การดูแลและส่งเสริมสุขภาพมารดาวัยรุ่นหลังคลอด


การดูแลและส่งเสริมสุขภาพมารดาวัยรุ่นหลังคลอด

ผลงานที่เป็นผลการดำเนินงานที่ผ่านมา

1.

 

ชื่อผลงานเรื่อง

การดูแลและส่งเสริมสุขภาพมารดาวัยรุ่นหลังคลอด

2.

 

ระยะเวลาที่ดำเนินการ เริ่มตั้งแต่เดือน สิงหาคม 2549-เดือนกุมภาพันธ์ พ.

.2550

3.

 

สัดส่วนของผลงานในส่วนที่ตนเองปฏิบัติ 100

%

 

ผู้จัดทำผลงาน

นางดรุณี ทองคำฟู

5.

 

บทคัดย่อ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ปัจจุบันเป็นยุคโลกาภิวัฒน์ มีการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีอย่างรวดเร็วส่งผลให้ประชาชน โดยเฉพาะวัยรุ่นต้องได้รับผลกระทบจากสิ่งยั่วยุทางเพศต่าง ๆ ทำให้วัยรุ่นมีเพศสัมพันธ์กันอย่างอิสระมากขึ้น แต่ขาดซึ่งความรู้ความเข้าใจในการวางแผนการคุมกำเนิด ส่งผลให้วัยรุ่นกลุ่มนี้ มีการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ และต่อเนื่องมาถึงการเป็นมารดาวัยรุ่น ทั้งที่ยังไม่พร้อมในด้านต่าง ๆ ทำให้เกิดปัญหาตามมามากในระยะหลังคลอด เช่น ภาวะแทรกซ้อนที่เป็นอันตรายต่อทั้งสุขภาพของมารดาและทารก รวมทั้งปัญหาการทอดทิ้งบุตร

ผลการดำเนินงานพบว่ามารดาวัยรุ่นควรได้รับการดูแลโดยมุ่งเน้นการให้การพยาบาลแบบองค์รวม ทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม เศรษฐกิจ รวมถึงการสนับสนุนทางสังคมที่มีอิทธิพลต่อมารดาวัยรุ่น และพยาบาลยังเป็นที่ปรึกษาและให้คำแนะนำโดยการวางแผนร่วมกับมารดาวัยรุ่นและบุคคลใกล้ชิด การประสานงานกับบุคลากรในทีมการพยาบาลและสหสาขาวิชาชีพ ในการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ของมารดาวัยรุ่น โดยการสร้างสัมพันธภาพที่ดี เพื่อให้มารดาวัยรุ่นมีความไว้วางใจและมั่นใจ และให้ความร่วมมือในการปฏิบัติพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพ เพื่อให้มารดาวัยรุ่นและทารกมีสุขภาพที่ดี และสามารถวางแผนการดำเนินชีวิตได้อย่างเหมาะสม

6.

บทนำ

จากสภาพสังคมปัจจุบันที่มีการเปลี่ยนแปลงในด้านต่าง ๆ เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วในยุคโลกาภิวัฒน์ รวมถึงอิทธิพลของสิ่งแวดล้อมภายนอก และสื่อต่าง ๆ ที่มีเนื้อหายั่วยุและเอื้ออำนวยให้วัยรุ่นมีเพศสัมพันธ์กันอย่างมีอิสระมากขึ้น โดยที่ยังขาดความรู้ ความเข้าใจในการป้องกันการตั้งครรภ์ และขาดความพร้อมในการมีชีวิตครอบครัว

เมื่อวัยรุ่นต้องมาเป็นมารดา นับเป็นภาวะวิกฤตอีกช่วงหนึ่งที่มารดาวัยรุ่นต้องเผชิญ เพราะนอกจากจะต้องมีการปรับตัวตามพัฒนาการของวัยรุ่นแล้ว ยังเป็นเวลาที่อยู่ในช่วงของการเปลี่ยนแปลงในระยะหลังคลอด มารดาวัยรุ่นจะมีการเปลี่ยนแปลงด้านร่างกาย เพื่อให้อวัยวะต่าง ๆ ของร่างกายกลับสู่ภาวะปกติเหมือนก่อนตั้งครรภ์ มารดาวัยรุ่นจะพบกับปัญหาหรืออาการไม่

สุขสบายต่าง ๆ ได้ เช่น อาการปวดมดลูก ปวดแผล การคัดตึงเต้านม และท้องผูก หรือแม้แต่ภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจากการคลอด เป็นต้น มารดาวัยรุ่นจะมีความวิตกกังวลต่อรูปลักษณ์ที่

เปลี่ยนแปลงไปในระยะตั้งครรภ์ และที่เกิดจากผลของการคลอด เช่นบาดแผลที่เกิดจากการคลอด สำหรับทางด้านสุขภาพจิตของมารดาวัยรุ่น พัฒนาการทางด้านจิตใจมักยังไม่พร้อมที่จะเป็นมารดา และอาจจะมีความคิดว่าตนเองจะไม่สามารถแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นได้ หรือเลี้ยงลูกได้ไม่ดี ด้านสังคมและเศรษฐกิจ จะพบว่ามารดาวัยรุ่นในระยะหลังคลอดจะมีการดำเนินชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไปมาก บางคนต้องพักการเรียน หรือต้องออกจากโรงเรียน และทำให้การมีปฏิสัมพันธ์กับกลุ่มเพื่อน หรือกับเพศตรงข้ามเปลี่ยนแปลงไป และจากการที่สูญเสียโอกาสทางด้านการศึกษา มีความรู้ความสามารถน้อย ทำให้ไม่มีงานทำ หรือต้องทำงานที่ต้องใช้แรงงาน มีรายได้ต่ำ ทำให้ต้องพึ่งพาความช่วยเหลือด้านสวัสดิการจากรัฐ หรือจากครอบครัว ในการใช้จ่ายเลี้ยงดูบุตร จึงอาจกล่าวได้ว่าการเป็นมารดาในช่วงวัยรุ่นเป็นภาวะวิกฤตค่อนข้างสูง และเป็นปัญหาด้านสาธารณสุขอีกปัญหาหนึ่งของประเทศ

จากการศึกษาการพยาบาลมารดาวัยรุ่นในระยะหลังคลอดพบว่ามารดาวัยรุ่น เมื่อเกิดการตั้งครรภ์และการคลอด มักจะมีปัญหาในการปฏิบัติหน้าที่มารดา เนื่องจากวัยรุ่นเป็นวัยที่เชื่อมโยงระหว่างวัยเด็กกับวัยผู้ใหญ่ เป็นระยะหัวเลี้ยวหัวต่อของชีวิต ชีวิตในบั้นปลายจะราบรื่นหรือไม่เพียงใดขึ้นอยู่กับการดำเนินชีวิตในระยะหัวเลี้ยวหัวต่อ เพราะเหตุว่าต้องประสบปัญหากับความยุ่งยากต่าง ๆ มากมายในการปรับตัวต่อบทบาทของการเป็นมารดา ปัญหาทางด้านสังคม ครอบครัว ค่านิยม และพฤติกรรมต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง

พยาบาลเป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการช่วยเหลือดูแลมารดาวัยรุ่น โดยเฉพาะมารดาวัยรุ่น

ที่ไม่ได้วางแผนการตั้งครรภ์มาก่อน พยาบาลควรตระหนักถึงความสำคัญในการให้การดูแลส่งเสริมสุขภาพมารดาวัยรุ่นและการให้คำปรึกษาในระยะหลังคลอดอย่างต่อเนื่อง เพื่อช่วยให้มารดาวัยรุ่นได้ลดความวิตกกังวล สามารถเผชิญกับภาวะเครียดและปัญหาในครอบครัวได้ และ การดูแลส่งเสริมสุขภาพมารดาวัยรุ่นจะช่วยให้มารดาและทารกมีสุขภาพที่ดีต่อไป

7.

วัตถุประสงค์

1.

เพื่อใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติการพยาบาลและพัฒนาคุณภาพการบริการพยาบาล มารดาวัยรุ่น

2.

เพื่อส่งเสริมให้มารดาวัยรุ่นหลังคลอดปฏิบัติพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพที่ถูกต้อง ส่งผลให้มารดาและบุตรมีสุขภาพที่ดีต่อไป

 

8.

วิธีการดำเนินงาน/วิธีการศึกษา/ขอบเขตของงาน

1.

รวบรวมข้อมูล ศึกษาข้อมูลทั่วไปของมารดาวัยรุ่นหลังคลอด และทารก ประวัติครอบครัว ประวัติการเจ็บป่วย การตั้งครรภ์ การคลอด การตรวจร่างกายทั่วไป การตรวจทางห้องปฏิบัติการ การวินิจฉัย การรักษาของแพทย์

2.

นำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อค้นหาปัญหา วางแผนการพยาบาลตามกระบวนการพยาบาลให้ครอบคลุมทั้ง 4 มิติ (ร่างกาย จิตใจ อารมณ์ และสังคม

)

3.

วางแผนเพื่อให้การพยาบาลตามลำดับความสำคัญของปัญหา

4.

ให้การพยาบาลตามวัตถุประสงค์ เพื่อให้เพื่อใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติการพยาบาลและพัฒนาคุณภาพการบริการพยาบาลมารดาวัยรุ่นและเพื่อส่งเสริมให้มารดาวัยรุ่นหลังคลอดปฏิบัติพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพที่ถูกต้อง ส่งผลให้มารดาและบุตรมีสุขภาพที่ดีต่อไป

5.

ติดตามและประเมินผล รวบรวมข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ เพื่อเป็นแนวทางในการปรับปรุงพัฒนาการดูแลและส่งเสริมสุขภาพมารดาวัยรุ่นหลังคลอด

การเปลี่ยนแปลงและพัฒนาการของมารดาวัยรุ่น

มารดาวัยรุ่น

(Adolescent mother)

วัยรุ่นเป็นวัยแห่งการเปลี่ยนแปลงทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคมและสติปัญญาอย่างรวดเร็วจากวัยเด็กสู่วัยผู้ใหญ่ โดยถือเอาเกณฑ์ ความพร้อมของวุฒิภาวะทางเพศเป็นจุดเริ่มต้น และความพร้อมทางด้านสังคมเป็นจุดสิ้นสุด อาจแบ่งพัฒนาการของวัยรุ่นออกเป็น

3 ระยะ คือ วัยรุ่นตอนต้นอายุ 12-14 ปี วัยรุ่นตอนกลางอายุ 15-17 ปี และวัยรุ่นตอนปลายอายุ 18

ปี

ส่วนพัฒนาการของวัยรุ่นอาจแบ่งได้เป็น

5

ด้านดังนี้

1.

พัฒนาการทางร่างกาย การเจริญเติบโตจะเห็นได้เด่นชัดมากคือ จะมีน้ำหนักและส่วนสูงเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ในเด็กหญิงเริ่มมีลักษณะทางเพศทุติยภูมิเกิดขึ้น คือ มีสะโพกและทรวงอกขยายขึ้น รังไข่เริ่มทำงานและมีประจำเดือน นับเป็นจุดเริ่มต้นของวุฒิภาวะทางเพศ วัยรุ่นตอนกลางสามารถเข้าใจถึงการเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกายของตนได้ดี และวัยรุ่นตอนปลายจะยอมรับการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ได้ดี

การศึกษาเกี่ยวกับการดูแลมารดาวัยรุ่นหลังคลอดได้ ผู้จัดทำได้รวบรวมข้อมูล เอกสารวิชาการต่าง ๆ และจากประสบการณ์ในการดูแลมารดาวัยรุ่นหลังคลอดมาเป็นแนวทางในการดูแลและส่งเสริมสุขภาพมารดาวัยรุ่น ดังนี้

 

 

2.

พัฒนาการด้านอารมณ์ วัยรุ่นมักมีอารมณ์รุนแรงและเปลี่ยนแปลงง่าย เปิดเผยตรงไปตรงมา มีความรู้สึกไวต่อสิ่งต่าง ๆ รอบตัว มักแสดงออกถึงความชอบและไม่ชอบอย่างรุนแรง ต้องการความอิสระ ชอบพึ่งตนเอง จึงมักขัดแย้งกับผู้ใหญ่และฝ่าฝืนกฎที่วางไว้ วัยรุ่นยังต้องการการตัดสินใจเอง และต้องการยอมรับจากเพื่อนกลุ่มเดียวกันและผู้ใหญ่ นอกจากนี้ยังมีความวิตกกังวลเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของรูปร่างหน้าตา



3.

พัฒนาการด้านสังคม วัยรุ่นมักต้องการให้ตนเป็นที่ยอมรับของกลุ่ม พยายามทำตัวให้เข้ากลุ่มเพื่อนวัยเดียวกัน พิถีพิถันเรื่องการแต่งตัวให้เหมือนเพื่อนหรือตามแฟชั่น มีการเลียนแบบกริยา ท่าทาง ความประพฤติ สำนวนการพูด หรือสัญญาลักษณ์ประจำกลุ่ม วัยรุ่นไม่ชอบรวมกลุ่มกับสมาชิกในครอบครัว กลุ่มเพื่อนจะมีอิทธิพลมากกว่า วัยรุ่นตอนต้นมักขลาดอาย และกลัวการเข้าสังคม วัยรุ่นตอนกลางจะแสวงหาลักษณะประจำตน โดยการเลียนแบบบุคคลที่ชื่นชอบ ส่วนวัยรุ่นตอนปลายมีประสบการณ์ทางสังคมมากขึ้น มักยอมรับความต้องการของผู้อื่นได้



4.

พัฒนาการด้านสติปัญญา เป็นช่วงที่สติปัญญาเจริญสูงสุด เซลสมองพัฒนาเต็มที่ มีความสามารถในการคิดอย่างมีตุผลมากขึ้น เรียนรู้จากประสบการณ์โดยการลองผิดลองถูก แต่ขาดการไตร่ตรองถึงผลได้ผลเสีย วัยรุ่นตอนต้นยังมีความคิดเป็นรูปธรรมสูง คิดเฉพาะสิ่งที่ได้เห็นได้ยิน ไม่สามารถวางแผนระยะยาวได้ วัยรุ่นตอนกลางมีความสามารถในการคิดแบบนามธรรมมากขึ้น สนใจผู้อื่น และรู้จักสังเกตความรู้สึกที่คนอื่นมีต่อตนเองได้มากขึ้น พยายามหาข้อบกพร่อง เพื่อแก้ไขและต้องการการทำตนเองให้ประทับใจผู้อื่น ส่วนวัยรุ่นตอนปลายจะมีความคิดใกล้เคียงกับผู้ใหญ่มากขึ้น คิดเป็นนามธรรมได้แต่ไม่ทั้งหมด มองปัญหาด้วยความเข้าใจจริง



5.

พัฒนาการทางด้านเพศ วัยรุ่นจะมีวุฒิภาวะทางเพศเต็มที่ และสามารถมีบุตรได้



2

อย่างในเวลาเดียวกัน คือภาวะวิกฤตจากการเป็นวัยรุ่นและภาวะวิกฤตจากการเป็นมารดา ทำให้มารดาวัยรุ่นเกิดความเครียดรู้สึกขัดแย้งอย่างมาก จากการที่ต้องปฏิบัติพัฒนกิจจากการเป็นมารดา ในขณะ เดียวกันก็ต้องปฏิบัติพัฒนกิจของการเป็นวัยรุ่น การที่วัยรุ่นต้องเป็นมารดาทำให้วัยรุ่นมีการดำเนินชีวิตที่เปลี่ยนไปมาก ต้องรับผิดชอบหน้าที่ของการเป็นมารดาที่เร็วเกินไป ต้องพึ่งพาบิดามารดาหรือผู้อื่นในการเลี้ยงดูบุตร ทำให้รู้สึกขาดอิสระในการดำเนินชีวิต จึงมักพบว่ามารดามีความลังเลที่จะยอมรับบุตร

 

การเปลี่ยนแปลงของมารดาวัยรุ่นในระยะหลังคลอด

ระยะหลังคลอด หมายถึงช่วงเวลาที่ร่างกายของสตรีคลอดบุตรเปลี่ยนแปลงคืนสู่สภาพก่อนการตั้งครรภ์ ทั้งด้านกายวิภาค

 

(Anatomy) และสรีระวิทยา (Physiology) ซึ่งจะกินเวลาประมาณ 6-8

สัปดาห์ ซึ่งนอกจากจะมีการเปลี่ยนแปลงของร่างกายแล้ว ยังเป็นระยะที่มีการเปลี่ยนแปลงด้านจิตใจของมารดาอย่างมาก เพราะมารดาจะต้องปรับตัวให้ได้กับบทบาทของการเป็นมารดาและยังต้องรักษาบทบาทของภรรยาไว้ด้วย

1.

 

ระบบอวัยวะสืบพันธุ์

(Involution) ตามลำดับ หรือจนกระทั่งคลำขนาดของมดลูกไม่ได้ทางหน้าท้องภายหลังคลอดประมาณ 2 สัปดาห์ และมดลูกจะกลับสู่ขนาดปกติก่อนการตั้งครรภ์ภายใน 4-6 สัปดาห์หลังคลอด นอกจากนี้จะมีเลือดและเนื้อเยื่อสลายตัวออกจากโพรงมดลูก ปากมดลูก ซึ่งเรียกว่า น้ำคาวปลา” (Lochia) ในระยะ 2-3

วันแรกจะมีสีแดงจัดและ

10 น้ำคาวปลาจะหมดไปภายใน 3

สัปดาห์หลังคลอด

2-3 วันหลังคลอดจะสามารถสอดนิ้วเข้าไปในมดลูกได้ประมาณ 2 นิ้วมือ จนกระทั่งประมาณปลายสัปดาห์ที่ 1

จะคืนสภาพเดิมเกือบสมบูรณ์ช่องคลอดและปากช่องคลอด ช่องคลอดที่ถูกยืดขยายจากการคลอดจะลดขนาดลงเรื่อย ๆ

2.

เต้านม

Vascular proliferation และ engorgement ซึ่งการเปลี่ยนแปลงนี้จะทำให้ขนาดของเต้านมใหญ่ขึ้นและตึงขึ้น ซึ่งจะเห็นได้ชัดเจนในราววันที่ 2-5 หลังคลอด ใน 2-3 วันแรกหลังคลอดเต้านมจะสร้างน้ำนมเหลือง (Colostrum) ซึ่งจะมีส่วนประกอบคล้ายน้ำนมปกติ แต่มีปริมาณโปรตีนและเกลือแร่มากกว่า โดยทั่วไปในวันที่ 3-5

หลังคลอด จะมีการผลิตน้ำนมธรรมดาแทนน้ำนมเหลือง

3.

ระบบไหลเวียนของเลือดและหัวใจ

(Physiologic edema)

ฯลฯ หลังคลอดปริมาณเลือดจึงจะลดลงสู่ระดับปกติเหมือนก่อนตั้งครรภ์

4.

ระบบทางเดินปัสสาวะ

(Ureter) และกรวยไต (Renal pelvis) ที่ขยายขึ้นระหว่างการตั้งครรภ์ จะกลับคืนสู่ขนาดปกติภายหลังคลอด 2-8 สัปดาห์ และภายหลังคลอด ใน 2-3 วันแรกมารดาหลังคลอดจะเกิดภาวะ diuresisได้ นอกจากนี้หลังคลอดมักจะมีอาการเจ็บแผลผีเย็บ และระหว่างคลอดศีรษะทารกจะกดบริเวณกระเพาะปัสสาวะ หรือบริเวณ neck of bladder ทำให้บริเวณนั้นบวม จึงอาจเป็นสาเหตุให้มารดาหลังคลอดถ่ายปัสสาวะลำบากในช่วง 2-3

วันแรกคลอด

5.

ระบบทางเดินอาหาร

2-3

วันแรก มักมีความอยากอาหาร ดื่มน้ำมาก เพราะสูญเสียน้ำระหว่างคลอดและหลังคลอด นอกจากนี้ระยะแรกหลังคลอด

6.

ระบบประสาท

(Mental truma)

ระหว่างคลอด

7.

ระบบกล้ามเนื้อและกระดูก

6-8

สัปดาห์

8.

ระบบต่อมไร้ท่อ

24 ชั

หมายเลขบันทึก: 190068เขียนเมื่อ 24 มิถุนายน 2008 15:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 20:28 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ขอรายระเอียดเพิ่มเดิมคร่มัน งง งง  คร่ข้อความ บางหัวข้อขาดหายไปคร่


พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท