โรงปุ๋ยอินทรีย์ 1 อำเภอ 1 โรง (1)


จัดขบวนในรูปTask Forceเพื่อทำงาน

วันนี้จะมีการประชุมกลุ่มผลิตปุ๋ยอินทรีย์โครงการ 1 โรงปุ๋ย1อำเภอที่ศูนย์บริการวิชาการ ม.วลัยลักษณ์เป็นเจ้าของเรื่องเวลา 5 โมงเย็นเป็นต้นไป เพื่อนผมคือ อุทัย แกล้วกล้าเป็น รักษาการประธานกลุ่ม ดึงผมมาเป็นรักษาการรองประธาน
โครงการนี้เป็นการผสมผสานโครงการวิจัยถ่ายทอดเทคโนโลยีของสกอ.และโครงการโรงปุ๋ยของวว.(ชื่อย่อเต็มไปหมด)โดยเรามาจัดขบวนในรูปTask Forceเพื่อทำงาน เมื่อวานเราหารือกันเพื่อจัดทำร่างโครงสร้างให้รักษาการคณะกรรมการพิจารณากันในวันนี้ คือ มีผู้ถือหุ้นประกอบด้วย
1)ศบว.โดยงบจากสกอ.บางส่วนและวว.
2)สหกรณ์ออมทรัพย์และพนักงานของม.วลัยลักษณ์
3)ชาวอ.ท่าศาลาซึ่งเป็นบุคคลทั่วไปและกลุ่ม/องค์กรชุมชนโดยเริ่มจากชุมชนสาธิตม.วลัยลักษณ์ซึ่งร่วมเป็นคณะกรรมการชุดรักษาการนี้ด้วย

 

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 1904เขียนเมื่อ 2 สิงหาคม 2005 09:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 13:54 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

อยากทราบรูปแบบ และกระบวนการมีส่วนร่วมของชาวบ้านค่ะ และไม่ทราบว่าโครงการนี้เป็นโครงการของรัฐหรือเปล่าค่ะ

ถ้าใช่

ปุ๋ยอินทรีย์ปล่อยให้ชาวบ้านเขาทำกันเองได้ และชาวบ้านเขาก็กำลังทำกันอยู่อย่างสนุกสนาน เพียงแต่ต้องส่งเสริมเรื่องกระบวนการรวมกลุ่ม ให้เขาทำกันเอง ถ้าหากเป็นโครงการของรัฐ แบบนี้พอรัฐเอามาทำเสียเอง ชาวบ้านเขาก็ขาดแคลนวัตถุดิบ อันนี้เป็นเสียงสะท้อนของชาวบ้านที่เขาทำปุ๋ยอินทรีย์จริงๆ

เรื่องนี้ แทนที่จะปล่อยให้เขาทำกันเอง ใช้กันเอง จะได้รู้คุณค่า จากการลงมือปฏิบัติเอง รู้กระบวนการทำกันเอง

 

โรงปุ๋ยที่ตั้งขึ้นเป็นโรงปุ๋ยของชุมชนที่จะมีขึ้นทุกอำเภอๆละ 1 โรงโดยชาวบ้านในพื้นที่เป็นผู้ดำเนินการ แต่ในส่วนที่จะเกิดขึ้นในชุมชนสาธิตม.วลัยลักษณ อ.ท่าศาลาเป็นโรงปุ๋ยต้นแบบของจ.นครศรีธรรมราชที่ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี(วว.)และโครงการวิจัยถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตปุ๋ยอินทรีย์จากวัสดุเหลือใช้สู่ชุมชน      สนับสนุนโดยสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา           (สกอ.)   มีภารกิจในการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตปุ๋ยอินทรีย์ที่ถูกต้องตามหลักของปุ๋ยอินทรีย์ให้กับชุมชน

ในส่วนของชาวบ้านที่ทำกันอยู่ทั่วไปนั้น ส่วนใหญ่ยังไม่ถูกต้องตามมาตรฐานของปุ๋ยอินทรีย์ซึ่งกรมวิชาการเกษตรกำหนด และจะเป็นปัญหาเรื่องคุณภาพปุ๋ยซึ่งจะส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของผู้ใช้ปุ๋ยอินทรีย์และผลผลิตทางการเกษตรต่อไปในอนาคต

บทบาทของม.วลัยลักษณ์โดยคลินิคเทคโนโลยีได้รับมอบหมายให้รับผิดชอบจ.นครศรีธรรมราชและจ.กระบี่ในการสนับสนุนการจัดตั้งโรงปุ๋ยชุมชนดังกล่าว ซึ่งไม่ใช่เป็นการดำเนินงานของมหาวิทยาลัยหรือหน่วยงานของรัฐใด ๆ ม.วลัยลักษณ์เป็นเพียงผู้ริเริ่มโรงงานต้นแบบทั้งในส่วนของการผลิตและการบริหารจัดการซึ่งจะถ่ายโอนให้กับชุมชนเป็นผู้ดำเนินการด้วยตัวเองในโอกาสต่อไป

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่อุทัย แกล้วกล้า โทร09-7300579

รบกวนขอเบอร์ติดต่อกับ คุณภีค ด้วยคะ จะขอเสนอราคาเครื่องชั่งดิจิตอลคะเบอร์โทรกลับของวรดา 083-5559504 ค่ะ

หวังว่าคฃจะได้คุญกับคุณภีคนะค่ะ

ขอบคุณคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท