอินเดียประมาณ 10 ล้านคน

...

การเกิดเป็นมนุษย์นี้แสนยาก... เกิดมาแล้ว เรียนเสนอให้พวกเราใช้ชีวิตให้มีค่าทุกวัน อย่างน้อยก็ขอให้แสดงความชื่นชมคนรอบข้างให้ได้วันละ 1 ครั้ง หรือมากกว่านั้น

การศึกษาที่ผ่านมาพบว่า การแสดงความชื่นชม (อนุโมทนา / appreciation) ในการทำดีของคนอื่นทำให้เกิดการหลั่งสารความสุขในสมอง (เอนดอร์ฟีน / endorphin) ทำให้คนอนุโมทนาพลอยมีความสุขไปด้วย

...

ถึงตรงนี้... ขอให้พวกเรามีสุขภาพดีไปนานๆ ครับ

 ...

ที่มา                                                  

  • Thank BBC > India baby girl deaths 'increase' > [ Click ] > June 21, 2008. / source > Lancet.
  • ข้อมูลและการอ้างอิงในบล็อก "บ้านสุขภาพ" เป็นไปเพื่อส่งเสริมสุขภาพ และป้องกันโรค ไม่ใช่รักษาโรค
  • ท่านที่มีโรคประจำตัว หรือมีความเสี่ยงต่อโรคสูง... ควรปรึกษาหมอ พยาบาล เภสัชกร หรืออนามัยที่ดูแลท่านก่อนนำข้อมูลไปใช้
  • ขอขอบพระคุณ > สำนักงานสาธารณสุขลำปาง + โรงพยาบาลห้างฉัตร + ศูนย์แพทย์ชุมชนแม่สัน-เมืองยาว (CMU) ลำปาง > ท่านผู้อนุเคราะห์สถานที่ทำงาน + อินเตอร์เน็ต + เทคนิค iT.
  • ขอขอบคุณ > อาจารย์ณรงค์ ม่วงตานี (ต้อม) + อาจารย์พัสกร บุณยะประภูติ (เบนซ์) iT ศูนย์มะเร็งลำปาง > สนับสนุนเทคนิค iT.
  • นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์ ศูนย์แพทย์ชุมชน (CMU) โรงพยาบาลห้างฉัตร ลำปาง > 23 มิถุนายน 2551.
หมายเลขบันทึก: 190425เขียนเมื่อ 25 มิถุนายน 2008 17:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 พฤษภาคม 2012 07:51 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

สวัสดีค่ะ

แวะมาอ่านเกร็ดข้อมูลความรู้ที่น่าสนใจค่ะ

ขอบคุณค่ะ

ตามมาอ่านเรื่องอินเดียครับ

ของเมืองไทย ... ยิ่งใกล้วันแห่งความรัก ... น่าเป็นห่วงค่ะ

....

*** วาเลนไทน์ หญิงชาย พร้อมใจภักดิ์
หลอมรวมรัก ถักทอ ต่อเติมฝัน
เรียนรู้จิต พิชิตใจ สายสัมพันธ์
เฝ้ารอวัน รักเราพร้อม ถนอมตัว
แม้นรักแท้ แม้นจริงใจ ในความรัก
สามิภักดิ์ รักแนบจิต คิดถ้วนทั่ว
พร้อมร้อยรัก พร้อมก่อร่าง สร้างครอบครัว
ใช่เพียงชั่ว ข้ามคืน รักยืนยาว ....... ( รักจริงหวังแต่ง )
....
ขอบคุณ กัลยาณมิตร คุณบัวแดง ค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท