คำศัพท์ด้านการลงทุน


คำศัพท์

ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับคำศัพท์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนในหลักทรัพย์กันนะค่ะ...

หมายเลขบันทึก: 188544เขียนเมื่อ 17 มิถุนายน 2008 13:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 20:39 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (92)

1. หุ้นสามัญ (Common stock) เป็นตราสารประเภทหุ้นทุน ซึ่งออกโดยบริษัทมหาชนจำกัด

2. หุ้นบุริมสิทธิ์ (Preserred stock) เป็นตราสารประเภทหุ้นทุน แต่มีข้อแตกต่างจากหุ้นสามัญ คือ หุ้นบุริมสิทธิ์จะได้รับชำระเงินก่อน

3. หุ้นกู้ (Debenture) เป็นตราสารที่บริษัทเอกชนออก เพื่อกู้เงินระยะยาวจากผู้ลงทุน

4. หุ้นกู้แปลงสภาพ (Convertible Debenture) คล้ายกับหุ้นกู้ แตกต่างกันที่ช่วงระยะเวลา

5. ใบสำคัญแสดงสิทธิ์ (Warrant) เป็นตราสารที่ระบุว่าผู้ถือครองจะได้รับสิทธิจองซื้อหุ้นต่างๆ ในราคาที่กำหนดเมื่อถึงระยะเวลาที่กำหนดไว้

6. ใบสำคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ (Derivative warrant) เป็นตราสารที่มีลักษณะคล้ายคลึง กับใบสำคัญแสดงสิทธิทั่วไป

7. หน่วยลงทุน (Unit trust) คือตราสารที่ออกโดยบริษัทหลักทรัพย์ จัดการกองทุนรวมในรูปหน่วยลงทุน

8. ตลาดเงิน (money market) เป็นแหล่งกลางในการระดมเงิน และจัดสรรเงินระยะสั้น

9. ตลาดทุน (capital market) เป็นกลางในการระดมเงินทึน และจัดสรรเงินทุนระยะยาว

10. ตลาดแรก (primary) เป็นแหล่งการในการเสนอขายและซื้อขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่

1.ทฤษฎีเสี่ยงสูง-ผลตอบแทนสูง (High Risk – High Return)

ทฤษฎีในการลงทุนที่แสดงให้ทราบถึงหลักการลงทุนว่า การลงทุนย่อมมีความเสี่ยง และ หากการลงทุนประเภทใดมีความเสี่ยงสูง ก็ย่อมมีโอกาสได้รับผลตอบแทนสูงตามไปด้วย แต่ในขณะเดียวกันก็มีโอกาสสูญเสียเงินต้นเช่นกัน

2.ขาดทุนจากส่วนเกินทุน (Capital Loss)

ผลขาดทุนที่เกิดจากการลงทุน ซึ่งไม่นับส่วนเงินต้นที่ลงทุนไป

3.กำไรจากส่วนเกินทุน (Capital Gain)

ผลกำไรตอบแทนที่ได้รับจากการลงทุน ซึ่งเป็นส่วนกำไรเท่านั้น ไม่นับส่วนเงินต้นที่ลงทุนไป

4.ACQUISITION OF ASSET ( การได้มาซึ่งสินทรัพย์ )

การเข้าซื้อหรือรับโอนหรือแลกเปลี่ยนเพื่อให้ได้มาซึ่งสินทรัพย์ของบริษัทอื่น เช่น การซื้อหุ้นทุน การแลกหุ้นกัน การซื้อที่ดิน การซื้อสิทธิการเช่าอาคาร การซื้อสิทธิการใช้ที่ดินหรืออาคาร เป็นต้น ทั้งนี้ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย มีข้อกำหนดให้บริษัทจดทะเบียนต้องเปิดเผยข้อมูลตามนัยสำคัญแห่งการได้มาซึ่งสินทรัพย์ของบริษัทอื่น

5.BLUE CHIP (หุ้นชั้นดี)

หุ้นสามัญของบริษัทที่มีการดำเนินงานที่มั่นคง สามารถทำผลกำไรให้เติบโตและรักษาระดับเงินปันผล อย่างสม่ำเสมอต่อเนื่องยาวนาน อีกทั้งมีชื่อเสียงในด้านคุณภาพของผู้บริหาร สินค้าและบริการ

6.BOARD LOT (หน่วยซื้อขาย)

หุ้นสามัญของบริษัทที่มีการดำเนินงานที่มั่นคง สามารถทำผลกำไรให้เติบโตและรักษาระดับเงินปันผล อย่างสม่ำเสมอต่อเนื่องยาวนาน อีกทั้งมีชื่อเสียงในด้านคุณภาพของผู้บริหาร สินค้าและบริการ

7.BOOK VALUE (มูลค่าหุ้นตามบัญชี)

มูลค่าของหุ้นสามัญ 1 หุ้น ที่ได้จากการประเมินค่าสินทรัพย์สุทธิ (Net Asset Value) ต่อหุ้นตามงบดุลล่าสุดของบริษัทผู้ออกหุ้น ซึ่งหมายความว่าหากบริษัทนี้เลิกกิจการและสามารถนำสินทรัพย์ รวมถึง หนี้สินต่างๆ ไปแปรเป็นเงินสดได้ตามมูลค่าที่ระบุในงบดุลนั้นแล้ว ผู้ถือหุ้นจะได้รับเงินคืนในจำนวน เท่ากับมูลค่าตามบัญชีต่อการถือหุ้น 1 หุ้น

8.BROKER-DEALER (นายหน้าผู้ค้าหลักทรัพย์)

บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตทำธุรกรรมหลักทรัพย์ ทั้งในฐานะ Broker และในฐานะ Dealer

9.CASH DIVIDEND (เงินสดปันผล)

เงินปันผลที่ได้จัดสรรให้แก่ผู้ถือหุ้นในรูปของเงินสด บริษัทส่วนมากจะจ่ายเงินปันผลในรูปของเงินสด เว้นแต่จะมีเหตุอื่นที่ทำให้เกิดผลดีแก่ผู้ถือหุ้นในระยะยาวมากกว่า บริษัทจึงจะจ่ายปันผลในรูปอื่น

10.CONVERTIBLE DEBENTURE (หุ้นกู้แปลงสภาพ)

หุ้นกู้ประเภทที่ระบุสิทธิแก่ผู้ถือที่จะแปลงสภาพหุ้นกู้นั้นไปเป็นหุ้นสามัญของบริษัทผู้ออกหุ้นกู้นั้นได้

1. ตลาดรอง (secondary) เป็นแหล่งกลางในการเสนอขายและซื้อขายหลักทรัพย์ซึ่งเคยผ่านการซื้อขายในตลาดแรกมาแล้ว

2. สภาพคล่อง (liquidity) สภาพที่หลักทรัพย์สามารถเปลี่ยนเป็นเงินสดได้โดยไม่สูญเสียมูลค่าหลักทรัพย์นั้น

3. ความผันผวน (volatility) หมายถึงความเคลื่อนไหวของระดับราคาตลาดของหลักทรัพย์ ออกห่างจากระดับราคาที่ควรจะเป็น ณ จุดสมดุล

4. ต้นทุนของเงินทุน (capital costs) ต้นทุนต่างๆที่ใช้ในการออกหลักทรัพย์เพื่อจัดหาเงินทุน

5. ตลาดรองที่จัดตั้งขึ้นเป็นทางการ (organized securities market) เป็นตลาดค้าหลักทรัพย์ที่กฎหมายจัดตั้งขึ้น

6. การซื้อขายนอกตลาด (over-the-counter market) เป็นตลาดค้าหลักทรัพย์ที่มิได้ซื้อขายในตลาด ที่จัดขึ้นอย่างเป็นทางการ

7. (Excluding Transferable Subscription Right) : ผู้ซื้อหลัก ทรัพย์ ไม่ได้สิทธิรับใบสำคัญแสดงสิทธิในการซื้อหุ้นเพิ่มทุนที่โอนสิทธิได้

8. (Excluding Interest) : ผู้ซื้อ หลักทรัพย์ ไม่ได้สิทธิรับดอกเบี้ย

9. (Excluding Principal) : ผู้ซื้อ หลักทรัพย์ ไม่ได้สิทธิรับเงินต้นที่ บริษัทประกาศจ่ายคืนในคราวนั้น

10. AOM (Automatic Order matching) เป็นวิธีการซื้อขายหลักทรัพย์ โดยให้บริษัทสมาชิกผู้ซื่อและผู้ขายส่งคำสั่งซื้อ และคำสั่งขายมาในระบบการซื้อขาย

1.DEALER (ผู้ค้าหลักทรัพย์)

บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตทำธุรกรรมในฐานะผู้ค้าหลักทรัพย์ ซึ่งจะซื้อและขายหลักทรัพย์เพื่อ บัญชีลงทุนของตนเองและรับความเสี่ยงจากการซื้อขายนั้น ในกรณีที่ลูกค้าซื้อหุ้นจาก Dealer ลูกค้าจะได้รับหุ้นที่โอนมาจาก Portfolio ของ Dealer นั้น

2.DERIVATIVE INSTRUMENT (ตราสารอนุพันธ์)

ตราสารทางการเงินประเภทที่มูลค่าหรือราคาของตราสารนั้นเกี่ยวเนื่องอยู่กับมูลค่าของสินทรัพย์ที่ตราสารนั้นอิงอยู่ การจัดให้มีการซื้อขายตราสารอนุพันธ์จะช่วยให้ผู้เกี่ยวข้องกับตลาดการเงินมีเครื่องมือไว้ปกป้องและบริหารความเสี่ยงที่มีอยู่ และเป็นการเพิ่มช่องทางลงทุนซื้อขายที่หลากหลายยิ่งขึ้น

3.EARNINGS PER SHARE หรือ EPS (กำไรต่อหุ้น)

ส่วนของกำไรสุทธิที่แบ่งเฉลี่ยแก่หุ้นสามัญแต่ละหุ้น

4.EQUITY FUND (กองทุนตราสารทุน)

กองทุนรวมที่จัดตั้งขึ้นโดยมีนโยบายนำเงินไปลงทุนในตราสารทุน (Equity) ของบริษัทต่างๆ เงินปันผลจากกองทุนประเภทนี้จะไม่แน่นอน แต่จะมีอัตราสูงกว่าอัตราเงินปันผลจากกองทุนตราสารหนี้

5.FINANCIAL MARKET (ตลาดการเงิน)

ตลาดที่ทำหน้าที่เป็นแหล่งกลางที่ระดมเงินออมจากผู้ออมและจัดสรรเงินทุนแก่ผู้ประกอบการ ทั้งในระบบของการให้สินเชื่อและการพัฒนาหลักทรัพย์ นอกจากนี้ยังทำหน้าที่ในการซื้อขายหรือแลกเปลี่ยนเงินตรา

6.PAR VALUE (มูลค่าที่ตราไว้)

มูลค่าของหลักทรัพย์ที่ระบุไว้บนใบตราสารซึ่งจะเป็นไปตามข้อกำหนดในหนังสือบริคณห์สนธิของแต่ละบริษัท มูลค่าที่ตราไว้เป็นข้อมูลที่แสดงให้ทราบถึงมูลค่าเงินลงทุนเริ่มแรกสำหรับหุ้นแต่ละหน่วยซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการวิเคราะห์ทางบัญชี และแสดงให้ทราบถึงทุนจดทะเบียนตามกฏหมาย เช่น ทุนจดทะเบียน 100 ล้านบาท แบ่งเป็น 10 ล้านหุ้น มูลค่าตราไว้หุ้นละ 10 บาท เป็นต้น Par Value อาจเรียก Face Value ( มูลค่าตามหน้าตราสาร ) หรือ Nominal Value ( มูลค่าที่กำหนดไว้ ) ก็ได้

7.PORTFOLIO (หลักทรัพย์ในครอบครอง)

หลักทรัพย์ทั้งหมดในความครอบครองของผู้ลงทุนรายใดรายหนึ่ง ทั้งนี้จะต้องประกอบด้วยหลักทรัพย์จำนวนตั้งแต่ 2 ชนิด หรือ 2 บริษัทขึ้นไป จุดประสงค์ของการสร้าง Portfolio ก็เพื่อลดความเสี่ยงในการลงทุนด้วยการกระจายลงทุนในหลักทรัพย์หลายบริษัทหรือหลายประเภท

8.GROWTH STOCK (หุ้นที่เจริญเติบโตเร็ว)

หุ้นของบริษัทที่มีความสามารถในการทำกำไรสูงในปัจจุบันและเป็นที่คาดว่าจะสามารถหากำไรได้สูงต่อไปในอนาคต ซึ่งจะมีผลทำให้มูลค่าหุ้นนี้ในตลาดเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ ในอัตราที่สูงกว่าหุ้นของบริษัทอื่นๆ

9.MARGIN (หลักประกันของลูกค้า)

จำนวนเงินหรือทรัพย์สินที่ลูกค้าวางไว้กับบริษัทหลักทรัพย์เพื่อการซื้อหุ้นโดยใช้สินเชื่อหรือเพื่อการขายชอร์ตกับบริษัทหลักทรัพย์นั้น ตลาดหลักทรัพย์จะกำหนดอัตราขั้นต่ำที่ลูกค้าต้องวางหลักประกันไว้เรียกว่า Initial Margin Rate เช่น ร้อยละ 50 ของมูลค่าหุ้นที่ซื้อหรือขายชอร์ต เป็นต้น

10.MARKET CAPITALIZATION (มูลค่าตามราคาตลาด)

มูลค่าโดยรวมของหุ้นสามัญของบริษัทใดๆ ที่คำนวณขึ้นโดยใช้ราคาตลาดของหุ้นนั้นคูณกับจำนวนหุ้นสามัญจดทะเบียนทั้งหมดของบริษัทดังกล่าว

1.ความปลอดภัยของเงินทุน (Security 0f Principal) หมายถึงการรักษาเงินลงทุนเริ่มแรกให้คงไว้

2.เสถียรภาพของรายได้ (Stability of Income ) เพื่อป้องกันความเสี่ยงต่อการขาดทุน

3.ความงอกเงยของเงินทุน (Capital Growth) เป็นการลงทุนที่ให้เงินลงทุนในหลักทรัพย์มีค่าเพิ่มขึ้น

4.ความคล่องตัวในการชื้อขาย (MarKetability) คือการที่เอาหุ้นไปขายแล้วมีคนสนใจเช่นในการดูจากชื่อเสียง

5.ความสามารถในการเปลี่ยนเเป็นเงินสดได้ทันที (Liquidity ) สามารถเปลี่ยนเป็นเงินสดได้เร็วและค่าเงินไม่ลดลง

6.การกระจายเงินทุน ( Diversification) การลงทุนในหลักทรัพย์หลายหลายอย่างปนกัน

7.นักลงทุนสถาบัน ( Institutional Investors) เช่นบริษัทเงินทุน ธนาคารพาณิชย์ มีการลงทุนขนาดใหญ่สามารถกระจายการลงทุนได้กว้างขวาง

8. นักลงทุนประเภทบุคคล (Individual Investors) นักลงทุนรายย่อยโดยทั่วไป

9. IPO (Initial Public ofterring) การเสนอขายหุ้นครั้งแรกต่อสาธารณชน

10.PT (put through) เป็นวิธีการซื้อขายรองโดยสมาชิกผู้ซื้อและผู้ขาย จะตกลงซื้อขายกันเอง

1.การหักลดยอดสุทธิ (Net offset): การที่ทำรายการซื้อและขายหลักทรัพย์ในวันเดียวกัน โดยการทำรายการตรงกันข้ามเพื่อปิด position

2.เศษหุ้น (Odd lot): จำนวนหุ้นที่ต่ำกว่า 100 หุ้นบนกระดานหลักที่จำเป็นจะต้องทำการซื้อขาย

3.พอร์ตโฟลิโอ (Portfolio): รายการหลักทรัพย์ที่ถือครองไว้ทั้งหมด เช่น หุ้น หรือตราสารทางการเงิน เป็นต้น

4.Price-Earnings Ratio (PE Ratio): ราคาตลาดของหลักทรัพย์ หารด้วยกำไรต่อหุ้น ณ ปัจจุบัน หรือ คาดการณ์ในอนาคต นักลงทุนจะใช้ PE Ratio เป็นตัววัดขั้นพื้นฐานของหลักทรัพย์ที่เหมาะสมน่าลงทุนเปรียบเทียบกับหลักทรัพย์อื่นๆ ค่า Ratio นี้เกี่ยวข้องกับค่าเฉลี่ยของตลาดและความคาดหวังต่อการเติบโตของกำไรของตลาด

5.การชำระราคาหลักทรัพย์ (Settlement): การจ่ายชำระค่าซื้อ - ขาย หลักทรัพย์ในวันที่กำหนด

6.วันครบกำหนดชำระ (Settlement date): วันครบกำหนดชำระเงินค่าซื้อ-ขาย หลักทรัพย์ ที่ต้องชำระค่าซื้อ - ขายหลักทรัพย์ ณ วันครบกำหนดชำระ

7.ช่วงราคา(Spread): ส่วนต่างราคาระหว่างราคาเสนอซื้อและราคาเสนอขายของหลักทรัพย์นั้นๆ 8.มูลค่าตลาด (Market value): มูลค่าหลักทรัพย์ ณ ปัจจุบัน

9.หลักทรัพย์จดทะเบียน (Listed stocks): หลักทรัพย์ที่ทำการซื้อขาย แลกเปลี่ยนในตลาดหลักทรัพย์ฯ

10.คำสั่งซื้อขายสมบูรณ์ (Execution): การทำการสั่งซื้อหรือขายหลักทรัพย์สำเร็จ

1.การลงทุน (investment)

หมายถึง การเคลื่อนย้ายเงินเงินในระบบเงินเพื่อนำไปลงทุนในธุรกิจ

2.การลงทุนในธุรกิจการ(business or economic investment)

หมายถึง การซื้อทรัพย์สินเพื่อประกอบธุรกิจ หารายได้ เพื่อรายได้เพียงพอที่จะชดเชยกับความเสี่ยงในการลงทุน

3..กลยุทธ์การบริหารกลุ่มหลักทรัพย์เชิงรุก(active portfolio strtegy)

หมายถึง เป็นกลยุทธ์ที่ใช้ข้อมูลต่างๆและเทคนิคการพยากรณ์ เพ่อให้กลุ่มหลักทรัพย์มีผลการดำเนินงานที่ดีกว่ากลุ่มหลักทรัพย์ที่ถือเพียงหลักการกระจายการลงทุน

4.กลยุทธ์การบริหารกลุ่มหลักทรัพย์เชิงรับ(passive portfolio strategy )

หมายถึงกลยุทธ์ที่มุ่งกระจายการลงทุนให้สอดคล้องกับการดำเนินงานของดัชนีตลาด

5.การวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน(fundamental analysis)

หมายถึง ผู้ลงทุนบางกลุ่มใช้รูปแบบราคาและปริมาณซื้อขายหลักทรัพย์ในอดีตช่วยในการวิเคราะห์

การลงทุนเพื่อการบริโภค(conumer investment)

หมายถึง การซื้อสินค้าประเภททนถาวรการลงทุนมุ่งกำไรในรูปตัวเงิน

6.การลงทุนในหลักทรัพย์ (financial or securities investment )

หมายถึง เป็นการซื้อสินทรัพย์ในรูปของกลักทรัพย์เชน พันธบัตร หุ้นกู้

7.ตลาดมีประสิทธิภาพ(efficient market)

หมายถึง ตลาดที่มีประสิทธิภาพการดำเนินงานหรือประสิทธิภาพภายในแต่เป็นประสิทธิภาพด้นราคาหลักทรัพย์

8.การวิเคราะห์หลักทรัพย์ทางเทคนิด (technical analysis)

หมายถึง เป็นการวิเคราะห์พฤติกรรมของหลักทรัพย์โดยการหาราคาที่เหมาะสมต่อการซื้อหรือสัญญาณซื้อ

9.กำไรจากการขายหลักทรัพย์ (capital gain)

หมายถึง กำไรจากการขายหลักทรัพย์ออกไป

10.ขาดทุนจากการขายหลักทรัพย์(capitai loss)

หมายถึง การขายหลักทรัพย์ออกไปได้น้อยกว่าหลักทรัพยืที่ซื้อมา

1. กิจการที่มีการเติบโตสูง (growth company ) เป็นกิจการที่มีประวัติการเพิ่มขึ้นของยอดขายและกำไรสูงกว่าค่าเฉลี่ยของอุตสาหกรรม

2. หุ้นที่มีการเติบโตสูง ( growth stock ) เป็นหุ้นที่ให้ผลตอบแทนสูงกว่าห้นอื่นๆที่มีความเสี่ยงเหมือนๆกัน

3. หุ้นที่มีความผันผวนสูง ( cyclical stock ) เป็นหุ้นที่มีการเปลี่ยนแปลงของอัตราผลตอบแทนการตอบมากกว่าการเปลี่ยนแปลงของอัตราผลตอบแทนของตลาด

4. เงินปันผล (Dividend): เงินส่วนแบ่งกำไรของบริษัทที่จะจ่ายให้กับผู้ถือหุ้นสามัญและผู้ถือหุ้นบุริมสิทธิ

5. กำไรต่อหุ้น (Earnings per share: EPS) ผลกำไรของบริษัทหารด้วยจำนวนหุ้นทั้งหมดของบริษัท

6.คำสั่งซื้อขายต่อวัน (Day order): คำสั่งที่ทำการซื้อหรือขายหลักทรัพย์จะหมดอายุภายในวันโดยอัตโนมัติ หากไม่มีการซื้อขายสำเร็จภายในวันที่ป้อนคำสั่ง

7. ราคาเปิด (Opening price): ราคาที่ตลาดฯเปิดทำการซื้อขายของวันนั้นๆ

8. การชำระราคาหลักทรัพย์ (Settlement): การจ่ายชำระค่าซื้อ - ขาย หลักทรัพย์ในวันที่กำหนด

9.การซื้อขาย 1 วัน (Day trading): การทำรายการซื้อขายหลักทรัพย์ภายในวันเดียวกัน

10.นโยบายการคลัง ( fiscal policy ) นโยบายเกี่ยวกับภาครัฐและนโยบายจัดเก็บภาษี

1.ตลาดมีประสิทธิภาพ(efficient market)หมายถึงตลาดที่มีประสิทธิภาพการดำเนินงานหรือมีประสิทธิภาพภายในแต่เป็นประสิทธิภาพด้านราคาหลักทรัพย์

2.การวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน(fundamental analysis)คือการหามูลค่าหลักทรัพย์ที่เหมาะสมที่ผู้ลงทุนควรจ่ายเงินลงทุนหรือที่เรียกว่า"มูลค่าที่แท้จริง"

3.การวิเคราะห์ทางเทคนิค(technical analysis)คือ การวิเคราะห์หลักทรัพย์โดยการศึกษารูปแบบราคาและปริมาณการซื้อขายหุ้นในอดีต โดยใช้แผนภูมิแบบต่างๆช่วยในการวิเคราะห์

4.อัตราคิดลด(capitallization rate)คือใช้เพื่อคำนวณค่าของกระแสเงินสดรับให้เป็นมูลค่าปัจจุบันซึ่งตามหลักการแล้วก็คือ อัตราผลตอบแทนขั้นต่ำที่ผู้ลงทุนต้องการ

5.คำสั่งซื้อขายแบบ ATO (At the open)เป็นคำสั่งซื้อขายที่ใช้เมื่อผู้ลงทุนต้องการซื้อหรือขายหลักทรัพย์ทันทีที่ตลาดเปิด การซื้อขาย ณ ตลาดเปิด

6.คำสั่งซื้อขายแบบ ATC (At the close)เป็นคำสั่งซื้อขายที่ใช้เมื่อผู้ลงทุนต้องการซื้อหรือขายหลักทรัพย์ทันทีที่ตลาดปิด การซื้อขาย ณ ราคาปิด

7.คำสั่งซื้อขายแบบ MP (Market price)เป็นคำสั่งเสนอซื้อขายตามราคาตลาด ณ เวลานั้น ใช้ในระหว่างช่วงเวลาเปิดทำการซื้อขายเท่านั้น

8.คำสั่งซื้อขายแบบ IOC(Immediate-or-cancel)เป็นคำสั่งซื้อขายเฉพาะในช่วงตลาดเปิดแล้วเท่านั้น มีจุดเด่นอยู่ที่เมื่อคอมพิวเตอร์ของตลาดได้รับคำสั่งซื้อขายแบบ IOC จะต้องจับคู่ให้ได้ทั้งหมดหรือบางส่วนทันที ถ้าจับคู่ไม่ได้หมด ส่วนที่เหลือจะถูกยกเลิกทันที

9. คำสั่งซื้อขายแบบ FOK (Fill-or-kill)เป็นคำสั่งซื้อขายเฉพาะในช่วงตลาดเปิดแล้วเท่านั้น เช่นเดียวกันกับกรณีคำสั่งซื้อขายแบบ IOC แตกต่างกันเฉพาะการจับคู่เมื่อคอมพิวเตอร์ของตลาดได้รับคำสั่งซื้อขายแบบ FOK จะต้องจับคู่ให้ได้ครบจำนวนทันทีกรณีคำสั่งซื้อราคาจะต้องไม่เกินจากที่ระบุ เช่นเดียวกัน กรณีคำสั่งขายราคาจะต้องไม่ต่ำกว่าที่ระบุ ถ้าจับคู่ไม่ได้ครบจำนวนในเวลานั้นคำสั่งนั้นจะต้องยกเลิกทันที

10.เครื่องหมาย NR (notice reeived)เป็นเครื่องหมายแจ้งให้ผู้ลงทุนทราบว่า ตลาดหลักทรัพย์ฯได้รับรายงานข้อมูลหรือข่าวสารจากบริษัทตามที่ตลาดสอบถามไปแล้ว ติดแทนเครื่องหมาย NP เมื่อได้รับรายงาน

1. ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย The Stocks Exchange Thailand ::

เป็นตลาดการค้าที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

พ.ศ.2517

2. ตลาดรองที่จัดตั้งขึ้นอย่างเป็นทางการ organized securities market :: เป็นตลาดค้าหลักทรัพย์ที่มีกฏหมายจัดตั้งขึ้น มีกฏระเบียบการซื้อขายที่กำหนดขึ้นโดยเฉพาะ

3. การซื้อขายนอกตลาด over-the-counter-market :: เป็นตลาดการค้าหลักทรัพย์ที่มิได้ซื้อขายในตลาดที่จัดตั้งขึ้นอย่างเป็นทางการ

4. วิธีประกันผลการขาย firm coomitment basis :: ผู้ประกันการขายตกลงกับผู้ออกหลักทรัพย์ว่า จะซื้อหลักทรัพย์ที่เสนอขายนั้นไว้ทั้งหมดในราคาหนึ่งที่ตกลงกัน

5. สภาพคล่อง liquidity :: สภาพที่หลักทรัพย์สามารถเปลี่ยนเป็นเงินสดได้โดยไม่สูญเสียมูลค่าของหลักทรัพย์นั้น

6. ความผันผวน volatility :: ความเคลื่อนไหวของระดับราคาตลาดของหลักทรัพย์ออกห่างจากระดับราคาที่ควรจะเป็น ณ จุดสมดุล

7. ประสิทธิภาพ efficency :: การที่ราคาหลักทรัพย์สะท้อนถึงข้อมูลข่าวสารอย่างรวดเร็ว

8. ต้นทุนของเงินทุน capital costs :: ต้นทุนต่างๆที่ใช้ในการออกหลักทรัพย์เพื่อจัดหาเงินทุน

9. ผู้ผลิตน้อยราย oigopoly :: เป็นโครงสร้างทางเศรษฐกิจของอุตสาหกรรมที่มีผู้ผลิดไม่กี่ราย ผลิตสินค้าเหมือนๆ กัน

10. การผูกขาด monopoly :: เป็นโครงสร้างทางเศรษฐกิจของอุตสาหกรรมที่มีผู้ผลิดเพียงรายเดียว ผลิตสินค้าที่ไม่อาจหาสินค้าอื่นทดแทนได้ง่ายนัก

1. กองทุนรวมตราสารแห่งหนี้ (general fixed income fund) หมายถึง กองทุนที่นำเงินไปลงทุนในตราสารแห่งหนี้โดยจะไม่ลงทุนในใบซื้อหุ้นหรือใบสำคัญแสดงสิทธิ์

2. การปั่นหุ้น (manipulation) หมายถึง การสร้างสภาพการซื้อขายให้ผิดไปจากภาวะที่เป็นจริงโดยเจตนาให้ผู้อื่นซื้อหรือขายหลักทรัพย์ด้วยความเข้าใจผิด

3. การเสนอขายหลักทรัพย์แก่ประชาชน(public offering)หมายถึงการที่บริษัทนำหลักทรัพย์ของตนออกเสนอขายแก่ประชาชนทั่วไป

4.ความเสี่ยงเกี่ยวกับความน่าเชื่อถือ (credit risk) หมายถึง ความเสี่ยงที่เกิดจากผู้ออกตราสารหนี้ไม่สามารถจ่ายคืนเงินต้นและดอกเบี้ยได้

5.ผู้ค้าหลักทรัพย์ (dealer) หมายถึง บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาติทำธุรกรรมในฐานะผู้ค้าหลักทรัพย์

6. ราคาปิด (close หรือ closing price)หมายถึง ราคาของหลักทรัพย์ใดๆ ที่เกิดจากการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์เป็นรายการสุดท้ายของแต่ละวัน

7. ราคาเพดาน (ceiling price) หมายถึง ระดับสูงสุดที่ราคาหุ้นจะขึ้นไปได้ในแต่ละวัน

8. ผู้ดูแลผลประโยชน์ (trutee) หมายถึง สถาบันการเงินซึ่งทำหน้าที่ผู้ดูแลผลประโยชน์ให้แก่ผู้ถือหุ้นหน่วยลงทุนของกองทุนรวม

9. บริษัทจดทะเบียน (listed company) หมายถึง บริษัทมหาชนจำกัดที่จดทะเบียนหลักทรัพย์ของบริษัทเพื่อให้มีการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์

10. ความเสี่ยงจากตลาด (market risk) หมายถึง ความเสี่ยงที่เกิดจากการที่เกิดจากราคาหรือผลตอบแทนปรับตัวขึ้นลง

1.นักเก็งกำไร speculator คือนักลงทุนที่ต้องการกำไรสูงสุด

2.นักลงทุนระยะยาว investor คือนักลงทุนที่ต้องการผลตอบแทนในระยะยาว จะต้องมีความเชี่ยวชาญ เนื่องจากการลงทุนระยะยาวจะมีความเสี่ยงตามสภาพเศรษฐกิจ

3.ส่วนแบ่งตลาด [N] market share ; market penetration

Syn. ส่วนแบ่งการตลาด

Def. เปอร์เซ็นต์ยอดขายของสินค้ายี่ห้อใดยี่ห้อหนึ่ง คิดเป็นสัดส่วนต่อยอดขายทั้งหมดของสินค้าประเภทเดียวกันในท้องตลาด

Sample. ธนาคารและสถาบันการเงินต่างแย่งส่วนแบ่งตลาดกันด้วยการปล่อยสินเชื่อง่ายขึ้น

4.ประสิทธิผลในการดำเนินงาน Effectiveness

5.ประสิทธิภาพในการดำเนินงาน Efficiency

6.นโยบายการคลัง fiscal policy คือนโยบายเกี่ยวกับการใช้จ่ายของภาครัฐและนโยบายการจัดเก็บภาษี

7.รายได้จับจ่ายใช้สอย disposable income เป็นตัววัดกิจกรรมทางเศรษฐกิจ

8.ดุลการชำระเงิน balance of payments เป็นบัญชีบันทึกรายการการติดต่อทางเศรษฐกิจในช่วงเวลาหนึ่ง ระหว่างผู้พำนักอาศัยในประเทศหนึ่งกับผู้พำนักอาศัยใน ประเทศอื่นๆ ทั่วโลก โดยรายการที่บันทึกนี้บันทึกเป็นหน่วยเงินตรา

9.ตลาดผู้บริโภค (Consumer Market) ประกอบด้วยบุคคลและครอบครัว ทั้งหมดซึ่งซื้อหรือต้องการสินค้า และบริการไปเพื่อใช้ส่วนตัว

10.นโยบายการเงิน monetary policy คือมาตรการต่างๆที่ธนาคารกลางใช้เป็นเครื่องมือควบคุมปริมาณเงินและเครดิตในระบบเศรษฐกิจ

1.ใบสำคัญแสดงสิทธิในการซื้อหลักทรัพย์ (Warrant)คือตราสารที่ให้สิทธิแก่ผู้ถือในการซื้อหลักทรัพย์

2.ใบสำคัญแสดงสิทธิอนุพันธุ์ (Derivative Warrants)คือเป็นอีกประเภทหนึ่งของวอแรนท์วึ่งให้สิทธิแก่ผู้ถือในการซื้อหลักทรัพย์

3.ใบสำคัญแสดงสิทธิในการจองซื้อหุ้นเพิ่มทุนที่โอนสิทธิได้ (Transferable Subscription)คือตราสารที่ให้สิทธิแก่ผู้ถือหุ้นตามสัดส่วน

4.ใบแสดงสิทธิในผลประโยชน์ที่เกิดจากหลักทรัพย์อ้างอิง (Depository Receipt)คือ ตราสารที่ออกและเสนอขายโดยบริษัทย่อยของตลาด

5.หุ้นกู้(Debentures)คือตราสารหนี้ที่ออกจำหน่ายเพื่อกู้เงินจากผู้ลงทุน

6.พันธบัตร (Bond)คือ ตราสารหนี้ออกโดยรัฐบาล

7.หน่วยการซื้อขาย (Board Lot)คือการกำหนดจำนวนหุ้นในกระดานการซื้อขาย

8.ช่วงราคา (Price Spread)คือ ระดับราคาซื้อ-ขายของแต่ละหลักทรัพย์

9.ระบบงานหลังการซื้อขายหลักทรัพย์ (Broker Operation Services) คือการบริการของศุนย์รับฝากหลักทรัพย์ แก่บริษัทหลักทรัพย์อย่างครบวงจร

10.ตลาดแรก(Primary market)คือตลาดสำหรับหลักทรัพย์ออกใหม่

1.สินทรัพย์ที่มีตัวตน Real Asset

คือสินทรัพย์ที่เป็นสินทรัพย์ประเภทถาวร เช่นเครื่องจักรในโรงงาน

2.สินทรัพย์ทางการเงิน Financial Asset

คือสินทรัพย์ประเภทตราสาทหรือหุ้น เช่น ตราสารหนี้ ตราสารอนุพนธ์ ตราสารทุน

3.ตัดขาดทุน cut loss

คือการขายห้นที่กำลังขาดทุนอยู่โดยเป็นการขายเพื่อตัดหุ้นที่ขาดทุนเพพื่อไม่ให้ขาดทุนไปมากกว่านี้

4.ความเสี่ยงทางธุรกิจ business risk

คือการเปลี่ยนแปลงทางด้านกิจการอันเนื่องมาจากสภาพแวดล้อมทางธุรกิจ

5.กิจการเก็งกำไร speculative company

เป็นการกิจการที่มีสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงสูงแต่ให้อัตราผลตอบแทนสูง เช่นกิจการเจาะบ่อน้ำมัน

6.กิจการที่มีความผันผวนสูง cyclical company

เป็นกิจการที่มียอดขายและกำไรที่ได้รับอิทธิพลเป็นอย่างมากจากลักษณะของธุรกิจโดยส่วนร่วม

7.การปัองกันความเสี่ยงด้ายอำนาจซื้อ purchasing power

การที่ต้องการให้เงินทุนมีความมั่นคงและรักษามูลค่าของเงินไว้หลังหักอัตราเงินเฟ้อ

8.ความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ย interest rate risk

คือการเปลี่ยนแปลงของราคาหุ้นกู้เมื่ออัตราผลตอบแทนที่ผู้ลงทุนต้องการเปลี่ยนแปลง

9.การจ้างงานเต็มที่ full employment

เป็นการจ้างงานที่มีลักษณะการรับคนงานเข้าทำงานแบบเต็มจำนวนโดยที่มีอัตราการว่างงานน้อย

10.การกระจายรายได้ income distribution

เป็นการแบ่งให้รายได้โดยการกระจายงานออกหลายๆด้าน

คำศัพท์การลงทุน

1.วาณิชธนกิจ (merchant banking) คือ ธุรกรรมทางการเงินที่ให้บริการโดย investment banker (ธนาคารการลงทุน) เช่น การให้บริการปรึกษาและเจรจาต่อรองแก่ลูกค้า ที่ต้องการควบรวมกิจการหรือซื้อกิจการ รวมถึงบริการจัดการลงทุนในหลักทรัพย์ให้ลูกค้า เป็นต้น

2.ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (share depository)คือ หน่วยงานที่ให้บริการเป็นศูนย์กลางรับฝากและถอนหลักทรัพย์ให้สมาชิก รวมทั้งบริการอื่นที่เกี่ยวข้อง เช่น การโอน และงานทะเบียนผู้ถือหุ้น การทำหน้าที่ดังกล่าวช่วยอำนวยความสะดวกแก่สมาชิกในการชำระราคา และส่งมอบหลักทรัพย์ที่ซื้อ ขายกัน เนื่องจากสมาชิกทุกรายต่างก็มีบัญชีฝากหุ้นอยู่ที่ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ การส่งมอบหุ้นที่ซื้อขายกันสามารถ กระทำได้โดย ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ทำการโอนจำนวนหุ้นในบัญชีของสมาชิกผู้ขายไปเข้าบัญชีของสมาชิกผู้ซื้อ ทำให้ทั้งสองฝ่ายไม่ต้องเสียเวลาและมีภาระในการส่งมอบรับมอบใบหุ้นระหว่างกัน สถาบันที่ทำหน้าที่ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ในประเทศไทย คือ บริษัทศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด หรือ Thailand Securities Depository Co., Ltd. หรือ TSD ซึ่งเป็นบริษัทลูกของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

3.ระบบไร้ใบหุ้น (scripless system) คือ ระบบไร้ใบหุ้นหรือไร้ใบหลักทรัพย์ เป็นวิธีการระบุความมีอยู่ในครอบครองซึ่งหลักทรัพย์ โดยการบันทึกข้อมูลในระบบคอมพิวเตอร์ โดยมิต้องมีใบหุ้นหรือใบหลักทรัพย์ที่เป็นกายภาพซึ่งอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ลงทุนและผู้ที่เกี่ยวข้อง ในการช่วยลดความสูญหาย การถูกทำลาย และการปลอมแปลงของใบหุ้น นอกจากนี้ ยังสะดวกต่อการส่งมอบหลักทรัพย์หลังการซื้อขาย โดยไม่ต้องมีการส่งมอบหรือรับมอบใบหุ้นจริง เพียงแต่เป็นการโอนและรับโอนหลักทรัพย์ที่ซื้อขายกันทางบัญชีเท่านั้น

4.ราคาพื้น (floor price) คือ ระดับราคาต่ำสุดของแต่ละหลักทรัพย์ที่จะซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ได้สำหรับวันทำการหนึ่ง ๆ ซึ่งคำนวณขึ้นจาก daily price limit ของตลาดหลักทรัพย์ ปัจจุบันระดับที่เป็น floor price คือระดับราคาที่ต่ำลง 30% จากราคาปิดของวันก่อน เช่น วันก่อนปิดที่ราคา 50 บาท ราคาพื้นวันนี้จะเป็น 35 บาท วันนี้จะมีการซื้อขายในราคาต่ำกว่า 35 บาทไม่ได้

5.ตลาดกระทิง (bull market) คือ ภาวะตลาดหุ้นที่ราคาหลักทรัพย์โดยทั่วไปมีระดับสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลายาวนานไม่น้อยกว่า 2-3 เดือน และมีปริมาณการซื้อขายที่มาก มีสภาพคล่องสูง ภาวะตลาดดังกล่าวมีความคึกคักเสมือนอาการเคลื่อนไหวของวัวกระทิง

6.ตลาดหมี (bear market) คือ ภาวะตลาดหุ้นที่ราคาหลักทรัพย์โดยทั่วไปมีระดับที่ลดต่ำลงอย่างต่อเนื่องเป็นเวลายาวนาน และปริมาณการซื้อขายก็มีน้อย เปรียบเสมือนการเคลื่อนไหวของหมีที่อืดอาดเชื่องช้า

7.เซอร์กิตเบรกเกอร์ (circuit breaker) คือ มาตรการที่ตลาดหลักทรัพย์นำมาใช้หยุดการซื้อขายหลักทรัพย์ชั่วคราวในยามที่การซื้อขายโดยรวมในตลาดหลักทรัพย์เกิดตกต่ำลงอย่างมากมายผิดปกติ ทั้งนี้เพื่อให้ผู้ลงทุนโดยทั่วไปได้มีเวลาตรวจสอบข้อมูลและข่าวสารต่าง ๆ ระยะหนึ่งก่อนที่จะเปิดให้ทำการซื้อขายหลักทรัพย์ได้ต่อไป ในปัจจุบันนี้ระบบ circuit breaker ของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยกำหนดว่า หากระดับ SET Index ลดต่ำลงเท่ากับหรือเกินกว่า 10% จากจุดปิดของวันก่อน ตลาดหลักทรัพย์จะหยุดพักการซื้อขาย 30 นาที เมื่อเปิดซื้อขายใหม่แล้วหาก SET Index ลดต่ำลงอีก จนมีระดับที่ลดลงเท่ากับหรือเกินกว่า 20% จากจุดปิดของวันก่อน ตลาดหลักทรัพย์จะหยุดพักการซื้อขายอีก 1 ชั่วโมง แล้วเปิดให้ซื้อขายต่อจนสิ้นวัน ในการหยุดพักการซื้อขายกรณีใดกรณีหนึ่งข้างต้น ถ้าระยะเวลาในรอบการซื้อขายนั้นเหลือไม่ถึง 30 นาทีหรือ 1 ชั่วโมงแล้วแต่กรณี จะพักการซื้อขายเพียงระยะเวลาที่เหลือในรอบดังกล่าวเท่านั้น แล้วเปิดซื้อขายรอบใหม่ตามปกติต่อไป

8.การถือหุ้นไขว้ (cross holding) คือ การที่บริษัทตั้งแต่สองบริษัทขึ้นไปถือหุ้นซึ่งกันและกัน วิธีการถือหุ้นไขว้มักจะถูกนำมาใช้เพื่อการเกาะกลุ่มทางธุรกิจ หรือเพื่อสร้างโครงสร้างของกลุ่มบริษัท โดยเฉพาะโครงสร้างในลักษณะของบริษัทโฮลดิ้งที่มีบริษัทหนึ่งทำหน้าที่ควบคุมนโยบายการบริหาร การเงิน การจัดการ ตลอดจนดูแลการถือหุ้นของบริษัทในเครือให้มีบุคคลนอกกลุ่มเข้ามาครอบงำกิจการได้ นอกจากนี้การถือหุ้นไขว้ก็อาจจะเป็นโอกาสและช่องทางให้ฝ่ายบริหารหรือฝ่ายจัดการบริษัทนำมาใช้เพื่อเป็นเครื่องมือในการแสวงหาผลประโยชน์ได้ เช่น นำวิธีการถือหุ้นไขว้มาใช้เพื่อสร้างภาพ สถานะทางการเงินของบริษัทให้ดูดีโดยบิดเบือนจากความเป็นจริง หรือนำมาใช้เพื่อรักษาอำนาจในการควบคุมบริษัทของฝ่ายจัดการเองโดยให้บริษัทในเครือซึ่งตนเป็นผู้ควบคุมอยู่เข้าแย่งการครอบงำกิจการจากการประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้น หรือนำมาใช้เพื่ออำพรางการเป็นเจ้าของบริษัทในเครือ ซึ่งทำให้ยากแก่การตรวจสอบความสัมพันธ์ระหว่างบริษัทในเครือ เป็นต้น โดยคณะกรรมการ ก.ล.ต. ได้กำหนดห้ามมิให้บริษัทที่ขออนุญาตเสนอขายหุ้นของตนเองต่อประชาชน เสนอขายหุ้นของตนเองให้แก่บริษัทในเครือ แต่การห้ามนี้ก็เป็นการห้ามเฉพาะบริษัทมหาชนที่ขออนุญาตเสนอขายหุ้นแก่ประชาชนเท่านั้น ดังนั้น ถ้าเป็นบริษัทจำกัดที่แม้จะมีผู้ถือหุ้นจำนวนมาก หรือบริษัทมหาชนที่ไม่ได้ยื่นคำขออนุญาตเสนอขายหุ้นต่อประชาชนจะไม่ตกอยู่ภายใต้เกณฑ์นี้

9.การตรวจสอบภาวะตลาด (surveillance) คือ การเฝ้าดูภาวะการซื้อขายหลักทรัพย์ต่าง ๆ ในตลาดหลักทรัพย์หากพบภาวะการซื้อขายหลักทรัพย์ใดผิดไปจาก สภาพปกติที่ผ่านมา ก็จะทำการตรวจสอบข้อมูลต่าง ๆ เพื่อพิสูจน์ว่าความผิดปกติดังกล่าวเป็นการกระทำผิดกฎ การซื้อขายหลักทรัพย์หรือไม่ เช่น Insider Trading หรือ Price Manipulation เป็นต้น ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยมีส่วนงานหนึ่งในฝ่ายห้องค้า และกำกับการซื้อขายรับผิดชอบงานด้านนี้ และมีระบบคอมพิวเตอร์ ชื่อ ATOMS ช่วยอำนวยความสะดวกและเพิ่มประสิทธิภาพงานด้านนี้

10.การบังคับซื้อ (forced buy)คือ การที่บริษัทหลักทรัพย์นำเงินประกันของลูกค้าที่วางเป็นประกันการยืมหลักทรัพย์ (securities borrowing account) ไปซื้อหุ้นคืน บริษัทหลักทรัพย์จะบังคับให้ลูกค้าซื้อหุ้นคืนต่อเมื่อหุ้นที่ยืมมีมูลค่าเพิ่มขึ้น จนทำให้สัดส่วนหลักประกันต่อมูลหนี้มีค่าต่ำกว่าระดับ maintenance margin ที่เข้าเกณฑ์ forced buy ซึ่งจะต่ำกว่าระดับ margin call (เช่น ระดับ forced buy เท่ากับ 30% ขณะที่ระดับ margin call เท่ากับ 40% เป็นต้น) หลักเกณฑ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันมิให้ลูกค้าแต่ละรายมีภาระหนี้เกินตัวจนไม่อาจแบกรับได้ (ซึ่งจะเห็นได้จาก การที่ถูก margin call แล้วไม่สามารถนำทรัพย์สินมาวางเป็นหลักประกันเพิ่มเติมได้) หากปล่อยค้างไว้ ถ้าหุ้นที่ยืมมีมูลค่าสูงขึ้นไปอีก อาจทำให้มีหลักประกันไม่คุ้มมูลหนี้ จนกระทบถึงฐานะการเงินของบริษัทหลักทรัพย์และกระทบถึงความเชื่อมั่นต่อบริษัทหลักทรัพย์ ทั้งระบบได้

1. Electronic board = กระดานซื้อขายหุ้นด้วยคอมพิวเตอร์

2. Offer = ราคาที่ผู้ขายเสนอขาย

3. Exec = ราคาที่ตลงซื้อขายกัน

4. Board lot = จำนวนหุ้นในหนึ่งหน่วย

5. Fiscal policy = นโยบายการคลัง

6. Support = แนวรับ

7. Channel lines = เส้นแนวทาง

8. Price patterns = การเครื่อนไหวของรคาหุ้น

9. call Feature = สิทธิในการเรียกคืนหุ้น

10. Taxstatus = ภาษี

1.ทฤษฎีเสี่ยงสูง-ผลตอบแทนสูง (High Risk – High Return)คือ ทฤษฎีในการลงทุนที่แสดงให้ทราบถึงหลักการลงทุนว่า การลงทุนย่อมมีความเสี่ยง และ หากการลงทุนประเภทใดมีความเสี่ยงสูง ก็ย่อมมีโอกาสได้รับผลตอบแทนสูงตามไปด้วย แต่ในขณะเดียวกันก็มีโอกาสสูญเสียเงินต้นเช่นกัน

2.กำไรจากส่วนเกินทุน (Capital Gain)คือ ผลกำไรตอบแทนที่ได้รับจากการลงทุน ซึ่งเป็นส่วนกำไรเท่านั้น ไม่นับส่วนเงินต้นที่ลงทุนไป

3.ขาดทุนจากส่วนเกินทุน (Capital Loss)คือ ผลขาดทุนที่เกิดจากการลงทุน ซึ่งไม่นับส่วนเงินต้นที่ลงทุนไป

4.การผิดสัญญา(Default)คือ การไม่ปฏิบัติตามสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ตามกฎระเบียบที่ตลาดกำหนด เช่น ไม่ส่งเงินประกัน หรือไม่ทำการส่ง - รับมอบสินค้า ฯลฯ

5.แถลงการณ์การเปิดเผย(Disclosure Statement) คือ เอกสารซึ่งมีข้อความที่ระบุถึงความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายสินค้าล่วงหน้า

6.กำลังเครื่องล้อม (Hedging)คือ วิธีการลดความเสี่ยงจากความผันผวนของราคาในตลาดข้อตกลง และตลาดปัจจุบันโดยการเข้าไปซื้อหรือขายใน ตลาดซื้อขายล่วงหน้า ผู้เข้ามาลดความเสี่ยงในตลาดซื้อขายสินค้าล่วงหน้า เรียกว่า "ผู้ประกันความเสี่ยง" (Hedger) ผู้ประกันความเสี่ยงนี้จะใช้ตลาดลดความเสี่ยงจากราคาที่เปลี่ยนแปลงไป ซึ่งจะสร้างความเสียหายต่อธุรกิจของตน

7.ช่วงสุดท้ายแลกเปลี่ยนวัน (Last Trading Day)คือ วันสุดท้ายที่ตลาดซื้อขายสินค้าล่วงหน้า กำหนดให้มีการซื้อขายสินค้าล่วงหน้าสำหรับเดือนส่งมอบใด ผู้ถือสัญญา ล่วงหน้าหลังจากวันดังกล่าว จะต้องดำเนินการรับและส่งมอบสินค้าตามที่กำหนดไว้ในสัญญา

8.ชำระหนี้(Liquidate) คือ เป็นวิธีการยกเลิกภาระผูกพันตามสัญญาการซื้อขายล่วงหน้า โดยการซื้อสินค้าล่วงหน้าในเดือนส่งมอบที่เคยขาย ไว้ หรือขายสินค้าล่วงหน้าในเดือนส่งมอบที่เคยซื้อไว้ ซึ่งมีผลทำให้ภาวะผูกพันตามสัญญาซื้อขายล่วงหน้าสิ้นสุดลง

9.การลงทุนในธุรกิจ(Business or Economic Investment) คือ การซื้อทรัพย์สินเพื่อประกอบธุรกิจ หารายได้โดยหวังอย่างน้อยที่สุดรายได้ที่ได้นี้เพียงพอที่จะชดเชยกับความเสี่ยงในการลงทุน

10.การลงทุนในหลักทรัพย์(Financial or Securities Investment) คือ เป็นการซื้อสินทรัพย์ในรูปของหลักทรัพย์ เช่น พันธบัตร หุ้นกู้ หรือหุ้นทุน

คำศัพท์การลงทุน

1.ช่วงเวลา (Price Spread) คือ

การเคลื่อนไหวของราคาหลักทรัพย์สำหรับการเสนอซื้อและเสนอขายบนกระดานหลักและกระดานหน่วยย่อย

2.หนังสือชี้ชวน (Prospectus) คือ

เอกสารที่บริษัทผู้ออกหลักทรัพย์และเสนอขายหลักทรัพย์ต่อประชาชนทั่วไป ต้องจัดทำขึ้นเพื่อเปิดเผยข้อมูลรายละเอียดเกี่ยวกับบริษัทหรือกองทุนรวม และการเสนอขายหลักทรัพย์ให้ผู้ลงทุนทราบ

3.การเสนอขายหลักทรัพย์แก่ประชาชน (Public Offering) คือ

การที่บริษัทมหาชนจำกัดนำหลักทรัพย์เสนอขายแก่ประชาชนทั่วไป ส่วนใหญ่มีจุดประสงค์เพื่อระดมเงินทุนไปขยายกิจการ และเพื่อกระจายการถือครองหลักทรัพย์ให้แก่ประชาชน

4.สิทธิจองซื้อหุ้นเพิ่มทุนของผู้ถือหุ้นเดิม (Subscription Right) คือ

สิทธิที่บริษัทผู้ออกหลักทรัพย์มอบให้แก่ผู้ถือหุ้นเดิมของบริษัท

5.ระบบไร้ใบหุ้น (Scripless System) คือ

เป็นวิธีการระบุหลักทรัพย์ที่มีอยู่ในครอบครองโดยการบันทึกข้อมูลไว้ในระบบคอมพิวเตอร์ โดยไม่ต้องมีใบหุ้นที่เป็นกายภาพ ซึ่งอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ลงทุนและผู้ที่เกี่ยวข้อง

6.กองทุนคุ้มครองผู้ลงทุนในหลักทรัพย์ (Securities Investor Protection Fund (SIPF)) คือ

เป็นกองทุนที่ตลาดหลักทรัพย์ฯ ร่วมกับบริษัทสมาชิก (โบรกเกอร์) จำนวน 28 ราย จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2547 เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับผู้ลงทุนที่ซื้อขายหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์ฯ ผ่านสมาชิกของกองทุน

7.การแปลงสินทรัพย์เป็นทุน (Securitization) คือ

เป็นกระบวนการนำสินทรัพย์ของบริษัทหรือสถาบันการเงิน ประเภทลูกหนี้เงินกู้ต่าง ๆ ที่สร้างรายได้ประจำปีแต่มีสภาพคล่องต่ำ

8.การขายชอร์ต (Short Sell) คือ

การขายหุ้นโดยที่ผู้ขายได้ยืมหุ้นนั้นมาจากบริษัทหลักทรัพย์หรือสถาบันการเงินที่ให้บริการยืมหุ้น ผู้ขายชอร์ตจะต้องวางเงินประกันไว้กับบริษัทผู้ให้ยืมหุ้นในจำนวนไม่ต่ำกว่าอัตราที่ตลาดหลักทรัพย์ฯกำหนด

9.ดัชนีราคาหลักทรัพย์ (Stock Price Index) คือ

ผู้ลงทุนสามารถติดตามภาพรวมความเคลื่อนไหวของระดับราคาซื้อขายหลักทรัพย์ได้จากดัชนีราคาหุ้นต่างๆ ที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในตลาดหลักทรัพย์ไทย เป็นดัชนีราคาหุ้นชนิดถ่วงน้ำหนักด้วยมูลค่าตลาด

10.การปั่นหุ้น (Manipulation) คือ

การซื้อขายหลักทรัพย์ใด ๆ โดยบุคคลหรือกลุ่มบุคคล เพื่อสร้างสภาพการซื้อขายให้ผิดไปจากภาวะที่เป็นจริง โดยเจตนาให้ผู้อื่นซื้อขายหลักทรัพย์ด้วยความเข้าใจผิด

1.Near-Term hight Priority Gold หมายถึง การลงทุนที่มีจุดมุ่งหมายระยะสั้น แต่ผลลัพธ์ของการลงทุนนั้นมีความสำคัญในอันดับสูง

2.Long-Term High Priority Goal หมายถึง การลงทุนที่มีจุดมุ่งหมายระยะยาว แต่ผลลัพธ์ของการลงทุนนั้นมีความสำคัญในอันดับสูง

1.Near-Term hight Priority Gold หมายถึง การลงทุนที่มีจุดมุ่งหมายระยะสั้น แต่ผลลัพธ์ของการลงทุนนั้นมีความสำคัญในอันดับสูง

2.Long-Term High Priority Goal หมายถึง การลงทุนที่มีจุดมุ่งหมายระยะยาว แต่ผลลัพธ์ของการลงทุนนั้นมีความสำคัญในอันดับสูง

3.Short-Term Low Priority Goal หมายถึง การลงทุนที่มีจุดมุ่งหมายระยะสั้น แต่ผลลัพธ์ของการลงทุนนั้นมีความสำคัญน้อย

4.Pervasive Risk หมายถึง ความเสี่ยงที่กระทบทุกคนไม่ว่าจะเป็นผู้ลงทุนหรือไม่

5.Private Placement หมายถึง การเสนอขายหลักทรัพย์แบบเฉพาะเจาะจง

6.Political(Country)Risk หมายถึง ความเสี่ยงที่มักเกิดขึ้นเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง

7.Currency(Exchange)Risk หมายถึง ความเสี่ยงที่เกิดจากความแปรผันของอัตราแลกเปลี่ยนเงินระหว่างประเทศเกิดขึ้นกับเฉพาะกรณีของการลงทุนข้ามประเทศ

8.Systematic Risk หมายถึง ความเสี่ยงที่ไม่สามารถลดลงได้

9.Interest Rate Risk หมายถึง ความเสี่ยงที่เกิดจากความแปรผันของดอกเบี้ย

10.Foreign Funds หมายถึง กองทุนจากต่างประเทศ

1.ปริมาณซื้อขาย (value)

หมายถึง ปริมาณซื้อขายจะเพิ่มขึ้นทุกครั้งที่ราคาหุ้นสูงขึ้นเเละปริมาณจะลดลงเมื่อราคาลดลง ในภาวะที่ตลาดมีเเนวโน้มใหญ่ในทิสทางลง ปริมาณซื้อขายจะเพิ่มขึ้นทุกครั้งที่ราคารหุ้นมีระดับลดต่ำลงเเละจะลดปริมาณเมื่อหุ้นมีการขยับราคาสูงขึ้น

2.หุ้นเก็งกำไร(speculative stock)

หมายถึง เป้นหุ้นที่มีโอกาสสูงที่อัตราผลตอบเเทนจะต่ำมากๆหรือขาดทุน เเละมีโอกาสน้อยทีอักตราผลตอบเเทนจะสูง

3.รายได้ต่อบุคคล(per capita income)

หมายถึง เป็นรายได้ถัวเฉลี่ยของประชากรในประเทศ อย่างไรก็ตาม เเม้ว่ารายได้ต่อหัวดดยเฉลี่ยจะเพิ่มขึ้น เต่ช่องว่างระหว่างรายได้ของผุ้มีรายได้สูงยิ่งห่างจากรายได้ของผุ้มีรายได้ต่ำ

4.ผลิตภัณฑ์มวลรวม(gross domestic product sinv GDP)

หมายถึง การเเสดงถึงผลผลิตหรือรายได้เฉพาะที่เกิดขึ้นในประเทสเท่านั้น ไม่รวมรายได้สุทธิที่เกิดขึ้นในต่างประเทศ กล่าวคือ ไม่รวมเงินปันผลอันเกิดจากการลงทุนในต่างประเทศ เเรงงานในต่างประเทศ เป็นต้น

5.ความเสี่ยงที่ไม่เป็นระบบ(unsystematic หรือ unique Risk)

หมายถึง เป็นความเสี่ยงที่เกิดจากปัจจัยภายในบริษัท

6.การขายหุ้นยืม(Short dale)

หมายถึง เป้นวิธีการจำหน่ายหุ้นโดยที่ผู้ขายไม่มีหุ้นอยู่ในครอบครอง เเต่ยืมหุ้นจากบุคคลอื่นมาจำหน่ายโดยคาดหมายว่า ณ เวลาที่ซื้อหุ้นเพื่อส่งคืนเจ้าของเดิม จะซื้อหุ้นได้ในราคาต่ำกว่าในขณะที่ขาย

7.คำสั่งซื้อขายเเบบให้ระบบการซื้อขายส่งให้โดยอัตโนติ(Publish volume)

หมายถึง เป้นคำสั่งซื้อขายเเบบบพิเศษที่ช่วยให้ผู้ซื้อหรือขายที่ต้องการซื้อขายจำนวนมาก เเต่ไม่ต้องการให้เเสดงปริมาณการซื้อขายทีดียวทั้งหมด เนื่องจากอาจส่งผลกระทบต่อราคาหลักทรัพย์ ดังนั้นจึงต้องการเสนอขายทีละส่วน

8.กระดานซื้อขายหุ้นด้วคอมพิวเตอร(Electronic board)

หมายถึง เป็นเครื่องมือคอมพิวเตอร์ที่จะติดตั้งไว้ตามที่ทำการของบริษทสมาชิกเพื่อบริการลูกค้าของบริษัทสมาชิกนั้นๆ ให้มีดอกาสได้ติดตามสถารการณ์หุ้นในการลงทุนอย่างใล้ชิด

9.วิธีประกันผลการขาย(firm commitment basis)

หมายถึง การใช้วิธีมที่ผู้ประกันการขายตกลงกับผู้ออกหลักทรัพย์ว่าจะซื้อหลักทรัพย์ที่เสนอขายนั้นไว้ทั้งหมดในราคาหนึ่งที่ตกลงกันไว้

10.วิธีขายที่ดีที่สุด(best efforts basis)

หมายถึง ผู้จัจำหน่ายหลักทรัพย์ทำสัญยากับผุ้อออกหลักทรัพย์ว่าจะพยายามขายให้มากที่สุดเท่าที่สามารถทำได้ เเต่ไม่รับประกันว่าจะขายหมดเเน่นอน ถ้าขายไม่ไหมด ผุ้จัดจำหน่ายก็ไม่ภาระที่จะต่องรับซื้อหลักทรัพย์ส่วนที่เหลือ

1. ราคาสูงกว่าที่ควรจะเป็น (overpriced) = ราคาของหลักทรัพย์นั้นสูงกว่ามูลค่าที่แท้จริงเมื่อเปรียบเทียบกับราคาของตลาดหลักทรัพย์

2. ราคาต่ำกว่าที่ควรจะเป็น (underpriced) = ราคาของหลักทรัพย์นั้นต่ำกว่ามูลค่าที่แท้จริงเมื่อเปรียบเทียบกับราคาของตลาดหลักทรัพย์

3. ช่วงจังหวะเวลา(timing) = ช่วงจังหวะเวลาของการเข้ามาของกระแสเงินสดที่คาดไว้ เช่น เป็นรายงวดๆละเท่าๆกัน เป็นต้น

4. อัตราคิดลด (discount rate) = อัตราที่ใช้คิดลดค่าของกระแสเงินสดที่คาดว่าจะได้รับในงวดเวลาต่างๆในอนาคตให้คิดเป็นมูลค่า ณ เวลาปัจจุบัน

5. กิจการจะดำรงอยู่ตลอดไป (going concern) = กิจการจะสามารถที่จะดำเนินงานและยังดำรงกิจการให้อยู่ได้ตลอดไป

6. ตัวแบบคิดลดกระแสเงินปันผล (dividend discount model) = เป็นแนวคิดวิธีการในการประเมินมูลค่าหุ้นสามัญ

7. วัฏจักรธุรกิจ (business cycle) = การเปลี่ยนแปลงไปเรื่อยๆของธุรกิจ ซึ่งมีผลมาจากเศรษฐกิจที่เจริญรุ่งเรือง ชะลอตัวหรือซบเซา

8. ขั้นบุกเบิกหรือแนะนำตลาด (pioneering or introduction stage) = เป็นขั้นที่อุตสาหกรรมเกิดขึ้นครั้งแรก มีผู้ผลิตเพียงไม่กี่ราย เป็นช่วงที่จำเป็นต้องอาศัยระยะเวลาในการปรับปรุง และทดสอบตลาด ตลอดจนแนะนำผลิตภัณฑ์ การเติบโตของยอดขายจึงช้ามาก

9. ขั้นขยายตัวหรือเจริญเติบโต (expansion or growth stage) = เป็นขั้นทีผลิตภัณฑ์ใหม่เป็นที่ยอมรับของตลาด มียอดขายเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เริ่มมีคู่แข่งเข้ามา

10. ขั้นคงตัวหรือเติบโตเต็มที่ (stabilization or maturity stage ) = เป็นขั้นที่ยอดขายเพิ่มขึ้นในอัตราที่ลดลง เนื่องจากตลาดเริ่มอิ่มตัว ยอดขายจะเพิ่มขึ้นอย่างช้าๆ จนกระทั่งลดลง

1. pure competition การแข่งขันสมบูรณ์

เป็นโครงสร้างทางเศรษฐกิจ ในอุตสาหกรรมที่มีผู้ผลิตจำนวนมากราย ผลิตสินค้าที่มีลักษณะเหมือนกัน

2.imperfect impetition การแข่นขันกึ่งสมบูรณ์

เป็นโครงสร้างทางเศรษฐกิจที่แตกต่างจากการแข่งขันสมบูรณ์ในประเด็นของความแตกต่างของผลิตภัณฑ์หรือความแตกต่างด้านภาพลักษณ์

3. oligopoly ผู้ผลิตน้อยราย

เป็นโครงสร้างทางเศรษฐกิจของอุตสาหกรรมที่มีผู้ผลิตไม่กี่รนายผลิตภันฑ์มีลักษณะเหมือนๆกัน

4. monopoly การผูกขาด

เป็นโครงสร้างทางเศรษฐกิจของอุตสาหกรรมที่มีผู้ผลิตเพียงรายเดียว ผลิตสินค้าที่ไม่อาจหาสินค้าอื่นทดแทนได้ง่ายนัก

5. nominal yield คือผลตอบแทนจากการลงทุนในหุ้นกู้ตามมูลค่าที่ระบุไว้ในหุ้นกู้

6. buy signal สัญญาณซื้อ

7. bond yield อัตราผลตอบแทนจากพันธบัตรหรือหุ้นกู้

8. straighy bond พันธบัตรหรือหุ้นกู้ธรรมดา

9. private placement หุ้นที่ขายในวงแคบ

10. dealership ระบบเจรจาต่อรองโดยผ่านคนกลาง

1. active portfolio strategy กลยุทธ์การบริหารกลุ่มหลักทรัพย์เชิงรุก

2. passive portfolio strategy กลยุทธ์การบริหารกลุ่มหลักทรัพย์เชิงรับ

3. financial system การเคลื่อนย้ายเงินในระบบการเงิน เป็นการเคลื่อนย้ายเงินออมจากผู้มีเงินออม มายังผู้ที่ต้องการใช้เงินทุนอยู่ตลอดเวลาโดยผ่านตลาดการเงิน

4. asset allocation decision การตัดสินใจจัดสรรเงินลงทุนในหลักทรัพย์แต่ละประเภท

5. index ดัชนีหลักทรัพย์

6. broadening formation การก่อตัวของราคาเป็นรูปแบบขยายกว้างขึ้น

7. on balance volume ดัชนีมูลค่าสะสม

8. relative strength indicator ดัชนีกำลังสัมพันธ์

9. overbought ovcrsold indicator ดัชนีซื้อขายเกินขอบเขต

10. daily fluctuation การเคลื่อนไหวรายวัน

1.การเติบโตทางเศรษฐกิจ(economic growth)เป็นเป้าหมายที่ต้องการให้ผลผลิตของประเทศสูงในระดับที่ตั้งเป้าหมายไว้ เพื่อให้คนในชาติมีความเป็นอยู่ดีขึ้น

2.เสถียรภาพทางราคา(price stability)ต้องการให้ระดับราคาสินค้าโดยทั่วไปไม่เปลี่ยนแปลยงอย่างรุนแรง รักษาอัตราเงินเฟ้อให้อยู่ในระดับต่ำ เพื่อให้อำนาจซื่อของเงินไม่ลดลงอย่างรวดเร็ว

3.การกระจายรายได้(income distribution)เป็นเป้าหมายที่ต้องการให้รายได้กระจายไปสู่คนในชาติอย่างเป็นธรรม

4.เสถียรภาพภายนอก(external stability)เป็นเป้าหมายที่ต้องการให้ค่าของเงินตราเมื่อเทียบเงินต่างประเทศไม่เปลี่ยนแปลยงขึ้นลงมากนัก

5.รายได้ประชาชาติgros national product หรือ GNP)แสดงถึงผลผลิตหรือรายได้ที่เกิดขึ้นทั้งในประเทศและนอกประเทศ

6.ราคาคงที่(constant price)เป็นการคำนวณผลผลิตหรือรายได้ของแต่ละปีโดยใช้ราคาคงที่ของปีฐาน ในการวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลยงของเศรษฐกิจโดยส่วนรวม

7.ดุลการชำระเงิน(balance of payments)เป็นบัญชีบันทึกรายการการติดต่อทางเศรษฐกิจในช่วงเวลาหนึ่งระหว่างผู้พำนักอาศัยในประเทศหนึ่งกับผู้พำนักอาศัยในประเทศอื่นๆทั่วโลก โดยรายการรที่บันทึกนี้บันทึกเป็นหน่วยเงินตรา

8.บัญชีเดินสะพัด(current account)

9.บัญชีทุนเคลื่อนย้าย(capital movement account)

10.บัญชีทุนสำรองต่างประเทศ(international reserves acccount)

1.ฐานเงิน (monetary base)

ประกอบด้วยธนบัตรและเหรียญกษาปณ์ที่หมุนเวียนอยู่ในมือประชาชน และในมือธนาคารพาณิชย์ รวมทั้งเงินฝากสถาบันการเงินที่ฝากไว้ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งในทางเศรษฐศาสตร์ฐานเงินจะสามารถสร้างปริมาณเงินหมุนเวียนได้จำนวนกี่เท่าขึ้นกับขนาดของตัวทวีฐานเงิน ในปัจจุบันฐานเงินเพิ่มขึ้น 1 บาท สามารถสร้างปริมาณเงิน M1 ได้ประมาณ 0.9 เท่า สร้างปริมาณเงิน M2 ได้ประมาณ 10 เท่า ปริมาณเงิน M2a ได้ 11 เท่า และปริมาณเงิน M3 ได้ประมาณ 12 เท่า

2.ทุนสำรองเงินตรา (Currency reserves)

คือ สินทรัพย์ที่ใช้หมุนหลังธนบัตรออกใช้ ซึ่งจะต้องมีมูลค่าเท่ากับธนบัตรออกใช้ 100% ตามหลักการที่ว่า มูลค่าของธนบัตรออกใช้จะต้องเท่ากับมูลค่าของ สินทรัพย์ทุนสำรองเงินตราเพื่อสร้างความมั่นใจให้กับประชาชนว่าธนบัตรได้รับการประกันราคาให้มีค่าตามที่ระบุไว้บนหน้าธนบัตรนั้น สินทรัพย์ที่ประกอบขึ้นเป็นทุนสำรองเงินตรา ได้แก่

3.สินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL)

หมายถึง เงินให้สินเชื่อที่ค้างชำระเงินต้นและหรือดอกเบี้ย นับจากวันที่ครบกำหนดชำระเงินตามงวดที่กำหนดในสัญญา หรือ เมื่อได้ทวงถามหรือเรียกให้ชำระหนี้แล้วเป็นระยะเวลาเกินกว่า 3 เดือน โดยพิจารณาการค้างชำระเป็นรายสัญญาหรือรายบัญชี

4.อัตราแลกเปลี่ยน (Exchange Rate)

เป็นอัตราที่เทียบระหว่างค่าของเงินสกุลหนึ่ง (เช่น เงินสกุลท้องถิ่น) กับหนึ่งหน่วยงานของเงินสกุลหลัก เช่น ค่าของเงินบาทเทียบกับ 1 หน่วยดอลลาร์สหรัฐเท่ากับ 40 บาท เป็นต้น ระบบอัตราแลกเปลี่ยน โดยกว้างๆ แล้วมี 2 ระบบ คือ ระบบอัตราแลกเปลี่ยนคงที่ (Fixed Exchange Rate) และระบบอัตราแลกเปลี่ยนลอยตัว (Floating Exchange Rate) อย่างไรก็ดี ระบบอัตราแลกเปลี่ยนที่ใช้กันอยู่ความจริงมีความหลากหลายมาก โดยอาจจำแนกได้เป็น 3 ระบบใหญ่ๆ

5.ภาคเศรษฐกิจการเงิน (Financial Sector)

หมายถึง ภาคเศรษฐกิจที่ประกอบธุรกิจด้านการเงิน โดยทำหน้าที่เป็นตัวกลางเชื่อมระหว่างผู้ออมและผู้ลงทุน รวมทั้งให้บริการ ด้านการเงินอื่นๆด้วย โดยเฉพาะด้านการชำระเงิน

ซึ่งภาคเศรษฐกิจการเงินนี้ประกอบไปด้วยสถาบันการเงินประเภทต่างๆ เช่น ธนาคารพาณิชย์ กิจการวิเทศธนกิจ บริษัทเงินทุน บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ บริษัทหลักทรัพย์ บริษัทประกันชีวิต บริษัทประกันภัย และตลาดหลักทรัพย์ เป็นต้น

6.เงินตราที่แลกเปลี่ยนได้ (currency convertibility)

มีความหมายแตกต่างกันไปในระบบการเงินแบบต่างๆ ดังนี้ (1) ในระบบมาตรฐาน

ทองคำ(gold standard) หมายถึงธนบัตรที่สามารถนำๆไปแลกเป็นเหรียญทองคำหรือเหรียญเงินจากกระทรวงการคลังหรือหน่วยงานที่รับผิดชอบตามราคาที่ระบุไว้ในธนบัตร (2) ในระบบมาตราปริวรรตทองคำ (gold exchandard) ธนาคารกลางสหรัฐอเมริกาอนุญาติใหัแลกดอลลาร์กับคำในระดับธนาคารกลางได้ (3) ในระดับอัตราแลกเปลี่ยนลอยตัว(ที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน) หมายถึงเงินตราสกุลหนึ่งสามารถแลกเป็นเงินตราสกุลอื่นได้โดยไม่มีอุปสรรคอันเกิดจากข้อจำกัดของรัฐบาลเจ้าของเงินตรา

7.อัตราส่วนหนี้สินต่อส่วนของเจ้าของ (debt equity ratio)

อัตราส่วนระหว่างหนี้สินระยะยาวต่อส่วนของเจ้าของ หากอัตราส่วนหนี้มีค่าสูง แสดงว่าหน่วยธุรกิจพึ่งพิงเงินทุนจากภายนอกในสัดส่วนสูงฐานะการเงินของหน่วยธุรกิจอาจมีความเสี่ยงสูง

8.เงินชดเชยส่วนต่าง ( deficiency payment)

จำนวนเงินที่รัฐบาลชดเชยให้แก่เกษตรในกรณีที่ราคาพืชผลในตลาดอยู่ในระดับต่ำกว่าราคาเป้าหมายที่กำหนดไว้ เป็นวิธีการหนึ่งในการประกันราคาขั้นต่ำ โดยคำนวณเงินชดเชยจากส่วนต่างระหว่างระดับราคาตลาดภายในประเทศกับระดับราคาเป้าหมายนั้นๆ การชดเชยเฉพาะส่วนต่างทำให้รัฐบาลใช้งบประมาณน้อยกว่ากรณีที่รัฐบาลรับซื้อพืชผลเกษตรเองในราคาประกัน การช่วยเหลือเกษตรโดยใช้เงินชดเชยส่วนต่างนี้เป็นวิธีที่นักเศรษฐศาสตร์หลายกลุ่มสนับสนุนให้ใช้แทนวิธีการอุดหนุนการผลิตสินค้าแบบอื่นๆ อันได้แก่ การรับซื้อพืชผลตามราคาประกัน โดยรัฐบาล การเก็บภาษีสินค้านำเข้า และการกีดกันการนำเข้าสินค้าเกษตรด้วยวิธีต่างๆ ซึ่งมักใช้กันในประเทศพัฒนาแล้ว เช่น ประชาคมเศรษฐกิจยุโรป สหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น เป็นต้น

9.การระดมเงินเพื่อใช้จ่ายที่เกินรายรับ ( deficit financing)

การระดมเงินเพื่อสนองการใช้จ่ายที่เกินรายรับ ในกรณีของงบประมาณแผ่นดิน หากมีการใช้จ่ายที่เกินรายรับโดยการตั้งงบประมาณแบบขาดดุล รัฐบาลจะต้องระดมเงินโดยการ *** ้ยืมจากภายในและ/หรือจากต่างประเทศ และการใช้เงินคงคลัง

10.การขาดดุลตามรายได้ประชาชาติ (national account)

เป็นการขาดดุลของรัฐบาลรวมทั้งหน่วยงานของรัฐบาลต่างๆ เช่น องค์การบริหารราชการส่วนท้องถิ่น ในแง่ของการหาและการใช้ทรัพยากร (resource Gap) โดยที่รายได้และรายจ่ายของรัฐบาลต่างๆ ข้างต้นจะหักรายได้และรายจ่ายที่มีลักษณะเป็นการโอน (transfer) เช่น ค่าดอกเบี้ยคงเหลือเป็นรายได้ตรง ตัวเลขตามรายได้ประชาชาติมักจะปรากฏเป็นปีปฏิทิน ซึ่งต่างจากตัวอื่นๆ ที่เป็นปีงบประมาณและจะต้องคำนึงถึงการหาและใช้ทรัพยากรของรัฐบาลด้านต่างๆ ทั้งที่มีปรากฏอยู่ในงบประมาณแผ่นดินและไม่ปรากฏ หรือที่มีการแสดงการตามฐานะการเงินหรือไม่ก็ตาม การวิเคราะห์ตัวเลขการขาดดุลตามรายได้ประชาชาติจึงเป็นการมองจากการหาและใช้ทรัพยากรในภาคเศรษฐกิจจริงโดยรัฐบาลมากกว่าจะเป็นกิจกรรมรัฐบาล (ซึ่งหากไม่มีการเงินมาเกี่ยวข้องก็จะไม่ปรากฏในฐานะการคลังรัฐบาล)

1.บรรษัทเงินระหว่างประเทศ (international development corp.)

เป็นองค์กรในเครือธนาคารโลก มีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยเหลือส่งเสริมและร่วมลงทุนในกิจการอุตสาหกรรม และสถาบันการเงินต่างๆ ในประเทศสมาชิกทั้งภาคเอกชน และในภาครัฐบาล

2.สมาคมเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศ (international monetary fund)

เป็นสถาบันการเงินเอกเทศจากธนาคารโลก มีวัตถุประสงค์ให้ *** ้แก่ประเทศสมาชิกที่ประสบปัญหาเรื่องการขาดดุลการเงินระหว่างประเทศ เป็นแบบเงิน *** ้ระยะปานกลางไม่เกิน 7 ปี

3.เงินรายปี (annuity)

กระแสเงินสดที่รับหรือจ่ายในจำนวนเท่ากันหรือเป็นรายงวดในช่วงระยะเวลาที่กำหนด เช่นดอกเบี้ยรับจากการถือพันธบัตรรัฐบาล รายจ่ายค่าเบี้ยประกันชีวิต และเงินจ่ายคืนบริษัทประกันชีวิตตามข้อตกลง เป็นต้น โดยทั่วไปอาจจำแนกเงินรายปีเป็น 2 แบบ คือ แบบจ่ายทันที (annuity – immediate) และแบบที่จ่ายเมื่อถึงกำหนด (annuity – due)

4.งบดุล (balance of trade)

เป็นงบการเงินแสดงที่มาของเงินทุน (sources of fund) ณ เวลาใดเวลาหนึ่ง ประกอบด้วยหนี้สินและทุน และการแสดงเงินทุน (uses of fund) ในรูปของทรัพย์สินประเภทต่างๆ

5.เงินทุนไหลเข้า (capital inflow)

เงินทุนไหลเข้าเป็นธุรกรรมทางเศรษฐกิจ (economic transaction) ที่ก่อให้เกิดสิทธิเรียกร้องการชำระหนี้จากต่างประเทศที่มีต่อประเทศผู้รับเงินทุน ผู้พำนักอาศัยในประเทศอื่นซึ่งเป็นเจ้าของเงินทุนที่ไหลเข้ามาในประเทศไทยย่อมมีฐานะเป็นเจ้าหนี้ ส่วนประเทศมีไทยมีฐานะเป็นลูกหนี้ จึงบันทึกรายการเงินทุนไหลเข้าด้านเครดิตของบัญชีทุนเคลื่อนย้าย ในดุลการชำระเงินระหว่างประเทศของประเทศของไทย เงินทุนไหลเข้าได้แก่ (1) การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (2) การ *** ้เงินระยะยาวจากต่างประเทศภาคเอกชน ประกอบด้วยการ *** ้ยืม (loans) ของรัฐวิสาหกิจ การ *** ้ยืมของธุรกิจภาคเอกชน การลงทุนในภาคหลักทรัพย์ (portfolio investment) (3) การ *** ้ยืมระยะสั้นภาคเอกชน ได้แก่ การ *** ้ยืมของรัฐวิสาหกิจ และ (4) เงินทุนไหลเข้าของรัฐบาลกลาง ได้แก่ การ *** ้ยืม การขายหลักทรัพย์ระยะยาว (พันธบัตร) การผ่อนชำระสินค้าเข้า (supplier’s credit)

6.เงินทุนไหลออก (capital outflow)

หมายถึงธุรกรรมทางเศรษฐกิจที่เจ้าของเงินทุนมีสิทธิเรียกร้องการชำระหนี้จากผู้พำนักอาศัยในต่างประเทศ ผู้พำนักอาศัยในประเทศซึ่งเป็นเจ้าของเงินทุนที่ไหลออกจากประเทศไทยย่อมมีฐานะเป็นเจ้าหนี้ ส่วนประเทศอื่นมีฐานะเป็นลูกหนี้ จึงบันทึกรายการเงินทุนไหลออกในด้านเดบิตของ บัญชีทุนเคลื่อนย้าย ในดุลการชำระเงินระหว่างประเทศของไทย เงินทุนไหลออกได้แก่ (1) การลงทุนโดยตรงในต่างประเทศ (2) การให้สินเชื่อระยะยาวแก่ภาคเอกชนในต่างประเทศ (3) การให้สินเชื่อระยะสั้นแก่ภาคเอกชนในต่างประเทศ และ (4) เงินทุนไหลออกของรัฐบาลกลาง

7.เงินทุนสมทบ (counterpart funds)

เงินที่ผู้ร่วมกิจกรรมหรือโครงการจ่ายตามส่วนที่กำหนด หรือเงินทุนที่ผู้รับความช่วยเหลือจ่ายสมทบเงินที่ได้รับความช่วยเหลือ เป็นวิธีการให้ความช่วยเหลือที่กำหนดให้ผู้รับความช่วยเหลือ มีส่วนร่วม (participation) โดยการจัดหาเงินทุนหรือวัสดุสิ่งของสำหรับใช้ในการดำเนินโครงการมา สมทบกับเงินทุนที่ได้รับความช่วยเหลือ

8.ปริมาณเงิน M1 หรือปริมาณเงินตามความหมายแคบ (Narrow Money)

ปริมาณเงินที่หมุนเวียนในมือประชาชน ประกอบด้วยะนบัตรและเหรียญกษาปณ์ในมือประชาชนและเงินฝากเผื่อเรียกของประชาชนที่ระบบธนาคาร

9.ปริมาณเงิน M2 หรือปริมาณเงินตามความหมายกว้าง (Broad Money)

ปริมาณเงินที่หมุนเวียนในมือประชาชน นอกจากประกอบด้วยธนบัตรและเหรียญกษาปณ์ในมือประชาชนและเงินฝากเผื่อเรียกแล้ว ยังรวมเงินฝากประจำและออมทรัพย์ที่ระบบธนาคารอีกด้วย

10.บัตรเงินฝาก (Negotiable Cert)

เป็นตราสารซึ่งเปลี่ยนมือได้ที่ธนาคารพาณิชย์ออกificate of Depositให้แก่ผู้ฝากเงินเพื่อเป็นหลักฐานการรับฝากเงิน และเพื่อแสดงสิทธิของผู้ทรงตราสารที่จะได้รับเงินฝากคืนเมื่อสิ้นระยะเวลาอันกำหนดไว้ โดยจะมีการกำหนดดอกเบี้ยไว้ด้วยหรือไม่ก็ได้

1.ดุลงบประมาณ (Budgetary Balance) หมายถึง ส่วนต่างระหว่างประมาณการรายได้และประมาณการรายจ่ายตามที่กำหนดไว้ในเอกสารงบประมาณประจำปี เช่น ปีงบประมาณ 2542 ประมาณการรายได้ 800 พันล้านบาท ประมาณการรายจ่าย 825 พันล้านบาท ดังนั้นดุลงบประมาณ ขาดดุล 25 พันล้านบาท

2.ดุลเงินสดรัฐบาล (Cash Balance) หมายถึง ส่วนต่างระหว่างรายได้และรายจ่ายจริงของรัฐบาลทั้งจากเงินในและเงินนอกงบประมาณ หรืออีกนัยหนึ่ง ดุลเงินสดจะเท่ากับดุลเงินในงบประมาณบวกดุลเงินนอกงบประมาณ โดยเงินในงบประมาณ หมายถึง รายได้แผ่นดินและรายจ่ายตามงบประมาณ ซึ่งรายได้ประกอบด้วย รายได้จากภาษีอากร รายได้จากการขายสินค้าและบริการ รายได้จากรัฐพาณิชย์และรายได้อื่นๆ ส่วนรายจ่ายประกอบด้วย รายจ่ายหมวดเงินเดือนและค่าจ้าง หมวดค่าตอบแทนใช้สอยวัสดุสาธารณูปโภค หมวดค่าครุภัณฑ์ ที่ดิน สิ่งก่อสร้าง หมวดเงินอุดหนุน และรายจ่ายอื่น

 3.ดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจ (Business Sentiment Index) เป็นดัชนีชี้ภาวะทางธุรกิจที่สามารถใช้เตือนภัย ทางเศรษฐกิจประเภทหนึ่ง มีวัตถุประสงค์ในการจัดทำ คือ เพื่อเป็นเครื่องมือให้ทั้งภาครัฐและเอกชนในการติดตามภาวะธุรกิจ และเศรษฐกิจโดยรวม

4.การขาดดุลแฝด (Twin Deficits)การขาดดุลแฝด คือ การขาดดุลบัญชีคลังและการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดในขณะเดียวกัน โดยการขาดดุลการคลังเนื่องมาจากรัฐบาลมีการใช้จ่ายมากกว่ารายรับ และการขาดดุลบัญชีเดินสะพัด เกิดจากการขาดดุลการค้าและ/หรือดุลบัญชีบริการ ซึ่งการขาดดุลการค้าเนื่องจากมีการนำเข้าสินค้ามากกว่าการส่งออก

5.ตลาดการประมูล (Open Market) เป็นตลาดที่กำหนดวิธีการซื้อขายให้ผู้ซื้อและผู้ขายตราสารทางการเงินหลายรายเข้ามาเสนอราคาซื้อขายพร้อมกัน จนได้ข้อตกลงสรุปเป็นราคาตลาดและปริมาณการซื้อขาย ซึ่งทุกฝ่ายยอมรับร่วมกันเกิดเป็นปริมาณซื้อ ที่เท่ากับปริมาณเสนอขายพอดี

 6.ตลาดซื้อขายตรง (Negotiated Market) เป็นตลาดที่ผู้ซื้อและผู้ขายติดต่อกันเองโดยตรง เพื่อเจรจาต่อรองเกี่ยวกับจำนวนและราคาของตราสารทางการเงินที่ตนสนใจจะซื้อขาย ราคาที่ตกลงกันได้นั้นเป็นราคาเฉพาะของผู้ซื้อและผู้ขายที่ตกลงกันได้คู่นั้น

7.ตลาดพันธบัตร (Bond market) สถานที่หรือช่องทางในการตกลงซื้อขายหรือแลกเปลี่ยนพันธบัตร อาจจะมีการตกลงซื้อขายพันธบัตรนั้นเฉพาะภายในประเทศโดยผ่านตัวแทนนายหน้า ที่ทำหน้าที่ซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์หรืออาจมีการซื้อขายกันระหว่างประเทศ ตลาดพันธบัตรระหว่างประเทศที่มีชื่อเสียงคือ ตลาดพันธบัตรยูโร

8.ผลตอบเเทนจากพันธบัตร ( Bond yield) ผลตอบแทนที่ผู้ถือพันธบัตรจะได้รับจากพันธบัตรนั้น ผลตอบแทนที่ได้อาจจะอยู่ในรูปของอัตราดอกเบี้ยเมื่อครบกำหนด หรือผลตอบแทนจากส่วนต่างระหว่างราคาซื้อและราคาขายในกรณีที่ผู้ถือขายพันธบัตรนั้นให้แก่บุคคลอื่น ผลตอบแทนส่วนหลังนี้เรียกว่า ผลกำไรจากมูลค่าทุน

9.สัญญาซื้อขายล่วงหน้า (futures หรือ futures contract) สัญญาระหว่างคู่สัญญาสองฝ่ายตกลงราคากัน ณ ปัจจุบัน และจะมีการส่งมอบสินทรัพย์และชำระเงินในอนาคตตามราคาที่ตกลงไว้ไม่ว่าราคาในขณะนั้นจะเป็นเท่าไรก็ตาม การทำสัญญาซื้อขายล่วงหน้าถือว่าทั้งสองฝ่ายมีภาระผูกพันต่อกันต้องปฏิบัติตาม เช่น สัญญาซื้อขายล่วงหน้าดัชนีเซท 50 (SET 50 Index Future) และมีศูนย์ซื้อขายล่วงหน้าเป็นตลาดรองไว้ให้ซื้อขายเปลี่ยนความเป็นเจ้าของสัญญาด้วย

10.การแตกหุ้น (split) การแตกหุ้นของบริษัทหนึ่งที่ออกจำหน่ายแล้วให้มีจำนวนมากขึ้น มักจะเกิดขึ้นในกรณีที่ราคาหุ้นขอบริษัทที่ซื้อขายกันในตลาดมีราคาสูง ประกอบกับบริษัทต้องการเงินทุนเพิ่มเพื่อการขยายกิจการ บริษัทจะทำการแตกหุ้น ซึ่งส่วนมากควรจะมีผลให้ราคาตลาดของหุ้นลดลง การซื้อขายจะคล่องตัวขึ้น และเมื่อบริษัทออกหุ้นใหม่เพื่อการเพิ่มทุนก็จะทำได้สะดวกขึ้น ทั้งนี้ การแตกหุ้นจะไม่ทำให้มูลค่ารวมของทุนจดทะเบียนเปลี่ยนแปลง แต่จะเปลี่ยนเฉพาะจำนวนหุ้นที่ออกจำหน่ายและราคาตามบัญชีหุ้นเท่านั้น โดยไม่ทำให้สัดส่วนความเป็นเจ้าของของผู้ถือหุ้นเดิมเปลี่ยนไปแต่อย่างใด เช่น บริษัทที่มีหุ้นสามัญ 1,000,000 หุ้น ต้องการจะแบ่งหุ้นในสัดส่วน 3 ต่อ 1 ฉะนั้นจะมีจำนวนหุ้นเปลี่ยนเป็น 3,000,000 หุ้น เป็นต้น

1.การซื้อขายรายใหญ่(Big Lot): การซื้อขายหลักทรัพย์ใดหลักทรัพย์หนึ่ง (อาจเป็นหุ้นหรือตราสารหนี้ก็ได้) จำนวนเดียวโดยไม่แบ่งย่อย และมีปริมาณหรือมูลค่าการซื้อขายเท่ากับหรือสูงกว่าปริมาณหรือมูลค่าที่ตลาดหลักทรัพย์กำหนด ปัจจุบันตลาดหลักทรัพย์กำหนดว่าการซื้อขายคราวละตั้งแต่ 1 ล้านหุ้นหรือมูลค่า 3 ล้านบาทขึ้นไป ถือเป็นการซื้อขายรายใหญ่ (Big Lot) ตลาดหลักทรัพย์จัด Big-Lot Board (กระดานซื้อขายรายใหญ่) ไว้รองรับการซื้อขาย

2.หน่วยการซื้อขาย(Board Lot): จำนวนหน่วยขั้นต่ำของหลักทรัพย์ท่ีตลาดหลักทรัพย์อนุญาตให้มีการซื้อขาย์บนกระดานหลัก (Main Board) ปัจจุบันตลาดหลักทรัพย์กำหนดให้ 1 หน่วยซื้อขาย หรือ 1 Board Lot เท่ากับ 100 หุ้น (หรือหน่วยลงทุนหรือสิทธิที่จะซื้อหุ้นหรือหน่วยลงทุน) อย่างไรก็ตามในกรณีที่หลักทรัพย์ใดมีราคาซื้อขายตั้งแต่ 500 บาทขึ้นไป เป็นระยะเวลาติดต่อกันนาน 6 เดือน หนึ่งหน่วยการซื้อขายจะเท่ากับ 50 หุ้น หรือ 50 หน่วยลงทุนหรือสิทธิที่จะซื้อหุ้นหรือหน่วยลงทุน

3.บัญชีซื้อขายหลักทรัพย์ด้วยเงินสด(Cash Account): บัญชีเพื่อการซื้อขายหลักทรัพย์สำหรับลูกค้า ที่ต้องการซื้อขายหลักทรัพย์ โดยชำระเงินค่าซื้อหลักทรัพย์เต็ม

จำนวนด้วยเงินสด

4.ผู้ดูแลและเก็บรักษาหลักทรัพย์ (Custodian ) : ธนาคารหรือสถาบันการเงินที่ทำหน้าที่ดูแลและเก็บรักษาใบหุ้นและสินทรัพย์อื่น ๆ ให้แก่กองทุนรวม บุคคลธรรมดา หรือบริษัทที่เป็นลูกค้า

5.หุ้นกู้แปลงสภาพ(Convertible Debenture ) :

มีลักษณะคล้ายหุ้นกู้ทั่วไป โดยจะแตกต่างกันคือจะไม่คืนเงินต้นเมื่อครบอายุ แต่จะให้สิทธิแก่ผู้ถือในการแปลงหุ้นกู้นั้นเป็นหุ้นสามัญในระยะเวลา ราคา และอัตราส่วนที่กำหนดไว้ ผู้ถือหุ้นกู้แปลงสภาพมีฐานะเป็นเจ้าหนี้ของบริษัทเหมือนผู้ถือหุ้นกู้ ทั่วไป ต่อเมื่อได้นำหุ้นกู้นี้ไปแปลงสภาพหรือแลกเปลี่ยนเป็นหุ้นสามัญตามสิทธิแล้วก็จะมีฐานะร่วมเป็นเจ้าของบริษัทตามจำนวนหุ้น สามัญที่ได้รับ

6.การขายชอร์ต(Selling Short) : การขายหุ้นโดยที่ผู้ขายได้ยืมหุ้นนั้นมาจากบริษัทหลักทรัพย์หรือจากสถาบันที่ให้บริการยืมหุ้น ผู้ขายชอร์ตจะต้องวางเงินประกัน (Margin) ไว้กับบริษัทผู้ให้ยืมหุ้นในจำนวนไม่ต่ำกว่าอัตราที่ตลาดหลักทรัพย์กำหนดและเงินจากการขายหุ้นดัง กล่าว ก็ต้องเก็บรักษาไว้ที่บริษัทนายหน้าเพื่อเป็นหลักประกันด้วย ทั้งนี้จนกว่าผู้ขายชอร์ตจะส่งคืนหุ้นจำนวนที่ยืมไปนั้น ซึ่งจะส่ง คืนหุ้น ณ วันที่ถึงกำหนดส่งคืนหุ้นหรือส่งคืนก่อนวันครบกำหนดก็ได้ ในระหว่างที่ยังไม่ส่งคืนหุ้น หากหุ้นนั้นได้รับสิทธิประโยชน์ใด ๆ จากบริษัทผู้ออกหุ้น ผู้ขายชอร์ตจะต้องส่งมอบสิทธิต่าง ๆี่เกิดขึ้นนั้นแก่บริษัทนายหน้าของตน เพื่อส่งมอบต่อให้แก่เจ้าของหุ้นที่ให้ ยืมอีกทอดหนึ่ง สิทธิต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้น เช่น การจ่ายเงินปันผล การให้สิทธิจองซื้อหุ้นเพิ่มทุน เป็นต้น

7.การเพิกถอนหลักทรัพย์จดทะเบียน(Delisting): การที่ตลาดหลักทรัพย์ถอนสถานภาพการเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนของหลักทรัพย์ใด ๆ หลักทรัพย์จดทะเบียนที่ ถูกเพิกถอนแล้วจะไม่ได้รับอนุญาตให้มีการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ต่อไป ในการเพิกถอนหลักทรัพย์นั้นอาจเป็นเพราะบริษัท ผู้ออกหลักทรัพย์ดังกล่าวขอถอนหลักทรัพย์ของตนออกจากการเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนโดยสมัครใจ (ทั้งนี้ต้องได้รับความเห็น ชอบจากที่ประชุมผู้ถือหุ้นด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่า 3 ใน 4 ของจำนวนหุ้นที่ออกจำหน่ายทั้งหมด และต้องไม่มีผู้ถือหุ้นคัดค้าน การขอเพิกถอนเกินกว่า 10% ของจำนวนหุ้นที่ออกจำหน่ายทั้งหมด) หรือตลาดหลักทรัพย์สั่งให้เพิกถอนหลักทรัพย์จดทะเบียน เมื่อพบว่าบริษัทผู้ออกหลักทรัพย์ดังกล่าวได้กระทำผิดข้อตกลงการจดทะเบียนหลักทรัพย์ (Listing Agreement) อย่างร้ายแรง หรือในกรณีที่ฐานะการเงินและผลการดำเนินงานของบริษัทผู้ออกหลักทรัพย์ตกต่ำลงจนอาจก่อให้เกิดผลเสียต่อผู้ลงทุน

8.การบังคับขาย(Forced sell): การที่บริษัทหลักทรัพย์นำส่วนหนึ่งของหลักทรัพย์ในบัญชีเงินกู้ยืมซื้อหลักทรัพย์ของลูกค้าออกขายเพื่อเป็นการลดภาระหนี้ของลูกค้านั้น บริษัทหลักทรัพย์จะทำการ Forced Sell หุ้นของลูกค้าต่อเมื่อหลักประกันหนี้ของลูกค้ามีมูลค่าลดลง ซึ่งเมื่อ เทียบกับมูลค่าหลักทรัพย์ที่ซื้อไว้แล้วมีอัตราส่วนเท่ากับหรือต่ำกว่าระดับ Maintenance Margin Rate ที่ถือเป็นเกณฑ์ Forced Sell ซึ่งจะต่ำกว่าระดับที่เป็นเกณฑ์ Margin Call (เช่น ระดับ Forced Sell เท่ากับ 25% ขณะที่ระดับ Margin Call เท่ากับ 35% เป็นต้น) การนำหลักเกณฑ์นี้มาใช้ก็เพื่อป้องกันมิให้ลูกค้าแต่ละรายมีภาระหนี้เกินตัวจนไม่อาจแบกรับได้ (ซึ่งจะเห็นได้จาก การที่ถูก Margin Call แล้วไม่สามารถนำทรัพย์สินมาวางเป็นหลักประกันเพิ่มเติมได้) หากปล่อยค้างไว้ภาระหนี้ดังกล่าวอาจเพิ่ม ขึ้นอีกจนกลายเป็นหนี้เสีย กระทบถึงฐานะการเงินของบริษัทหลักทรัพย์ผู้ให้กู้และกระทบถึงความเชื่อมั่นต่อ บริษัทหลักทรัพย์ ทั้งระบบได้

9.หุ้นที่เจริญเติบโตเร็ว (Growth Stock ) :หุ้นของบริษัทที่มีความสามารถในการทำกำไรสูงในปัจจุบันและเป็นที่คาดว่าจะสามารถหากำไรได้สูงต่อไปในอนาคต ซึ่งจะมีผลทำให้มูลค่าหุ้นนี้ในตลาดเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ ในอัตราที่สูงกว่าหุ้นของบริษัทอื่นๆ

10. ธนาคารการลงทุน(Investment Bank ) :

สถาบันการเงินที่ทำหน้าที่เป็น Underwriter (ผู้จัดจำหน่ายหลักทรัพย์)หรือ Agent (ตัวแทนจัดจำหน่ายหลักทรัพย์) โดยเป็นคนกลางระหว่างบริษัทผู้ออกหลักทรัพย์กับประชาชนผู้ต้องการลงทุน หน้าที่ของ Investment Bank เริ่มตั้งแต่ให้คำปรึกษา ก่อนการออกหุ้นจำหน่ายแก่ประชาชน จัดเตรียมเอกสารเพื่อให้ก.ล.ต. พิจารณาการจะเสนอขายหลักทรัพย์แนะนำราคาขายที่ เหมาะสม จัดตั้งผู้ร่วมจัดจำหน่ายและจัดการการจัดจำหน่าย นอกจากหุ้นออกใหม่ Investment Bank ให้บริการจัดจำหน่ายหุ้นที่ออกจำหน่ายไปแล้วด้วย โดยการนำจำนวนหุ้นทั้งหมดที่ต้องการขายมาจัดจำหน่ายทั่วไปหรือเจรจาต่อรองหาผู้ซื้อ ธนาคารการลงทุนยังอาจให้บริการรับซื้อคืน (maintain markets) หุ้นที่ตนจัดจำหน่ายออกไปแล้วด้วย รวมถึงให้บริการจัดหาผู้ซื้อในกรณีลูกค้าต้องการขายหุ้นแบบ Private Placement ด้วย Investment Bank ส่วนใหญ่ จะทำหน้าที่เป็น Broker (นายหน้า) และ Dealer (ผู้ค้าหลักทรัพย์) ในการซื้อขายหลัก ทรัพย์ในตลาดรองด้วย รวมทั้ง อาจให้บริการธุรกรรมการเงินอื่น ๆ ที่มีเพิ่มมากขึ้นทุกวัน

1.MANIPULATION (การปั่นหุ้น) :

การซื้อขายหลักทรัพย์ใด ๆ โดยบุคคลหรือกลุ่มบุคคลเพื่อสร้างสภาพการซื้อขายให้ผิดไปจากภาวะที่เป็นจริงโดย เจตนาให้ผู้อื่นซื้อหรือขายหลักทรัพย์ด้วยความเข้าใจผิดการ กระทำดังกล่าวนี้ถือเป็นความผิดตามพระราช บัญญัติหลักทรัพย์และ ตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งมีบทกำหนดโทษไว้ด้วย

2.MARGIN ACCOUNT (บัญชีซื้อขายหุ้นโดยวางหลักประกัน) :

บัญชีซื้อขายหุ้นที่ลูกค้าขอเปิดไว้กับบริษัทหลักทรัพย์เพื่อการซื้อหุ้นโดยใช้สินเชื่อจากบริษัทนั้นและ/หรือ เพื่อการ Short Sell ในการเปิด Margin Account ลูกค้าจะต้องนำเงินหรือหลักทรัพย์จำนวนหนึ่งมาวางไว้กับบริษัทนายหน้าเพื่อเป็นหลัก ประกัน ทั้งนี้มูลค่าของหลักประกันที่นำมาวางเมื่อเทียบกับวงเงินที่จะซื้อหุ้นหรือที่จะขายชอร์ตจะต้องไม่ต่ำกว่า Initial Margin Rate ที่ตลาดหลักทรัพย์กำหนด

3.NET CLEARING (การชำระบัญชีแบบยอดสุทธิ) :

ตลาดหลักทรัพย์ใช้หลักการชำระบัญชีแบบยอดสุทธิในการชำระราคาและส่งมอบหุ้นที่ซื้อขายระหว่างบริษัทสมาชิก สมาชิกที่มียอดซื้อสุทธิจะชำระเงินจำนวนดังกล่าว โดยส่งมอบเช็คเพียง 1 ใบ แก่ บริษัทศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ และสมาชิก ที่มียอดขายสุทธิ จะได้รับชำระเงินค่าหุ้นจากบริษัทศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ด้วยเช็ค 1 ใบ ในการส่งมอบหุ้น บริษัทศูนย์รับฝากหลักทรัพย์จะหักจำนวนหุ้นในบัญชีฝากหุ้นของสมาชิกฝ่ายขายตามยอดขายสุทธิ และโอนหุ้นเข้าบัญชีฝากหุ้นของสมาชิกฝ่ายซื้อตาม ยอดซื้อสุทธิ

4.OVER-THE-COUNTER (การซื้อขายหลักทรัพย์นอกตลาดหลักทรัพย์) :

(OTC) การซื้อขายหลักทรัพย์ที่ไม่ได้จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ การซื้อขายนอกตลาดโดยปกติจะมีขนาดหรือปริมาณการค้าน้อยกว่า มีสภาพคล่องน้อยกว่า และมีการคุ้มครองผลประโยชน์ของนักลงทุนน้อยกว่าการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ที่เป็นทางการ

5.PRIVATE FUND (กองทุนส่วนบุคคล) :

กองทุนของลูกค้าแต่ละรายที่มีวงเงินไม่ต่ำกว่า 1 ล้านบาท หรือกองทุนของคณะบุคคลซึ่งประกอบด้วยบุคคลไม่เกิน 9 คนและมีวงเงินไม่ต่ำกว่า 10 ล้านบาท โดยจัดตั้งขึ้นเพื่อให้บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตเป็นผู้จัดการกองทุนส่วน บุคคลจัดการลงทุนให้ เพื่อแสวงหาประโยชน์จากการลงทุนในหลักทรัพย์ ทั้งนี้ผู้ดูแลจัดการกองทุนจะได้รับค่าธรรมเนียมเป็น ผลตอบแทน

6.WARRANT (ใบสำคัญแสดงสิทธิในการซื้อหลักทรัพย์) :

หลักทรัพย์ประเภทหนึ่งที่บริษัทมักจะออกควบมากับหุ้นกู้หรือหุ้นบุริมสิทธิหรือออกโดยการให้สิทธิแก่ผู้ถือหุ้นสามัญของบริษัท เป็นหลักทรัพย์ที่บริษัทกำหนดให้สิทธิแก่ผู้ถือ ที่จะจองซื้อหุ้นสามัญจากบริษัทได้ในจำนวน ราคา และตามระยะ เวลาที่ระบุไว้ (กองทุนรวมบางกองทุนได้ออกใบสำคัญแสดงสิทธิในการจองซื้อหน่วยลงทุนควบมากับการออกหน่วยลงทุนด้วย) อายุของ Warrant จะยาวกว่า 1 ปี ตลาดหลักทรัพย์กำหนดว่า Warrant ที่จะจดทะเบียนซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ต้องมีอายุไม่ เกิน 10 ปี Warrant มีชื่อเรียกเต็ม ๆ ว่า Subscription Warrant

7.PORTFOLIO (หลักทรัพย์ในครอบครอง) :

หลักทรัพย์ทั้งหมดในความครอบครองของผู้ลงทุนรายใดรายหนึ่ง ทั้งนี้จะต้องประกอบด้วยหลักทรัพย์จำนวนตั้งแต่ 2 ชนิด หรือ 2 บริษัทขึ้นไป จุดประสงค์ของการสร้าง Portfolio ก็เพื่อลดความเสี่ยงในการลงทุนด้วยการกระจายลงทุนในหลักทรัพย์ หลายบริษัทหรือหลายประเภท

8. UNIT TRUST (หน่วยลงทุน) :

หลักทรัพย์ที่ออกขายโดยบริษัทจัดการลงทุนเพื่อระดมเงินเข้ากองทุนรวมที่จัดตั้งขึ้น แล้วจัดสรรเงินในกองทุนนั้น ลงทุนในตลาดการเงินตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในหนังสือชี้ชวน เช่น ลงทุนซื้อหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์ ลงทุนในตราสารการเงิน ต่าง ๆ และฝากไว้กับสถาบันการเงิน เป็นต้น ผู้ถือหน่วยลงทุนมีฐานะร่วมเป็นเจ้าของกองทุนนั้น ๆ และมีสิทธิได้รับเงินปันผลตอบ แทนจากผลกำไรที่เกิดขึ้นหากถือไว้จนถึงกำหนดไถ่ถอนก็จะได้รับส่วนแบ่งคืนจากเงินกองทุนตามสัดส่วนของหน่วยลงทุนที่ถืออยู่

9.TREASURY STOCK (หุ้นของบริษัทที่บริษัทถือไว้เอง) :

หุ้นที่บริษัทออกจำหน่ายแล้ว และบริษัทได้รับกลับคืนมาโดยวิธีต่างๆ เช่น ซื้อคืนหรือรับบริจาค เป็นต้น

10.TURNOVER (ปริมาณการซื้อขายหลักทรัพย์) :

ปริมาณการซื้อขายหลักทรัพย์ในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง ทั้งนี้ อาจรายงานปริมาณการซื้อขายหลักทรัพย์เป็นจำนวนหุ้นหรือเป็นจำนวนเงินก็ได้

  1. รายได้ต่อบุคคล ( Per capita income ) เป็นรายได้ถัวเฉลี่ยของประชากรในประเทศ คำนวณโดยหารรายได้ประชาชาติด้วยจำนวนประชากร
  2. ดุลการชำระเงิน ( Balance of payment ) เป็นบัญชีบันทึกรายการการติดต่อทางเศรษฐกิจในช่วงเวลาหนึ่งระหว่างผู้พำนักอาศัยในประเทศหนึ่งกับผู้พำนักอาศัยในประเทศอื่นๆทั่วโลก
  3. ราคาปัจจุบัน ( Current price ) เป็นการคำนวณผลผลิตหรือรายได้ของแต่ละปีจากราคาในปีนั้น
  4. ราคาคงที่ ( Constsant price ) เป็นการคำนวณผลผลิตหรือรายได้ของแต่ละปีจากราคาในปีโดยใช้ราคาคงที่ของปีฐานเรียกว่า " real GDP "
  5. ผลิตภัณฑ์มวลรวม ( Gross Domestic Product หรือ GDP ) แสดงถึงผลผลิตหรือรายได้เฉพาะที่เกิดขึ้นในประเทศเท่านั้น ไม่รวมรายได้สุทธิที่เกิดขึ้นในต่างประเทศ คือ ไม่รวมเงินปันผลอันเกิดจากการลงทุนในต่างประเทศ แรงงานในต่างประเทศ เป็นต้น
  6. ช่วงราคา ( Spread ) ส่วนต่างราคาระหว่างราคาเสนอซื้อและราคาเสนอขายของหลักทรัพย์นั้นๆ
  7. การลงทุนในหลักทรัพย์ ( Financial or Securities investment ) เป็นการซื้อสินทรัพย์ในรูปของกลักทรัพย์เชน พันธบัตร หุ้นกู้
  8. การเติบโตทางเศรษฐกิจ ( Economic growth ) เป็นเป้าหมายที่ต้องการให้ผลผลิตของประเทศสูงในระดับที่ตั้งเป้าหมายไว้ เพื่อให้คนในชาติมีความเป็นอยู่ดีขึ้น
  9. การลงทุนในธุรกิจ ( Business or Economic Investment ) การซื้อทรัพย์สินเพื่อประกอบธุรกิจ หารายได้โดยหวังอย่างน้อยที่สุดรายได้ที่ได้นี้เพียงพอที่จะชดเชยกับความเสี่ยงในการลงทุน
  10. การปัองกันความเสี่ยงด้ายอำนาจซื้อ ( Purchasing power ) การที่ต้องการให้เงินทุนมีความมั่นคงและรักษามูลค่าของเงินไว้หลังหักอัตราเงินเฟ้อ

สิ่งที่สำคัญที่สุดในการลงทุน ข้าพเจ้าคิดว่าในการลงทุนนั้นคนทุกคนลงทุนไปก็เพื่อหวังกำไรหรือผลตอบแทนในการลงทุน เพื่อเป็นเงินออมไว้ใช้ในอนาคตข้างหน้าเมื่อจำเป็น เพราะการลงทุนต้องมีจุดมุ่งหมายที่แตกต่างกันออกไปไม่ว่าจะเป็นการลงทุนเพื่อให้มีรายได้เข้ามาประจำจากการลงทุนหรือไม่ก็เพิ่มค่าของเงินลงทุนโดยเพิ่มค่านั้นจากกำไรจากการลทุน ดังนั้นการลงทุนแต่ละครั้งหวังผลตอบแทนถึงแม้จะมากน้อยก็ตาม

1.การวิเคราะห์หลักทรัพย์ทางเทคนิค (technical analysis) เป็นการวิเคราะห์หลักทรัพย์โดยการศึกษารูปแบบราคาและปริมาณการซื้อขายหุ้นในอดีต

2.บัญชีดุลการค้า (Trade Account) คือ การบันทึกรายการสินค้านำเข้าและส่งออกของประเทศ

3.บัญชีดุลบริการ (Service Account) คือการบันทึกรายการรับและให้บริการทางด้านการขนส่ง ท่องเที่ยว การบริการของรัฐ และการบริการอื่น ๆ

4.เงินลงทุนโดยตรง (Direct Investment) คือ รายการที่มีการเคลื่อนย้ายลงทุนไปยังอีกประเทศหนึ่งเพื่อหวังผลระยะยาว เช่น การสร้างโรงงาน

5.บัญชีทุนสำรองระหว่างประเทศ (International Reserve Account) คือ ยอดที่แสดงการเปลี่ยนแปลงในปริมาณทุนสำรองเงินตราต่างประเทศของประเทศ ในรอบระยะเวลาหนึ่ง ซึ่งเกิดจากการปรับความแตกต่างระหว่างยอดรวมทางด้านรายรับและรายจ่ายเงินตราต่างประเทศ ของทั้งบัญชีเดินสะพัดและบัญชีทุนเคลื่อนย้ายของประเทศนั้น ๆ

6.นโยบายการเงิน (Monetary Policing) คือ นโยบายที่ธนาคารกลางใช้สำหรับควบคุมปริมาณเงิน และต้นทุนของเงิน (ดอกเบี้ย) ที่หมุนเวียนอยู่ในระบบเศรษฐกิจ ทั้งนี้เพื่อให้เศรษฐกิจมีเสถียรภาพ และมีการเจริญเติบโตในทิศทางที่ต้องการ

7.ผลิตภัณฑ์มวลรวม (Gross Domestic Product: GDP) คือ มูลค่าการผลิตสินค้าและบริการขั้นสุดท้าย ของประเทศ ในช่วงระยะเวลาหนึ่ง

8.รายได้ประชาชาติ (Gross National Product : GNP) คือ มูลค่าของสินค้าและบริการขั้นสุดท้าย

9.รายได้ประชาชาติสุทธิ (Net National Product : NNP) คือ มูลค่าสุทธิของสินค้าและบริการขั้นสุดท้ายทั้งหมดที่ประชาชาติผลิตได้โดยใช้ทรัพยากรของประเทศ ในช่วงระยะเวลาหนึ่ง มดที่ประชาชาติผลิตได้โดยใช้ทรัพยากรของประเทศ ในช่วงระยะเวลาหนึ่ง

10.รายได้จับจ่ายใช้สอย (Disposable Income :Di) คือรายได้ทั้งหมดที่ครัวเรือนได้รับมา ส่วนหนึ่งจะต้องนำมาเสียภาษีเงินได้ส่วนบุคคล

1.ความปลอดภัยของเงินทุน(security of principal)การลงทุนที่มุ่งรักษาไว้ซึ่งเงินลงทุน โดยหวังที่จะได้รับเงินลงทุนที่แน่นอน

2.เสถียรภาพของรายได้(stability of income)การลงทุนที่ให้รายได้โดยเสม่ำเสมอหรือได้รับผลตอบแทนากการลงทุนเป็นการแน่นอน

3.ความงอกเงยของเงินลงทุน(capital growth)เงินที่ลงทุนไปนั้นจะต้องมีค่าเพิ่มพูนขึ้น ความงอกเงยของเงินทุนเกิดขึ้นได้จากการลงทุนในหุ้นของบริษัทที่กำลังขยายตัว

4.ความคล่องตัวในการซื้อขาย(marketability)การเลือกลงทุนในหลักทรัพย์ที่ซื้อง่ายขายคล่อง

5.การกระจายเงินลงทุน(diversification)ในการลงทุนไม่ควรทุ่มเทเงินลงทุนไปในหลักทรัพย์ใดหลักทรัพย์หนึ่ง เพราะถ้าธุรกิจนั้นล้มเหลวเงินที่ลงทุนไปนั้นจะสูญเสียการกระจายเงินลงทุนจะช่วยลดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นกับผู้ลงทุนได้มาก

6.หลักเกี่วยกับภาษี(tax status)ในการลงทุนจะต้องพิจารณาด้วยว่าผลตอบแทนที่ได้รับจะต้องเสียภาษีหรือได้รับการยกเว้น ถ้าเสียจะได้ผลตอบแทนน้อยลง ฉะนั้นในการลงทุนผู้ลงทุนควรคำนึงถึงผลตอบแทนหลังจากการหักภาษีแล้ว หลักทรัพย์รัฐบาลย่อมได้รับการยกเว้น ดังนั้นผู้ลงทุนจึงได้รับผลตอบแทนเต็มที่

7.การลงทุน(investments)เป็นการนำเอาทรัพย์สินที่บุคคลมีอยู่ไปดำเนินการในทางที่เกิดประโยชน์ ซึ่งจะให้ผลตอบแทนมาในช่วงเวลานี้เวลานั้น

8.การลงทุนในสินค้าคงคลัง(inventory investment)เป็นสินค้าที่ธุรกิจกักตุนไว้ในโกดัง รวมถึงวัตถุดิบและอุปกรณ์ต่างๆที่ใช้ในกระบวนการผลิตและสินค้าที่ผลิตเสร็จแล้ว

9.กลยุทธ์การลงทุน(investment strategies)ในการลงทุนต้องมีกลยุทธ์ในการลงทุนเพื่อให้เกิดผลจากการลงทุนมากที่สุด หากไม่มีการกำหนดกลยุทธ์ในการลงทุนอาจทำให้การลงทุนไม่ตื่นเต้น และอาจทำให้ผลตอบแทนที่ได้รับไม่คุ้ม ในการกำหนดกลยุทธ์สิ่งแรกที่ต้องทำคือ การกำหนดเป้าหมายการลงทุน

10.ประสิทธิภาพของการลงทุนหน่วยเพิ่ม(marginal efficiency of capital)เป็นแนวคิดของ keynes คือ อัตราส่วนลดที่ทให้มูลค่าปัจจุบันของผลตอบแทนที่คาดว่าจะได้รับจากการลงทุนตลอดอายุขัยของสินค้าทุนมีค่าเท่ากับมูลค่าของสินค้าทุนพอดี

1. ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (The Stock Exchange of Thailand - SET) : หน้าที่ส่งเสริมการออมและการระดมเงินทุนระยะยาว เพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ

2. ตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (Market for AlternativeInvestment: mai) : จัดตั้งภายใต้พระราชบัญญัติหลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์ เพื่อเป็นตลาดทางเลือกในการระดมทุน ของธุรกิจที่มีศักยภาพในการเติบโตโดย

3. ตลาดตราสารหนี้ (Bond Electronic Exchange: BEX) : จัดตั้งขึ้นโดยตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และเปิดให้บริการการซื้อขายแก่นักลงทุนทั่วไปโดยให้บริการผ่านระบบการซื้อขายแบบเรียลไทม์

4. บริษัท ตลาดอนุพันธ์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) หรือ Thailand Futures Exchange PCL: TFEX : เป็นบริษัทย่อยของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยเพื่อเป็นศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า

5. ตราสารทุน (Equity Instruments) : เป็นตราสารที่กิจการออกให้แก่ผู้ถือ (Holder) เพื่อระดมเงินทุนไปใช้ในกิจการ

6. ใบแสดงสิทธิในผลประโยชน์ที่เกิดจากหลักทรัพย์อ้างอิงไทย หรือ เอ็นวีดีอาร์ (Non - Voting Depositary Receipt : NVDR) : เป็นตราสารที่ออกโดยบริษัท ไทยเอ็นวีดีอาร์ จำกัด มีสถานะเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนโดยอัตโนมัติ ( Automatic List) และมีหลักทรัพย์อ้างอิง ( Underlying Asset ) เป็นหุ้นสามัญ หุ้นบุริมสิทธิ ใบสำคัญแสดงสิทธิ หรือใบสำคัญแสดงสิทธิในการซื้อหุ้นเพิ่มทุนที่โอนสิทธิได้ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ

7. ใบแสดงสิทธิในผลประโยชน์ที่เกิดจากหลักทรัพย์อ้างอิง (Depository Receipt : DR) : เป็นตราสารที่ออกและเสนอขายโดยบริษัท สยามดีอาร์ จำกัด เป็นหลักทรัพย์ที่ให้สิทธิอ้างอิงอาจเป็นได้ทั้งหุ้นสามัญ หุ้นกู้ หุ้นกู้แปลงสภาพ ผู้ลงทุนที่ถือ DR จะได้รับสิทธิประโยชน์ต่างๆ เช่นเดียวกับผู้ถือหุ้นของบริษัทจดทะเบียนทุกประการ

8. ดัชนีราคาหุ้นตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ( SET Index) : เป็นดัชนีที่สะท้อนการเคลื่อนไหวของราคาหลักทรัพย์ทั้งหมด ( Composite Index)

สูตรการคำนวณดัชนีราคาหุ้นตลาดหลักทรัพย์ (SET Index)

SET Index = มูลค่าตลาดรวมวันปัจจุบัน (Current

Market Value) x 100 /มูลค่าตลาดรวม

วันฐาน (Base Market Value)

9. ดัชนีราคาหุ้นตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (mai Index) : เป็นดัชนีราคาหลักทรัพย์ที่สะท้อนภาวะการซื้อขายโดยรวมของตลาดหลักทรัพย์เอ็ม เอ ไอ ทั้งหมด

สูตรการคำนวณดัชนีราคาหุ้นตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (mai Index)

mai Index = มูลค่าตลาดรวมวันปัจจุบัน (Current

Market Value) x 100 /มูลค่าตลาดรวม

วันฐาน (Base Market Value)

10. องค์กรคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์นานาชาติ (International Organization of Securities Commissions -IOSCO) : ตลาดหลักทรัพย์ฯ เข้าเป็นสมาชิกประเภท full member ในปีพ.ศ. 2533 และเปลี่ยนเป็น affiliate member ในปีพ.ศ. 2535 เนื่องจากมีการจัดตั้งสำนักงานคณะกรรมการก.ล.ต.

ชัยวัฒน์ จันทสนธิ์

*1*  ตราสารหนี้ หรือ Fixed Income Securities คือ ตราสารทางการเงิน ที่ผู้ออกตราสาร ซึ่งเรียกว่า ผู้กู้ หรือ ลูกหนี้ มีข้อผูกพันทางกฎหมายว่าจะจ่ายผลตอบแทนในรูปของดอกเบี้ยเป็นงวด ๆ และเงินต้น หรือ ผลประโยชน์อื่น ๆ ตามกำหนดในตราสารให้แก่ผู้ซื้อ ซึ่งเรืยกว่า เจ้าหนี้ หรือ ผู้ให้กู้ เมื่อครบกำหนดที่ตกลงกันไว้ โดยทั่วไปตราสารหนี้ในตลาดทุนมักจะหมายถึง ตราสารหนี้ที่มีอายุตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไป

*2*  อัตราดอกเบี้ยหน้าตั๋ว Coupon Rate คือ อัตราดอกเบี้ยที่ผู้ออกมีภาระจะต้องจ่ายให้กับผู้ถือตราสารหนี้นั้น ๆ ตามงวดการจ่ายดอกเบี้ยที่กำหนดตลอดอายุของตราสารหนี้นั้น

*3*  งวดการจ่ายดอกเบี้ย Coupon Frequency คือ จำนวนครั้งของการดอกเบี้ยต่อปี ซึ่งขึ้นอยู่กับข้อกำหนดของผู้ออกตราสารหนี้ แต่โดยส่วนใหญ่มักจะกำหนดให้มีการจ่ายดอกเบี้ยทุกครึ่งปี

*4*  วันครบกำหนดไถ่ถอน Maturity Date หมายถึง วันหมดอายุของตราสารหนี้ ที่ผู้ออกจะต้องจ่ายคืนเงินต้นและดอกเบี้ยงวดสุดท้าย (ถ้ามี) ให้แก่ผู้ถือ

*5*  ข้อสัญญา และประเภทของตราสารหนี้ Covernants

หมายถึง เงื่อนไข สิทธิแฝง และข้อมูลที่ระบุ ซึ่งผู้ถือจะต้องปฏิบัติ หรืองดเว้นการปฏิบัติตลอดอายุของตราสารหนี้นั้น เช่น การดำรงสัดส่วนของหนี้สินต่อส่วนของผู้ถือหุ้นไม่เกิดอัตราที่กำหนด การให้สิทธิในการไถ่ถอนตราสารนั้น ๆ ก่อนกำหนดตามที่ระบุไว้ เป็นต้น

*6*  ออปชัน (options) เป็นตราสารทางการเงินประเภทตราสารอนุพันธ์ ที่มีลักษณะให้สิทธิ์แก่ผู้ถือที่จะใช้สิทธิ์ (excercise) ซื้อหรือขายสินทรัพย์อ้างอิง(underlying asset) ในวันที่กำหนดในอนาคต

*7* หุ้นบุริมสิทธิ (อังกฤษ: Preferred Stock) คือ ตราสารสิทธิที่แสดงความเป็นเจ้าของกิจการที่มีการจดบุริมสิทธิไว้อย่างชัดเจนไม่สามารถยกเลิกได้ โดยผู้ถือหุ้นไม่มีสิทธิในการออกเสียงในที่ประชุมผู้ถือหุ้น แต่มีสิทธิได้รับเงินปันผลเป็นจำนวนที่ระบุไว้เมื่อกิจการมีกำไรจากการดำเนินงาน ผู้ถือหุ้นบุริมสิทธิจะได้รับเงินปันผลในอัตราคงที่ตามที่จดบุริมสิทธิไว้ อาจจะมากหรือน้อยกว่าผู้ถือหุ้นสามัญก็ได้ แต่หากกิจการนั้นต้องเลิกดำเนินการและมีการชำระบัญชีโดยการขายทรัพย์สิน ผู้ถือหุ้นบุริมสิทธิจะได้รับเงินคืนทุนก่อนผู้ถือหุ้นสามัญ

*8*  หุ้นบลูชิป (Blue-chip stock) เป็นหุ้นที่ออกโดยบริษัทขนาดใหญ่ ไม่มีหนี้สินใหม่ โดยทั่วไปราคาของหุ้นบลูชิปจะมีราคาสูง ทำให้อัตราผลตอบแทนที่ผู้ลงทุนจะได้รับต่ำ ซึ่งก็สอดคล้องกับหลักการลงทุน high risk, high return ตัวอย่างของหุ้นบลูชิปที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ได้แก่ SCC, PTT เป็นต้น

*9*  ตราสารอนุพันธ์ (derivative) เป็นสินทรัพย์ทางการเงินประเภทหนึ่ง ที่มูลค่าของตราสารจะขึ้นอยู่กับกระแสเงินของสินทรัพย์อ้างอิง ไม่ได้มีค่าจากกระแสเงินของตัวตราสารเองโดยตรง ตัวอย่างของตราสารอนุพันธ์ ได้แก่ futures, forward, swap, options เป็นต้น และมีสินทรัพย์ที่สามารถอ้างอิงได้คือ เงินตราต่างประเทศ พันธบัตร ตั๋วเงิน หุ้นสามัญ สินค้าโภคภัณฑ์ หรือทรัพย์สินใดๆ เป็นต้น

*10* ตลาดต่อรอง (Over-the-Counter Market) หรือ ตลาด OTC เป็นตลาดที่ไม่มีการซื้อขายกันอย่างเป็นระบบ การเจรจาซื้อขายเป็นการต่อรองกันเอง ซึ่งจำนวนสินทรัพย์หรือหลักทรัพย์ที่ตกลงกันในสัญญาจะมีขนาดที่ไม่เท่าเทียมกัน แต่ตลาด OTC เป็นตลาดที่มีความนิยมมากในปัจจุบัน ซึ่งขนาดของตลาด OTC ในหลายประเทศจะมีขนาดที่ใหญ่กว่าตลาดแบบมีระเบียบ และมีแนวโน้มที่จะมีอัตราการเจริญเติบโตสูงมากขึ้น  

ชัยวัฒน์ จันทสนธิ์ (49473120077)

 

*1*  ตราสารหนี้ หรือ Fixed Income Securities คือ ตราสารทางการเงิน ที่ผู้ออกตราสาร ซึ่งเรียกว่า ผู้กู้ หรือ ลูกหนี้ มีข้อผูกพันทางกฎหมาย ว่าจะจ่ายผลตอบแทนในรูปของดอกเบี้ย เป็นงวด ๆ และเงินต้น หรือ ผลประโยชน์อื่น ๆ ตามกำหนดในตราสารให้แก่ผู้ซื้อ ซึ่งเรืยกว่า เจ้าหนี้ หรือ ผู้ให้กู้ เมื่อครบกำหนดที่ตกลงกันไว้ โดยทั่วไปตราสารหนี้ในตลาดทุน มักจะหมายถึง ตราสารหนี้ที่มีอายุตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไป

*2*  อัตราดอกเบี้ยหน้าตั๋ว Coupon Rate คือ อัตราดอกเบี้ยที่ผู้ออกมีภาระจะต้องจ่ายให้กับผู้ถือตราสารหนี้นั้น ๆ ตามงวดการจ่ายดอกเบี้ยที่กำหนดตลอดอายุของตราสารหนี้นั้น

*3*  งวดการจ่ายดอกเบี้ย Coupon Frequency คือ จำนวนครั้งของการดอกเบี้ยต่อปี ซึ่งขึ้นอยู่กับข้อกำหนดของผู้ออกตราสารหนี้ แต่โดยส่วนใหญ่มักจะกำหนดให้มีการจ่ายดอกเบี้ยทุกครึ่งปี

*4*  วันครบกำหนดไถ่ถอน Maturity Date หมายถึง วันหมดอายุของตราสารหนี้ ที่ผู้ออกจะต้องจ่ายคืนเงินต้นและดอกเบี้ยงวดสุดท้าย (ถ้ามี) ให้แก่ผู้ถือ

*5*  ข้อสัญญา และประเภทของตราสารหนี้ Covernants

หมายถึง เงื่อนไข สิทธิแฝง และข้อมูลที่ระบุ ซึ่งผู้ถือจะต้องปฏิบัติ หรืองดเว้นการปฏิบัติตลอดอายุของตราสารหนี้นั้น เช่น การดำรงสัดส่วนของหนี้สินต่อส่วนของผู้ถือหุ้นไม่เกิดอัตราที่กำหนด การให้สิทธิในการไถ่ถอนตราสารนั้น ๆ ก่อนกำหนดตามที่ระบุไว้ เป็นต้น

*6*ออปชัน(options)เป็นตราสารทางการเงินประเภทตราสารอนุพันธ์ ที่มีลักษณะให้สิทธิ์แก่ผู้ถือที่จะใช้สิทธิ์ (excercise)ซื้อหรือขายสินทรัพย์อ้างอิง(underlyingasset)ในวันที่กำหนดในอนาคต

*7*หุ้นบุริมสิทธิ(อังกฤษ:PreferredStock)คือตราสารสิทธิที่แสดงความเป็นเจ้าของกิจการที่มีการจดบุริมสิทธิไว้อย่างชัดเจนไม่สามารถยกเลิกได้ โดยผู้ถือหุ้นไม่มีสิทธิในการออกเสียงในที่ประชุมผู้ถือหุ้น แต่มีสิทธิได้รับเงินปันผลเป็นจำนวนที่ระบุไว้เมื่อกิจการมีกำไรจากการดำเนินงาน ผู้ถือหุ้นบุริมสิทธิจะได้รับเงินปันผลในอัตราคงที่ตามที่จดบุริมสิทธิไว้ อาจจะมากหรือน้อยกว่าผู้ถือหุ้นสามัญก็ได้ แต่หากกิจการนั้นต้องเลิกดำเนินการและมีการชำระบัญชีโดยการขายทรัพย์สิน ผู้ถือหุ้นบุริมสิทธิจะได้รับเงินคืนทุนก่อนผู้ถือหุ้นสามัญ

*8*หุ้นบลูชิป(Blue-chipstock)เป็นหุ้นที่ออกโดยบริษัทขนาดใหญ่ ไม่มีหนี้สินใหม่โดยทั่วไปราคาของหุ้นบลูชิปจะมีราคาสูงทำให้อัตราผลตอบแทนที่ผู้ลงทุนจะได้รับต่ำ ซึ่งก็สอดคล้องกับหลักการลงทุนhighrisk,highreturnตัวอย่างของหุ้นบลูชิปที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ได้แก่ SCC, PTT เป็นต้น

*9*  ตราสารอนุพันธ์ (derivative) เป็นสินทรัพย์ทางการเงินประเภทหนึ่ง ที่มูลค่าของตราสารจะขึ้นอยู่กับกระแสเงินของสินทรัพย์อ้างอิง ไม่ได้มีค่าจากกระแสเงินของตัวตราสารเองโดยตรง ตัวอย่างของตราสารอนุพันธ์ ได้แก่ futures, forward, swap, options เป็นต้น และมีสินทรัพย์ที่สามารถอ้างอิงได้คือ เงินตราต่างประเทศ พันธบัตร ตั๋วเงิน หุ้นสามัญ สินค้าโภคภัณฑ์ หรือทรัพย์สินใดๆ เป็นต้น

*10* ตลาดต่อรอง (Over-the-Counter Market) หรือ ตลาด OTC เป็นตลาดที่ไม่มีการซื้อขายกันอย่างเป็นระบบ การเจรจาซื้อขายเป็นการต่อรองกันเอง ซึ่งจำนวนสินทรัพย์หรือหลักทรัพย์ที่ตกลงกันในสัญญาจะมีขนาดที่ไม่เท่าเทียมกัน แต่ตลาด OTC เป็นตลาดที่มีความนิยมมากในปัจจุบัน ซึ่งขนาดของตลาด OTC ในหลายประเทศจะมีขนาดที่ใหญ่กว่าตลาดแบบมีระเบียบ และมีแนวโน้มที่จะมีอัตราการเจริญเติบโตสูงมากขึ้น  

1.งบลงทุน(Capital Budgeting) เป็นการจัดสรรงบประมาณลงทุนในสินทรัพย์ที่มีอายุตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไป

2.อัตราแปลงสภาพ(Conversion Ratio)เป็นอัตราที่บอกให้ทราบว่าในการแปลงสถาพนั้น หลักทรัพย์ที่แปลงสภาพได้(หุ้นกู้หรือหุ้นบุริมสิทธิ์)1หุ้น สามารถแปลงสภาพเป็นหุ้นสามัญได้กี่หุ้น

3.ราคาแปลง(Conversion Price)คือราคาของหุ้นสามัญที่ใช้ในการแปลงสภาพ

4.มูลค่าแปลงสภาพ(Conversion Value)คือมูลค่าต่ำสุดของหลักทรัพย์ที่แปลงสภาพได้ โดยเกิดจากผลคูณระหว่างอัตราแปลงสภาพได้กับราคาตลาดของหุ้นสามัญ ณ ขณะนั้น

5.ส่วนเกินการแปลงสภาพ(Conversion Premium)คือผลต่างระหว่าราคาตลาดของหลักทรัพย์ที่แปลงสภาพได้กับมูลค่าแปลงสภาพ

6.มูลค่าที่ตราไว้ในใบหุ้นกู้ (Par Value)คือมูลค่าที่ระบุไว้ในใบหุ้นกู้ เพื่อใช้ในการคำนวณดอกเบี้ยจ่ายและเป็นมูลค่าที่ใช้ในการไถ่ถอนหุ้นกู้เมื่อครบกำหนด

7.ระยะเวลากำหนดการไถ่ถอน(Maturity)คือจำนวนปีที่ออกหุ้นกู้ จนกระทั่งครบกำหนดไถ่ถอนหรือจนกระทั่งถึงวันที่ผู้ลงทุนซื้อหุ้นกู้ของธุรกิจได้รับเงินตามมูลค่าที่ตราไว้ในใบหุ้นคือจากธุรกิจผู้ออกหุ้นกู้

8.อัตราดอกเบี้ยที่ตราไว้(Coupon Rate)คืออัตราดอกเบี้ยที่ตราไว้ในใบหุ้นกู้ เพื่อใช้คำนวนดอกเบี้ยจ่ายให้กับผู้ถือหุ้น จนกระทั่งถึงวันครบกำหนดการไถ่ถอน โดยอัตราดอกเบี้ยคงที่ตลอด

9.สินทรัพย์หมุนเวียนส่วนถาวร(Permanent Current Assets)คือสินทรัพย์หมุนเวียนขั้นต่ำที่ธุรกิจต้องดำรงไว้ตลอดระยะเวลาการดำเนินงาน

10.สินทรัพย์หมุนเวียนส่วนชั่วคราว(Temporary Current Assets)คือสินทรัพย์หมุนเวียนทีธุรกิจต้องการเพิ่มเติมเกินจากสินทรัพย์หมุนเวียนส่วนถาวร ซึ่งจะผันแปรตามปัจจัยต่างๆ

คำศัพท์การลงทุน

1)หุ้นชั้นดี (BLUE CHIP)หุ้นสามัญของบริษัทที่มีการดำเนินงานที่มั่นคง สามารถทำผลกำไรให้เติบโตและรักษาระดับเงินปันผล อย่างสม่ำเสมอต่อเนื่องยาวนาน อีกทั้งมีชื่อเสียงในด้านคุณภาพของผู้บริหาร สินค้าและบริการ

2)หน่วยซื้อขาย (BOARD LOT)หุ้นสามัญของบริษัทที่มีการดำเนินงานที่มั่นคง สามารถทำผลกำไรให้เติบโตและรักษาระดับเงินปันผล อย่างสม่ำเสมอต่อเนื่องยาวนาน อีกทั้งมีชื่อเสียงในด้านคุณภาพของผู้บริหาร สินค้าและบริการ

3)มูลค่าหุ้นตามบัญชี (BOOK VALUE)มูลค่าของหุ้นสามัญ 1 หุ้น ที่ได้จากการประเมินค่าสินทรัพย์สุทธิ (Net Asset Value) ต่อหุ้นตามงบดุลล่าสุดของบริษัทผู้ออกหุ้น ซึ่งหมายความว่าหากบริษัทนี้เลิกกิจการและสามารถนำสินทรัพย์ รวมถึง หนี้สินต่างๆ ไปแปรเป็นเงินสดได้ตามมูลค่าที่ระบุในงบดุลนั้นแล้ว ผู้ถือหุ้นจะได้รับเงินคืนในจำนวน เท่ากับมูลค่าตามบัญชีต่อการถือหุ้น 1 หุ้น

4)บริษัทนายหน้าค้าหลักทรัพย์ (BROKERAGE FIRM หรือ BROKERAGE HOUSE) บริษัทหลักทรัพย์ที่เป็นสมาชิกของตลาดหลักทรัพย์ ทำหน้าที่เป็นตัวแทนซื้อหรือขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ให้แก่ผู้ลงทุน โดยได้รับค่าธรรมเนียมหรือค่านายหน้าจากผู้ลงทุนเป็นผลตอบแทน บริษัทนายหน้านี้ค้าหลักทรัพย์นี้นิยมเรียกกันสั้นๆ ว่า “โบรกเกอร์” (Broker)

5)การขายหุ้นแบบเจาะจง (PRIVATE PLACEMENT)การที่บริษัทออกหุ้นขายให้แก่ผู้ซื้อรายหนึ่งหรือกลุ่มหนึ่งโดยเจาะจงให้ผู้ซื้อรับซื้อไว้เพื่อลงทุน มิใช่รับซื้อเพื่อนำออกจัดจำหน่าย การออกหุ้นขายแบบ Private Placement บริษัทผู้ออกหุ้นไม่ต้องจัดทำข้อมูลให้สำนักงาน ก.ล.ต. พิจารณา แต่วิธี Private Placement จะต้องเข้าเกณฑ์เงื่อนไขที่กำหนดโดย ก.ล.ต.

6)ตราสารหุ้นบุริมสิทธิควบหุ้นกู้ด้อยสิทธิ(SLIPS/CAPS)ตราสารประเภทกึ่งหนี้กึ่งทุนซึ่งมีลักษณะของหุ้นบุริมสิทธิที่เป็นตราสารประเภททุนและหุ้นกู้ด้อยสิทธิซึ่งเป็นตราสารหนี้ ลักษณะพื้นฐานของหลักทรัพย์ประเภทนี้จะต้องประกอบด้วยหลักทรัพย์ 2 ส่วน กล่าวคือ ส่วนแรกเป็นตราสารหุ้นบุริมสิทธิควบหุ้นกู้ด้อยสิทธิ และส่วนที่สองเป็นตราสารหนี้ในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งซึ่งมีอายุ 7 ปี

7)ราคาเสนอขาย(OFFER)ราคาขายต่ำที่สุดของแต่ละหลักทรัพย์ที่มีการเสนอขายเข้ามาในระบบซื้อขาย ณ ขณะใดขณะหนึ่งอาจจะมีราคาเสนอขายเข้ามาหลายราคา แต่ระบบซื้อขายที่ตลาดหลักทรัพย์จะแสดงราคาเสนอขายต่ำที่สุดไว้ ซึ่งเป็นไปตามหลักเกณฑ์ว่า ผู้เสนอขายที่ราคาต่ำกว่าควรได้สิทธิขายก่อน

8)ราคาพื้น(FLOOR PRICE )ระดับราคาต่ำสุดของแต่ละหลักทรัพย์ที่จะซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ได้สำหรับวันทำการหนึ่งๆ ซึ่งคำนวณขึ้นจาก Daily Price Limit ของตลาดหลักทรัพย์ ปัจจุบันระดับที่เป็น Floor Price คือระดับราคาที่ต่ำลง 30% จากราคาปิดของวันก่อน

9)กำไรต่อหุ้น(EARNINGS PER SHARE หรือ EPS)ส่วนของกำไรสุทธิที่แบ่งเฉลี่ยแก่หุ้นสามัญแต่ละหุ้น

10)มูลค่าตามราคาตลาด(MARKET CAPITALIZATION)มูลค่าโดยรวมของหุ้นสามัญของบริษัทใดๆ ที่คำนวณขึ้นโดยใช้ราคาตลาดของหุ้นนั้นคูณกับจำนวนหุ้นสามัญจดทะเบียนทั้งหมดของบริษัทดังกล่าว

1. การตรวจสอบภาวะตลาด  (SURVEILLANCE)
    การเฝ้าดูภาวะการซื้อขายหลักทรัพย์ต่าง ๆ ในตลาดหลักทรัพย์หากพบภาวะการซื้อขายหลักทรัพย์ใดผิดไปจาก สภาพปกติที่ผ่านมา ก็จะทำการตรวจสอบข้อมูลต่าง ๆ เพื่อพิสูจน์ว่าความผิดปกติดังกล่าวเป็นการกระทำผิดกฎการซื้อขาย หลักทรัพย์หรือไม่ เช่น Insider Trading หรือ Price Manipulation เป็นต้น ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยมีส่วนงานหนึ่งในฝ่าย ห้องค้าและกำกับการซื้อขาย รับผิดชอบงานด้านนี้และมีระบบคอมพิวเตอร์ ชื่อ ATOMS ช่วยอำนวยความสะดวกและเพิ่มประสิทธิ ภาพงานด้านนี้

2. การฟื้นฟูกิจการ  (rehabilitation)
  การปรับโครงสร้างธุรกิจอาจโดยเป็นทั้งการปรับโครงสร้างทางการเงินและการบริหารงาน เพื่อให้ธุรกิจมีความสามารถกลับมาดำเนินงานทางธุรกิจและสามารถสร้างผลกำไรได้  ตลาดหลักทรัพย์ฯ ได้จัดหมวด rehabilitation company สำหรับบริษัทที่ต้องเข้าข่ายถูกเพิกถอน แต่กำลังอยู่ระหว่างฟื้นฟูกิจการ หรือแก้ไขปัญหาให้พ้นจากเหตุแห่งการถูกเพิกถอน

3. การวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน (fundamental analysis)
  เป็นวิธีการวิเคราะห์หลักทรัพย์แบบหนึ่ง การวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานมุ่งจะประเมินมูลค่าของหลักทรัพย์ในปัจจุบัน โดยพิจารณาถึงผลตอบแทนที่คาดว่าจะได้รับและราคาหลักทรัพย์ที่คาดว่าจะขายได้ในอนาคต ผลจากการวิเคราะห์นี้จะใช้เป็นเกณฑ์ตัดสินใจคือ จะซื้อหลักทรัพย์นั้นหากพบว่าราคาตลาดของหลักทรัพย์ดังกล่าวต่ำกว่ามูลค่าตามพื้นฐานที่คำนวณได้ และจะขายหลักทรัพย์นั้นหากพบว่าราคาตลาดของหลักทรัพย์ดังกล่าวสูงกว่ามูลค่าตามพื้นฐาน ในการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานจะวิเคราะห์ถึงภาวะเศรษฐกิจ ภาวะการเมือง ภาวะอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง และผลการดำเนินงาน รวมทั้งฐานะทางเงินของบริษัทผู้ออกหุ้น วิธีวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานจะแตกต่างจากการวิเคราะห์ทางเทคนิค (technical analysis) ซึ่งมุ่งวิเคราะห์ลักษณะการเคลื่อนไหวของราคาหลักทรัพย์ และปริมาณการซื้อขายหลักทรัพย์เป็นสำคัญ เพื่อคาดหมายแนวโน้มของราคาหลักทรัพย์

4. บัญชีเดินสะพัด (current account)

   บัญชีเดินสะพัดเป็นส่วนหนึ่งของบัญชีดุลการชำระดุลเงินระหว่างประเทศ ประกอบด้วย (1) รายการสินค้าและบริการ (2) รายได้และ (3) เงินโอน ภายในช่วงระยะเวลาหนึ่ง โดยปกติจะจัดทำขึ้นช่วงเวลา 1,3,6 เดือน และหนึ่งปี อนึ่ง สินค้าออกและสินค้าเข้าโดยเรียกอีกชื่อหนึ่งว่ารายการที่มองเห็น (visible items) และเรียกบริการว่ารายการที่มองไม่เห็น (in visible items) อันได้แก่ การขนส่ง การเดินทางและการท่องเที่ยว ส่วนรายได้หมายถึงดอกเบี้ยและเงินปันผลจากการลงทุนสำหรับเงินโอนมีทั้งภาครัฐบาลเอกชน

5.  หลักประกันของลูกค้า (MARGIN)
จำนวนเงินหรือทรัพย์สินที่ลูกค้าวางไว้กับบริษัทหลักทรัพย์เพื่อการซื้อหุ้นโดยใช้สินเชื่อหรือเพื่อการขายชอร์ตกับบริษัทหลักทรัพย์นั้น ตลาดหลักทรัพย์จะกำหนดอัตราขั้นต่ำที่ลูกค้าต้องวางหลักประกันไว้เรียกว่า Initial Margin Rate เช่น ร้อยละ 50 ของมูลค่าหุ้นที่ซื้อหรือขายชอร์ต เป็นต้น ตลาดหลักทรัพย์อาจกำหนดเปลี่ยนแปลงอัตรา Margin ได้หากภาวะความเสี่ยงใน ตลาดหลักทรัพย์เปลี่ยนแปลง เงิน Margin ที่ลูกค้าต้องวางเริ่มแรกนี้ เรียกว่า Initial Margin

6. เงินรายปี (annuity)

    กระแสเงินสดที่รับหรือจ่ายในจำนวนเท่ากันหรือเป็นรายงวดในช่วงระยะเวลาที่กำหนด เช่นดอกเบี้ยรับจากการถือพันธบัตรรัฐบาล รายจ่ายค่าเบี้ยประกันชีวิต และเงินจ่ายคืนบริษัทประกันชีวิตตามข้อตกลง เป็นต้น โดยทั่วไปอาจจำแนกเงินรายปีเป็น 2 แบบ คือ แบบจ่ายทันที (annuity – immediate) และแบบที่จ่ายเมื่อถึงกำหนด (annuity – due)

7. กองทุนรวมมีประกัน (guaranteed fund)
   กองทุนรวมมีประกัน คือ กองทุนรวมที่บริษัทจัดการกองทุนรวมจัดให้มีบุคคลอื่นประกันว่าหากผู้ถือหน่วยลงทุนได้ถือหน่วยลงทุนจนครอบตามระยะเวลาที่กำหนด ผู้ถือหน่วยลงทุนจะได้รับชำระเงินลงทุน หรือเงินลงทุนและผลตอบแทน จากการไถ่ถอนหรือการขายคืนหน่วยลงทุน แล้วแต่กรณี ตามจำนวนเงินที่ประกันไว้

8. เงินทุนไหลออก (capital outflow)

    หมายถึงธุรกรรมทางเศรษฐกิจที่เจ้าของเงินทุนมีสิทธิเรียกร้องการชำระหนี้จากผู้พำนักอาศัยในต่างประเทศ ผู้พำนักอาศัยในประเทศซึ่งเป็นเจ้าของเงินทุนที่ไหลออกจากประเทศไทยย่อมมีฐานะเป็นเจ้าหนี้ ส่วนประเทศอื่นมีฐานะเป็นลูกหนี้ จึงบันทึกรายการเงินทุนไหลออกในด้านเดบิตของ บัญชีทุนเคลื่อนย้าย ในดุลการชำระเงินระหว่างประเทศของไทย เงินทุนไหลออกได้แก่ (1) การลงทุนโดยตรงในต่างประเทศ (2) การให้สินเชื่อระยะยาวแก่ภาคเอกชนในต่างประเทศ (3) การให้สินเชื่อระยะสั้นแก่ภาคเอกชนในต่างประเทศ และ (4) เงินทุนไหลออกของรัฐบาลกลาง

9. เงินทุนไหลเข้า (capital inflow)

    เงินทุนไหลเข้าเป็นธุรกรรมทางเศรษฐกิจ (economic transaction) ที่ก่อให้เกิดสิทธิเรียกร้องการชำระหนี้จากต่างประเทศที่มีต่อประเทศผู้รับเงินทุน ผู้พำนักอาศัยในประเทศอื่นซึ่งเป็นเจ้าของเงินทุนที่ไหลเข้ามาในประเทศไทยย่อมมีฐานะเป็นเจ้าหนี้ ส่วนประเทศมีไทยมีฐานะเป็นลูกหนี้ จึงบันทึกรายการเงินทุนไหลเข้าด้านเครดิตของบัญชีทุนเคลื่อนย้าย ในดุลการชำระเงินระหว่างประเทศของประเทศของไทย เงินทุนไหลเข้าได้แก่ (1) การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (2) การ *** ้เงินระยะยาวจากต่างประเทศภาคเอกชน ประกอบด้วยการ *** ้ยืม (loans) ของรัฐวิสาหกิจ การ *** ้ยืมของธุรกิจภาคเอกชน การลงทุนในภาคหลักทรัพย์ (portfolio investment) (3) การ *** ้ยืมระยะสั้นภาคเอกชน ได้แก่ การ *** ้ยืมของรัฐวิสาหกิจ และ (4) เงินทุนไหลเข้าของรัฐบาลกลาง ได้แก่ การ *** ้ยืม การขายหลักทรัพย์ระยะยาว (พันธบัตร) การผ่อนชำระสินค้าเข้า (supplier’s credit)

10. การขายชอร์ต  (selling short หรือ short sell)
    การขายหลักทรัพย์ที่ไม่มีอยู่ในครอบครอง เนื่องจากคาดว่าราคาหลักทรัพย์จะลดลง จึงขายไปก่อนที่ราคาปัจจุบัน และจะไปซื้อคืนในภายหลัง โดยผู้ขายชอร์ตต้องยืมหลักทรัพย์จากบุคคลอื่นเพื่อส่งมอบไปก่อน และไปซื้อคืนในภายหลัง เพื่อเอาหลักทรัพย์ไปคืนแก่เจ้าของเดิม สำหรับกำไรหรือขาดทุนจะเกิดตอนซื้อคืน ขึ้นอยู่กับว่าซื้อคืนในราคาสูงหรือต่ำกว่าราคาตอนที่ขายหลังจากหักค่านายหน้าและค่าธรรมเนียม


1.กองทุนปิด (closed-end fund)เป็นกองทุนรวมประเภทไม่รับซื้อคืนหน่วยลงทุนก่อนครบกำหนดโครงการ

2.กองทุนเปิด(open-end fund)เป้นกองทุนรวมประเภทรับซื้อคืนหน่วยลงทุนที่ไม่มีการกำหนดขนาดและอายุของกองทุนที่แน่นอน

3.ผลประโยชน์ทับซ้อน(conflict of interest)การที่บุคคลซึ่งได้รับมอบหมายให้เป็นตัวแทนของบุคคลอีกกลุ่มหนึ่งซึ่งผลประโยชน์ส่วนนี้อาจเป็นการบั่นทอนหรือเบียดบังผลประโยชน์จากบุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่ได้รับมอบอำนาจให้กระทำแทน

4.การกำกับดูแลกิจการ(corporate governance)เป็นระบบที่จัดให้มีกระบวนการและโครงสร้างของภาวะผู้นำและควบคุมของิจการให้มีความรับผิดชอบตามหน้าด้วยความดปร่งใส

5.ระบบเครดิตบาลานซ์(credid balance)เป็นระบบบัญชีสำหรับผู้ลงทุนที่ต้องการกู้ยืมเพื่อซื้อหู้นจากบริษัทหลักทรัพย์

6.ที่ปรึกษาทางการเงิน(financial  advisor)สถาบันการงินที่ได้รับใบอนุญาติจากสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ในการประกอบธุรกิจการให้บริการแก่บริษัทมหาชน จำกัด เกี่ยวกับคำปรึกษา ความเห็น และการจัดเตรียมข้อมูลต่างๆ

7.การบังคับขาย(forced sell)การที่บริษัทหลักทรัพย์ที่เป็นเจ้าหนี้ นำส่วนหนึงของหลักทรัพย์ในบัญชีเงินกู้ยืมซื้อหลักทรัพย์ของลูกค้าออกขาย เพื่อเป็นการจดภาวะหนี้ของลูกค้ารายนั้น

8.กระดานต่างประเทศ(foreign board)เป็นการรองรับการซื้อขายหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์ระหว่างผู้ลงทุนต่างประเทศด้วยกันเอง

9.ข้อจำกัดหุ้นต่างด้าว(foreign limit)สัดส่วนที่ผู้ลงทุนต่างประเทศ(บุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลซึ่งไม่ได้ใช้สัญชาติไทย)สามารถถือครองหุ้นและมีชื่อปรากฎบนทะเบียนหลักทรัพย์

10.การขู่ซื้อกิจการ(greenmail)การที่บริษัทซึ่งกำลังจะถูกซื้อหรือถูกรวมกิจการ  จำใจต้องจ่ายเงินให้แก่บริษัทหรือบุคคลที่จะซื้อหรือรวมกิจการของตน

สิ่งที่สำคัญที่สุดในการลงทุนสำหรับข้าพเจ้าคือวิธีการที่จะเข้าไปลงทุนหรือการวางแผนการลงทุนเพราะว่าถ้าเรามีการวางแผนที่ดีและสามารถทำได้ตามแผนที่วางไว้  เราก็จะสามารถแก้ไขสถานการณ์ต่างๆได้โดยไม่ผิดพลาดและทำให้เราไปสู่จุดหมายได้อย่างสำเร็จ

1.MARKET CAPITALIZATION (มูลค่าตามราคาตลาด)

มูลค่าโดยรวมของหุ้นสามัญของบริษัทใดๆ ที่คำนวณขึ้นโดยใช้ราคาตลาดของหุ้นนั้นคูณกับจำนวนหุ้นสามัญจดทะเบียนทั้งหมดของบริษัทดังกล่าว

2.BEAR MARKET (ตลาดหมี)

ภาวะตลาดหุ้นที่ราคาหุ้นโดยทั่วไปมีระดับลดต่ำลงต่อเนื่องเป็นเวลายาวนาน ปริมาณการซื้อขายก็มีน้อยเปรียบเสมือนการเคลื่อนไหวของหมีที่อืดอาดเชื่องช้า

3.FLOOR PRICE (ราคาพื้น)

ระดับราคาต่ำสุดของแต่ละหลักทรัพย์ที่จะซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ได้สำหรับวันทำการหนึ่งๆ ซึ่งคำนวณขึ้นจาก Daily Price Limit ของตลาดหลักทรัพย์ ปัจจุบันระดับที่เป็น Floor Price คือระดับราคาที่ต่ำลง 30% จากราคาปิดของวันก่อน

4.PAR VALUE (มูลค่าที่ตราไว้)

มูลค่าของหลักทรัพย์ที่ระบุไว้บนใบตราสารซึ่งจะเป็นไปตามข้อกำหนดในหนังสือบริคณห์สนธิของแต่ละบริษัท มูลค่าที่ตราไว้เป็นข้อมูลที่แสดงให้ทราบถึงมูลค่าเงินลงทุนเริ่มแรกสำหรับหุ้นแต่ละหน่วยซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการวิเคราะห์ทางบัญชี และแสดงให้ทราบถึงทุนจดทะเบียนตามกฏหมาย เช่น ทุนจดทะเบียน 100 ล้านบาท แบ่งเป็น 10 ล้านหุ้น มูลค่าตราไว้หุ้นละ 10 บาท เป็นต้น Par Value อาจเรียก Face Value ( มูลค่าตามหน้าตราสาร ) หรือ Nominal Value ( มูลค่าที่กำหนดไว้ ) ก็ได้

5.TENDER OFFER (การทำคำเสนอซื้อหุ้นต่อผู้ถือหุ้นทั่วไป)

การแจ้งแก่ผู้ถือหุ้นทุกรายของบริษัทใดบริษัทหนึ่งถึงความต้องการที่จะซื้อหุ้นบริษัทดังกล่าวจากผู้ถือหุ้น โดยระบุจำนวนหุ้น ราคา และกำหนดเวลาที่ต้องการรับซื้อไว้ โดยทั่วไปการทำ Tender Offer มักจะเกิดขึ้นโดยผู้ทำคำเสนอซื้อมีวัตถุประสงค์จะเข้าไปบริหารบริษัทดังกล่าว

6.UNIT TRUST (หน่วยลงทุน)

หลักทรัพย์ที่ออกขายโดยบริษัทจัดการลงทุนเพื่อระดมเงินเข้ากองทุนรวมที่จัดตั้งขึ้น แล้วจัดสรรเงินใน กองทุนนั้นลงทุนในตลาดการเงินตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในหนังสือชี้ชวน

7.BIG LOT (การซื้อขายรายใหญ่)

การซื้อขายหลักทรัพย์ใดหลักทรัพย์หนึ่ง ( อาจเป็นหุ้นหรือตราสารหนี้ก็ได้ ) จำนวนเดียวโดยไม่แบ่งย่อย และมีปริมาณหรือมูลค่าการซื้อขายเท่ากับหรือสูงกว่าปริมาณหรือมูลค่าที่ตลาดหลักทรัพย์กำหนด ปัจจุบันตลาดหลักทรัพย์กำหนดว่า การซื้อขายคราวละตั้งแต่ 1 ล้านหุ้นหรือมูลค่า 3 ล้านบาทขึ้นไป ถือเป็นการซื้อขายรายใหญ่ (Big Lot) ตลาดหลักทรัพย์จัด Big-Lot Board ( กระดานซื้อขายรายใหญ่ ) ไว้รองรับการซื้อขายเช่นนี้

8.Commodity Pool Operator ( CPO )

ผู้ได้รับอนุญาตให้ระดมทุนจากบุคล หรือคณะบุคคล และบริหารเงินทุน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหาผลประโยชน์จากการซื้อขาย

9.Maximum Price Fluctuation

ราคาเปลี่ยนแปลงขึ้นสูงสุดในแต่ละวันที่ตลาดกำหนด

10.Minimum Price Fluctuation

การเคลื่อนไหวของราคาขั้นต่ำที่ตลาดกำหนดให้ซื้อ

สราพร สิงหพงษ์ 49473120039

สิ่งที่สำคัญที่สุดในการลงทุนที่ข้าพเจ้าคิดคือการไปถึงเป้าหมายที่เรากำหนดไว้ควรเป็นเป้าหมายที่ชัดเจนและสามารถเป็นไปได้ด้วย หรือถ้าสิ่งที่เรากำหนดไว้มันสูงเกินกำลังเราควรตั้งเป้าหมายให้ลงมาอีกระดับหนึ่งแต่ไม่ควรตั้งต่ำเกินเป้าหมายเดิม และเราก็ไม่ควรจะลืมทำเป้าหมายที่เรากำหนดไว้ตั้งแต่แรกด้วย และศึกษาด้วยว่าสิ่งที่เราทำไม่สำเร็จนั้นมันเป้นเพราะสาเหตุใด แล้วค่อยแก้ไปที่ระเสต็บ

สราพร สิงหพงษ์ 49473120039

1.XD (Excluding Dividend) : ผู้ซื้อ หลักทรัพย์ ไม่ได้สิทธิรับเงินปันผล

2.XR (Excluding Right) : ผู้ซื้อ หลักทรัพย์ ไม่ได้สิทธิจองซื้อหุ้นออกใหม่

3.XW (Excluding Warrant) : ผู้ซื้อ หลักทรัพย์ ไม่ได้สิทธิรับใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหลักทรัพย์

4.XS (Excluding Short-term Warrant) : ผู้ซื้อ หลักทรัพย์ ไม่ได้สิทธิรับใบสำคัญแสดงสิทธิในการจองซื้อหลักทรัพย์ระยะสั้น

5.XT (Excluding Transferable Subscription Right) : ผู้ซื้อหลักทรัพย์ ไม่ได้สิทธิรับใบสำคัญแสดงสิทธิในการซื้อหุ้นเพิ่มทุนที่โอนสิทธิได้

6.XI (Excluding Interest) : ผู้ซื้อ หลักทรัพย์ ไม่ได้สิทธิรับดอกเบี้ย

7.XP (Excluding Principal) : ผู้ซื้อ หลักทรัพย์ ไม่ได้สิทธิรับเงินต้นที่บริษัทประกาศจ่ายคืนในคราวนั้น

8.XA (Excluding All) : ผู้ซื้อหลักทรัพย์ ไม่ได้สิทธิทุกประเภทที่บริษัทประกาศให้ในคราวนั้น

9.AT THE OPEN หรือ ATO คำสั่งซื้อหรือขายหลักทรัพย์ตามราคาเปิดตลาด

10.ARBITRAGE การทำกำไรจากผลต่างของราคาในสองตลาด

1.ค่าของทุน (Cost of Capital) คือ อัตราผลตอบแทนขั้นตำที่เจ้าของเงินทุนควรจะได้รับจากการลงทุนนั้นๆ หรือ คือต้นทุนของเงินทุนที่ธุรกิจจัดหามาจากแหล่งต่างๆ

2.ค่าของทุนของหนี้ (Cost of Debt)คือ ต้นทุนที่ธุรกิจต้องจ่ายให้แก่เจ้าของเงินทุนนั้น เพื่อการใช้ประโยชน์จากเงินทุน จึงอยู่ในรูปแบบของอัตราดอกเบี้ยจ่าย

3.ค่าของทุนของหุ้นบุริมสิทธิ์ (Cost of Perferred Stock)คือ เงินปันผลที่บริษัทผู้ออกหุ้นบุริมสิทธิ์ต้องจ่ายแก่ผู้ถือหุ้น จึงอยู่ในรูปแบบอัตราเงินปันผลจ่าย

4.ค่าของทุนส่วนของเจ้าของ (Cost of Equity)คือ ต้นทุนหรือเงินทุนจากส่วนของเจ้าของ ซึ่งได้แก่ หุ้นสามัญ หรือ กำไรสะสม

5.ค่าของทุนถัวเฉลี่ยแบบถ่วงนำหนัก (Weighted Average Cost of Capital)คือ ค่าของทุนของเงินทุนรวมทั้งสิ้นในโครงสร้างเงินทุนของธุรกิจ ต่านี้จะมีประโยชน์ต่อผู้บริหารในการตัดสินใจในงบลงทุน การเช่า การออกหุ้นกู้ใหม่แทนหุ้นกู้เก่า การบริหารลูกหนี้ เป็นต้น

6.ค่าของทุนส่วนเพิ่ม (Marginal Cost of Capital)คือ ค่าของทุนถัวเฉลี่ยแบบถ่วงนำหนักเฉพาะส่วนของเงินทุนที่ธุรกิจจัดหามาใหม่

7.เงินทุนหมุนเวียน (Working Capital)คือเงินทุนในสินทรัพย์หมุนเวียนทั้งหมด ได้แก่เงินสด หลักทรัพย์ในความต้องการของตลาด ลูกหนี้การค้า และสินค้าคงเหลือ ซึ่งเป็นสินทรัพย์ที่สามารถเปลี่ยนเป็นเงินสดได้ภายใน 1 รอบระยะเวลาการดำเนินงาน

8.สินทรัพย์หมุนเวียนส่วนถาวร (Permanent Current Assets) คือ สินทรัพย์หมุนเวียนขั้นต่ำที่ธุรกิจต้องดำรงไว้ตลอดระยะเวลาการดำเนินงาน

9.สินทรัพย์หมุนเวียนส่วนชั่วคราว (Temporary Current Assets) คือสินทรัพย์หมุนเวียนที่ธุรกิจต้องการเพิ่มเติมเกินจากสินทรัพย์หมุนเวียนส่วนถาวร

10.ระยะเวลาคืนทุน (Payback Period-PB) คือ ระยะเวลาที่จะได้รับเงินลงทุนเริ่มแรกกลับคืนมา

1.stars ดาวเด่น คือ กลุ่มอัตราการเจริญเติบโตสูงและส่วนแบ่งตลาดสูง

2.cash cows ตัวทำเงิน คือ กลุ่มอัตราการเจริญเติบโตต่ำ แต่ส่วนแบ่งตลาดสูง

3.dogs สุนัข คือ กลุ่มอัตราการเจริญเติบโตต่ำ และส่วนแบ่งการตลาดต่ำ

4.question marks ตัวเจ้าปัญหา คือ กลุ่มอัตราการเจริญเติบโตสูงแต่ส่วนแบ่งการตลาดต่ำ

5.line chart แผนภูมิเส้น คือ การบันทึกราคาปิดของหุ้นในแต่ระช่วงเวลา

6.bar charts แผนภูมิแท่ง คือ การบันทึกราคาหุ้นสูงสุดและ ต่ำสุดในแต่ละวัน

7.candlesticks แผนภูมิแท่งเทียน คือ การบันทึกราคา 4 ประเภทไว้ ได้แก่ ราคาเปิด ราคาสูงสุด ราคาต่ำสุด และราคาปิด

8.point & figure charts แผนภูมิแบบสัญลักษณ์ คือ การบันทึกราคาหุ้นในกรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงมาก อย่างมีนัยสำคัญที่ได้กำหนดไว้ร่วงหน้า

9.line เส้นตรง คือ การเคลื่อนไหวของช่วงเวลาในแคบๆ

10.technical analysis การวิเคราะหลักทรัพย์ทางเทคนิค คือการวิเคราะห์พฤติกรรมของหลักทรัพย์ โดยการหาราคาที่เหมาะสมต่อการซื้อ

49473120026(ประภา เลิศพัฒนวรกุล)

1.กองทุนรวมตราสารแห่งหนี้ ( Fixed income fund)กองทุนรวมที่มีวัตถุประสงค์ที่จะลงทุนในตราสารแห่งหนี้

2.การครอบงำกิจการ (Takeover)การที่บุคคลหรือนิติบุคคลใดเข้าไปถือหุ้นในบริษัทใดบริษัทหนึ่ง เพื่อให้ได้สิทธิมากพอที่จะควบคุมการบริหารงาน ของกิจการนั้น

3.การสับเปลี่ยนหน่วยลงทุน (Automatic Switching)การขายคืนหน่วยลงทุนของกองทุนรวมหนึ่งเพื่อซื้อหน่วยลงทุนของอีกกองทุนรวมหนึ่งที่อยู่ภายใต้บริษัทจัดการเดียวกัน

4.การขายชอร์ต (selling short หรือ short sell)การขายหลักทรัพย์ที่ไม่มีอยู่ในครอบครอง เนื่องจากคาดว่าราคาหลักทรัพย์จะลดลง จึงขายไปก่อนที่ราคาปัจจุบัน และจะไปซื้อคืนในภายหลัง โดยผู้ขายชอร์ตต้องยืมหลักทรัพย์จากบุคคลอื่นเพื่อส่งมอบไปก่อน และไปซื้อคืนในภายหลัง เพื่อเอาหลักทรัพย์ไปคืนแก่เจ้าของเดิม สำหรับกำไรหรือขาดทุนจะเกิดตอนซื้อคืน ขึ้นอยู่กับว่าซื้อคืนในราคาสูงหรือต่ำกว่าราคาตอนที่ขายหลังจากหักค่านายหน้าและค่าธรรมเนียม

5.การปั่นหุ้น (Manipulation)การซื้อขายหลักทรัพย์ใด ๆ โดยบุคคลหรือกลุ่มบุคคลเพื่อสร้างสภาพการซื้อขายให้ผิดไปจากภาวะที่เป็นจริงโดยเจตนาให้ผู้อื่นซื้อหรือขายหลักทรัพย์ด้วยความเข้าใจผิดการกระทำดังกล่าวนี้ถือเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งมีบทกำหนดโทษไว้ด้วย

6.เงินร่วมลงทุน (Venture capital)เงินลงทุนที่ใช้สำหรับจัดตั้งธุรกิจเริ่มแรกและธุรกิจขนาดเล็กที่มีการเติบโตที่ดี แต่ไม่สามารถระดมทุนผ่านทางตลาดหลักทรัพย์ โดยผู้ให้เงินร่วมลงทุนจะมีการช่วยเหลือด้านการบริหารงานแก่ธุรกิจที่เข้าไปลงทุน

7.ความเสี่ยงจากสภาพคล่อง (Liquidity risk)ความเสี่ยงที่เกิดจากการที่นักลงทุนต้องการขายตราสาร แต่ขายไม่ได้ หรือขายได้แต่ไม่ได้ราคาตามที่กำหนดไว้

8. กำไรจากการขายหลักทรัพย์ (Capital gain)ผลกำไรที่เกิดจากการขายหุ้นได้ในราคาสูงกว่าราคาที่ซื้อมา ผู้ลงทุนประเภทบุคคลธรรมดาจะได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้ของกำไรจากการขายหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์

9.การกระจายหุ้น (Share Distribution)การกระจายหุ้นของบริษัทใดบริษัทหนึ่งไปยังผู้ถือหุ้น โดยบริษัทที่มีการกระจายหุ้นที่ดี การขายหุ้นออกจำนวนมากของผู้ถือหุ้นบางราย มักจะไม่กระทบราคาของหุ้นมากนัก

10.กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (Retirement Mutual Fund หรือ RMF)กองทุนรวมที่มีวัตถุประสงค์ในการส่งเสริมการออมและการลงทุนของบุคคล เพื่อเตรียมความพร้อมไว้สำหรับการเกษียณอายุที่มีคุณภาพ ผู้ลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ จะได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่มากกว่าการลงทุนในกองทุนรวมทั่วไป

1.รายจ่ายเพื่อซื้อเครื่องจักร อุปกรณ์โรงงาน เครื่องใช้สำนักงาน ฯลฯ (Business Fixed Investment)

2.รายจ่ายเพื่อก่อสร้างที่พักอาศัย ( Residental Investment )

3.การลงทุนในสินค้าคงคลัง ( Inventory Investment )

4.เป้าหมายเพื่อเป็นเงินทุนยามฉุกเฉิน (Goals for precautionary funds) ทุกคนย่อมมีความจำเป็นที่จะต้องการมีเงินสักก้อนหนึ่งไว้ใช้จ่ายในยามฉุกเฉิน โดยทั่วไปจะกันเงินประมาณ 6-7 เท่าของเงินเดือนมาเป็นเงินทุนสำหรับยามฉุกเฉินไว้ใช้จ่ายเมื่อยามจำเป็น เช่น กรณีที่เกิดตกงานขึ้นมาจะได้มีเงินจำนวนนี้ไว้ใช้จ่ายได้ในขณะที่กำลังหางานใหม่ เมื่อฉุกเฉินขึ้นมา ดังนั้นเงินจำนวนนี้จะต้องนำไปลงทุนในทางที่มีความคล่องตัว ที่สุดและอย่างปลอดภัยที่สุด เพราะว่าเราไม่รู้ว่าเหตุการณ์ดังกล่าวจะเกิดขึ้นเมื่อไร ดังนั้นจึงต้องมีเงินที่สามารถนำมาใช้ได้ในทุกเวลา

5.เป้าหมายที่ใช้เงินทุนเฉพาะอย่าง (Goals for specific funds) เงินทุนเฉพาะอย่างที่จัดสรรไว้เป็นพิเศษในแต่ละเหตุการณ์แต่ละวัตถุประสงค์ เช่น เพื่อใช้ตอนเกษียณอายุ หรือเพื่อใช้ทัศนาจรท่องเที่ยว ฯลฯ ซึ่งเหตุการณ์เหล่านี้จะไม่เกิดขึ้นทันทีทันใดเหมือนกรณีเตรียมเงินทุนเผื่อยามฉุกเฉินเพราะเหตุการณ์เหล่านี้เราทราบล่วงหน้าได้คาดคะเนได้ว่าจะเกิดขึ้นเมื่อไร เราจึงได้จัดวางแผนจัดเตรียมไว้และส่วนมากมักจะเกิดขึ้นในอนาคต

6.เป้าหมายเพื่อใช้เป็นเงินทุนในการเก็งกำไร (Goals for speculation funds) เงินทุนสำหรับใช้เพื่อเก็งกำไรนี้หากเกิดสูญไปหรือขาดทุนขึ้นมาก็ไม่ทำให้กระทบกระเทือนต่อการดำรงชีพปกติของเราเพราะ เป็นเงินที่ไม่ได้อยู่ในการวางแผนการเงินปกติของบุคคล เป็นอีกส่วนหนึ่งต่างหากจึงสามารถนำมาลงทุนในหลักทรัพย์ที่มีความเสี่ยงสูงและผลตอบแทนสูงได้

7. ValueInvestment คือ การลงทุนที่เรารู้จัก 2 อย่าง

- รู้คุณค่า คือรู้กิจการนั้นๆดี กิจการนั้นทำอะไรบ้าง มีจุดอ่อนจุดแข็งอะไรบ้าง และมีแนวโน้มการทำกำไรในอนาคตเป็นเช่นไร

- รู้มูลค่า คือ รู้มูลค่ากิจการ มีหลักมีเหตุผลในการพิจารณาเลือกราคาที่ซื้อและขาย (ไม่ใช่พิจารณาเพียงแต่เส้นกราฟที่บอกเพียงราคาและปริมาณการซื้อขาย)

8.การลงทุนในสินทรัพย์ที่ไม่เห็นประโยชน์การใช้ได้โดยชัดเจน (Tangible and intangible investment) การลงทุนซื้อบ้าน ซื้อรถยนต์ ซื้อเพชรพลอยของมีค่า

9.กลยุทธ์การลงทุน (Investment strategies)

ในการลงทุนจำเป็นต้องกลยุทธ์ หรือวิธีการอันแยบยลในการลงทุนเพื่อให้เกิดผลจากการลงทุนมากที่สุด หากไม่มีการกำหนดกลยุทธ์การลงทุนอาจทำให้การลงทุนไม่ตื่นเต้น ไม่จุดหมาย และบางทีอาจทำให้ผลตอบแทนที่ได้รับไม่คุ้ม ในการกำหนดกลยุทธ์นั้นสิ่งแรกที่ต้องทำคือ กำหนดเป้าหมายการลงทุน (Setting investment goals) เสียก่อน หลังจากนั้นจึงค่อยเลือกลงทุนในหลักทรัพย์ประเภทต่าง ๆ ให้สอดคล้องกับเป้าหมายการลงทุนที่กำหนด

10.ความปลอดภัยของเงินลงทุน (Security of principal) หมายถึงการลงทุนที่มุ่งรักษาไว้ซึ่งเงินลงทุน โดยหวังที่จะได้รับเงินเงินลงทุนเป็นการแน่นอน นโยบายการลงทุนแบบนี้เป็นนโยบายค่อนข้าง Conservative เพราะคำนึงถึงความปลอดภัยไว้ก่อนเพื่อไม่ให้เงินต้นสูญไป การลงทุนที่ยึดถือหลักความปลอดภัยได้แก่ การฝากเงินกับธนาคาร หรือการซื้อหลักทรัพย์รัฐบาล เป็นต้น

กรมธรรม์ประกันชีวิตควบการลงทุน (Unit Link)

กรมธรรม์ที่บริษัทประกันชีวิตออกให้แก่ผู้เอาประกันภัย เพื่อเป็นหลักฐานว่าผู้เอาประกันภัยและบริษัทประกันชีวิตได้มีการทำสัญญาประกันชีวิตและสัญญาการลงทุนในหน่วยลงทุน โดยมีการตกลงว่าผู้เอาประกันภัยจะชำระค่าเบี้ยประกันชีวิตให้แก่บริษัทประกันชีวิตสำหรับการให้ความคุ้มครองต่อการมรณะหรือการจ่ายเงินเมื่อมีการทรงชีพ และผู้เอาประกันภัยจะชำระเงินค่าหน่วยลงทุนเพื่อการลงทุนในกองทุนรวมโดยผ่านบริษัทประกันชีวิต

กองทุนพันธบัตรเอเชีย (Asian Bond Fund : ABF)

เป็นกองทุนที่ตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 2 มิถุนายน 2546 โดยธนาคารกลางของกลุ่มประเทศ และเขตเศรษฐกิจในเอเชียตะวันออก-แปซิฟิกรวม 11 ประเทศหรือที่รู้จักกันในนาม Executive’s Meeting of East Asia and Pacific Central Banks (EMEAP) ซึ่งประกอบด้วย ออสเตรเลีย สาธารณรัฐประชาชนจีน อินโดนีเซีย ฮ่องกง ญี่ปุ่น สาธารณรัฐเกาหลี มาเลเซีย นิวซีแลนด์ ฟิลิปปินส์ สิงค์โปร์ และประเทศไทย กองทุน ABF จะมุ่งลงทุนในพันธบัตรเงินสกุลดอลล่าร์สหรัฐฯ ที่ออกโดยรัฐบาลหรือ รัฐวิสาหกิจของประเทศต่าง ๆ ในกลุ่มประเทศเอเชียยกเว้นพันธบัตรที่ออกโดยประเทศญี่ปุ่น ออสเตรเลีย และ นิวซีแลนด์ กองทุนพันธบัตรเอเชียกองแรกนั้นมีวงเงินแรกเริ่มจำนวนประมาณ 1 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ

กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ (กอง 1) (Property Fund “type 1 fund”)

กองทุนรวมที่ บลจ. จัดตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อนำเงินที่ได้จากการจำหน่ายหน่วยลงทุนให้แก่ผู้ลงทุนทั่วไป เพื่อไปลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ที่มีรายได้ประจำในรูปค่าเช่า เช่น อาคารสำนักงาน เซอร์วิส อพาร์ทเมนท์ เป็นต้น โดยรายได้ที่เกิดขึ้นจากอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าวจะถูกส่งต่อไปให้ผู้ลงทุนในรูปเงินปันผล และ บลจ.จะนำกองทุนไปจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์เพื่อให้ผู้ถือหน่วยลงทุนสามารถซื้อขายหน่วยลงทุนได้ กองทุนดังกล่าวจัดเป็นกองทุนปิด

กองทุนรวมดัชนี(indexfund)

กองทุนรวมที่มีนโยบายสร้างผลตอบแทนให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุนตามการเคลื่อนไหวของดัชนีราคาหลักทรัพย์ที่ระบุไว้ในโครงการจัดการกองทุนรวม โดยดัชนีราคาหลักทรัพย์ดังกล่าวต้องได้รับการยอมรับจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.)

กองทุนรวมที่ลงทุนในต่างประเทศ (foreign investment fund : FIF)

กองทุนรวมที่มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเงินที่ได้จากการจำหน่ายหน่วยลงทุนในประเทศไปลงทุนในต่างประเทศ โดยธนาคารแห่งประเทศไทยได้พิจารณาอนุญาตให้มีการนำเงินไปลงทุนในต่างประเทศได้ในวงเงินจำกัดในแต่ละปี ต้องนำเงินไปลงทุนในต่างประเทศทั้งจำนวน เว้นแต่เป็นกรณีเงินฝากในประเทศ เพื่อสำรองเงินไว้สำหรับการดำเนินงานของกองทุน รอการลงทุน หรือรักษาสภาพคล่อง

กองทุนรวมสึนามิ (Tsunami Fund)

กองทุนรวมที่จัดตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อนำเงินที่ได้จากการจำหน่ายหน่วยลงทุนไปลงทุนในหลักทรัพย์ของกิจการที่ได้รับความเสียหายโดยตรงจากธรณีพิบัติที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2547 ในจังหวัดภาคใต้ 6 จังหวัด

กองทุนรวมอีทีเอฟ (exchange traded fund : ETF)

กองทุนรวมเปิดที่โดยทั่วไปบริษัทจัดการกองทุนรวมจะขายและรับซื้อคืนหน่วยลงทุนกับผู้ลงทุนรายใหญ่ และจัดให้มีตลาดรอง (organized market) สำหรับการซื้อขายหน่วยลงทุนของผู้ลงทุนใด ๆ โดยบริษัทได้จัดให้มีผู้ลงทุนรายใหญ่อย่างน้อยหนึ่งรายที่พร้อมจะซื้อและขายคืนหน่วยลงทุนเพื่อให้ราคาซื้อขายหน่วยลงทุนในตลาดรองสะท้อนมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวมได้อย่างใกล้เคียง

กองทุนรวมที่มีการขายคืนหน่วยลงทุนอัตโนมัติ (flexible automatic redemption fund)

กองทุนรวมซึ่งมีข้อกำหนดระบุว่า บลจ. จะพิจารณาดำเนินการขายคืนหน่วยลงทุนอัตโนมัติตามมูลค่าหน่วยลงทุนที่เพิ่มขึ้นให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุนในสัดส่วนไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ของมูลค่าหน่วยลงทุนที่เพิ่มขึ้น เมื่อมูลค่าหน่วยลงทุนเพิ่มขึ้นมากกว่าร้อยละ 10 จากจุดเริ่มต้น หรือจากจุดที่ บลจ. ได้ทำการขายคืนหน่วยลงทุนอัตโนมัติตามมูลค่าหน่วยลงทุนที่เพิ่มขึ้นครั้งล่าสุด เว้นแต่ในกรณีที่ บลจ. พิจารณาเห็นว่าการขายคืนหน่วยลงทุนอัตโนมัติตามมูลค่าหน่วยลงทุนที่เพิ่มขึ้น อาจทำให้ผู้ถือหน่วยลงทุนไม่ได้รับผลตอบแทนอย่างเต็มที่ หรือเว้นแต่ผู้ลงทุนจะแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษรถึงความประสงค์ที่จะไม่ให้ บลจ. ทำการขายคืนหน่วยลงทุนอัตโนมัติ ลักษณะเด่นของกองทุนคือ ผู้ลงทุนจะได้รับเงินกำไรคืนโดยวิธีขายคืนอัตโนมัติร้อยละ 5 ทุกครั้งที่กองทุนมีผลตอบแทนร้อยละ 10 ผู้ลงทุนบุคคลธรรมดาจะได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีอย่างเต็มที่คือ ไม่ต้องเสียภาษีเงินได้ หรือภาษีหัก ณ ที่จ่ายจากผลตอบแทนที่ได้รับ และมีสภาพคล่อง โดยสามารถซื้อ-ขายได้ทุกวันทำการ

กองทุนรวมเพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน (กอง 3) (mutual fund for resolving financial institution problems “Type 3 Fund”)

กองทุนรวมที่ บลจ. จัดตั้งขึ้นเพื่อจำหน่ายหน่วยลงทุนแก่ผู้ลงทุนสถาบัน โดยมีวัตถุประสงค์หลักในการนำเงินที่ได้รับจากการจำหน่ายหน่วยลงทุนที่ไปลงทุนในทรัพย์สินหรือสิทธิเรียกร้องที่เกิดจากการประกอบธุรกิจของสถาบันการเงิน ไม่ว่าจะมีหลักประกันหรือไม่ก็ตาม ทั้งนี้เพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน

กองทุนรวมวายุภักษ์ (vayupak fund)

จัดตั้งขึ้นตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2546 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ

1. เพิ่มทางเลือกในการออมและการลงทุนให้แก่ประชาชน

2. ส่งเสริม สนับสนุนการพัฒนาตลาดเงินและตลาดทุนของประเทศ

3. ทำให้การบริหารจัดการหลักทรัพย์ที่กระทรวงการคลังถือครองอยู่เกิดประโยชน์สูงสุด และเพิ่มทางเลือกให้กับรัฐบาลในการจัดสรรเงินที่นอกเหนือจากการจัดสรรเงินจากงบประมาณ เพื่อนำไปลงทุนในกิจการที่มีความจำเป็นและต้องการการส่งเสริมจากภาครัฐ

1.Unit Trust (หน่วยลงทุน) คือ ตราสารที่ออกโดยบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม(บลจ.)ในรูปของหน่วยลงทุนของกองทุนรวม ซึ่งเป็นรูปแบหนึ่งของการระดมเงินทุนจากประชาชนโดย บลจ. จะเป็นผู้บริหารกองทุนให้ได้รับผลตอบแทนสูงสุด แล้วนำมาเฉลี่ยคืนให้แก่ผู้ถือหน่วยในรูปของเงินปันผล กองทุนรวมมีหลายประเภท ซึ่งสามารถศึกษารายละเอียดได้ในหนังสือชี้ชวนซื้อหน่วยลงทุนซึ่งจะมีการกำหนดนโยบายการลงทุนที่ชัดเจน

2. Diversification (การกระจายเงินทุน)

 - ลงทุนผสมระหว่างหลักทรัพย์ที่มีหลักประกันในเงินลงทุน และมีรายได้จากการลงทุนแน่นอนกับหลักทรัพย์ที่มีรายได้และราคาขึ้นลงตามภาวะธุรกิจ

 - ลงทุนในหลักทรัพย์หลายๆอย่างปนกัน

 - ลงทุนในหลักทรัพย์ของธุรกิจที่มีความแตกต่างทางภูมิศาสตร์

- ลงทุนในหลักทรัพย์ของธุรกิจที่มีลักษณะการผลิตที่ต่างกันแบบ Vertical หรือ Horizontal

3. Capital Growth (ความงอกเงยของเงินทุน) เป็นการลงทุนที่ให้เงินลงทุนในหลักทรัพย์มีค่าเพิ่มขึ้น คือหุ้นมีราคาสูงขึ้นในระยะยาวนั่นเอง ความงอกเงยของเงินทุนนี้ให้ประโยชน์แก่ผู้ลงทุนในแง่ที่ว่า

(1) เพื่อปรับฐานะของผู้ลงทุนในระยะยาวให้ดีขึ้น

(2) เพื่อรักษาอำนาจซื้อให้คงไว้

(3) เพื่อให้การจัดการคล่องตัวขึ้น

4. Security of Principal (ความปลอดภัยของเงินทุน) หมายถึงการรักษาเงินลงทุนเริ่มแรกให้คงไว้ และยังรวมถึงการป้องกันความเสี่ยงซึ่งเกิดจากอำนาจซื้อลดลงอันเป็นผลจากภาวะเงินเฟ้อ

5. Stability of Income (เสถียรภาพของรายได้)

- เพื่อป้องกันอำนาจซื้อของเงินลงทุนมิให้ลดลง

- เพื่อป้องกันรายได้หรือผลตอบแทนมิให้ลดลง

- เพื่อป้องกันการเสี่ยงต่อการขาดทุน

- เมื่อมีความจำเป็นต้องใช้เงินสด

6. Business or Economic Investment (การลงทุนในธุรกิจ) การลงทุนในความหมายเชิงธุรกิจ หมายถึงการซื้อทรัพย์สินเพื่อประกอบธุรกิจ หารายได้ โดยหวังว่าอย่างน้อยที่สุดรายได้ที่ได้นี้เพียงพอที่จะชดเชยกับความเสี่ยงในการลงทุน ธุรกิจที่ลงทุนในทรัพย์สินเหล่านี้มุ่งหวังกำไรจากการลงทุนเป็นผลตอบแทน

7. Investment (การลงทุน) คือการเคลื่อนย้ายเงินในระบบการเงินเป็นการเคลื่อนย้ายเงินออมจากผู้มีเงินออม (ผู้ที่มีเงินเหลือใช้) มายังผู้ที่ต้องการใช้เงินทุนอยู่ตลอดเวลาโดยผ่านตลาดการเงิน

8. Institutional Investors (นักลงทุนสถาบัน) เช่น ธนาคารพาณิชย์ บริษัทเงินทุน เป็นต้น ซึ่งมีเงินลงทุนขนาดใหญ่ สามารถกระจายการลงทุนได้กว้างขาวง และมีกระบวนการจัดการลงทุนที่เป็นระบบ

9. Individual Investors (นักลงทุนประเภทบุคคล) ได้แก่นักลงทุนรายย่อยโดยทั่วไป มีลักษณะตรงกันข้ามกับนักลงทุนประเภทสถาบัน

10. Private placement (การเสนอขายหลักทรัพย์แบบเฉพาะเจาะจง) ได้แก่การเสนอขายหุ้นในลักษณะใด ลักษณะหนึ่งดังต่อไปนี้

(1) เสนอขายหุ้นที่มีมูลค่ารวมกันไม่เกิน 20 ล้านบาทในรอบ 12 เดือนใดๆ หรือ

(2) เสนอขายหุ้นให้แก่ผู้ลงทุนเป็นการเฉพาะเจาะจงจำนวนไม่เกิน 35 ราย ในรอบ 12 เดือนใดๆ หรือ

(3)เสนอขายหุ้นให้แก่ผู้ลงทุนสถาบัน 17 ประเภท ตามประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. เรื่องหลักเกณฑ์

เงื่อนไข และวิธีในการขออนุญาตเสนอขายหุ้น การเสนอขายหุ้นแบบเฉพาะเจาะจง เป็นกรณีที่อยู่ภายใต้ข้อบังคับของ พ.ร.บ. หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ แต่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องยื่นแบบคำขออนุญาตและไม่ต้องยื่นแบบ filing แต่ต้องแจ้งผลการเสนอขายต่อสำนักงาน ก.ล.ต. ภายใน 15 วัน นับจากวันเปิดการเสนอขาย

1.ความเสี่ยง(risk)คือโอกาสที่จะเกิดขึ้นในสิ่งที่ไม่พึงประสงค์หรือความไม่แน่นอนของผลตอบแทนที่จะได้รับ

2.อัตราคิดลด(discout rate)อัตราที่ใช้คิดลดค่าของกระเงินสดที่คาดว่าจะได้รับในงวดเวลาต่างๆในอนาคต คิดลดให้เป็นมูลค่า ณ เวลาปัจจุบัน

3.ช่วงจังหวะเวลา(timing)เป็นช่วงจังหหวะเวลาของการเข้ามาของกระแสเงินสดที่คาดไว้ เช่น เป็นรายงวดงวดละเท่ากันหรือได้รับเมื่อสิ้นสุดอายุหลักทรัพย์

4.กระแสเงินสด(cash flow)กระแสเงินที่ผู้ลงทุนคาดว่าจะได้รับจากหลักทรัพย์ หลักทรัพย์แต่ละชนิดให้กระแสเงินสดแก่ผู้ถือในลักษณะต่างๆ เช่น เงินปันผล ดอกเบี้ยรับ

5.ความเสี่ยงที่ไม่เป็นระบบ(unsystematic หรือ unique Risk)เป็นความเสี่ยงที่เกิดจากปัจจัยภายในบริษัท เป็นความเสี่ยงเฉพาะตัวของบริษัทนั้น

6.ความเสี่ยงที่เป็นระบบ(systematic Risk หรือ maket Risk)เป็นความเสี่นงที่เกิดจากปัจจัยที่บริษัทไม่อาจควบคุมได้ และส่งผลกระทบต่อหลักทรัย์ในตลาดหลักทรัพย์

7.ความผันผวน(volatility)คือความเคลื่อนไหวของระดับราคาตลาดของหลักทรัพย์ ออกห่างจากระดับที่ควรจะเป็น ณ จุดสมดุล

8.สภาพคล่อง(liquidity)คือสภาพที่หลักทรัพย์สามารถเปลี่ยนเป็นเงินสดได้ โดยไม่สูญเสียมูลค่าของหลักทรัพย์นั้น

9.ตลาดเงิน(money maket)เป็นแหล่งกลางในการระดมเงินและจัดสรรเงินระยะสั้นโดยการระดมเงินออมจากผู้มีเงินเหลือใช้ชั่วคราว และให้กู้ยืมแก่ผู้มีความจำเป็นต้องใช้เงินระยะสั้น

10.นโยบายการคลัง(fiscal policy)หมายถึงนโยบายเกี่ยวกับการใช้จ่ายภาครัฐและนโยบายการจัดเก็บภาษีรายจ่ายภาครัฐส่งผลต่อระบบเศรษฐกิจหลายด้าน

1. Portfolio คือ ทฤษฎีกลุ่มหลักทรัพย์

2. Diminishing marginal utiltty of wealth คือ ผู้ลงทุนจะพยายามทำให้อรรถประโยชน์ที่ได้รับสูงสุด และจะคงเส้นอรรถประโยชน์ซึ่งแสดงถึงอรรถประโยชน์ ส่วนเพิ่มในอัตราที่ลดลงตลอดช่วงการลงทุน

3. Perfect positive คือ อัตราผลตอบแทนจากการลงทุนในหลักทรัพย์ทั้งสองมีความสัมพันธ์ในทางเดียวกันอย่างสมบูรณ์

4. Perfect negative คือ อัตราผลตอบแทนจากการลงทุนในหลักทรัพย์ทั้งสองมีความสัมพันธ์ในทิศทางตรงกันข้ามกันอย่างสมบูรณ์

5. Uncorrelated คือ อัตราผลตอบแทนจากการลงทุนในหลักทรัพย์ทั้งสองชนิดไม่มีความสัมพันธ์กัน

6.The Law of oneprice กฎของสินค้าราคาเดียว คือ สินค้าและบริการควรมีราคาเดียวเท่ากันทุกตลาด

7. Theory of Purchasing Power Parity หรือ PPP ทฤษฎีอำนาจซื้อเสมอภาค คือ ความสัมพันธ์ระหว่างอัตราแลกเปลี่ยนและราคาสินค้าแต่ละชนิด

8. ทฤษฎี International Fisher Effects เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า "Fisher Open" คืออัตราแลกเปลี่ยนทันทีจะเปลี่ยนแปลงไปเท่ากับความแตกต่างของอัตราดอกเบี้ยที่เป็นตัวเงินของเงิน 2 สกุล

9. Economic Exposure ความเสี่ยงทางเศรษกิจ คือ การวัดการเปลี่ยนแปลงในมูลค่าของธุรกิจ อันเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงของกระแสเงินสดที่ได้รับจากการดำเนินงานในอนาคต

10. Transaction Exposure ความเสี่ยงทางธุรกรรมหรือจากการค้า คือ ความเสี่ยงที่เกิดขึ้นจากการทำสัญญาซื้อขายสินค้า บริการ ระหว่างประเทศซึ่งจะกี่ยวข้องกับเงินตราต่างประเทศ

1.Circuit Breaker - การปิดซื้อขายเป็นการชั่วคราว

2.Insider Trading - การซื้อขายหลักทรัพย์โดยอาศัยข้อมูลภายใน

3.Market Manipulation - การสร้างราคาหลักทรัพย์เพื่อให้ผู้อื่นหลงผิด

4.Misstatement - การปล่อยข่าวลือหรือกล่าวข้อความอันเป็นเท็จ

5.Basket Order - เป็นการบันทึกคำสั่งเสนอซื้อหรือขายกลุ่มของหลักทรัพย์ในคราวเดียวกัน โดยเมื่อคำสั่งซื้อขายแบบ Basket Order ซึ่งประกอบด้วยคำสั่งย่อยหลายๆคำสั่ง ถูกส่งเข้ามายังระบบซื้อขายของตลาดหลักทรัพย์แล้ว คำสั่งซื้อขายย่อยๆ เหล่านั้นจะต้องเข้าคิวเพื่อรอการจับคู่ซื้อขายในแต่ละหลักทรัพย์เช่นเดียวกับคำสั่งซื้อขายปกติ

6.MP (Market Price) - เป็นคำสั่งซื้อขายที่ใช้เมื่อผู้ลงทุนต้องการซื้อหรือขายทันที ณ ราคาที่ดีที่สุดในขณะนั้น โดยมีหลักเกณฑ์ที่สำคัญคือสามารถส่งคำสั่งซื้อขายที่ระบุราคา MP ได้เฉพาะช่วงเวลาเปิดทำการ ซื้อขายเท่านั้น

7.IOC (Immediate or Cancel) - เป็นคำสั่งซื้อขายที่ผู้ลงทุนต้องการสั่งให้ซื้อหรือขายหุ้นตามราคาที่ผู้ลงทุนระบุไว้ในขณะนั้น โดยทันที หากซื้อหรือขายได้ไม่หมดทั้งจำนวนที่ต้องการ ส่วนที่เหลือจะถูกยกเลิก

8. FOK (Fill or Kill) -

เป็นคำสั่งซื้อขายที่ผู้ลงทุนต้องการซื้อหรือขายหุ้นในราคาที่กำหนด โดยต้องการให้ได้ทั้งจำนวน ที่ต้องการ หากได้ไม่ครบก็จะไม่ซื้อขายเลย โดยให้ยกเลิกคำสั่งนั้นไปทั้งหมด

9.Publish Volume - คำสั่งซื้อขายแบบให้ระบบการซื้อขายส่งให้โดยอัตโนมัติ

10.Foreign Board - การซื้อขายบนกระดาน ต่างประเทศ

49473010012 (นายสุวัฒน์ วิริยวงศา)

1.ราคาเสนอซื้อ (BID)

หมายถึง เป็นราคาที่ผู้ลงทุนเสนอจะซื้อหลักทรัพย์ใดหลักทรัพย์หนึ่ง โดย ณ ขณะใดขณะหนึ่งอาจมีราคาเสนอซื้อเข้ามาหลายระดับราคา ระบบการซื้อขายจะจัดเรียงคำสั่งที่มีราคาเสนอซื้อสูงกว่าอยู่ในลำดับแรก เพื่อรอการจับคู่การซื้อขาย

2.บัญชีซื้อขายหลักทรัพย์ด้วยเงินสด (CASH ACCOUNT)

หมายถึง บัญชีเพื่อการซื้อขายหลักทรัพย์ สำหรับลูกค้าที่ต้องการซื้อขายหลักทรัพย์โดยชำระเงินค่าซื้อหลักทรัพย์เต็มจำนวนด้วยเงินสด โดยบริษัทหลักทรัพย์ที่เป็นนายหน้าให้แก่ผู้ลงทุนนั้น จะเป็นผู้พิจารณาอนุมัติวงเงินในการซื้อขายหลักทรัพย์ที่เหมาะสมกับฐานะการเงิน และความสามารถในการชำระหนี้ ซึ่งผู้ซื้อจะต้องชำระเงินค่าซื้อหลักทรัพย์ภายใน 3 วันทำการ นับจากวันที่ซื้อหลักทรัพย์

3.ข้อจำกัดหุ้นต่างด้าว (FOREIGN LIMIT)

หมายถึง สัดส่วนที่ผู้ลงทุนต่างประเทศ (บุคคลธรรมดาและนิติบุคคล ซึ่งไม่ได้ใช้ สัญชาติไทย) สามารถถือครองหุ้นและมีชื่อปรากฏบนทะเบียนหลักทรัพย์ได้ โดยกำหนดเป็นร้อยละของจำนวนหุ้นที่ จดทะเบียนทั้งหมด

4.ค่าความนิยม (GOODWILL)

หมายถึง เป็นมูลค่าเพิ่มที่เกิดจากความพิเศษทางธุรกิจ และเป็นส่วนที่ทำให้กิจการสามารถหากำไรได้สูงกว่าระดับปกติเมื่อเทียบกับกิจการประเภทเดียวกัน

5.การซื้อขายหลักทรัพย์ผ่านอินเทอร์เน็ต (INTERNET TRADING)

หมายถึง การซื้อขายหลักทรัพย์ทางระบบอินเทอร์เน็ตโดยผ่านเว็บไซต์ของบริษัทหลักทรัพย์ หรือเว็บไซต์ของบริษัท เซ็ทเทรด ดอท คอม จำกัด ซึ่งผู้ลงทุนสามารถเปิดบัญชีซื้อขายหลักทรัพย์ผ่านอินเทอร์เน็ต (Internet Trading) กับบริษัทหลักทรัพย์ที่ให้บริการการซื้อขายหลักทรัพย์ผ่านอินเทอร์เน็ต โดยผู้ลงทุนจะได้รหัส (User Name) และรหัสผ่าน (Password) ในการส่งคำสั่งซื้อขายหลักทรัพย์ผ่านอินเทอร์เน็ตได้ โดยนอกจากการซื้อขายหลักทรัพย์แล้วปัจจุบันระบบซื้อขายผ่านทางอินเทอร์เน็ต ยังสามารถรองรับการซื้อขายอนุพันธ์ในตลาดอนุพันธ์หรือ TFEX ได้อีกด้วย

6.การปั่นหุ้น (MANIPULATION)

หมายถึง เป็นการซื้อขายหลักทรัพย์ใด ๆ โดยบุคคลหรือกลุ่มบุคคล เพื่อสร้างสภาพการซื้อขายให้ผิดไปจากภาวะที่เป็นจริง โดยเจตนาให้ผู้อื่นซื้อขายหลักทรัพย์ด้วยความเข้าใจผิด การปั่นหุ้นถือเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ.2535

7.การชำระค่าซื้อขายแบบยอดสุทธิ (NET SETTLEMENT)

หมายถึง การชำระราคาหลักทรัพย์ในลักษณะที่บริษัทหลักทรัพย์นำค่าซื้อและค่าขายหลักทรัพย์เดียวกัน ในวันเดียวกันของ ผู้ลงทุนรายเดียวกัน มาหักลบกันเพื่อหายอดสุทธิ และเมื่อถึงวันที่ 3 หลังจากการซื้อขาย (T+3) ผู้ลงทุนก็เพียงแต่ชำระส่วนต่างที่มูลค่าซื้อมากกว่ามูลค่าขายเท่านั้น หากมูลค่าขายมากกว่ามูลค่าซื้อ ผู้ลงทุนก็ได้รับเงินในส่วนต่างสุทธิดังกล่าวจากบริษัทหลักทรัพย์ การชำระค่าซื้อขายแบบยอดสุทธิช่วยให้ผู้ลงทุนไม่ต้องชำระเงินเต็มจำนวนยอดที่ซื้อทุกรายการ ทำให้ผู้ลงทุนมีสภาพคล่องมากขึ้น

8.ราคาเสนอขาย (OFFER)

หมายถึง เป็นราคาที่ผู้ลงทุนเสนอจะขายหลักทรัพย์ใดหลักทรัพย์หนึ่ง โดย ณ ขณะใดขณะหนึ่ง อาจมีราคาเสนอขายเข้ามาหลายระดับราคา ซึ่งระบบการซื้อขายจะจัดเรียงคำสั่งที่มีราคาเสนอขายต่ำกว่าอยู่ในลำดับแรก เพื่อรอการจับคู่การซื้อขาย

9.มูลค่าที่ตราไว้ (PAR VALUE)

หมายถึง มูลค่าของหลักทรัพย์ที่ระบุไว้บนใบหุ้นหรือใบหลักทรัพย์ ซึ่งเป็นไปตามข้อกำหนดในหนังสือบริคณห์สนธิของบริษัทผู้ออกหลักทรัพย์ หรือเป็นไปตามข้อกำหนดของหน่วยงานกำกับดูแล มูลค่าที่ตราไว้เป็นข้อมูลที่แสดงให้ทราบถึงมูลค่า ต่อหน่วยของหลักทรัพย์นั้น และสามารถใช้ประโยชน์ในการวิเคราะห์ทางบัญชีและวิเคราะห์การลงทุน นอกจากนี้ ยังแสดงให้ทราบถึงทุนจดทะเบียนตามกฎหมายของกิจการในกรณีของตราสารทุนด้วย

10.การแปลงสินทรัพย์เป็นทุน (SECURITIZATION)

หมายถึง กระบวนการนำสินทรัพย์ของบริษัท (หรือสถาบันการเงิน) ประเภทลูกหนี้เงินกู้ต่าง ๆ ที่สร้างรายได้ประจำ แต่มีสภาพคล่องต่ำ เช่น ลูกหนี้เงินกู้ที่อยู่อาศัย เงินกู้บัตรเครดิต หรือเงินกู้ซื้อรถยนต์ เป็นต้น ชนิดหนึ่งชนิดใดมารวมกันเป็นกองสินทรัพย์ (Pool Assets) สำหรับใช้เป็นหลักประกันในการออกตราสารทางการเงิน (เช่น ตั๋วเงินหรือหุ้นกู้) เพื่อจำหน่ายให้แก่ผู้ลงทุนทั่วไป หรือขายแบบเจาะจง (Private Placement) ให้นักลงทุนสถาบันเฉพาะราย หรือเฉพาะกลุ่ม

1.TRIS Rating - บริษัท ทริส เรทติ้ง จำกัด (ทริส) เป็นสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือแห่งแรกของประเทศไทย

ก่อตั้งเมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2536 โดยการสนับสนุนของกระทรวงการคลังและธนาคารแห่งประเทศไทย เพื่อให้บริการวิเคราะห์และประเมินสถานะความน่าเชื่อถือของตราสารหนี้ตาม

แผนพัฒนาระบบการเงินของประเทศในการพัฒนาตลาดทุนและตลาดตราสารหนี้

2.Trustee - ผู้ดูแลสินทรัพย์ หรือผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ไว้ คือ ต้องเป็นสถาบันการเงิน บริษัทเงินทุน บริษัทหลักทรัพย์ประเภทธนาคารพาณิชย์ สถาบันการเงินที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น และบริษัทจำกัดหรือมหาชน จำกัด ที่ได้รับอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ซึ่งไม่ใช่การจัดการกองทุนรวม ทั้งนี้ผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ต้องไม่มีผลประโยชน์ขัดแย้งต่อการทำหน้าที่โดยไม่เป็นผู้ถือหุ้นในผู้ออกหุ้นก

3.Term Bonds - พันธบัตรหรือหุ้นกู้ที่จ่ายคืนมูลค่าพาร์ทั้งหมด เมื่อพันธบัตรหรือหุ้นกู้ดังกล่าวถึงวันครบกำหนด

ไถ่ถอน

4.Term Repo - ธุรกรรมซื้อคืนที่มีสัญญาซื้อคืนหรือขายคืนที่มีอายุมากกว่าหนึ่งวัน

5.Total Trading - มูลค่ารวมการซื้อขายตราสารหน

6.Treasury Bills -

ตั๋วเงินคลัง ระยะสั้น ที่มีอายุหน้าตั๋วน้อยกว่า 1 ปีที่ ธนาคารแห่งประเทศไทยจะนิยมออกพันธบัตรประเภทนี้ ตั๋วเงินระยะสั้นมีสภาพคล่อง (Liquidity) มากที่สุดในตลาดรอง ตั๋วเงินประเภทนี้โดยปกติจะไม่มีดอกเบี้ย ดังนั้น ราคาซื้อขายจึงต่ำกว่าราคาหน้าตั๋ว หรือมีส่วนลด (Discount Bond)

7.Zero Coupon Bonds - ตราสารหนี้ที่ไม่มีการจ่ายดอกเบี้ย (coupon) ระหว่างอายุของตราสารหนี้นั้นโดยราคาที่จำหน่ายใน ครั้งแรกหรือตลาดแรกนั้น จะเป็นราคาที่ต่ำกว่าราคาที่ผู้ออกตราสารหนี้จะไถ่ถอนเมื่อครบกำหนด

8.Yield to Worst - อัตราผลตอบแทนของตราสารหนี้ โดยมีสมมุติฐานว่า สถานการณ์หรือสิทธิแอบแฝงทุกอย่างที่จะทำให้ราคาตราสารหนี้ลดลงต่ำที่สุดได้ถูกนำมาใช้ในการคำนวณราคา

9.Yield - อัตราผลตอบแทน

10.Premium Bond - ตราสารหนี้ที่มีราคาซื้อขายสูงกว่ามูลค่าที่ตราไว้หรือมูลค่าพาร์

49473010029 ( น.ส. กิติยา โยคะสิงห์ )

1.Delivery - การส่งมอบ

หมายถึง ธุรกรรมในวันส่งมอบของสัญญาฟิวเจอร์สที่เกิดจากการถือครองหรือสถานะคงค้าง ในสัญญา โดยผู้มีสถานะซื้อและผู้มีสถานะขายทำการแลกเปลี่ยนระหว่างเงินและ สินค้าอ้างอิงตามเงื่อนไขในสัญญา ตลาดอนุพันธ์แต่ละแห่งจะกำหนดรายละเอียดของ กระบวนการส่งมอบต่างกันไป และสัญญาฟิวเจอร์สบางประเภท เช่น ฟิวเจอร์สของ

ดัชนีหุ้นสามัญ จะถูกกำหนดให้ใช้การชำระราคาด้วยเงินสด(Cash settlement)

แทนการส่งมอบสินทรัพย์จริงๆ

2.Daily Price Limits - ช่วงการเปลี่ยนแปลง ของราคาเสนอซื้อขาย

ในแต่ละวัน (Daily Price Limit)

หมายถึง ขอบเขตสูงสุดของการเคลื่อนไหวของราคาฟิวเจอร์สที่นุญาตให้ทำการซื้อขายได็โดย ตลาดอนุพันธ์จะกำหนดขีดจำกัดของราคาในหนึ่งวันทำการว่าอยู่ในช่วง บวก/ลบไม่เกินกี่เปอร์เซ็นต์ของราคาปิด (Settlement price) วันก่อนหน้า

3.Hedge - การป้องกันความเสี่ยง

หมายถึง การซื้อหรือขายอนุพันธ์เพื่อบริหารความเสี่ยงของตน เช่น ผู้ที่มีความจำเป็นต้องซื้อน้ำมัน มีความเสี่ยงจากการที่ราคาน้ำมันอาจปรับตัวสูงขึ้น อาจใช้การซื้อฟิวเจอร์สที่อ้างอิงกับ ราคาน้ำมันเพื่อบริหารความเสี่ยง

4.Scalper - ผู้ลงทุนที่มีพฤติกรรม ทำการซื้อขายหลายๆ รอบ ในวันทำการ

หมายถึง นักเก็งกำไรประเภทหนึ่งซึ่งลงทุนในสัญญาฟิวเจอร์สเพื่อหวังเก็งกำไรระยะสั้นมากๆ (สั้นกว่า day trader) นักเก็งกำไรประเภทนี้จะซื้อขายสัญญาฟิวเจอร์สวันละหลายๆ รอบและจะไม่รักษาสถานะคงค้างในสัญญาข้ามวันทำการ

5.Speculate - การเก็งกำไร

หมายถึง การที่เข้ามาซื้อขายสัญญาฟิวเจอร์สเพื่อหวังกำไรจากการที่ราคาฟิวเจอร์สในอนาคต เคลื่อนไหวไปในทิศทางที่ตนคาดคิด

6.Volatility - ความผันผวน

หมายถึง เครื่องมือวัดระดับของการเคลื่อนไหวของราคาในช่วงเวลาหนึ่งว่าระดับราคามีการเคลื่อนไหวขึ้นลงมากน้อยเพียงใด

7.Volume - ปริมาณการซื้อขาย

หมายถึง จำนวนของสัญญาฟิวเจอร์สที่มีการซื้อขายกันในวันนั้น

8.Brokerage Fee - ค่าธรรมเนียมการซื้อขาย

หมายถึง ค่านายหน้าที่โบรกเกอร์เก็บจากผู้ลงทุน

9.Call Option - คอลออปชัน

หมายถึง สัญญาที่ให้สิทธิแก่ผู้ซื้อออปชันในการซื้อสินทรัพย์อ้างอิงจากคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่ง ตามจำนวน ราคา และภายในระยะเวลาที่กำหนด

10.Counterparty - คู่สัญญา

หมายถึง คู่สัญญาที่มีพันธะสัญญาต่อกัน ในตลาดอนุพันธ์ คู่สัญญาของสำนักหักบัญชีก็คือ สมาชิกสำนักหักบัญชี แต่ไม่เป็นคู่สัญญากับผู้ลงทุน เนื่องจากคู่สัญญาของผู้ลงทุน

ก็คือโบรกเกอร์ซึ่งเป็นสมาชิกสำนักหักบัญชี

49473010021 (น.ส.ปทุมมา อายุสุข)

1.GREENSHOE OPTION-การเสนอขายหลักทรัพย์ส่วนเพิ่มโดยมีเงื่อนไขซื้อคืน การให้สิทธิแก่ผู้รับประกันการจำหน่ายหลักทรัพย์ (Underwriter) ในการขายหุ้นต่อประชาชนทั่วไป มากกว่าจำนวนที่กำหนดไว้ โดยจะซื้อคืนในภายหลังเมื่อหุ้นใหม่นั้นเข้าซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์แล้ว เพื่อวัตถุประสงค์ในการสร้างเสถียรภาพของราคา มิให้ราคาหุ้นสูงเกินกว่าราคาจองซื้อมากเกินไป จนอาจไม่เป็นธรรมแก่บริษัทผู้ออกหลักทรัพย์ หรือต่ำกว่าราคาจองซื้อจนทำให้ผู้ลงทุนไม่พอใจ และจากสิทธิในการซื้อคืนที่ช่วยสร้างความต้องการในตลาด จะมีผลต่อราคาหุ้นที่มีโอกาสจะปรับตัวสูงขึ้น กรณีที่ราคาหุ้นในตลาดหลักทรัพย์สูงขึ้นเกินราคาจอง ผู้รับประกันการจัดจำหน่ายหลักทรัพย์สามารถใช้สิทธิในการซื้อหุ้นคืนจากบริษัท (ผู้ถือหุ้นเดิม) ในราคาจองซื้อ เพื่อชดเชยหุ้นในส่วนที่ขายมากเกินไปก่อนหน้าแทนที่จะซื้อคืนในตลาดหลักทรัพย์เพียงอย่างเดียว 2.BROKER-นายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ให้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ ทำหน้าที่เป็นตัวแทนในการซื้อหรือขายหลักทรัพย์ให้แก่ผู้ลงทุน โดยได้รับค่าธรรมเนียมหรือค่านายหน้าจากผู้ลงทุนเป็นผลตอบแทน บริษัทหลักทรัพย์ที่เป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ ที่มีคุณสมบัติครบถ้วนตามที่ตลาดหลักทรัพย์ฯ กำหนด จะได้รับอนุญาตให้เข้าเป็นบริษัทสมาชิกของหลักทรัพย์ฯ 3.BEAR MARKET-ตลาดหมี เป็นภาวะตลาดหุ้นที่ราคาหลักทรัพย์โดยทั่วไปมีระดับที่ลดต่ำลงอย่างต่อเนื่องเป็นเวลายาวนาน และปริมาณการซื้อขายก็มีน้อย เปรียบเสมือนการเคลื่อนไหวของหมีที่อืดอาดเชื่องช้า 4.BOARD LOT -หน่วยการซื้อขาย ผู้ลงทุนที่จะซื้อขายหลักทรัพย์บนกระดานหลัก (Main Board) ต้องระบุจำนวนหลักทรัพย์ที่ต้องการจะซื้อหรือขายเป็นหน่วยการซื้อขาย (Board Lot) โดยทั่วไปตลาดหลักทรัพย์ฯ กำหนดให้ 1 หน่วยการซื้อขาย หรือ 1 Board Lot เท่ากับ 100 หุ้น เช่น ต้องการซื้อหุ้นบริษัท ก. จำนวน 10 หน่วยการซื้อขาย จะเท่ากับ 1,000 หุ้น อย่างไรก็ตาม ในกรณีที่หลักทรัพย์ใดมีราคาปิดตั้งแต่ 500 บาทขึ้นไปเป็นระยะเวลา 6 เดือนต่อเนื่องกัน ตลาดหลักทรัพย์ฯ กำหนดให้ 1 หน่วยการซื้อขายของหลักทรัพย์นั้นเท่ากับ 50 หุ้น 5.CUSTOMER TYPE -การซื้อขายหลักทรัพย์แยกตามประเภทผู้ลงทุน ตลาดหลักทรัพย์ฯ มีการเผยแพร่ข้อมูลการซื้อขายหลักทรัพย์ (ปริมาณและมูลค่าการซื้อขาย) โดยจำแนกตามกลุ่มของผู้ลงทุนเป็น 3 ประเภท ได้แก่ ผู้ลงทุนสถาบันในประเทศ (LOCAL INSTITUTION) ผู้ลงทุนต่างประเทศ (FOREIGN INVESTOR) และผู้ลงทุนบุคคลในประเทศ (LOCAL INVESTORS) โดยเผยแพร่ข้อมูล ณ สิ้นวันทำการ ผ่านระบบบริการ ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ ได้แก่ ระบบ SETSMART เว็บไซต์ www.set.or.th, www.mai.or.th และ www.settrade.com รวมทั้งวารสารและสิ่งพิมพ์ต่างๆ ของตลาดหลักทรัพย์ฯ 6.CREDIT BALANCE-ระบบเครดิตบาลานซ์ เป็นระบบบัญชีสำหรับผู้ลงทุนที่ต้องการกู้ยืมเงินเพื่อซื้อหุ้นจากบริษัทหลักทรัพย์ โดยปกติบริษัทหลักทรัพย์จะกำหนดให้ลูกค้าบัญชีเครดิตบาลานซ์ต้องชำระเงินสดเพื่อซื้อหลักทรัพย์ในจำนวนขั้นต่ำที่ไม่น้อยกว่าอัตรามาร์จินเริ่มแรก (Initial Margin) ที่ตลาดหลักทรัพย์ฯ กำหนด เพื่อวางเป็นหลักประกันการกู้ยืมเงิน 7.CONFLICT OF INTEREST-ผลประโยชน์ทับซ้อน การที่บุคคลหรือกลุ่มบุคคลซึ่งได้รับมอบหมายให้เป็นตัวแทนของบุคคลอีกกลุ่มหนึ่ง ตัดสินใจดำเนินการโดยมี ผลประโยชน์ส่วนตัวทั้งทางตรงและทางอ้อมเข้าไปเกี่ยวข้อง ซึ่งผลประโยชน์ส่วนนี้อาจเป็นการบั่นทอนหรือเบียดบังผลประโยชน์จากบุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่ได้มอบอำนาจให้กระทำแทน เช่น คณะกรรมการของบริษัทจดทะเบียนตัดสินใจซื้อสินทรัพย์ลงทุนจากกรรมการหรือผู้บริหารของบริษัท เป็นต้น อย่างไรก็ตาม บริษัทจดทะเบียนสามารถดำเนินการดังกล่าวได้ โดยปฏิบัติตามข้อกำหนดว่าด้วยรายการที่เกี่ยวโยงกัน พร้อมทั้งเปิดเผยข้อมูลและดำเนินการต่างๆ อย่างครบถ้วน 8.MARGIN ACCOUNT-บัญชีซื้อขายหลักทรัพย์โดยวางหลักประกัน บัญชีเพื่อการซื้อขายหลักทรัพย์สำหรับลูกค้าที่ต้องการซื้อขายหลักทรัพย์ โดยการกู้ยืมเงินจากบริษัทหลักทรัพย์ และ/หรือเพื่อการขายชอร์ต (Short Sell) ในการเปิดบัญชี Margin Account ลูกค้าจะต้องนำเงินหรือหลักทรัพย์จำนวนหนึ่ง มาวางไว้กับบริษัทหลักทรัพย์เพื่อเป็นหลักประกัน โดยมูลค่าของหลักประกันที่นำมาวางเมื่อเทียบกับวงเงินที่จะซื้อหุ้นหรือ ที่จะขายชอร์ต ต้องไม่ต่ำกว่าอัตราหลักประกันเริ่มต้น (Initial Margin Rate) ที่ตลาดหลักทรัพย์ฯ กำหนด 9.MARKET CAPITALIZATION-มูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาด เป็นมูลค่าตามราคาตลาดของหลักทรัพย์จดทะเบียน ที่คำนวณจากการนำราคาปิดของหลักทรัพย์จดทะเบียนคูณกับจำนวนหน่วยของหลักทรัพย์จดทะเบียน เป็นดัชนีหนึ่งที่ใช้สำหรับแสดงถึงขนาดของหลักทรัพย์จดทะเบียน และขนาดของตลาดหลักทรัพย์ฯ โดยรวม ปัจจุบันการคำนวณมูลค่าตามราคาตลาดรวมของตลาดหลักทรัพย์ฯ ครอบคลุมหลักทรัพย์ประเภท หุ้นสามัญ หุ้นบุริมสิทธิ และใบสำคัญแสดงสิทธิในการจองซื้อหุ้นสามัญ (วอแรนท์) 10.OPENING PRICE-ราคาเปิด ในการคำนวณราคาเปิดของหลักทรัพย์ ตลาดหลักทรัพย์ฯ จะเปิดให้บริษัทสมาชิกเริ่มส่งคำสั่งเข้ามาในระบบ การซื้อขายตั้งแต่เวลา 9.30 น. จากนั้นระบบจะหาเวลาเปิดการซื้อขายโดยการสุ่มเลือกเวลา (Random Time) ในช่วง 9.55 - 10.00 น. และคำนวณหาราคาเปิดของแต่ละหลักทรัพย์โดยวิธี Call Market โดยนำคำสั่งซื้อขายทั้งหมดที่ได้รับมาคำนวณหาราคาเปิด

49473010007 (น.ส.อรพรรณ จิณะแสน)

1.BACKDOOR LISTING

การจดทะเบียนโดยอ้อม

หมายถึง การที่บริษัทจดทะเบียนได้มาซึ่งสินทรัพย์หรือหุ้นของบริษัทอื่นที่มิใช่บริษัท จดทะเบียน และเมื่อคำนวณมูลค่าตามหลักเกณฑ์ของตลาดหลักทรัพย์ฯ แล้ว ปรากฎว่าสินทรัพย์ของบริษัทอื่นที่ได้มานั้นมีขนาดใหญ่กว่าสินทรัพย์เดิมของบริษัทจดทะเบียน ซึ่งมีผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในอำนาจการควบคุมบริษัทจดทะเบียน จากกลุ่มผู้ถือหุ้นเดิมไปยังกลุ่มผู้ถือหุ้นของบริษัทอื่นดังกล่าว จึงเท่ากับว่าบริษัทอื่นนั้นสามารถเป็นบริษัทจดทะเบียน โดยไม่ต้องผ่านขั้นตอนการพิจารณาจากตลาดหลักทรัพย์ฯ ตามเกณฑ์คุณสมบัติบริษัทจดทะเบียน เพื่อป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้นจากกรณีดังกล่าว ตลาดหลักทรัพย์ฯ จึงได้กำหนดขั้นตอนการปฏิบัติสำหรับบริษัทจดทะเบียนที่เข้าข่ายกรณี Backdoor Listing ให้บริษัทอื่นที่เข้ามามีอำนาจควบคุมบริษัทจดทะเบียนต้องยื่นคำขอให้รับหลักทรัพย์ต่อตลาดหลักทรัพย์ฯ ด้วย

2.BOARD LOT

หน่วยการซื้อขาย

ผู้ลงทุนที่จะซื้อขายหลักทรัพย์บนกระดานหลัก (Main Board) ต้องระบุจำนวนหลักทรัพย์ที่ต้องการจะซื้อหรือขายเป็นหน่วยการซื้อขาย (Board Lot) โดยทั่วไปตลาดหลักทรัพย์ฯ กำหนดให้ 1 หน่วยการซื้อขาย หรือ 1 Board Lot เท่ากับ 100 หุ้น เช่น ต้องการซื้อหุ้นบริษัท ก. จำนวน 10 หน่วยการซื้อขาย จะเท่ากับ 1,000 หุ้น อย่างไรก็ตาม ในกรณีที่หลักทรัพย์ใดมีราคาปิดตั้งแต่ 500 บาทขึ้นไปเป็นระยะเวลา 6 เดือนต่อเนื่องกัน ตลาดหลักทรัพย์ฯ กำหนดให้ 1 หน่วยการซื้อขายของหลักทรัพย์นั้นเท่ากับ 50 หุ้น

3.CAPITAL GAIN

กำไรส่วนทุนจากการขายหลักทรัพย์

เป็นกำไรจากการลงทุนในหลักทรัพย์ ที่เกิดขึ้นจากการขายหุ้นออกไปในราคาที่สูงกว่าราคาที่ซื้อมา ปัจจุบันผู้ลงทุนชาวไทยประเภทบุคคลธรรมดา ได้รับการยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีเงินได้สำหรับกำไรจากการขายหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ แต่หากเป็นผู้ลงทุนประเภทนิติบุคคล จะต้องนำเงินกำไรดังกล่าวรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล สำหรับผู้ลงทุนต่างประเทศที่ได้รับกำไรจากการขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ฯ หากเป็นบุคคลธรรมดาได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษี แต่หากเป็นนิติบุคคลต่างชาติที่ไม่ได้ประกอบกิจการในประเทศไทย จะถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย ในอัตรา 15% เว้นแต่เป็นกำไรจากการขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมไม่ต้องเสียภาษี สำหรับบางประเทศที่มีอนุสัญญาภาษีซ้อนกับประเทศไทย อาจได้รับการลดหย่อนหรือยกเว้นภาษีเงินได้เพิ่มเติมตามเงื่อนไขที่กำหนดในอนุสัญญาภาษีซ้อนของแต่ละประเทศ

4.CLEARLING AND SETTLEMENT

การชำระราคาและส่งมอบหลักทรัพย์

เป็นกระบวนการหลังการซื้อขายหลักทรัพย์ ที่ผู้ซื้อจะต้องชำระเงินค่าหลักทรัพย์และรับมอบหลักทรัพย์ที่ซื้อ ส่วนผู้ขายจะต้องส่งมอบหลักทรัพย์และรับชำระเงินค่าขาย ปัจจุบัน ตลาดหลักทรัพย์ฯ กำหนดให้การชำระราคาและส่งมอบหลักทรัพย์ระหว่างบริษัทสมาชิก และบริษัท ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด ใช้ระบบยอดสุทธิซื้อและยอดสุทธิขายของบริษัทสมาชิกแต่ละราย และต้องกระทำภายใน 3 วันทำการ นับจากวันที่ซื้อขาย (T+3) ยกเว้นการซื้อขายตราสารหนี้ที่ต้องกระทำภายใน 2 วันทำการ นับจากวันที่ซื้อขาย (T+2)

5.CUSTOMER TYPE

การซื้อขายหลักทรัพย์แยกตามประเภทผู้ลงทุน

ตลาดหลักทรัพย์ฯ มีการเผยแพร่ข้อมูลการซื้อขายหลักทรัพย์ (ปริมาณและมูลค่าการซื้อขาย) โดยจำแนกตามกลุ่มของผู้ลงทุนเป็น 3 ประเภท ได้แก่ ผู้ลงทุนสถาบันในประเทศ (LOCAL INSTITUTION) ผู้ลงทุนต่างประเทศ (FOREIGN INVESTOR) และผู้ลงทุนบุคคลในประเทศ (LOCAL INVESTORS) โดยเผยแพร่ข้อมูล ณ สิ้นวันทำการ ผ่านระบบบริการ ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ ได้แก่ ระบบ SETSMART เว็บไซต์ www.set.or.th, www.mai.or.th และ www.settrade.com รวมทั้งวารสารและสิ่งพิมพ์ต่างๆ ของตลาดหลักทรัพย์ฯ

6.DERIVATIVES

ตราสารอนุพันธ์

เป็นตราสารการเงินประเภทหนึ่ง ซึ่งมูลค่าหรือราคาของตราสารเกี่ยวเนื่องกับมูลค่าของสินทรัพย์หรือตัวแปรอื่นที่ตราสารนั้นอ้างอิงถึง (Underlying Assets) ซึ่งได้แก่ หุ้นสามัญ เงินตราต่างประเทศ พันธบัตร สินค้าโภคภัณฑ์ ดัชนีหลักทรัพย์ อัตราแลกเปลี่ยน อัตราดอกเบี้ย เป็นต้น ประเภทของตราสารอนุพันธ์ ได้แก่ ออปชั่น สัญญาซื้อขายล่วงหน้าฟิวเจอร์ส และสัญญาซื้อขายล่วงหน้าฟอร์เวิร์ด เป็นต้น

การจัดให้มีการซื้อขายตราสารอนุพันธ์จะช่วยให้ผู้ทำธุรกรรมที่เกี่ยวข้องกับสินค้าอ้างอิง ได้มีเครื่องมือไว้ป้องกันและบริหารความเสี่ยงที่มีอยู่ และเป็นการเพิ่มช่องทางการลงทุนที่หลากหลายยิ่งขึ้น

7.DERIVATIVE WARRANT (DW)

ใบสำคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์

เป็นตราสารการเงินชนิดหนึ่ง ซึ่งบริษัทผู้ออก (Issuer) ให้สิทธิแก่ผู้ถือในการซื้อหรือขายดัชนีหลักทรัพย์ (Index) หรือหลักทรัพย์อ้างอิง (Underlying Securities) ซึ่งอาจเป็นหุ้น (Stock) ของบริษัท อื่นในราคาใช้สิทธิ อัตราการใช้สิทธิ และระยะเวลาใช้สิทธิที่กำหนดไว้ โดยบริษัทผู้ออกเป็นผู้กำหนดว่าจะเลือกการส่งมอบ เป็นหลักทรัพย์หรือเงินสดก็ได้ ปัจจุบัน สำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. กำหนดให้บริษัทผู้ออกสามารถออกได้เฉพาะ ใบสำคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ที่ให้สิทธิซื้อหลักทรัพย์อ้างอิงเท่านั้น

ใบสำคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ จัดเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการบริหารความเสี่ยงของการลงทุน ทั้งด้านผู้ออกและผู้ซื้อ หลักทรัพย์ โดยเฉพาะผู้ลงทุนสถาบันที่มีการลงทุนในหุ้นสามัญเป็นจำนวนมาก อย่างกองทุนรวม หรือบริษัทประกันภัย ที่สามารถใช้เป็นเครื่องมือป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นจากความผันผวนของราคาหลักทรัพย์ได้

8.DIVIDEND

เงินปันผล

เป็นส่วนของกำไรที่บริษัทจัดสรรจ่ายคืนเป็นผลตอบแทนให้ผู้ถือหุ้นสามัญ หุ้นบุริมสิทธิ และหน่วย ลงทุนตามผลการดำเนินงานของบริษัท การจ่ายเงินปันผลของแต่ละบริษัทอาจแตกต่างกันขึ้นอยู่กับ นโยบายการจ่าย เงินปันผล กระแสเงินสดหรือสภาพคล่องของกิจการ กำไรสะสมที่จะพิจารณาประกาศจ่าย ความต้องการใช้เงินทุนเพื่อการขยายงานในอนาคต นอกจากนี้ บริษัทอาจจ่ายปันผลให้แก่ผู้ถือหุ้นเป็นหุ้นของบริษัทก็ได้ เรียกว่า “หุ้นปันผล”

9.EARNINGS BEFORE INTEREST, TAXES, DEPRECIATION AND AMORTIZATION (EBITDA)

กำไรก่อนดอกเบี้ย ภาษี ค่าเสื่อมราคาและค่าตัดจำหน่าย

EBITDA เป็นตัวเลขวัดความสามารถในการทำกำไรจากการดำเนินงานของบริษัท ซึ่งไม่รวมผลกระทบจากต้นทุนทางการเงิน นโยบายทางการบัญชีเและภาษี เป็นตัววัดที่ตรงไปตรงมาเหมาะสำหรับใช้ในการวิเคราะห์ความสามารถในการทำกำไรระหว่างกิจการหรือระหว่างอุตสาหกรรมได้เป็นอย่างดี เช่น อัตราส่วน EBITDA ต่อยอดขาย ถ้าอัตราส่วนนี้ยิ่งสูง ยิ่งบ่งบอกถึงความสามารถในการทำกำไรที่มาก มีสูตรการคำนวณดังนี้

EBITDA = รายได้ - ค่าใช้จ่าย (ไม่รวมดอกเบี้ยจ่าย ภาษี ค่าเสื่อมราคา และค่าตัดจำหน่าย)

10.FUTURES (FUTURES CONTRACT)

สัญญาซื้อขายฟิวเจอร์ส

สัญญาระหว่างคู่สัญญาสองฝ่ายที่ตกลงราคากัน ณ ปัจจุบัน และจะมีการส่งมอบสินทรัพย์และชำระเงินในอนาคต ตามราคาที่ตกลงไว้ไม่ว่าราคาในขณะนั้นจะเป็นเท่าไรก็ตาม การทำสัญญาซื้อขายล่วงหน้าถือว่าทั้งสองฝ่ายมีภาระผูกพันต่อกันต้องปฏิบัติตาม คู่สัญญาของฟิวเจอร์สมี 2 ฝ่ายคือ ผู้ซื้อและผู้ขาย ผู้ที่ตกลงซื้อฟิวเจอร์ส เรียกว่ามีสถานะซื้อ (Long position) ผู้ที่ตกลงขายฟิวเจอร์ส เรียกว่ามีสถานะขาย (Short position) การซื้อหรือขายฟิวเจอร์ส ผู้ซื้อผู้ขายไม่จำเป็นต้องถือสัญญาจนครบกำหนด แต่สามารถปิดสถานะ (Offset) เพื่อล้างภาระผูกพันก่อนได้ เช่น ผู้ลงทุนที่มีสถานะซื้อในสัญญา ฟิวเจอร์สสามารถปิดสถานะได้โดยการขายสัญญาฟิวเจอร์สเดิมในจำนวนเท่าเดิม

49473010001 (น.ส.บังอร ม่วงเจริญ)

1.OPTIONS

ออปชั๋น

ออปชั่น หมายถึง สัญญาระหว่างคู่สัญญา 2 ฝ่ายคือ ผู้ซื้อ และผู้ขาย โดยผู้ขายให้สิทธิกับผู้ซื้อที่จะทำการซื้อหรือขายสินค้าตามจำนวน ราคา และภายในระยะเวลาที่ระบุไว้ในสัญญา ออปชั่นแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ออปชั่นที่ให้สิทธิกับผู้ซื้อออปชั่นในการ “ซื้อ” สินทรัพย์อ้างอิง เรียกว่า “คอลออปชั่น” (Call Option) ออปชั่นที่ให้สิทธิกับผู้ซื้อออปชั่นในการ “ขาย” สินทรัพย์อ้างอิงนั้นเรียกว่า “พุทออปชั่น” (Put Option) เพื่อแลกกับการได้สิทธิในการซื้อหรือขายสินทรัพย์อ้างอิงนั้นมา ผู้ซื้อออปชั่นจะต้องจ่ายเงินจำนวนหนึ่งที่เรียกว่า “ค่าพรีเมี่ยม” (Premium) ให้กับผู้ขายออปชั่น โดยเมื่อตกลงซื้อขายออปชั่นกันแล้ว สิทธินั้นอยู่กับผู้ซื้อ ผู้ซื้อเลือกที่จะใช้สิทธิหรือไม่ก็ได้ แต่ผู้ขายออปชั่นนั้นมีภาระหน้าที่ที่จะต้องปฏิบัติตามสัญญาเมื่อผู้ซื้อเรียกร้องขอใช้สิทธิที่มีอยู่นั้น ราคาที่ผู้ซื้อสามารถใช้สิทธิซื้อหรือขายตามสัญญาออปชั่น เราเรียกว่า “ราคาใช้สิทธิ” (Exercise Price หรือ Strike Price)

2.BULL MARKET

ตลาดกระทิง

เป็นภาวะตลาดหุ้นที่ราคาหลักทรัพย์โดยทั่วไปมีระดับสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง เป็นระยะเวลายาวนานไม่น้อยกว่า 2 – 3 เดือน และมีปริมาณการซื้อขายที่มาก มีสภาพคล่องสูง ภาวะตลาดดังกล่าวมีความคึกคักเสมือนอาการเคลื่อนไหวของวัวกระทิง

3.MAIN BOARD

กระดานหลัก

กระดานสำหรับการซื้อขายหลักทรัพย์ที่มีปริมาณหรือจำนวนหุ้นที่ตรงตามหน่วยการซื้อขาย (Board Lot) คำสั่งซื้อขายหลักทรัพย์บนกระดานหลักจะต้องระบุปริมาณหุ้นที่สั่งซื้อหรือสั่งขาย เป็นจำนวนตั้งแต่ 1 หน่วยการซื้อขายขึ้นไป และแต่ละคำสั่งซื้อขายต้องมีจำนวนไม่เกิน 10 ล้านหุ้น หากต้องการส่งคำสั่งซื้อขายในปริมาณที่มากกว่า 10 ล้านหุ้น ให้แบ่งคำสั่งซื้อขายออกเป็นหลายๆ คำสั่ง หรือให้ส่งคำสั่งซื้อขายบนกระดานรายใหญ่ (Big Lot Board) แทน

4.GREENMAIL

การขู่ซื้อกิจการ

เป็นคำที่ใช้กันแพร่หลายในวงการนักล่าบริษัท หมายถึง การที่บริษัทซึ่งกำลังจะถูกซื้อหรือถูกรวมกิจการ จำใจต้องจ่ายเงินให้แก่บริษัทหรือบุคคลที่จะซื้อหรือรวมกิจการของตน โดยขอซื้อหุ้นของบริษัทตนคืนในราคาที่สูงกว่าปกติ ทำให้บริษัทหรือบุคคลที่จะเข้าซื้อ ได้รับกำไรจากส่วนต่างของราคาหุ้น ขณะเดียวกัน บริษัทหรือบุคคลที่จะเข้าซื้อ ต้องตกลงว่าจะไม่เข้าซื้อหรือเข้ารวมกิจการของตนอีกต่อไป

5.DEPOSITORY RECEIPT (DR)

ใบแสดงสิทธิในผลประโยชน์ที่เกิดจากหลักทรัพย์อ้างอิง

ใบแสดงสิทธิในผลประโยชน์ที่เกิดจากหลักทรัพย์อ้างอิง เป็นตราสารที่ออกและเสนอขายโดย บริษัท สยามดีอาร์ จำกัด ผู้ลงทุนที่ถือใบแสดงสิทธิฯ ดังกล่าว จะได้รับผลประโยชน์ต่างๆ เช่นเดียวกับผู้ถือหุ้นของบริษัทจดทะเบียนทุกประการ ไม่ว่าจะเป็นสิทธิประโยชน์ทางการเงิน (Financial Right) หรือสิทธิในการออกเสียงลงคะแนน (Voting Right) ในการออกเสียงลงคะแนนนั้น ผู้ถือจะต้องมีสัญชาติไทย และออกเสียงลงคะแนนโดยผ่านบริษัท สยามดีอาร์ จำกัด เท่านั้น

6.DERIVATIVE WARRANT (DW)

ใบสำคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์

เป็นตราสารการเงินชนิดหนึ่ง ซึ่งบริษัทผู้ออก (Issuer) ให้สิทธิแก่ผู้ถือในการซื้อหรือขายดัชนีหลักทรัพย์ (Index) หรือหลักทรัพย์อ้างอิง (Underlying Securities) ซึ่งอาจเป็นหุ้น (Stock) ของบริษัท อื่นในราคาใช้สิทธิ อัตราการใช้สิทธิ และระยะเวลาใช้สิทธิที่กำหนดไว้ โดยบริษัทผู้ออกเป็นผู้กำหนดว่าจะเลือกการส่งมอบ เป็นหลักทรัพย์หรือเงินสดก็ได้ ปัจจุบัน สำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. กำหนดให้บริษัทผู้ออกสามารถออกได้เฉพาะ ใบสำคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ที่ให้สิทธิซื้อหลักทรัพย์อ้างอิงเท่านั้น

7.DELISTING

การเพิกถอนหลักทรัพย์จดทะเบียน

การเพิกถอนหลักทรัพย์จดทะเบียนแบ่งได้เป็น 2 กรณี คือ ตลาดหลักทรัพย์ฯ สั่งเพิกถอนหลักทรัพย์จากการเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียน และบริษัทจดทะเบียนขอเพิกถอนหลักทรัพย์ของตนเองโดยสมัครใจ

8.DISCLOSURE

การเปิดเผยข้อมูล

บริษัทจดทะเบียนมีหน้าที่ต้องเปิดเผยข้อมูลสำคัญต่างๆ ซึ่งมีหรืออาจมีผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงราคาซื้อขายหลักทรัพย์ของบริษัท หรือมีผลกระทบต่อสิทธิประโยชน์ของผู้ถือหุ้นของบริษัท หรือจำเป็นต่อการตัดสินใจลงทุน ในหลักทรัพย์ ตามที่สำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. และตลาดหลักทรัพย์ฯ กำหนดไว้

9.DIVIDEND

เงินปันผล

เป็นส่วนของกำไรที่บริษัทจัดสรรจ่ายคืนเป็นผลตอบแทนให้ผู้ถือหุ้นสามัญ หุ้นบุริมสิทธิ และหน่วย ลงทุนตามผลการดำเนินงานของบริษัท การจ่ายเงินปันผลของแต่ละบริษัทอาจแตกต่างกันขึ้นอยู่กับ นโยบายการจ่าย เงินปันผล กระแสเงินสดหรือสภาพคล่องของกิจการ กำไรสะสมที่จะพิจารณาประกาศจ่าย ความต้องการใช้เงินทุนเพื่อการขยายงานในอนาคต นอกจากนี้ บริษัทอาจจ่ายปันผลให้แก่ผู้ถือหุ้นเป็นหุ้นของบริษัทก็ได้ เรียกว่า “หุ้นปันผล”

10.DIVIDEND YIELD

อัตราผลตอบแทนจากเงินปันผล

เป็นตัวชี้วัดเพื่อให้ผู้ลงทุนทราบว่า หากลงทุนซื้อหุ้น ณ ระดับราคาตลาด ในปัจจุบัน จะมีโอกาสได้รับเงินปันผลตอบแทนจากการลงทุนในอัตราคิดเป็นร้อยละเท่าไรจากราคาหุ้นที่ซื้อ

49473010009 (นายธีรภัทร กิจนิตย์ชีว์)

1.AUTOMATED SYSTEM FOR THE STOCK EXCHANGE OF THAILAND (ASSET)

ระบบการซื้อขายหลักทรัพย์ด้วยคอมพิวเตอร์ของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

เป็นระบบการซื้อขายหลักทรัพย์ด้วยคอมพิวเตอร์ที่ตลาดหลักทรัพย์ฯ พัฒนาขึ้น เรียกสั้นๆ ว่า ระบบ ASSET เริ่มใช้เป็นครั้งแรกเมื่อ 31 พฤษภาคม 2534 แทนการซื้อขายแบบเดิมที่ใช้วิธีประมูลราคาอย่างเปิดเผย (Open Auction) ด้วยการจดแจ้งราคาหลักทรัพย์บนกระดานในห้องค้าหลักทรัพย์ วัตถุประสงค์หลักของการนำระบบ ASSET มาใช้เพื่อให้เกิดความโปร่งใสและยุติธรรมในกระบวนการจับคู่คำสั่งการซื้อขายหลักทรัพย์ ซึ่งมีความสะดวกรวดเร็ว และสามารถรองรับปริมาณการซื้อขายหลักทรัพย์ที่มีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ด้วยระบบคอมพิวเตอร์แบบกระจายศูนย์ (Distributed System) ประกอบด้วย 3 ส่วนหลัก คือ ระบบคอมพิวเตอร์ของตลาดหลักทรัพย์ฯ ระบบคอมพิวเตอร์ของบริษัทสมาชิก และระบบเครือข่าย การสื่อสาร สำหรับการซื้อขายหลักทรัพย์ผ่านระบบ ASSET นี้ สามารถทำได้ 2 ลักษณะคือ การจับคู่คำสั่งซื้อ/ขายโดยอัตโนมัติ (Automatic Order Matching : AOM) และการตกลงซื้อขายและจดแจ้งรายการ (Put-through : PT)

2.BULL MARKET

ตลาดกระทิง

เป็นภาวะตลาดหุ้นที่ราคาหลักทรัพย์โดยทั่วไปมีระดับสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง เป็นระยะเวลายาวนานไม่น้อยกว่า 2 – 3 เดือน และมีปริมาณการซื้อขายที่มาก มีสภาพคล่องสูง ภาวะตลาดดังกล่าวมีความคึกคักเสมือนอาการเคลื่อนไหวของวัวกระทิง

3.CORPORATE GOVERNANCE

การกำกับดูแลกิจการ

การกำกับดูแลกิจการ หมายถึง ระบบที่จัดให้มีกระบวนการและโครงสร้างของภาวะผู้นำและการควบคุมของ กิจการให้มีความรับผิดชอบตามหน้าที่ด้วยความโปร่งใส และสร้างความสามารถในการแข่งขันเพื่อรักษาเงินลงทุนและเพิ่มคุณค่าให้แก่ผู้ถือหุ้นในระยะยาวภายในกรอบการมีจริยธรรมที่ดีโดยรวมประกอบ

4.FOREIGN LIMIT

ข้อจำกัดหุ้นต่างด้าว

หมายถึง สัดส่วนที่ผู้ลงทุนต่างประเทศ (บุคคลธรรมดาและนิติบุคคล ซึ่งไม่ได้ใช้ สัญชาติไทย) สามารถถือครองหุ้นและมีชื่อปรากฏบนทะเบียนหลักทรัพย์ได้ โดยกำหนดเป็นร้อยละของจำนวนหุ้นที่ จดทะเบียนทั้งหมด

5.GREENMAIL

การขู่ซื้อกิจการ

เป็นคำที่ใช้กันแพร่หลายในวงการนักล่าบริษัท หมายถึง การที่บริษัทซึ่งกำลังจะถูกซื้อหรือถูกรวมกิจการ จำใจต้องจ่ายเงินให้แก่บริษัทหรือบุคคลที่จะซื้อหรือรวมกิจการของตน โดยขอซื้อหุ้นของบริษัทตนคืนในราคาที่สูงกว่าปกติ ทำให้บริษัทหรือบุคคลที่จะเข้าซื้อ ได้รับกำไรจากส่วนต่างของราคาหุ้น ขณะเดียวกัน บริษัทหรือบุคคลที่จะเข้าซื้อ ต้องตกลงว่าจะไม่เข้าซื้อหรือเข้ารวมกิจการของตนอีกต่อไป

6.INTERNET TRADING

การซื้อขายหลักทรัพย์ผ่านอินเทอร์เน็ต

การซื้อขายหลักทรัพย์ทางระบบอินเทอร์เน็ตโดยผ่านเว็บไซต์ของบริษัทหลักทรัพย์ หรือเว็บไซต์ของบริษัท เซ็ทเทรด ดอท คอม จำกัด ซึ่งผู้ลงทุนสามารถเปิดบัญชีซื้อขายหลักทรัพย์ผ่านอินเทอร์เน็ต (Internet Trading) กับบริษัทหลักทรัพย์ที่ให้บริการการซื้อขายหลักทรัพย์ผ่านอินเทอร์เน็ต โดยผู้ลงทุนจะได้รหัส (User Name) และรหัสผ่าน (Password) ในการส่งคำสั่งซื้อขายหลักทรัพย์ผ่านอินเทอร์เน็ตได้ โดยนอกจากการซื้อขายหลักทรัพย์แล้วปัจจุบันระบบซื้อขายผ่านทางอินเทอร์เน็ต ยังสามารถรองรับการซื้อขายอนุพันธ์ในตลาดอนุพันธ์หรือ TFEX ได้อีกด้วย

7.MARGIN ACCOUNT

บัญชีซื้อขายหลักทรัพย์โดยวางหลักประกัน

บัญชีเพื่อการซื้อขายหลักทรัพย์สำหรับลูกค้าที่ต้องการซื้อขายหลักทรัพย์ โดยการกู้ยืมเงินจากบริษัทหลักทรัพย์ และ/หรือเพื่อการขายชอร์ต (Short Sell) ในการเปิดบัญชี Margin Account ลูกค้าจะต้องนำเงินหรือหลักทรัพย์จำนวนหนึ่ง มาวางไว้กับบริษัทหลักทรัพย์เพื่อเป็นหลักประกัน โดยมูลค่าของหลักประกันที่นำมาวางเมื่อเทียบกับวงเงินที่จะซื้อหุ้นหรือ ที่จะขายชอร์ต ต้องไม่ต่ำกว่าอัตราหลักประกันเริ่มต้น (Initial Margin Rate) ที่ตลาดหลักทรัพย์ฯ กำหนด

8.NET SETTLEMENT

การชำระค่าซื้อขายแบบยอดสุทธิ

การชำระราคาหลักทรัพย์ในลักษณะที่บริษัทหลักทรัพย์นำค่าซื้อและค่าขายหลักทรัพย์เดียวกัน ในวันเดียวกันของ ผู้ลงทุนรายเดียวกัน มาหักลบกันเพื่อหายอดสุทธิ และเมื่อถึงวันที่ 3 หลังจากการซื้อขาย (T+3) ผู้ลงทุนก็เพียงแต่ชำระส่วนต่างที่มูลค่าซื้อมากกว่ามูลค่าขายเท่านั้น หากมูลค่าขายมากกว่ามูลค่าซื้อ ผู้ลงทุนก็ได้รับเงินในส่วนต่างสุทธิดังกล่าวจากบริษัทหลักทรัพย์ การชำระค่าซื้อขายแบบยอดสุทธิช่วยให้ผู้ลงทุนไม่ต้องชำระเงินเต็มจำนวนยอดที่ซื้อทุกรายการ ทำให้ ผู้ลงทุนมีสภาพคล่องมากขึ้น

9.OPENING PRICE

ราคาเปิด

ในการคำนวณราคาเปิดของหลักทรัพย์ ตลาดหลักทรัพย์ฯ จะเปิดให้บริษัทสมาชิกเริ่มส่งคำสั่งเข้ามาในระบบ การซื้อขายตั้งแต่เวลา 9.30 น. จากนั้นระบบจะหาเวลาเปิดการซื้อขายโดยการสุ่มเลือกเวลา (Random Time) ในช่วง 9.55 - 10.00 น. และคำนวณหาราคาเปิดของแต่ละหลักทรัพย์โดยวิธี Call Market โดยนำคำสั่งซื้อขายทั้งหมดที่ได้รับมาคำนวณหาราคาเปิด ตามหลักเกณฑ์ ดังนี้

เป็นราคาที่ทำให้เกิดการซื้อขายได้ในปริมาณมากที่สุด

ถ้ามีราคาที่ทำให้เกิดปริมาณซื้อขายมากที่สุด มากกว่า 1 ราคา ให้ใช้ราคาที่ใกล้เคียงกับราคาปิดในวันทำการก่อนหน้านั้นมากที่สุด

ถ้ามีราคาที่ใกล้เคียงกับราคาปิดในวันทำการก่อนหน้านั้น มากกว่า 1 ราคา ให้ใช้ราคาที่สูงกว่าเป็นราคาเปิด

10.PORTFOLIO

กลุ่มหลักทรัพย์ลงทุน

หมายถึงหลักทรัพย์ทั้งหมดในความครอบครองของผู้ลงทุนรายใดรายหนึ่ง ซึ่งจะต้องประกอบด้วยหลักทรัพย์จำนวนตั้งแต่ 2 ชนิด หรือ 2 บริษัทขึ้นไป วัตถุประสงค์ในการสร้าง Portfolio ของผู้ลงทุนก็เพื่อลดความเสี่ยงในการลงทุนด้วยการกระจายการลงทุนในหลักทรัพย์ของหลายกิจการ หรือหลักทรัพย์หลายประเภท

49473010021 (น.ส.ปทุมมา อายุสุข)

1.GREENSHOE OPTION-การเสนอขายหลักทรัพย์ส่วนเพิ่มโดยมีเงื่อนไขซื้อคืน การให้สิทธิแก่ผู้รับประกันการจำหน่ายหลักทรัพย์ (Underwriter) ในการขายหุ้นต่อประชาชนทั่วไป มากกว่าจำนวนที่กำหนดไว้ โดยจะซื้อคืนในภายหลังเมื่อหุ้นใหม่นั้นเข้าซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์แล้ว เพื่อวัตถุประสงค์ในการสร้างเสถียรภาพของราคา มิให้ราคาหุ้นสูงเกินกว่าราคาจองซื้อมากเกินไป จนอาจไม่เป็นธรรมแก่บริษัทผู้ออกหลักทรัพย์ หรือต่ำกว่าราคาจองซื้อจนทำให้ผู้ลงทุนไม่พอใจ และจากสิทธิในการซื้อคืนที่ช่วยสร้างความต้องการในตลาด จะมีผลต่อราคาหุ้นที่มีโอกาสจะปรับตัวสูงขึ้น กรณีที่ราคาหุ้นในตลาดหลักทรัพย์สูงขึ้นเกินราคาจอง ผู้รับประกันการจัดจำหน่ายหลักทรัพย์สามารถใช้สิทธิในการซื้อหุ้นคืนจากบริษัท (ผู้ถือหุ้นเดิม) ในราคาจองซื้อ เพื่อชดเชยหุ้นในส่วนที่ขายมากเกินไปก่อนหน้าแทนที่จะซื้อคืนในตลาดหลักทรัพย์เพียงอย่างเดียว 2.BROKER-นายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ให้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ ทำหน้าที่เป็นตัวแทนในการซื้อหรือขายหลักทรัพย์ให้แก่ผู้ลงทุน โดยได้รับค่าธรรมเนียมหรือค่านายหน้าจากผู้ลงทุนเป็นผลตอบแทน บริษัทหลักทรัพย์ที่เป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ ที่มีคุณสมบัติครบถ้วนตามที่ตลาดหลักทรัพย์ฯ กำหนด จะได้รับอนุญาตให้เข้าเป็นบริษัทสมาชิกของหลักทรัพย์ฯ

3.BEAR MARKET-ตลาดหมี เป็นภาวะตลาดหุ้นที่ราคาหลักทรัพย์โดยทั่วไปมีระดับที่ลดต่ำลงอย่างต่อเนื่องเป็นเวลายาวนาน และปริมาณการซื้อขายก็มีน้อย เปรียบเสมือนการเคลื่อนไหวของหมีที่อืดอาดเชื่องช้า

4.BOARD LOT -หน่วยการซื้อขาย ผู้ลงทุนที่จะซื้อขายหลักทรัพย์บนกระดานหลัก (Main Board) ต้องระบุจำนวนหลักทรัพย์ที่ต้องการจะซื้อหรือขายเป็นหน่วยการซื้อขาย (Board Lot) โดยทั่วไปตลาดหลักทรัพย์ฯ กำหนดให้ 1 หน่วยการซื้อขาย หรือ 1 Board Lot เท่ากับ 100 หุ้น เช่น ต้องการซื้อหุ้นบริษัท ก. จำนวน 10 หน่วยการซื้อขาย จะเท่ากับ 1,000 หุ้น อย่างไรก็ตาม ในกรณีที่หลักทรัพย์ใดมีราคาปิดตั้งแต่ 500 บาทขึ้นไปเป็นระยะเวลา 6 เดือนต่อเนื่องกัน ตลาดหลักทรัพย์ฯ กำหนดให้ 1 หน่วยการซื้อขายของหลักทรัพย์นั้นเท่ากับ 50 หุ้น

5.CUSTOMER TYPE -การซื้อขายหลักทรัพย์แยกตามประเภทผู้ลงทุน ตลาดหลักทรัพย์ฯ มีการเผยแพร่ข้อมูลการซื้อขายหลักทรัพย์ (ปริมาณและมูลค่าการซื้อขาย) โดยจำแนกตามกลุ่มของผู้ลงทุนเป็น 3 ประเภท ได้แก่ ผู้ลงทุนสถาบันในประเทศ (LOCAL INSTITUTION) ผู้ลงทุนต่างประเทศ (FOREIGN INVESTOR) และผู้ลงทุนบุคคลในประเทศ (LOCAL INVESTORS) โดยเผยแพร่ข้อมูล ณ สิ้นวันทำการ ผ่านระบบบริการ ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ ได้แก่ ระบบ SETSMART เว็บไซต์ www.set.or.th, www.mai.or.th และ www.settrade.com รวมทั้งวารสารและสิ่งพิมพ์ต่างๆ ของตลาดหลักทรัพย์ฯ

6.CREDIT BALANCE-ระบบเครดิตบาลานซ์ เป็นระบบบัญชีสำหรับผู้ลงทุนที่ต้องการกู้ยืมเงินเพื่อซื้อหุ้นจากบริษัทหลักทรัพย์ โดยปกติบริษัทหลักทรัพย์จะกำหนดให้ลูกค้าบัญชีเครดิตบาลานซ์ต้องชำระเงินสดเพื่อซื้อหลักทรัพย์ในจำนวนขั้นต่ำที่ไม่น้อยกว่าอัตรามาร์จินเริ่มแรก (Initial Margin) ที่ตลาดหลักทรัพย์ฯ กำหนด เพื่อวางเป็นหลักประกันการกู้ยืมเงิน

7.CONFLICT OF INTEREST-ผลประโยชน์ทับซ้อน การที่บุคคลหรือกลุ่มบุคคลซึ่งได้รับมอบหมายให้เป็นตัวแทนของบุคคลอีกกลุ่มหนึ่ง ตัดสินใจดำเนินการโดยมี ผลประโยชน์ส่วนตัวทั้งทางตรงและทางอ้อมเข้าไปเกี่ยวข้อง ซึ่งผลประโยชน์ส่วนนี้อาจเป็นการบั่นทอนหรือเบียดบังผลประโยชน์จากบุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่ได้มอบอำนาจให้กระทำแทน เช่น คณะกรรมการของบริษัทจดทะเบียนตัดสินใจซื้อสินทรัพย์ลงทุนจากกรรมการหรือผู้บริหารของบริษัท เป็นต้น อย่างไรก็ตาม บริษัทจดทะเบียนสามารถดำเนินการดังกล่าวได้ โดยปฏิบัติตามข้อกำหนดว่าด้วยรายการที่เกี่ยวโยงกัน พร้อมทั้งเปิดเผยข้อมูลและดำเนินการต่างๆ อย่างครบถ้วน

8.MARGIN ACCOUNT-บัญชีซื้อขายหลักทรัพย์โดยวางหลักประกัน บัญชีเพื่อการซื้อขายหลักทรัพย์สำหรับลูกค้าที่ต้องการซื้อขายหลักทรัพย์ โดยการกู้ยืมเงินจากบริษัทหลักทรัพย์ และ/หรือเพื่อการขายชอร์ต (Short Sell) ในการเปิดบัญชี Margin Account ลูกค้าจะต้องนำเงินหรือหลักทรัพย์จำนวนหนึ่ง มาวางไว้กับบริษัทหลักทรัพย์เพื่อเป็นหลักประกัน โดยมูลค่าของหลักประกันที่นำมาวางเมื่อเทียบกับวงเงินที่จะซื้อหุ้นหรือ ที่จะขายชอร์ต ต้องไม่ต่ำกว่าอัตราหลักประกันเริ่มต้น (Initial Margin Rate) ที่ตลาดหลักทรัพย์ฯ กำหนด

9.MARKET CAPITALIZATION-มูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาด เป็นมูลค่าตามราคาตลาดของหลักทรัพย์จดทะเบียน ที่คำนวณจากการนำราคาปิดของหลักทรัพย์จดทะเบียนคูณกับจำนวนหน่วยของหลักทรัพย์จดทะเบียน เป็นดัชนีหนึ่งที่ใช้สำหรับแสดงถึงขนาดของหลักทรัพย์จดทะเบียน และขนาดของตลาดหลักทรัพย์ฯ โดยรวม ปัจจุบันการคำนวณมูลค่าตามราคาตลาดรวมของตลาดหลักทรัพย์ฯ ครอบคลุมหลักทรัพย์ประเภท หุ้นสามัญ หุ้นบุริมสิทธิ และใบสำคัญแสดงสิทธิในการจองซื้อหุ้นสามัญ (วอแรนท์) 10.OPENING PRICE-ราคาเปิด ในการคำนวณราคาเปิดของหลักทรัพย์ ตลาดหลักทรัพย์ฯ จะเปิดให้บริษัทสมาชิกเริ่มส่งคำสั่งเข้ามาในระบบ การซื้อขายตั้งแต่เวลา 9.30 น. จากนั้นระบบจะหาเวลาเปิดการซื้อขายโดยการสุ่มเลือกเวลา (Random Time) ในช่วง 9.55 - 10.00 น. และคำนวณหาราคาเปิดของแต่ละหลักทรัพย์โดยวิธี Call Market โดยนำคำสั่งซื้อขายทั้งหมดที่ได้รับมาคำนวณหาราคาเปิด

49473010045 (น.ส.นิตยา เรณูแย้ม)

1.NET ASSET VALUE (NAV)

มูลค่าสินทรัพย์สุทธิ

NAV หมายถึง มูลค่าสินทรัพย์สุทธิ ซึ่งเป็นผลต่างระหว่างสินทรัพย์ทั้งหมดของธุรกิจและหนี้สินทั้งหมด รวมถึงหุ้นกู้และหุ้นบุริมสิทธิ ในบางกรณี ค่า NAV สามารถนำมาใช้ตีมูลค่าบริษัทในการซื้อขายกันได้

2.NON-VOTING DEPOSITORY RECEIPT (NVDR)

ใบสำคัญแสดงสิทธิในผลประโยชน์ที่เกิดจากหลักทรัพย์อ้างอิงไทย

ตราสารประเภททุนที่ออกโดย บริษัท ไทยเอ็นวีดีอาร์ จำกัด มีสถานะเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนโดยอัตโนมัติและ มีหลักทรัพย์อ้างอิงเป็นหุ้นสามัญหรือหุ้นบุริมสิทธิที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ผู้ลงทุนสามารถซื้อขายเอ็นวีดีอาร์ ในตลาดหลักทรัพย์ฯ ได้ ในลักษณะเช่นเดียวกับการซื้อขายหลักทรัพย์จดทะเบียนทั่วไป ผู้ถือเอ็นวีดีอาร์จะได้รับผลตอบแทนทางการเงินเช่นเดียวกับผู้ถือหุ้นสามัญหรือหุ้นบุริมสิทธิ แต่จะไม่มีสิทธิออกเสียงในที่ประชุมผู้ถือหุ้นของบริษัท ตราสาร ดังกล่าวช่วยอำนวยความสะดวกต่อการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ให้แก่ผู้ลงทุนชาวต่างชาติ ที่ติดขัดในเรื่องเพดาน การถือครองขณะเดียวกัน ก็มิได้จำกัดการซื้อขายของผู้ลงทุนไทยแต่อย่างใด

3.SCRIPLESS SYSTEM

ระบบไร้ใบหุ้น

ระบบไร้ใบหุ้นหรือไร้ใบหลักทรัพย์ เป็นวิธีการระบุหลักทรัพย์ที่มีอยู่ในครอบครองโดยการบันทึกข้อมูลไว้ในระบบคอมพิวเตอร์ โดยไม่ต้องมีใบหุ้นที่เป็นกายภาพ ซึ่งอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ลงทุนและผู้ที่เกี่ยวข้อง ช่วยลดการสูญหาย การถูกทำลาย และการปลอมแปลงใบหุ้น นอกจากนี้ ยังสะดวกต่อการส่งมอบหลักทรัพย์หลังการซื้อขาย โดยไม่ต้องมีการส่งมอบหรือรับมอบใบหุ้นจริง เพียงแต่เป็นการโอนและรับโอนหลักทรัพย์ที่ซื้อขายกันทางบัญชีเท่านั้น

4.SECURITIES INVESTOR PROTECTION FUND (SIPF)

กองทุนคุ้มครองผู้ลงทุนในหลักทรัพย์

เป็นกองทุนที่ตลาดหลักทรัพย์ฯ ร่วมกับบริษัทสมาชิก (โบรกเกอร์) จำนวน 28 ราย จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2547 เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับผู้ลงทุนที่ซื้อขายหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์ฯ ผ่านสมาชิกของกองทุนว่า จะได้รับความคุ้มครองทรัพย์สิน โดยจะได้รับการจ่ายเงินชดเชยจากกองทุนดังกรณีต่อไปนี้

5.SECURITIZATION

การแปลงสินทรัพย์เป็นทุน

กระบวนการนำสินทรัพย์ของบริษัท (หรือสถาบันการเงิน) ประเภทลูกหนี้เงินกู้ต่าง ๆ ที่สร้างรายได้ประจำ แต่มีสภาพคล่องต่ำ เช่น ลูกหนี้เงินกู้ที่อยู่อาศัย เงินกู้บัตรเครดิต หรือเงินกู้ซื้อรถยนต์ เป็นต้น ชนิดหนึ่งชนิดใดมารวมกันเป็นกองสินทรัพย์ (Pool Assets) สำหรับใช้เป็นหลักประกันในการออกตราสารทางการเงิน (เช่น ตั๋วเงินหรือหุ้นกู้) เพื่อจำหน่ายให้แก่ผู้ลงทุนทั่วไป หรือขายแบบเจาะจง (Private Placement) ให้นักลงทุนสถาบันเฉพาะราย หรือเฉพาะกลุ่ม

6.SET50 INDEX FUTURES

สัญญาฟิวเจอร์สที่อ้างอิงกับดัชนี SET50

เป็นสัญญา Futures ซึ่งมีสินค้าอ้างอิงเป็น SET50 INDEX ผู้ซื้อและผู้ขายตกลงราคาซื้อสินทรัพย์อ้างอิงคือ SET50 Index กันในปัจจุบัน โดยมีภาระผูกพันต่อกันที่จะต้องทำการชำระราคากันในอนาคต SET50 INDEX FUTURES กำหนดให้มีเดือนหมดอายุตรงกับเดือนสุดท้ายของแต่ละไตรมาส

7.SET50 INDEX OPTIONS

ออปชั่นที่อ้างอิงกับดัชนี SET50

หมายถึงออปชั่นซึ่งมีสินค้าอ้างอิงเป็น SET50 INDEX โดย SET50 Index Options กำหนดตัวคูณดัชนีเท่ากับ 200 บาท ต่อ 1 สัญญา ครบกำหนดในเดือนสุดท้ายของแต่ละไตรมาสเหมือนกับ SET50 INDEX FUTURES และกำหนดให้ใช้สิทธิได้เฉพาะวันที่สัญญาครบกำหนดเท่านั้น โดยในวันที่ออปชั่นครบกำหนด ผู้ซื้อ SET50 Call Options จะใช้สิทธิและได้รับชำระเงิน หากระดับดัชนี SET50 สูงกว่าราคาใช้สิทธิ ส่วนผู้ซื้อ SET50 Put Options จะได้รับชำระเงิน หากระดับดัชนี SET50 ต่ำกว่า ราคาใช้สิทธิ

8.SHORT SELL

การขายชอร์ต

การขายหุ้นโดยที่ผู้ขายได้ยืมหุ้นนั้นมาจากบริษัทหลักทรัพย์หรือสถาบันที่ให้บริการยืมหุ้น ผู้ขายชอร์ตจะต้องวางเงินประกัน (Margin) ไว้กับบริษัทผู้ให้ยืมหุ้น ในจำนวนไม่ต่ำกว่าอัตราที่ตลาดหลักทรัพย์ฯ กำหนด และเงินจากการขายหุ้น ดังกล่าวก็ต้องเก็บรักษาไว้ที่บริษัทนายหน้าเพื่อเป็นหลักประกันด้วย จนกว่าผู้ขายชอร์ตจะส่งคืนหุ้นจำนวนที่ยืมไปนั้น ซึ่งจะส่งคืนหุ้น ณ วันที่ถึงกำหนดส่งคืนหุ้น หรือส่งคืนก่อนวันครบกำหนดก็ได้ ในระหว่างที่ยังไม่ส่งคืนหุ้น หากหุ้นนั้นได้รับสิทธิประโยชน์ใดๆ จากบริษัทผู้ออกหุ้น ผู้ขายชอร์ตจะต้องส่งมอบสิทธิต่างๆ ที่เกิดขึ้นนั้นแก่บริษัทนายหน้า เพื่อส่งมอบต่อให้ แก่เจ้าของหุ้นที่ให้ยืมอีกทอดหนึ่ง สิทธิต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้น เช่น การจ่ายเงินปันผล การให้สิทธิจองซื้อหุ้นเพิ่มทุน เป็นต้น

9.STOCK PRICE INDEX

ดัชนีราคาหลักทรัพย์

ผู้ลงทุนสามารถติดตามภาพรวมความเคลื่อนไหวของระดับราคาซื้อขายหลักทรัพย์ได้จากดัชนีราคาหุ้นต่างๆ โดยดัชนีต่างๆ ที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในตลาดหลักทรัพย์ไทย เป็นดัชนีราคาหุ้นชนิดถ่วงน้ำหนักด้วยมูลค่าตลาด (Market Capitalization Weighted Index) ที่คำนวณโดยการเปรียบเทียบมูลค่าตลาดรวมของหลักทรัพย์ในวันปัจจุบัน (Current Market Value) กับมูลค่าตลาดรวมของหลักทรัพย์ในวันฐาน (Base Market Value) ซึ่งมีค่าของดัชนีในวันฐานเท่ากับ 100 (ยกเว้น SET50 Index และ SET100 Index ที่มีค่าดัชนีในวันฐานเท่ากับ 1,000) สำหรับสูตรการคำนวณดัชนีมีดังนี้

10.STOCK INDEX FUTURES

สัญญาฟิวเจอร์สที่อ้างอิงกับดัชนีราคาหุ้น

สัญญาฟิวเจอร์สที่มีดัชนีราคาหุ้นเป็นสินทรัพย์อ้างอิง เนื่องจากดัชนีราคาหุ้นเป็นตัวเลขซึ่งไม่สามารถส่งมอบ กันได้ จึงต้องใช้วิธีการ ชำระราคาเป็นเงินสด (Cash Settlement) แทนการส่งมอบสินค้ากันจริงๆ Stock Index Futures จะต้องระบุดัชนีราคาหุ้นที่ใช้อ้างอิง (เช่น SET50 หรือ Dow Jones) มูลค่าตัวคูณที่ใช้แปลงค่า 1 หน่วยดัชนีเป็นจำนวนเงิน (เช่น ตัวคูณของ S&P 500 Futures เท่ากับ $500 เป็นต้น) เดือนกำหนดส่งมอบ (มักกำหนดเป็นเดือนสุดท้ายของแต่ละไตรมาสคือ มี.ค., มิ.ย., ก.ย., และ ธ.ค.)

CAPITAL GAIN กำไรส่วนทุนจากการขายหลักทรัพย์ CASH ACCOUNT บัญชีซื้อขายหลักทรัพย์ด้วยเงินสด CEILING & FLOOR ราคาเสนอซื้อ / เสนอขายสูงสุดและต่ำสุดของหลักทรัพย์ CIRCUIT BREAKER เซอร์กิตเบรกเกอร์ CLEARING AND SETTLEMENT การชำระราคาและส่งมอบหลักทรัพย์ CLOSED-END FUND กองทุนปิด CLOSING PRICE ราคาปิด COMMISSION ค่านายหน้า COMMON STOCK FINANCIAL ADVISOR ที่ปรึกษาทางการเงิน FORCED SELL การบังคับขาย FOREIGN BOARD กระดานต่างประเทศ FOREIGN LIMIT ข้อจำกัดหุ้นต่างด้าว FUNDAMENTAL ANALYSIS การวิเคราะห์หลักทรัพย์โดยใช้ปัจจัยพื้นฐาน FUTURES (FUTURES CONTRACT) สัญญาซื้อขายฟิวเจอร์ส GOODWILL ค่าความนิยม GREENMAIL การขู่ซื้อกิจการ GREENSHOE OPTION การเสนอขายหลักทรัพย์ส่วนเพิ่มโดยมีเงื่อนไขซื้อคืน MANIPULATION การปั่นหุ้น MARGIN ACCOUNT บัญชีซื้อขายหลักทรัพย์โดยวางหลักประกัน

นายอดิเรก โกแหละ 49473010023

CAPITAL GAIN กำไรส่วนทุนจากการขายหลักทรัพย์ CASH ACCOUNT บัญชีซื้อขายหลักทรัพย์ด้วยเงินสด CEILING & FLOOR ราคาเสนอซื้อ / เสนอขายสูงสุดและต่ำสุดของหลักทรัพย์ CIRCUIT BREAKER เซอร์กิตเบรกเกอร์ CLEARING AND SETTLEMENT การชำระราคาและส่งมอบหลักทรัพย์ CLOSED-END FUND กองทุนปิด CLOSING PRICE ราคาปิด COMMISSION ค่านายหน้า COMMON STOCK FINANCIAL ADVISOR ที่ปรึกษาทางการเงิน FORCED SELL การบังคับขาย FOREIGN BOARD กระดานต่างประเทศ FOREIGN LIMIT ข้อจำกัดหุ้นต่างด้าว FUNDAMENTAL ANALYSIS การวิเคราะห์หลักทรัพย์โดยใช้ปัจจัยพื้นฐาน FUTURES (FUTURES CONTRACT) สัญญาซื้อขายฟิวเจอร์ส GOODWILL ค่าความนิยม GREENMAIL การขู่ซื้อกิจการ GREENSHOE OPTION การเสนอขายหลักทรัพย์ส่วนเพิ่มโดยมีเงื่อนไขซื้อคืน MANIPULATION การปั่นหุ้น MARGIN ACCOUNT บัญชีซื้อขายหลักทรัพย์โดยวางหลักประกัน

1. Daily Price Limit = ช่วงการเปลี่ยนแปลงของราคาเสนอซื้อขาย

ในแต่ละวัน (Daily Price Limit)

ขอบเขตสูงสุดของการเคลื่อนไหวของราคาฟิวเจอร์สที่นุญาตให้ทำการซื้อขายได็โดย

ตลาดอนุพันธ์จะกำหนดขีดจำกัดของราคาในหนึ่งวันทำการว่าอยู่ในช่วง บวก/ลบไม่

เกินกี่เปอร์เซ็นต์ของราคาปิด (Settlement price) วันก่อนหน้า

2. Futures Exchange = ตลาดฟิวเจอร์ส

ตลาดกลางซึ่งจัดตั้งขึ้นอย่างเป็นทางการสำหรับการซื้อขายสัญญาฟิวเจอร์ส

3. Hedge = การป้องกันความเสี่ยง

การซื้อหรือขายอนุพันธ์เพื่อบริหารความเสี่ยงของตน เช่น ผู้ที่มีความจำเป็นต้องซื้อน้ำมัน มีความเสี่ยงจากการที่ราคาน้ำมันอาจปรับตัวสูงขึ้น อาจใช้การซื้อฟิวเจอร์สที่อ้างอิงกับราคาน้ำมันเพื่อบริหารความเสี่ยง

4. Maintenance Margin = เงินประกันขั้นต่ำ

ยอดคงเหลือขั้นต่ำของเงินประกันที่สำนักหักบัญชีหรือโบรกเกอร์กำหนดให้ต้องดำรง

อยู่ในบัญชีเงินประกันของผู้ลงทุน ถ้ายอดคงเหลือตกลงต่ำกว่าระดับนี้ สำนักหักบัญชี

หรือโบรกเกอร์จะเรียกผู้ลงทุนให้วางเงินประกันเพิ่ม เพื่อทำให้ดุลบัญชีมาร์จิ้นกลับมาอยู่

ที่ระดับของเงินประกันขั้นต้น (Initial Margin)

5. Position Limit = การจำกัดสถานะ

จำนวนสูงสุดของสัญญาฟิวเจอร์สที่ตลาดอนุพันธ์อนุญาตให้ผู้ลงทุนรายหนึ่งถือครอง

หรือมีสถานะคงค้างได้ ขีดจำกัดเกี่ยวกับการถือครองสัญญาจะป้องกันไม่ให้นักเก็งกำไร

ถือครองสัญญาในจำนวนมากจนส่งผลต่อราคาในตลาดได้ เช่น ตลาดอนุพันธ์กำหนด

ให้ผู้ลงทุนมีสถานะใน SET50 Index Futures ได้ไม่เกิน 10,000 สัญญา โดยคิดจากสัญญาซื้อหรือขายเดือนใดเดือนหนึ่ง และสุทธิจากสัญญาซื้อและขายทุกเดือนรวมกัน

6. Speculate = การเก็งกำไร

การที่เข้ามาซื้อขายสัญญาฟิวเจอร์สเพื่อหวังกำไรจากการที่ราคาฟิวเจอร์สในอนาคต

เคลื่อนไหวไปในทิศทางที่ตนคาดคิด

7. Variation Margin = เงินประกันเรียกเพิ่ม

จำนวนเงินประกันที่ผู้ลงทุนที่มีสถานะในสัญญาถูกเรียกเก็บเพิ่มเติม เนื่องจากหลักประกันที่วางไว้ลดลงต่ำกว่าระดับเงินประกันขั้นต่ำ (Maintenance Margin) โดยจำนวนเงินที่ถูกเรียกเพิ่มจะเป็นจำนวนที่ทำให้ยอดคงเหลือในบัญชีมาร์จิ้นกลับมาเท่าระดับเงินประกันขั้นต้น (Initial Margin) ถ้าผู้ลงทุนไม่สามารถนำเงินมาวางเพิ่มได้ตามที่กำหนด สำนักหักบัญชีหรือโบรกเกอร์จะบังคับให้ผู้ลงทุนรายนั้นปิดสถานะในสัญญาฟิวเจอร์สทันที

8. Arbitrage = การค้ากำไร

การค้ากำไรในตลาดฟิวเจอร์สโดยอาศัยความไม่สมดุลระหว่าง “ราคาฟิวเจอร์ส” กับ

"ราคาปัจจุบัน" หากราคาทั้งสองเคลื่อนไหวไม่สมดุลกันก็จะสามารถทำการค้ากำไร

ได้โดยการซื้อสินค้าในตลาดที่มีราคาถูกพร้อมๆ กับการขายสินค้าในตลาดที่ราคาแพง

ซึ่งเป็นการทำกำไรโดยไม่มีความเสี่ยง การค้ากำไร (Arbitrage) จะช่วยผลักดัน

ให้สินค้ามีการปรับราคาเข้าสู่จุดที่เหมาะสมได้เร็วขึ้น

9. Fill or Kill = คำสั่งซื้อขายที่กำหนดให้จับคู่การซื้อขายทันที และหากไม่สามารถจับคู่การซื้อ ขายดังกล่าวได้ทั้งหมดตามจำนวน ให้ยกเลิกการเสนอซื้อขายนั้นทันที

10. Initial Margin = เงินประกันขั้นต้น

จำนวนเงินประกันขั้นต้นที่สำนักหักบัญชีหรือโบรกเกอร์กำหนดให้ผู้ลงทุนที่ซื้อขาย

ฟิวเจอร์สต้องเพื่อเป็นหลักประกันว่าผู้ซื้อและผู้ขายจะไม่บิดพลิ้วจากการปฏิบัติตาม

ภาระผูกพันของสัญญา

49473010033 (นายอาทิตย์ เงินงอกงาม)

  1.Trading Procedures = ขั้นตอนการซื้อขาย

  2.Gross Domestic Products = อัตราการเจริญเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวม

  3.Country Risk = การประเมินความเสี่ยงของประเทศ

  4.Unemployment = อัตราการว่างงาน

  5.Direct Investment  = การลงทุนโดยตรง

  6.Money Supply = ปริมาณเงิน

  7.Expected Return = ผลตอบแทนที่คาดหวัง

  8.Financial Market Flows = การเคลื่อนไหวในตลาดการเงิน

  9.Pricing = กำหนดราคา

10.Settlement = ชำระราคาสินค้า

พรชัย รุ่งเรือง (49473010019)

1.Minimum Price Fluctuation : การเคลื่อนไหวของราคาขั้นต่ำที่ตลาดกำหนดให้ซื้อ

2.Last Trading Day : วันสุดท้ายที่ตลาดซื้อขายสินค้าล่วงหน้า กำหนดให้มีการซื้อขายสินค้าล่วงหน้าสำหรับเดือนส่งมอบใด ผู้ถือสัญญา ล่วงหน้าหลังจากวันดังกล่าว จะต้องดำเนินการรับและส่งมอบสินค้าตามที่กำหนดไว้ในสัญญา

3.Associated Person (AP) : ผู้ได้รับอนุญาตให้เป็นตัวแทนของนายหน้าซื้อขายล่วงหน้า หรือผู้บริหารธุรกิจร่วมทุนซื้อขายล่วงหน้าในการจัดหา คำสั่งซื้อ คำสั่งขายล่วงหน้าจากลูกค้า ในการชี้ชวนหรือชักชวนลูกค้า หรือบุคคลอื่นใด ให้ร่วมลงทุนกับธุรกิจร่วมทุน ซื้อขายล่วงหน้า

4.Clearinghouse : เป็นองค์กรที่เรียกว่า "สำนักหักบัญชี" ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางในการหักบัญชีซื้อขาย การปรับฐานะบัญชีเงิน ประกันตามมูลค่าการซื้อขายล่วงหน้าการรับมอบและการส่งมอบสินค้า การจัดทำรายงานการซื้อขายล่วงหน้าเก็บ และรักษาเงินประกันการซื้อขายล่วงหน้า เงินหรือหลักทรัพย์ของสมาชิกที่วางไว้กับสำนักหักบัญชี องค์กรนี้อาจ เป็นส่วนหนึ่งของตลาด ซื้อขายล่วงหน้าหรือแยกต่างหากจากตลาดก็ได้

5.Buying Hedge : การซื้อสินค้าล่วงหน้า เพื่อป้องกันความเสี่ยงจากราคาสินค้าที่คาดว่าจะสูงขึ้น มีความหมายเช่นเดียวกับ Long hedge

6.Commodity Pool Operator (CPO) : ผู้ได้รับอนุญาตให้ระดมทุนจากบุคคลหรือคณะบุคคล และบริหารเงินทุน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหาผล ประโยชน์จากการซื้อขายล่วงหน้า

7.Futures Commission Merchant (FCM) : ผู้ได้รับอนุญาตให้จัดหาหรือรับคำสั่งซื้อหรือคำสั่งขายจากลูกค้าโดยรับเงินค่าตอบแทนจากลูกค้า

8.Margin Call : การที่สำนักหักบัญชีเรียกให้ลูกค้านำเงิน Margin มาฝากไว้กับตลาดซื้อขายล่วงหน้า หรือสำนักหักบัญชีให้เท่ากับ จำนวนขั้นต่ำที่กำหนด โดยผ่านทางสมาชิกสำนักหักบัญชีหรือนายหน้าของลูกค้า

9.Maintenance Margin : จำนวนเงินประกันขั้นต่ำต่อสัญญาที่ลูกค้าต้องฝากไว้กับตลาดหรือสำนักหักบัญชี

10.Hedging : วิธีการลดความเสี่ยงจากความผันผวนของราคาในตลาดข้อตกลง และตลาดปัจจุบันโดยการเข้าไปซื้อหรือขายใน ตลาดซื้อขายล่วงหน้า ผู้เข้ามาลดความเสี่ยงในตลาดซื้อขายสินค้าล่วงหน้า เรียกว่า "ผู้ประกันความเสี่ยง" (Hedger) ผู้ประกันความเสี่ยงนี้จะใช้ตลาดลดความเสี่ยงจากราคาที่เปลี่ยนแปลงไป ซึ่งจะสร้างความเสียหายต่อธุรกิจของตน

นางสาว อรุณี สีสะ (49473010010)

1.Last Trading Day :

วันสุดท้ายที่ตลาดซื้อขายสินค้าล่วงหน้า กำหนดให้มีการซื้อขายสินค้าล่วงหน้าสำหรับเดือนส่งมอบใด ผู้ถือสัญญา ล่วงหน้าหลังจากวันดังกล่าว จะต้องดำเนินการรับและส่งมอบสินค้าตามที่กำหนดไว้ในสัญญา

2.Leverage :

ความสามารถในการควบคุมการซื้อขายสินค้าที่มีมูลค่าสูงโดยใช้เงินลงทุนต่ำ

3.Liquidate :

เป็นวิธีการยกเลิกภาระผูกพันตามสัญญาการซื้อขายล่วงหน้า โดยการซื้อสินค้าล่วงหน้าในเดือนส่งมอบที่เคยขาย ไว้ หรือขายสินค้าล่วงหน้าในเดือนส่งมอบที่เคยซื้อไว้ ซึ่งมีผลทำให้ภาวะผูกพันตามสัญญาซื้อขายล่วงหน้าสิ้นสุดลง

4.Liquidity :

สภาพตลาดที่มีการซื้อขายสินค้าล่วงหน้ากันอย่างคึกคัก ซึ่งการซื้อและขายจะเกิดขึ้นเมื่อระดับราคามีการเปลี่ยน แปลงเพียงเล็กน้อย โดยราคาเสนอซื้อและราคาเสนอขายมีการกระจายอยู่ในช่วงแคบๆ

5.Long :

มีสถานะเป็นผู้ซื้อในตลาดซื้อขายสินค้าล่วงหน้าหรือเป็นผู้มีกรรมสิทธิ์ในสินค้าที่มีการซื้อขายในตลาดปัจจุบัน

6.Long Hedge :

การซื้อสินค้าล่วงหน้าเพื่อป้องกันความเสี่ยงที่คาดว่าราคาสินค้านั้นอาจจะสูงขึ้น มีความหมายเช่นเดียวกับ buying hedge

7.Maintenance Margin :

จำนวนเงินประกันขั้นต่ำต่อสัญญาที่ลูกค้าต้องฝากไว้กับตลาดหรือสำนักหักบัญชี

8.Margin :

เงินที่ผู้ซื้อผู้ขายสินค้าล่วงหน้าต้องวางไว้กับตลาดซื้อขายสินค้าล่วงหน้า หรือสำนักหักบัญชีเพื่อสร้างความเชื่อมั่น ให้แก่คู่สัญญาว่าจะมีการปฏิบัติตามสัญญาอย่างเคร่งครัด

9.Margin Call :

การที่สำนักหักบัญชีเรียกให้ลูกค้านำเงิน Margin มาฝากไว้กับตลาดซื้อขายล่วงหน้า หรือสำนักหักบัญชีให้เท่ากับ จำนวนขั้นต่ำที่กำหนด โดยผ่านทางสมาชิกสำนักหักบัญชีหรือนายหน้าของลูกค้า

10.Mark to the Market :

การบันทึกการเปลี่ยนแปลงสถานะบัญชีเงินประกันตามมูลค่าสัญญาซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้า โดยอาศัยราคา ปิดตลาดในแต่ละวัน

นางสาวเกศรินทร์ เสรีประทีป (49473010040)

1.Business risk (ควารมเสี่ยงทางธุรกิจ)

2.Brokerage Fee (ค่าธรรมเนียมการซี้อขาย)

3.Arbitrage (การค้ากำไร)

4.Interest rates risk (การเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ย)

5.Purchasing power (ความเสี่ยงทางภาวะเงินเฟ้อ)

6.Excess return (อัตราผลตอบแทนส่วนเกิน)

7.Intrinsic value (มูลค่าที่แท้จริง)

8.Underpriced (ต่ำกว่าที่ควรจะเป็น)

9.Overpriced (สูงกว่าที่ควรจะเป็น)

10.Time value of money (มูลค่าตามระยะเวลาของเงิน)

49473010005 (นายศุภชัย ริ้วทองชุ่ม)

1.P/BV RATIO อัตราส่วนราคาตลาดต่อมูลค่าตามบัญชี

2.P/E RATIO อัตราส่วนราคาตลาดต่อกำไรสุทธิ

3.PORTFOLIO กลุ่มหลักทรัพย์ลงทุน

4.PREFERRED STOCK หุ้นบุริมสิทธิ

5.PRICE SPREAD ช่วงราคา

6.PROSPECTUS หนังสือชี้ชวน

7.PUBLIC OFFERING (PO) การเสนอขายหลักทรัพย์แก่ประชาชน

8.PUT-THROUGH (PT) วิธีซื้อขายแบบแจ้งรายการเข้าสู่ระบบ

9.NON-VOTING DEPOSITORY RECEIPT (NVDR) ใบสำคัญแสดงสิทธิในผลประโยชน์ที่เกิดจากหลักทรัพย์อ้างอิงไทย

10.EQUITY EXCHANGE TRADED FUND (ETF) กองทุนรวม ETF

494730100006 สุดหล่อ ทศววรษ แก้วนิล

1.TAKEOVER การครอบงำกิจการ

2.TECHNICAL ANALYSIS การวิเคราะห์หลักทรัพย์ทางเทคนิค

3.TENDER OFFER การทำคำเสนอซื้อหุ้นต่อผู้ถือหุ้นทั่วไป

4.TRANSFERABLE SUBSCRIPTION RIGHTS (TSR) ใบสำคัญแสดงสิทธิในการซื้อหุ้นเพิ่มทุนที่โอนสิทธิได้

5.TREASURY STOCK หุ้นทุนซื้อคืน

6.TURNOVER RATIO อัตราการหมุนเวียนการซื้อขาย

7.fingancial advisor ที่ปรึกษาทางการเงิน

8.Forced sell การบังคับขาย

9.Fundamental analysis การวิเคราห์หลักทรัพย์ดดยใช้ปั๗จัยพื้นฐาน

10.Futures สัญญาซื้อขายฟิวเจอร์

น.ส.ศิริพร ติณะคัด 49473010022

1. XD (Excluding Dividend) : ผู้ซื้อหลักทรัพย์ ไม่ได้สิทธิรับเงินปันผล

2.XR (Excluding Right) : ผู้ซื้อหลักทรัพย์ ไม่ได้สิทธิจองซื้อหุ้นออกใหม่

3.XW (Excluding Warrant) : ผู้ซื้อหลักทรัพย์ ไม่ได้สิทธิรับใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหลักทรัพย์

4.XS (Excluding Short-term Warrant) : ผู้ซื้อหลักทรัพย์ ไม่ได้สิทธิรับใบสำคัญแสดงสิทธิในการจองซื้อหลักทรัพย์ระยะสั้น

5.XT (Excluding Transferable Subscription Right) : ผู้ซื้อหลักทรัพย์ ไม่ได้สิทธิรับใบสำคัญแสดงสิทธิในการซื้อหุ้นเพิ่มทุนที่โอนสิทธิได้

6.XI (Excluding Interest) : ผู้ซื้อหลักทรัพย์ ไม่ได้สิทธิรับดอกเบี้ย

7.XP (Excluding Principal) : ผู้ซื้อหลักทรัพย์ ไม่ได้สิทธิรับเงินต้นที่บริษัทประกาศจ่ายคืนในคราวนั้น

8.XA (Excluding All) : ผู้ซื้อหลักทรัพย์ไม่ได้สิทธิทุกประเภทที่บริษัทประกาศให้ในคราวนั้น

9.XE (Excluding Exercise)

เครื่องหมายแสดงการปิดสมุดทะเบียนพักการโอนหุ้น

เครื่องหมายแสดงเพื่อให้สิทธิแก่ผู้ถือหุ้นในการนำตราสารสิทธิไปแปลงสภาพเป็นหุ้นอ้างอิง เช่น หุ้นสามัญ เป็นต้น ตามเงื่อนไข ระยะเวลา และราคาที่ระบุไว้ ตัวอย่างตราสารที่ให้สิทธิในการแปลงสภาพ ได้แก่ ใบสำคัญแสดงสิทธิในการซื้อหลักทรัพย์ (Warrant) หุ้นกู้แปลงสภาพ (Convertible Debenture) และใบแสดงสิทธิในผลประโยชน์ที่เกิดจากหลักทรัพย์ อ้างอิง (DR) เป็นต้น สำหรับการแปลงสภาพเป็นหุ้นอ้างอิงนั้น ผู้ถือหุ้นสามารถเลือกที่จะใช้สิทธิแปลงสภาพหรือไม่ก็ได้ การออกตราสารประเภทนี้ มีผลดีทั้งบริษัทผู้ออกหลักทรัพย์ และผู้ลงทุน คือผู้ลงทุนสามารถที่จะพิจารณาจังหวะและโอกาสที่จะแปลงสภาพตราสารของตนเป็นหุ้นสามัญ หรือหุ้นทุนอื่นๆ ได้ เมื่อเห็นว่ากำหนดเวลาที่ให้แปลงสภาพนั้นเป็นช่วงที่หุ้นสามัญมีสภาพคล่อง ให้ผลตอบแทนที่เป็นที่น่าพอใจ หรือผลการดำเนินงานของบริษัทน่าเชื่อถือ ส่วนบริษัทผู้ออกหลักทรัพย์เองก็ไม่ต้องเสี่ยงต่อการที่หุ้นของตนจะจำหน่ายไม่หมด ถึงแม้ว่าหุ้นทุน เช่น หุ้นสามัญของบริษัทจะไม่ได้รับความนิยมในช่วงนั้น

10. RIGHT

สิทธิจองซื้อหุ้นเพิ่มทุนของผู้ถือหุ้นเดิม

มีชื่อเรียกเต็มๆ ว่า Subscription Right เป็นสิทธิที่บริษัทผู้ออกหลักทรัพย์มอบให้แก่ผู้ถือหุ้นเดิมของบริษัทในการจองซื้อหุ้นสามัญ และ/หรือหุ้นบุริมสิทธิ ที่ออกใหม่จากการเพิ่มทุนของบริษัท ผู้ถือหุ้นเดิมจะได้สิทธิตามสัดส่วนของจำนวนหุ้นที่ถือครองอยู่ โดยทั่วไป บริษัทมักให้สิทธิผู้ถือหุ้นเดิมในการจองซื้อหุ้นเพิ่มทุนออกใหม่ในราคาที่ต่ำกว่าราคาตลาดหรือจองซื้อก่อนบุคคลภายนอก/ผู้เกี่ยวข้องกลุ่มอื่น

นาย บัณฑิต หลังเศษ 49473010024

1. MAIN BOARD กระดานหลัก

2. XD, XR, XW, XS, XT, XI, XP, XA เครื่องหมายแสดงการไม่ได้รับสิทธิต่างๆ

3. UNDERWRITER ผู้ประกันการจำหน่ายหลักทรัพย์

4. TRANSFERABLE SUBSCRIPTION RIGHTS (TSR) ใบสำคัญแสดงสิทธิในการซื้อหุ้นเพิ่มทุนที่โอนสิทธิได้

5. TAKEOVER การครอบงำกิจการ

6. STOCK PRICE INDEX ดัชนีราคาหลักทรัพย์

7. - INDUSTRY-GROUP INDEX ดัชนีกลุ่มอุตสาหกรรม

8. STOCK INDEX FUTURES สัญญาฟิวเจอร์สที่อ้างอิงกับดัชนีราคาหุ้น

9. PORTFOLIO กลุ่มหลักทรัพย์ลงทุน

10. NET ASSET VALUE (NAV) มูลค่าสินทรัพย์สุทธิ

49473010013 (นางสาวธิติกานต์ จิณะเสน)

1. WARRANT - ใบสำคัญแสดงสิทธิในการซื้อหลักทรัพย์

2. SUSPENSION (SP) - การห้ามซื้อขายหลักทรัพย์เป็นการชั่วคราว

3. HALT (H) - เครื่องหมายการห้ามซื้อขายหลักทรัพย์เป็น         การชั่วคราว เป็นเวลาไม่เกินหนึ่งรอบการซื้อขาย

4. AUTOMATIC ORDER MATCHING : AOM -  การจับคู่คำสั่งซื้อขายโดยอัตโนมัติ

5. BEAR MARKET - ตลาดหมี เป็นภาวะตลาดหุ้นที่ราคาหลักทรัพย์โดยทั่วไปมีระดับที่ลดต่ำลงอย่างต่อเนื่องเป็นเวลายาวนาน และปริมาณการซื้อขายก็มีน้อย เปรียบเสมือนการเคลื่อนไหวของหมีที่อืดอาดเชื่องช้า

6. BIG LOT - การซื้อขายรายใหญ่ เป็นการซื้อขายหลักทรัพย์ใดหลักทรัพย์หนึ่งทุกประเภทในจำนวนเดียวโดยไม่แบ่งย่อย ซึ่งมีปริมาณการซื้อขาย ตั้งแต่ 1 ล้านหุ้นขึ้นไป หรือมีมูลค่าการซื้อขายตั้งแต่ 3 ล้านบาทขึ้นไป โดยคิดตามราคาที่ผู้ซื้อและผู้ขายตกลงซื้อขายกัน การซื้อขายหลักทรัพย์บนกระดานรายใหญ่ใช้วิธีการตกลงซื้อขายแบบ Put-through

7. CONVERTIBLE DEBENTURE - หุ้นกู้แปลงสภาพ เป็นตราสารหนี้ที่มีลักษณะคล้ายหุ้นกู้ทั่วไป แต่แตกต่างกันที่หุ้นกู้แปลงสภาพจะไม่มีการคืนเงินต้นเมื่อครบอายุ แต่จะให้สิทธิแก่ผู้ถือในการแปลงหุ้นกู้นั้นเป็นหุ้นสามัญ ในระยะเวลา ราคา และอัตราส่วนที่กำหนดไว้ ผู้ถือหุ้นกู้แปลงสภาพมีฐานะเป็นเจ้าหนี้ของบริษัทเหมือนหุ้นกู้ แต่เมื่อใดที่ผู้ถือได้แปลงสภาพหุ้นกู้นั้นเป็นหุ้นสามัญตามสิทธิ แล้วก็จะมีฐานะร่วมเป็นเจ้าของกิจการเช่นเดียวกับผู้ถือหุ้นสามัญทั่วไป

8. CREDIT RATING AGENCY - หน่วยงานจัดอันดับความน่าเชื่อถือ หน่วยงานซึ่งทำหน้าที่ให้บริการจัดอันดับคุณภาพและความเสี่ยงของตราสารหนี้ของบริษัทหรือองค์กรต่างๆ ในการจัดอันดับความน่าเชื่อถือของตราสารหนี้ จะพิจารณาถึงระดับความสามารถของบริษัทผู้ออกตราสารที่จะชำระคืนเงินต้นและชำระดอกเบี้ยได้ตามเวลาและเงื่อนไขที่กำหนดไว้ และมีการประกาศผลการจัดอันดับให้บุคคลทั่วไปได้รับทราบ เพื่อใช้ประกอบการตัดสินใจลงทุนหรือประโยชน์อย่างอื่น อันดับความน่าเชื่อถือจะแสดงเป็นสัญลักษณ์ตัวอักษร เริ่มจากความน่าเชื่อถือระดับสูงไปจนถึงระดับต่ำสุด เช่น อาจจะใช้สูงสุด AAA ไปจนต่ำสุดที่ D เป็นต้น การจัดตั้งหน่วยงานดังกล่าวต้องได้รับอนุญาตจากสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. โดยต้องไม่เป็นบริษัทเงินทุนหรือหลักทรัพย์ ต้องมีทุนจดทะเบียนไม่ต่ำกว่าเกณฑ์ที่กำหนด และต้องร่วมหรือมีข้อตกลงรับการถ่ายทอดวิชาการกับสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือที่มีชื่อเสียงของต่างประเทศ ปัจจุบัน ประเทศไทยมีสถาบันจัดอันดับอยู่ 2 แห่ง คือ บริษัท ทริสเรทติ้ง จำกัด (TRIS Rating)และบริษัท ฟิทช์ เรทติ้ง (ประเทศไทย) จำกัด (FITCH Rating)

9. DEBENTURE - หุ้นกู้ เป็นตราสารหนี้ที่บริษัทออกจำหน่ายเพื่อกู้ยืมเงินจากผู้ลงทุน หุ้นกู้จะมีกำหนดเวลาไถ่ถอนคืนที่แน่นอน ผู้ถือหุ้นกู้มีฐานะเป็นเจ้าหนี้ของบริษัท และได้รับผลตอบแทนในรูปดอกเบี้ยเป็นรายงวด ตามระยะเวลาและอัตราที่กำหนด ตลอดอายุของหุ้นกู้ อัตราดอกเบี้ยที่กำหนดในหุ้นกู้จะสูงหรือต่ำ ขึ้นอยู่กับฐานะของบริษัทผู้ออกหุ้นกู้ และระดับอัตราดอกเบี้ยในตลาดเงินขณะที่นำหุ้นกู้ออกจำหน่ายครั้งแรก

10. EARNING PER SHARE (EPS) - กำไรสุทธิต่อหุ้น

ส่วนของกำไรสุทธิจากผลการดำเนินงานของบริษัทที่แบ่งเฉลี่ยให้แก่หุ้นสามัญแต่ละหุ้น ซึ่งมีสูตรคำนวณดังนี้

                              

                                         กำไรต่อหุ้น    = 

กำไรสุทธิเฉพาะส่วนของหุ้นสามัญของบริษัท


จำนวนหุ้นสามัญที่เรียกชำระแล้วของบริษัท

 

 

49473010013 - เอาอันนี้ค่ะ - (นางสาวธิติกานต์ จิณะเสน)

1. WARRANT - ใบสำคัญแสดงสิทธิในการซื้อหลักทรัพย์

2. SUSPENSION (SP) - การห้ามซื้อขายหลักทรัพย์เป็นการชั่วคราว

3. HALT (H) - เครื่องหมายการห้ามซื้อขายหลักทรัพย์เป็น การชั่วคราว เป็นเวลาไม่เกินหนึ่งรอบการซื้อขาย

4. AUTOMATIC ORDER MATCHING : AOM - การจับคู่คำสั่งซื้อขายโดยอัตโนมัติ

5. Random Time - การซื้อขายโดยการสุ่มเลือกเวลา

6. BIG LOT - การซื้อขายรายใหญ่ เป็นการซื้อขายหลักทรัพย์ใดหลักทรัพย์หนึ่งทุกประเภทในจำนวนเดียวโดยไม่แบ่งย่อย ซึ่งมีปริมาณการซื้อขาย ตั้งแต่ 1 ล้านหุ้นขึ้นไป หรือมีมูลค่าการซื้อขายตั้งแต่ 3 ล้านบาทขึ้นไป โดยคิดตามราคาที่ผู้ซื้อและผู้ขายตกลงซื้อขายกัน การซื้อขายหลักทรัพย์บนกระดานรายใหญ่ใช้วิธีการตกลงซื้อขายแบบ Put-through

7. CONVERTIBLE DEBENTURE - หุ้นกู้แปลงสภาพ เป็นตราสารหนี้ที่มีลักษณะคล้ายหุ้นกู้ทั่วไป แต่แตกต่างกันที่หุ้นกู้แปลงสภาพจะไม่มีการคืนเงินต้นเมื่อครบอายุ แต่จะให้สิทธิแก่ผู้ถือในการแปลงหุ้นกู้นั้นเป็นหุ้นสามัญ ในระยะเวลา ราคา และอัตราส่วนที่กำหนดไว้ ผู้ถือหุ้นกู้แปลงสภาพมีฐานะเป็นเจ้าหนี้ของบริษัทเหมือนหุ้นกู้ แต่เมื่อใดที่ผู้ถือได้แปลงสภาพหุ้นกู้นั้นเป็นหุ้นสามัญตามสิทธิ แล้วก็จะมีฐานะร่วมเป็นเจ้าของกิจการเช่นเดียวกับผู้ถือหุ้นสามัญทั่วไป

8. CREDIT RATING AGENCY - หน่วยงานจัดอันดับความน่าเชื่อถือ หน่วยงานซึ่งทำหน้าที่ให้บริการจัดอันดับคุณภาพและความเสี่ยงของตราสารหนี้ของบริษัทหรือองค์กรต่างๆ ในการจัดอันดับความน่าเชื่อถือของตราสารหนี้ จะพิจารณาถึงระดับความสามารถของบริษัทผู้ออกตราสารที่จะชำระคืนเงินต้นและชำระดอกเบี้ยได้ตามเวลาและเงื่อนไขที่กำหนดไว้ และมีการประกาศผลการจัดอันดับให้บุคคลทั่วไปได้รับทราบ เพื่อใช้ประกอบการตัดสินใจลงทุนหรือประโยชน์อย่างอื่น อันดับความน่าเชื่อถือจะแสดงเป็นสัญลักษณ์ตัวอักษร เริ่มจากความน่าเชื่อถือระดับสูงไปจนถึงระดับต่ำสุด เช่น อาจจะใช้สูงสุด AAA ไปจนต่ำสุดที่ D เป็นต้น การจัดตั้งหน่วยงานดังกล่าวต้องได้รับอนุญาตจากสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. โดยต้องไม่เป็นบริษัทเงินทุนหรือหลักทรัพย์ ต้องมีทุนจดทะเบียนไม่ต่ำกว่าเกณฑ์ที่กำหนด และต้องร่วมหรือมีข้อตกลงรับการถ่ายทอดวิชาการกับสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือที่มีชื่อเสียงของต่างประเทศ ปัจจุบัน ประเทศไทยมีสถาบันจัดอันดับอยู่ 2 แห่ง คือ บริษัท ทริสเรทติ้ง จำกัด (TRIS Rating)และบริษัท ฟิทช์ เรทติ้ง (ประเทศไทย) จำกัด (FITCH Rating)

9. DEBENTURE - หุ้นกู้ เป็นตราสารหนี้ที่บริษัทออกจำหน่ายเพื่อกู้ยืมเงินจากผู้ลงทุน หุ้นกู้จะมีกำหนดเวลาไถ่ถอนคืนที่แน่นอน ผู้ถือหุ้นกู้มีฐานะเป็นเจ้าหนี้ของบริษัท และได้รับผลตอบแทนในรูปดอกเบี้ยเป็นรายงวด ตามระยะเวลาและอัตราที่กำหนด ตลอดอายุของหุ้นกู้ อัตราดอกเบี้ยที่กำหนดในหุ้นกู้จะสูงหรือต่ำ ขึ้นอยู่กับฐานะของบริษัทผู้ออกหุ้นกู้ และระดับอัตราดอกเบี้ยในตลาดเงินขณะที่นำหุ้นกู้ออกจำหน่ายครั้งแรก

10. EARNING PER SHARE (EPS) - กำไรสุทธิต่อหุ้น

49473010037 (นายปรีชากรณ์ หมอนแบบ)

1. EARNINGS BEFORE INTEREST, TAXES, DEPRECIATION AND AMORTIZATION (EBITDA) - กำไรก่อนดอกเบี้ย ภาษี ค่าเสื่อมราคาและค่าตัดจำหน่าย

2. FINANCIAL ADVISOR - ที่ปรึกษาทางการเงิน

3. MARKET MAKER - ผู้สร้างสภาพคล่อง

4. MARKET PRICE - ราคาตลาด

5. OPEN-END FUND - กองทุนเปิด

6. Call Market - การนำคำสั่งซื้อขายทั้งหมดที่ได้รับมาคำนวณหาราคาเปิด

7. Current Market Value - มูลค่าตลาดรวมของหลักทรัพย์ในวันปัจจุบัน

8. Base Market Value - มูลค่าตลาดรวมของหลักทรัพย์ในวันฐาน

9. SECTORAL INDEX - ดัชนีหมวดธุรกิจ

10. Exercise Price - ราคาให้ใช้สิทธิ

49473010037 - เอาอันนี้ครับ - (นายปรีชากรณ์ หมอนแบบ)

1. Friendly Takeover - การครอบงำกิจการอย่างเป็นมิตร

2. FINANCIAL ADVISOR - ที่ปรึกษาทางการเงิน

3. MARKET MAKER - ผู้สร้างสภาพคล่อง

4. MARKET PRICE - ราคาตลาด

5. OPEN-END FUND - กองทุนเปิด

6. Call Market - การนำคำสั่งซื้อขายทั้งหมดที่ได้รับมาคำนวณหาราคาเปิด

7. Current Market Value - มูลค่าตลาดรวมของหลักทรัพย์ในวันปัจจุบัน

8. Base Market Value - มูลค่าตลาดรวมของหลักทรัพย์ในวันฐาน

9. SECTORAL INDEX - ดัชนีหมวดธุรกิจ

10. Exercise Price - ราคาให้ใช้สิทธิ

capital gain

= สินค้าที่ใช้เป็นการลงทุน เช่น เครื่องจักร

backdoor listing

= การจดทะเบียนโดยอ้อม

warrant

= ใบสำคัญแสดงสิทธิในการซื้อหลักทรัพย์

short sell

= การขายหุ้น (หรือเงินตรา) โดยไม่มีอยู่ในมือพอ

price spread

= ช่วงราคา

market maker

= ผู้สร้างสภาพคล่อง,นักการตลาด

market capitalization

= มูลค่าหลักรัพย์ตามราคาตลาด

derivative

= ตราสานอนุพันธ์

dividend

= เงินปันผล

common stock

= หุ้นสามัญ

1. Calendar Spread = การเปิดสถานะในสัญญาฟิวเจอร์ส 2 สัญญา ที่มีสินทรัพย์อ้างอิงเดียวกันแต่มีเดือนที่สัญญาครบกำหนดต่างกัน

2. Commodity Derivatives = อนุพันธ์ที่มีสินค้าโภคภัณฑ์เป็นสินทรัพย์อ้างอิง สินค้าโภคภัณฑ์รวมถึงสินค้าเกษตร และสินค้า หรือแร่ธาตุ เช่น ทองคำ ทองแดง น้ำมัน น้ำตาล ข้าว ยาง มัน สำปะหลัง เป็นต้น

3. Counterparty Risk = ความเสี่ยงที่เกิดจากคู่สัญญาบิดพลิ้ว ไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในสัญญาที่ตกลงกันไว้

4. Delivery Month = เดือนที่สัญญาฟิวเจอร์สครบกำหนดส่งมอบ เช่น สัญญาฟิวเจอร์ส เดือน มี.ค. 2005 เป็นสัญญาที่ครบกำหนดส่งมอบใน เดือน มี.ค. 2005

5. Over-the-Counter = ตลาดซื้อขายตราสารทางการเงินที่ไม่ได้มีการจัดตั้งอย่างเป็นทางการ

6. Put Option = สัญญาที่ให้สิทธิแก่คู่สัญญาฝ่ายที่เป็นผู้ซื้อออปชันในการขายสินทรัพย์อ้างอิงให้แก่คู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่ง ตามจำนวน ราคา และภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้

7. Stock Index = ตัวเลขหรือดัชนีที่ถูกคำนวณขึ้นมาโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อติดตามและสะท้อนถึงผลการลงทุนในกลุ่มหลักทรัพย์ของหุ้นสามัญกลุ่มหนึ่ง เช่น SET50 Index เป็นดัชนีหุ้นสามัญที่สะท้อนการเปลี่ยนแปลงของหุ้นสามัญ 50 ตัวที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ

8. Swap = เป็นสัญญาในการแลกเปลี่ยนบางสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคตระหว่างคู่สัญญา ซึ่ง อาจจะเป็นสินทรัพย์หรือตัวแปรทางการเงิน เช่น เงินตราต่างประเทศ หรืออัตราดอกเบี้ย สัญญา สวอปซึ่งเป็นที่รู้จักกันทั่วไป ได้แก่ สัญญาสวอปอัตราดอกเบี้ย (Interest Rate Swap)ซึ่งเป็นสัญญาทางการเงินที่คู่สัญญาตกลงที่จะแลกเปลี่ยนภาระการชำระดอกเบี้ยให้ แก่กันและกัน ภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้ และสัญญาสวอปเงินตราต่างประเทศ (Currency Swap) ซึ่งเป็นสัญญาในการแลกเปลี่ยนเงิน ตราสกุลหนึ่งกับเงินอีกสกุลหนึ่งที่อ้างอิงไว้ เป็นต้น

9. Technical Analysis = วิธีการพยากรณ์การเคลื่อนไหวของราคาหลักทรัพย์ในอนาคตโดยอาศัยราคาและปริมาณ การซื้อขายหลักทรัพย์ในอดีตมาเป็นปัจจัยสำคัญในการวิเคราะห์แนวโน้มของราคาใน อนาคต

10. Tick Size = ช่วงการเปลี่ยนแปลงของราคาที่ต่ำที่สุดที่ตลาดอนุพันธ์อนุญาตให้ใช้ในการ เสนอราคา เช่น SET50 Index Futures กำหนด tick size เท่ากับ 0.10 หมายความว่าราคาฟิวเจอร์สที่เสนอจะต้องเปลี่ยนแปลงไปได้ทีละ 0.1 เช่น หากปัจจุบันสัญญาฟิวเจอร์สที่มีกำหนดส่งมอบในเดือนมิถุนายน มีราคาที่ 520.20 จุด ดังนั้นหากมีการเปลี่ยนแปลงราคาฟิวเจอร์สในอนาคต ราคาที่เปลี่ยนแปลงไปจะต้องเปลี่ยนแปลงไปทีละ 0.1 เช่นอาจมีการเปลี่ยนแปลงลดลงเป็น 520.10 จุด หรือ 520.30 จุด

49473010021 (น.ส.ปทุมมา อายุสุข) เอาแผ่นนี้น่ะค่ะ

1.การแปรรูปรัฐวิสาหกิจ (privatization)

การลดสัดส่วนหุ้นที่ทางการถือครองอยู่ในรัฐวิสาหกิจ โดยนำหุ้นออกขายแก่ภาคเอกชน (อาจจะขายแก่ผู้ประกอบการเอกชนที่มีความสามารถในธุรกิจของรัฐวิสาหกิจนั้น หรือโดยการกระจายขายให้ประชาชนทั่วไป) เพื่อให้เอกชนมีสิทธิในการควบคุมและบริหารมากขึ้น การดำเนินงานจะได้มีประสิทธิภาพและมีความคล่องตัวเทียบได้กับบริษัทเอกชน

2.การขายหุ้นแบบเจาะจง (private placement)

การที่บริษัทออกหุ้นขายให้แก่ผู้ซื้อรายหนึ่งหรือกลุ่มหนึ่งโดยเจาะจงโดยที่ผู้ซื้อรับซื้อไว้เพื่อลงทุน มิใช่รับซื้อมาเพื่อนำออกจัดจำหน่าย การออกหุ้นขายแบบ private placement บริษัทผู้ออกหุ้นไม่ต้องจัดทำข้อมูลให้สำนักงานคณะกรรมการ ก... พิจารณา แต่วิธี private placement จะต้องเข้าเกณฑ์เงื่อนไขที่กำหนดโดย ก...

3.การควบกิจการ (merger)

การที่บริษัทตั้งแต่ 2 บริษัทขึ้นไป รวมกิจการเข้าด้วยกัน โดยผลของการรวมอาจเกิดเป็นบริษัทใหม่ หรือคงเหลือเป็นบริษัทใดบริษัทหนึ่งเพียงบริษัทเดียวก็ได้

 

4.การตรวจสอบวิเคราะห์สถานะ (due diligence)

การตรวจสอบและประเมินทรัพย์สินตลอดจนหนี้สินของบริษัทว่ามีมูลค่าถูกต้องครบถ้วนตามบัญชีและมีอยู่จริง ซึ่งในการตรวจสอบและประเมินมูลค่าดังกล่าว ผู้กระทำได้ใช้ความระมัดระวังเยี่ยงผู้ประกอบวิชาชีพอย่างเพียงพอวิธีการนี้มักจะใช้ในกรณีซื้อขายหรือเลิกกิจการ

 

5.กองทุนรวมตราสารแห่งหนี้ (general fixed income fund)

กองทุนรวมที่นำเงินไปลงทุนในตราสารแห่งหนี้ เช่น พันธบัตร ตั๋วเงินคลัง บัตรเงินฝาก ตั๋วสัญญาใช้เงิน ตั๋วแลกเงิน หุ้นกู้ เป็นต้น โดยจะไม่ลงทุนในหุ้นหรือใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้น

 

6.กองทุนรวมตราสารแห่งทุน (equity fund)

กองทุนรวมที่มีวัตถุประสงค์ที่จะลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งตราสารแห่งทุนโดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่าร้อยละ 65 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม ซึ่งตราสารแห่งทุนหมายความถึงหุ้นสามัญของบริษัทต่าง ๆ หุ้นของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้น เป็นต้น

 

7.ผู้ดูแลผลประโยชน์ (trustee)

สถาบันการเงินซึ่งทำหน้าที่ผู้ดูแลผลประโยชน์ให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวม โดยดูแลให้ บลจ. ปฏิบัติตามโครงการที่ได้รับอนุมัติจากสำนักงาน ก... และเป็นผู้เก็บรักษาทรัพย์สินของกองทุนรวม นอกจากนี้ จะต้องเป็นผู้เก็บรักษาทรัพย์สินของกองทุนรวม นอกจากนี้ จะต้องเป็นผู้ที่ไม่มีความสัมพันธ์กับ บลจ. ด้วย

 

8.ราคาเพดาน (ceiling price)

ระดับสูงสุดที่ราคาหุ้นจะขึ้นไปได้ในแต่ละวันทำการ ปัจจุบันนี้ตลาดหลักทรัพย์กำหนดว่าการสูงขึ้นของราคาหุ้นในแต่ละวันจะเกินกว่าร้อยละ 30 ของราคาปิดวันก่อนไม่ได้ เช่น หุ้น A มีราคาปิดวันก่อนที่ 100 บาท ราคาเพดานในวันนี้จะเท่ากับ 130 บาท หมายถึงว่าวันนี้การซื้อขายหุ้น A จะกระทำที่ราคาสูงกว่า 130 บาท (ราคาเพดาน) ไม่ได้ (ดู floor price และ daily price limit) ข้อกำหนดเรื่องราคาเพดานไม่บังคับใช้กับการซื้อขายบน foreign board และบน big-lot board ในกรณีที่รายการซื้อขายมีปริมาณเท่ากับหรือเกินกว่า 10% ของทุนจดทะเบียน

 

9.วันปิดสมุดทะเบียนพักการโอนหุ้น (book-closing date)

วันที่บริษัทสั่งให้นายทะเบียนหลักทรัพย์ปิดรับการโอนหุ้นของบริษัททั้งนี้เพื่อที่นายทะเบียนหลักทรัพย์จะได้ตรวจเช็คและรวบรวมรายชื่อผู้ถือหุ้นที่ปรากฏอยู่ในทะเบียนหลักทรัพย์ ณ วันดังกล่าว เป็นผู้ได้รับสิทธิต่าง ๆ ที่บริษัทประกาศมอบให้ครั้งล่าสุดนั้น เช่น สิทธิรับเงินปันผล สิทธิจองซื้อหุ้นเพิ่มทุนหรือสิทธิเข้าประชุมผู้ถือหุ้น เป็นต้น ดังนั้น หากผู้ลงทุนที่เข้าไปซื้อหุ้นในวันดังกล่าวหรือหลังจากนั้นก็จะไม่ได้รับสิทธิที่บริษัทประกาศมอบให้แก่ผู้ถือหุ้นในคราวนั้น ๆ

 

10.หุ้นชั้นดี (blue chip)

หุ้นสามัญของบริษัทที่เป็นที่รู้จักกว้างขวาง เป็นบริษัทที่สามารถทำผลกำไรให้เติบโตและจ่ายปันผลได้ต่อเนื่องมายาวนาน อีกทั้งมีชื่อเสียงในด้านคุณภาพของผู้บริหาร สินค้า และการให้บริการ

 

 

 

 

 

49473010001 (น.ส.บังอร ม่วงเจริญ) เอาแผ่นนี้ค่ะ

1.ความเสี่ยงจากสภาพคล่อง (liquidity risk)

ความเสี่ยงที่เกิดจากการที่นักลงทุนต้องการขายตราสาร แต่ขายไม่ได้ หรือขายได้แต่ไม่ได้ราคาตามที่กำหนดไว้

 

2.คณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (The Securities and Exchange Commission: SEC)

คณะกรรมการที่แต่งตั้งขึ้นตาม พ...หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.. 2535 มีหน้าที่วางนโยบายส่งเสริมและพัฒนา ตลอดจนกำกับดูแลธุรกิจหลักทรัพย์ทั้งในตลาดแรกและตลาดรอง เช่น ตลาดหลักทรัพย์ ศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์ ธุรกิจ หรือองค์กรที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจหลักทรัพย์การออกหลักทรัพย์จำหน่ายของบริษัทต่าง ๆ การเข้าถือครองหลักทรัพย์เพื่อครอบงำกิจการ (takeover) รวมถึงการป้องกันการกระทำอันไม่เป็นธรรมเกี่ยวกับการซื้อขายหลักทรัพย์ คณะกรรมการนี้มีชื่อเรียกสั้น ๆ ว่า SEC หรือ ก..

 

3.ใบอนุญาตเป็นเจ้าหน้าที่การตลาด (sale license)

ใบอนุญาตที่ตลาดหลักทรัพย์ออกให้แก่ผู้ที่จะปฏิบัติหน้าที่ให้คำแนะนำหรือคำปรึกษาแก่บุคคลใด ๆ เกี่ยวกับการลงทุนในหลักทรัพย์ ผู้จะยื่นขอใบอนุญาตเป็นเจ้าหน้าที่การตลาดจะต้องเป็นพนักงานของบริษัทสมาชิกหรือบริษัทหลักทรัพย์ ซึ่งผ่านการอบรมและทดสอบความรู้เกี่ยวกับการเป็นเจ้าหน้าที่การตลาดจากสถาบันฝึกอบรมของสมาคมบริษัทหลักทรัพย์ และจะต้องมีคุณสมบัติอื่นตามที่ตลาดหลักทรัพย์กำหนด ใบอนุญาตนี้มีอายุ 2 ปี นับจากวันที่ตลาดหลักทรัพย์ออกให้ เจ้าหน้าที่การตลาดที่ต้องการต่อใบอนุญาตจะต้องเข้าอบรมหลักสูตรการตลาดหลักทรัพย์ก่อนทุกครั้งที่ขอต่ออายุใบอนุญาต

 

4.บริษัทจดทะเบียน (listed company)

บริษัทมหาชนจำกัดที่จดทะเบียนหลักทรัพย์ของบริษัทเพื่อให้มีการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ บริษัทดังกล่าวต้องมีคุณสมบัติตามเกณฑ์ที่ตลาดหลักทรัพย์กำหนดและต้องปฏิบัติตาม listing agreement

 

5.ผู้ค้าหลักทรัพย์ (dealer)

บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตทำธุรกรรมในฐานะผู้ค้าหลักทรัพย์ ผู้ค้าหลักทรัพย์จะซื้อและขายหลักทรัพย์เพื่อบัญชีลงทุนของตนเอง และรับความเสี่ยงจากการซื้อขายนั้น ในกรณีที่ลูกค้าซื้อหุ้นจาก dealer ลูกค้าจะได้รับหุ้นที่โอนมาจาก portfolio ของ dealer นั้น การซื้อขายหุ้นโดย market maker เพื่อทำหน้าที่สร้างสภาพคล่องให้กับหลักทรัพย์ที่ตนดูแลอยู่ก็เป็นการทำหน้าที่ในฐานะ dealer ด้วย

 

 

6.พอร์ตโฟลิโอ ดูเรชั่น (portfolio duration) อายุถัวเฉลี่ยแบบถ่วงน้ำหนักของกระแสเงินสดที่ได้รับจากทรัพย์สินของกองทุนรวม ซึ่งคำนวณตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่สมาคมบริษัทจัดการกำหนด

 

7.สิทธิจองซื้อหุ้นออกใหม่ (right)

สิทธิที่บริษัทจดทะเบียนมอบให้แก่ผู้ถือหุ้นของบริษัทในการที่จะจองซื้อหุ้นสามัญจากการเพิ่มทุนของบริษัท ผู้ถือหุ้นจะได้สิทธิตามสัดส่วนของจำนวนหุ้นที่ถือครองอยู่ ราคาจองซื้อหุ้นใหม่ตามสิทธิจะต่ำกว่าราคาตลาดหรือต่ำกว่าราคาที่เสนอขายแก่บุคคลทั่วไป (public offering price) สิทธิที่มอบให้ผู้ถือหุ้นเดิมนี่จะกำหนดระยะเวลาให้ใช้สิทธิไว้ด้วยโดยปกติจะไม่เกิน 2 เดือน right ดังกล่าวนี้มีชื่อเรียกเต็ม ๆ ว่า subscription right

 

 

8.หลักทรัพย์ในครอบครอง (portfolio)

หลักทรัพย์ทั้งหมดในความครอบครองของผู้ลงทุนรายใดรายหนึ่ง ทั้งนี้จะต้องประกอบด้วยหลักทรัพย์จำนวนตั้งแต่ 2 ชนิด หรือ 2 บริษัทขึ้นไป จุดประสงค์ของการสร้าง portfolio ก็เพื่อลดความเสี่ยงในการลงทุนด้วยการกระจายลงทุนในหลักทรัพย์หลายบริษัทหรือหลายประเภท

 

 9.อัตราส่วนการจ่ายปันผล (dividend pay - out ratio)

ส่วนของกำไรสุทธิที่ได้นำมาจ่ายเป็นปันผลแก่ผู้ถือหุ้นโดยคิดเป็นอัตราร้อยละ มีสูตรในการคำนวณดังนี้อัตราส่วนการจ่ายเงินปันผล = มูลค่าปันผลต่อหุ้น / กำไรสุทธิต่อหุ้น * 100

 

10.กองทุนรวมตราสารหนี้ระยะสั้น (short-term fixed income fund)

กองทุนรวมที่มีการลงทุนในหรือมีไว้เฉพาะตราสารแห่งหนี้ เงินฝากหรือหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินอื่น หรือการหาดอกผล โดยวิธีอื่นตามที่สำนักงานคณะกรรมการ ก... กำหนดหรือให้ความเห็นชอบโดยมีวัตถุประสงค์ที่จะดำรงพอร์ตโฟลิโอดูเรชันของกองทุนรวมในขณะใดขณะหนึ่งไม่เกิน 1 ปี

 

1.ASCO (สมาคมบริษัทหลักทรัพย์)

2.AUDIT COMMITTEE (คณะอนุกรรมการตรวจสอบ)

คณะอนุกรรมการที่จัดตั้งโดยคณะกรรมการบริษัทจดทะเบียนเพื่อทำหน้าที่ช่วยคณะกรรมการบริษัทจดทะเบียนในการกำกับดูแลการปฏิบัติงานภายใน การจัดทำงบและรายงานทางการเงิน การวางระบบและการดำเนินงาน ตรวจสอบภายในรวมถึงการเปิดเผยข้อมูลให้มีความถูกต้องโปร่งใส ซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานขององค์กร และสร้างความเชื่อถือจากผู้ลงทุน ลูกค้าและเจ้าหนี้ของบริษัทตามข้อกำหนดของตลาดหลักทรัพย์คณะอนุกรรมการตรวจสอบจะต้องมีอนุกรรมการไม่น้อยกว่า 3 คน (ทั้งหมดต้องเป็นกรรมการบริษัท) อย่างน้อย 1 คนต้องมีความรู้ด้านบัญชีหรือการเงิน ผู้เป็นอนุกรรมการตรวจสอบต้องเป็นผู้มีอิสระไม่มีผลประโยชน์โดยตรงหรือทางอ้อมทั้งด้านการเงินและการบริหารงานของบริษัทจดทะเบียนบริษัทย่อย หรือผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของบริษัทจดทะเบียน และต้องไม่เป็นผู้เกี่ยวข้องหรือญาติสนิทของผู้บริหารหรือผู้ถือหุ้นรายใหญ่ ของบริษัท

3.AT THE OPEN (คำสั่งซื้อหรือขายหลักทรัพย์ตามราคาเปิดตลาด)

คำสั่งซื้อหรือขายหลักทรัพย์ตามราคาเปิดตลาด ใช้เมื่อผู้ลงทุนต้องการซื้อหรือขายหลักทรัพย์ในช่วงเวลาเปิดการซื้อขายคราวแรก โดยเพียงแต่ต้องการซื้อหรือขาย ณ ราคาเปิดเท่านั้น ข้อควรระวังคือ ราคาเปิดเป็นราคาที่เกิดจากการคำนวณจากการเสนอซื้อขายที่มีการเข้าและถอนออกได้ตลอดเวลา ราคาเปิดจึงอาจเปลี่ยนได้เสมอแม้ขณะก่อนช่วงเวลาเปิดการซื้อขายคราวแรกเพี้ยงเสี้ยววินาที

4.TENDER OFFER (การทำคำเสนอซื้อหุ้นต่อผู้ถือหุ้นทั่วไป)

การแจ้งแก่ผู้ถือหุ้นทุกรายของบริษัทใดบริษัทหนึ่ง (โดยบุคคลหรือกลุ่มบุคคลคณะหนึ่ง) ถึงความต้องการที่ จะซื้อหุ้น บริษัทดังกล่าวจากผู้ถือหุ้น โดยระบุจำนวนหุ้น ราคา และกำหนดเวลาที่ต้องการรับซื้อไว้ด้วย การทำคำเสนอซื้อหุ้นต่อผู้ถือหุ้นทั่วไป มักจะเกิดขึ้นโดยผู้ทำคำเสนอซื้อมีวัตถุประสงค์จะเข้าไปบริหารบริษัทดังกล่าว ซึ่งกฎหมายเกี่ยวกับหลักทรัพย์มีข้อกำหนดว่าผู้ที่ถือ หุ้น ในบริษัทหนึ่งบริษัทใดเพิ่มขึ้นมากถึงเกณฑ์ที่กำหนด จะต้องทำคำเสนอซื้อหุ้นต่อผู้ถือหุ้นทั่วไป และได้กำหนดแนวทางปฏิบัติ ในการทำคำเสนอซื้อดังกล่าวด้วย

5.TRANSACTION

รายการซื้อขายหลักทรัพย์โดยผู้ขายมีการส่งมอบหุ้นให้แก่ผู้ซื้อ และผู้ซื้อตกลงชำระเงินค่าหลักทรัพย์แก่ผู้ขาย

6.RISK MANAGEMENT (การจัดการความเสี่ยง)

กระบวนการในการระบุ วิเคราะห์ ประเมิน ดูแล ตรวจสอบ และควบคุมความเสี่ยงที่สัมพันธ์กับกิจกรรม หน้าที่ และกระบวนการทำงาน เพื่อให้องค์กรลดความเสียหายจากความเสี่ยงมากที่สุด

7.RIGHTS OFFERING (การให้สิทธิจองซื้อหุ้นใหม่)

8.MAINTENANCE MARGIN RATE (อัตรามาร์จินที่ต้องดำรงไว้)

อัตราที่ตลาดหลักทรัพย์กำหนดไว้เป็นเกณฑ์บังคับว่า มูลค่าหลักประกันของลูกค้า(Margin) ที่วางไว้กับบริษัทหลัก ทรัพย์เมื่อเทียบกับมูลค่าหลักทรัพย์ที่ซื้อด้วยเงินกู้(หรือที่ขายชอร์ต)ไว้จะต้องเป็นอัตราที่สูงกว่าอัตรา Maintenance Margin Rate ที่เป็นเกณฑ์บังคับนี้

9.WARRANT (ใบสำคัญแสดงสิทธิในการซื้อหลักทรัพย์)

หลักทรัพย์ประเภทหนึ่งที่บริษัทมักจะออกควบมากับหุ้นกู้หรือหุ้นบุริมสิทธิหรือออกโดยการให้สิทธิแก่ผู้ถือหุ้นสามัญ ของบริษัท เป็นหลักทรัพย์ที่บริษัทกำหนดให้สิทธิแก่ผู้ถือ ที่จะจองซื้อหุ้นสามัญจากบริษัทได้ในจำนวน ราคา และตามระยะ เวลาที่ระบุไว้ (กองทุนรวมบางกองทุนได้ออกใบสำคัญแสดงสิทธิในการจองซื้อหน่วยลงทุนควบมากับ การออกหน่วยลงทุนด้วย) อายุของ Warrant จะยาวกว่า 1 ปี ตลาดหลักทรัพย์กำหนดว่า Warrant ที่จะจดทะเบียน ซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ต้องมีอายุไม่ เกิน 10 ปี Warrant มีชื่อเรียกเต็ม ๆ ว่า Subscription Warrant

10.INSTITUTIONAL INVESTOR (ผู้ลงทุนสถาบัน)

สถาบันที่ใช้เงินทุนส่วนใหญ่ลงทุนในหลักทรัพย์ เช่น บริษัทหลักทรัพย์ บริษัทประกันภัยและประกันชีวิต มูลนิธิหรือธนาคาร

นางสาวอารดา วาแสนดี (49473010016)

1.BID ราคาเสนอซื้อ

เป็นราคาที่ผู้ลงทุนเสนอจะซื้อหลักทรัพย์ใดหลักทรัพย์หนึ่ง โดย ณ ขณะใดขณะหนึ่งอาจมีราคาเสนอซื้อเข้ามาหลายระดับราคา ระบบการซื้อขายจะจัดเรียงคำสั่งที่มีราคาเสนอซื้อสูงกว่าอยู่ในลำดับแรก เพื่อรอการจับคู่การซื้อขาย

2.BOARD LOT หน่วยการซื้อขาย

ผู้ลงทุนที่จะซื้อขายหลักทรัพย์บนกระดานหลัก (Main Board) ต้องระบุจำนวนหลักทรัพย์ที่ต้องการจะซื้อหรือขายเป็นหน่วยการซื้อขาย (Board Lot) โดยทั่วไปตลาดหลักทรัพย์ฯ กำหนดให้ 1 หน่วยการซื้อขาย หรือ 1 Board Lot เท่ากับ 100 หุ้น เช่น ต้องการซื้อหุ้นบริษัท ก. จำนวน 10 หน่วยการซื้อขาย จะเท่ากับ 1,000 หุ้น อย่างไรก็ตาม ในกรณีที่หลักทรัพย์ใดมีราคาปิดตั้งแต่ 500 บาทขึ้นไปเป็นระยะเวลา 6 เดือนต่อเนื่องกัน ตลาดหลักทรัพย์ฯ กำหนดให้ 1 หน่วยการซื้อขายของหลักทรัพย์นั้นเท่ากับ 50 หุ้น

3.BOOK VALUE มูลค่าตามบัญชี

เป็นมูลค่าของหุ้นสามัญหรือมูลค่าสินทรัพย์สุทธิของบริษัท (Net Asset Value) ตามงบดุลล่าสุดของบริษัทผู้ออกหลักทรัพย์ ที่คำนวณได้จากการนำสินทรัพย์รวมหักด้วยหนี้สินรวม ซึ่งก็คือ ส่วนของผู้ถือหุ้นนั่นเอง ส่วนการหามูลค่าตามบัญชีต่อหุ้น ต้องหารด้วยจำนวนหุ้นที่ออกและเรียกชำระแล้วของบริษัท

4.DEPOSITORY RECEIPT (DR)ใบแสดงสิทธิในผลประโยชน์ที่เกิดจากหลักทรัพย์อ้างอิง

ใบแสดงสิทธิในผลประโยชน์ที่เกิดจากหลักทรัพย์อ้างอิง เป็นตราสารที่ออกและเสนอขายโดย บริษัท สยามดีอาร์ จำกัด ผู้ลงทุนที่ถือใบแสดงสิทธิฯ ดังกล่าว จะได้รับผลประโยชน์ต่างๆ เช่นเดียวกับผู้ถือหุ้นของบริษัทจดทะเบียนทุกประการ ไม่ว่าจะเป็นสิทธิประโยชน์ทางการเงิน (Financial Right) หรือสิทธิในการออกเสียงลงคะแนน (Voting Right) ในการออกเสียงลงคะแนนนั้น ผู้ถือจะต้องมีสัญชาติไทย และออกเสียงลงคะแนนโดยผ่านบริษัท สยามดีอาร์ จำกัด เท่านั้น

5.DERIVATIVE WARRANT (DW)ใบสำคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์

เป็นตราสารการเงินชนิดหนึ่ง ซึ่งบริษัทผู้ออก (Issuer) ให้สิทธิแก่ผู้ถือในการซื้อหรือขายดัชนีหลักทรัพย์ (Index) หรือหลักทรัพย์อ้างอิง (Underlying Securities) ซึ่งอาจเป็นหุ้น (Stock) ของบริษัท อื่นในราคาใช้สิทธิ อัตราการใช้สิทธิ และระยะเวลาใช้สิทธิที่กำหนดไว้ โดยบริษัทผู้ออกเป็นผู้กำหนดว่าจะเลือกการส่งมอบ เป็นหลักทรัพย์หรือเงินสดก็ได้ ปัจจุบัน สำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. กำหนดให้บริษัทผู้ออกสามารถออกได้เฉพาะ ใบสำคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ที่ให้สิทธิซื้อหลักทรัพย์อ้างอิงเท่านั้น

6.DELISTING การเพิกถอนหลักทรัพย์จดทะเบียน

การเพิกถอนหลักทรัพย์จดทะเบียนแบ่งได้เป็น 2 กรณี คือ ตลาดหลักทรัพย์ฯ สั่งเพิกถอนหลักทรัพย์จากการเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียน และบริษัทจดทะเบียนขอเพิกถอนหลักทรัพย์ของตนเองโดยสมัครใจ

7.DISCLOSURE การเปิดเผยข้อมูล

บริษัทจดทะเบียนมีหน้าที่ต้องเปิดเผยข้อมูลสำคัญต่างๆ ซึ่งมีหรืออาจมีผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงราคาซื้อขายหลักทรัพย์ของบริษัท หรือมีผลกระทบต่อสิทธิประโยชน์ของผู้ถือหุ้นของบริษัท หรือจำเป็นต่อการตัดสินใจลงทุน ในหลักทรัพย์ ตามที่สำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. และตลาดหลักทรัพย์ฯ กำหนดไว้

8.DIVIDEND YIELD อัตราผลตอบแทนจากเงินปันผล

เป็นตัวชี้วัดเพื่อให้ผู้ลงทุนทราบว่า หากลงทุนซื้อหุ้น ณ ระดับราคาตลาด ในปัจจุบัน จะมีโอกาสได้รับเงินปันผลตอบแทนจากการลงทุนในอัตราคิดเป็นร้อยละเท่าไรจากราคาหุ้นที่ซื้อ

9.FOREIGN BOARD กระดานต่างประเทศ

เป็นส่วนหนึ่งของระบบการซื้อขายหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์ฯ ที่รองรับการซื้อขาย หลักทรัพย์ระหว่างผู้ลงทุนต่างประเทศด้วยกันเอง เป็นการอำนวยความสะดวกแก่ผู้ลงทุนต่างประเทศที่ต้องการซื้อ หลักทรัพย์แล้วทำการโอนหลักทรัพย์ได้ โดยไม่ติดข้อจำกัดเรื่องสัดส่วนการถือครองหุ้นของชาวต่างชาติ ทั้งนี้ หลักทรัพย์ที่นำมาขายผ่านกระดานต่างประเทศจะต้องเป็นหลักทรัพย์ที่มีชาวต่างประเทศเป็นเจ้าของอยู่แล้ว การซื้อขายหลักทรัพย์บนกระดานต่างประเทศ สามารถซื้อขายได้ทั้งวิธี Automatic Order Matching และวิธี Put-through

10.GREENSHOE OPTION การเสนอขายหลักทรัพย์ส่วนเพิ่มโดยมีเงื่อนไขซื้อคืน

การให้สิทธิแก่ผู้รับประกันการจำหน่ายหลักทรัพย์ (Underwriter) ในการขายหุ้นต่อประชาชนทั่วไป มากกว่าจำนวนที่กำหนดไว้ โดยจะซื้อคืนในภายหลังเมื่อหุ้นใหม่นั้นเข้าซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์แล้ว เพื่อวัตถุประสงค์ในการสร้างเสถียรภาพของราคา มิให้ราคาหุ้นสูงเกินกว่าราคาจองซื้อมากเกินไป จนอาจไม่เป็นธรรมแก่บริษัทผู้ออกหลักทรัพย์ หรือต่ำกว่าราคาจองซื้อจนทำให้ผู้ลงทุนไม่พอใจ และจากสิทธิในการซื้อคืนที่ช่วยสร้างความต้องการในตลาด จะมีผลต่อราคาหุ้นที่มีโอกาสจะปรับตัวสูงขึ้น กรณีที่ราคาหุ้นในตลาดหลักทรัพย์สูงขึ้นเกินราคาจอง ผู้รับประกันการจัดจำหน่ายหลักทรัพย์สามารถใช้สิทธิในการซื้อหุ้นคืนจากบริษัท (ผู้ถือหุ้นเดิม) ในราคาจองซื้อ เพื่อชดเชยหุ้นในส่วนที่ขายมากเกินไปก่อนหน้าแทนที่จะซื้อคืนในตลาดหลักทรัพย์เพียงอย่างเดียว

49473010038 นายแสงอาทิตย์ มะโนราช

1.กองทุนพันธบัตรเอเชีย (Asian Bond Fund : ABF)
เป็นกองทุนที่ตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 2 มิถุนายน 2546 โดยธนาคารกลางของกลุ่มประเทศ และเขตเศรษฐกิจในเอเชียตะวันออก-แปซิฟิกรวม 11 ประเทศหรือที่รู้จักกันในนาม Executive’s Meeting of East Asia and Pacific Central Banks (EMEAP) ซึ่งประกอบด้วย ออสเตรเลีย สาธารณรัฐประชาชนจีน อินโดนีเซีย ฮ่องกง ญี่ปุ่น สาธารณรัฐเกาหลี มาเลเซีย นิวซีแลนด์ ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และประเทศไทย กองทุน ABF จะมุ่งลงทุนในพันธบัตรเงินสกุลดอลล่าร์สหรัฐฯ ที่ออกโดยรัฐบาลหรือ รัฐวิสาหกิจของประเทศต่าง ๆ ในกลุ่มประเทศเอเชียยกเว้นพันธบัตรที่ออกโดยประเทศญี่ปุ่น ออสเตรเลีย และ นิวซีแลนด์ กองทุนพันธบัตรเอเชียกองแรกนั้นมีวงเงินแรกเริ่มจำนวนประมาณ 1 พันล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ

2.กระดานซื้อขายรายใหญ่ (big-lot board)
เป็นกระดานการซื้อขายหลักทรัพย์ประเภทหนึ่ง ซึ่งตลาดหลักทรัพย์มีเพื่อรองรับการซื้อขายหลักทรัพย์ประเภทหุ้นสามัญ หุ้นบุริมสิทธิ ใบสำคัญแสดงสิทธิชนิดต่างๆ หน่วยลงทุน และกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนซึ่งเป็นคนต่างด้าว (Thai Trust Fund) ซึ่งมีปริมาณการซื้อขายตั้งแต่ 1 ล้านหลักทรัพย์ขึ้นไป หรือมีมูลค่าการซื้อขายตั้งแต่ 3 ล้านบาทขึ้นไป การซื้อขายบนกระดาน big-lot board ใช้วิธี put through ซึ่งผู้ซื้อและผู้ขายจะตกลงราคากันเอง โดยการซื้อขายบนกระดานนี้จะไม่มีข้อจำกัดเรื่องการขึ้นลงของราคา (ceiling and floor)

3.กองทุนรวมสำหรับผู้ลงทุนในต่างประเทศ (country fund)
กองทุนรวมที่เสนอขายหน่วยลงทุนทั้งหมดแก่บุคคลซึ่งไม่มีภูมิลำเนาในประเทศไทย

4.การจดทะเบียนเข้าตลาดหลักทรัพย์ 2 แห่ง (dual listing)
การที่บริษัทเข้าเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ 2 แห่ง โดยการเข้าไปจดทะเบียนที่แรกจะถือเป็น primary listing ในขณะที่การเข้าไปจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งที่ 2 ถือเป็น secondary listing

5.การประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้น (extraordinary meeting)
กฎหมายกำหนดว่านอกเหนือจากการประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปีละ 1 ครั้งแล้ว การประชุมในครั้งอื่น ๆ ให้เรียกว่าเป็นการประชุมวิสามัญ โดยบริษัทจะเรียกประชุมผู้ถือหุ้นเป็นการประชุมวิสามัญเมื่อใดก็ได้สุดแต่จะเห็นสมควร ซึ่งเรื่องที่จะนำเข้าในที่ประชุมอาจจะเป็นเรื่องเกี่ยวกับ การเปลี่ยนแปลงกรรมการ อำนาจหน้าที่ของกรรมการ หรือข้อบังคับของบริษัท เป็นต้น

6.การลงทุนซื้ออสังหาริมทรัพย์เพื่อให้มีกรรมสิทธิ์ในการครอบครอง (free hold)
การลงทุนของกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์โดยการซื้ออสังหาริมทรัพย์มาเป็นกรรมสิทธิ์ ซึ่งมีผลให้กองทุนรวมสามารถขายอสังหาริมทรัพย์ชิ้นนั้นออกไปได้เมื่อมีเหตุให้ต้องเลิกกองทุนรวม โดยถ้าอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าวมีมูลค่าสูงขึ้น กองทุนรวมก็มีโอกาสที่จะได้รับผลตอบแทนที่สูงขึ้นด้วย ผู้ถือหน่วยลงทุนจะมีโอกาสได้รับเงินปันผลในช่วงที่กองทุนรวมดำเนินการอยู่ และมีโอกาสได้รับเงินลงทุนคืนตามมูลค่าหน่วยลงทุนของกองทุนรวมเมื่อเลิกกองทุนอีกด้วย

7.การกำกับดูแลกิจการที่ดี (good corporate governance)
ระบบที่จัดให้มีโครงสร้างและกระบวนการของความสัมพันธ์ระหว่างฝ่ายจัดการ คณะกรรมการ และผู้ถือหุ้น เพื่อสร้างความสามารถ ในการแข่งขัน นำไปสู่ความเจริญเติบโตและเพิ่มคุณค่าให้กับผู้ถือหุ้นในระยะยาว โดยคำนึงถึง ผู้มีส่วนได้เสียอื่นประกอบ

8.กองทุนรวมดัชนี (index fund)
กองทุนรวมที่มีนโยบายสร้างผลตอบแทนให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุนตามการเคลื่อนไหวของดัชนีราคาหลักทรัพย์ที่ระบุไว้ในโครงการจัดการกองทุนรวม โดยดัชนีราคาหลักทรัพย์ดังกล่าวต้องได้รับการยอมรับจากสำนักงาน ก.ล.ต.

9.การลงทุนในสิทธิการเช่า (lease hold)
ารลงทุนของกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์โดยการซื้อสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์มาบริหาร โดยกองทุนรวมไม่มีกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์ที่ลงทุน จะมีเพียงสิทธิ์ที่จะหาผลประโยชน์จากอสังหาริมทรัพย์โดยการให้ผู้อื่นเช่าอสังหาริมทรัพย์ที่กองทุนรวมลงทุนในช่วงระยะเวลาที่ทำสัญญากับเจ้าของกรรมสิทธิ์เท่านั้น โดยเมื่อครบกำหนดสัญญาดังกล่าว กองทุนรวมไม่สามารถจัดหาประโยชน์จากอสังหาริมทรัพย์นั้นได้อีก และต้องคืนอสังหาริมทรัพย์นั้นแก่เจ้าของกรรมสิทธิ์ จึงมีผลให้ยิ่งระยะเวลาการเช่าเหลือลดน้อยลงเท่าไร มูลค่าอสังหาริมทรัพย์ของกองทุนรวมก็จะลดลงไปเรื่อย ๆ จนกว่าครบกำหนดสัญญาเช่า ผู้ถือหน่วยกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ประเภท Lease hold นี้จะมีสิทธิเก็บเกี่ยวผลตอบแทนที่มาจากเงินปันผลเฉพาะในช่วงเวลาที่อยู่ในสัญญาเช่า หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งคือ ในช่วงระยะเวลาที่กองทุนรวมสามารถจัดหาผลประโยชน์จากอสังหาริมทรัพย์นั้นได้เท่านั้น โดยมูลค่า NAV ของกองทุนรวมประเภทนี้จะลดลงเรื่อยๆ ทุกปีจนมีค่าเป็นศูนย์เมื่อเลิกกองทุนรวม (สิ้นสุดสัญญาเช่า)

10.กองทุนรวมตลาดเงิน (money market fund)
กองทุนรวมที่มีนโยบายการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งเงินฝาก ตราสารหนี้ หรือหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินอื่น หรือการหาดอกผลโดยวิธีอื่นตามที่ประกาศคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุน ซึ่งมีกำหนดชำระคืนเมื่อทวงถามหรือจะครบกำหนดชำระคืนหรือมีอายุสัญญาไม่เกินหนึ่งปีนับแต่วันที่ลงทุนในทรัพย์สิน หรือเข้าทำสัญญาเหล่านั้น

49473010018 (นางสาววันวิสา มั่นทัพ)

1.กองทุนรวมคุ้มครองเงินต้น (capital protected fund)

กองทุนรวมที่บริษัทจัดการกองทุนรวมวางแผนการลงทุนเพื่อให้ความคุ้มครองเงินลงทุนของผู้ถือหน่วยลงทุน ทั้งนี้ ตามที่ระบุไว้ในโครงการจัดการกองทุนรวม

2.การครอบงำกิจการผ่านนิติบุคคลอื่น (Chain Principle)

กรณีที่ถือว่าเป็นการเข้าครอบงำกิจการผ่านนิติบุคคลอื่นซึ่งทำให้ต้องทำคำเสนอซื้อ คือ การได้หุ้นหรือมีอำนาจควบคุม > 50% ในนิติบุคคลอื่น รวมถึงการส่งบุคคลเข้าไปเป็นกรรมการในจำนวนที่มีนัยสำคัญ และนิติบุคคลอื่นทุกทอดจนถึงทอดสุดท้ายที่ถือหุ้นในกิจการรวมกับบุคคลตามมาตรา 258 ของนิติบุคคลดังกล่าวถือหุ้นในกิจการ > 25%

3.การถือหุ้นไขว้ (cross holding)

การที่บริษัทตั้งแต่สองบริษัทขึ้นไปถือหุ้นซึ่งกันและกัน วิธีการถือหุ้นไขว้มักจะถูกนำมาใช้เพื่อการเกาะกลุ่มทางธุรกิจ หรือเพื่อสร้างโครงสร้างของกลุ่มบริษัท โดยเฉพาะโครงสร้างในลักษณะของบริษัทโฮลดิ้งที่มีบริษัทหนึ่งทำหน้าที่ควบคุมนโยบายการบริหาร การเงิน การจัดการ ตลอดจนดูแลการถือหุ้นของบริษัทในเครือให้มีบุคคลนอกกลุ่มเข้ามาครอบงำกิจการได้ นอกจากนี้การถือหุ้นไขว้ก็อาจจะเป็นโอกาสและช่องทางให้ฝ่ายบริหารหรือฝ่ายจัดการบริษัทนำมาใช้เพื่อเป็นเครื่องมือในการแสวงหาผลประโยชน์ได้ เช่น นำวิธีการถือหุ้นไขว้มาใช้เพื่อสร้างภาพ สถานะทางการเงินของบริษัทให้ดูดีโดยบิดเบือนจากความเป็นจริง หรือนำมาใช้เพื่อรักษาอำนาจในการควบคุมบริษัทของฝ่ายจัดการเองโดยให้บริษัทในเครือซึ่งตนเป็นผู้ควบคุมอยู่เข้าแย่งการครอบงำกิจการจากการประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้น หรือนำมาใช้เพื่ออำพรางการเป็นเจ้าของบริษัทในเครือ ซึ่งทำให้ยากแก่การตรวจสอบความสัมพันธ์ระหว่างบริษัทในเครือ เป็นต้น โดยคณะกรรมการ ก.ล.ต. ได้กำหนดห้ามมิให้บริษัทที่ขออนุญาตเสนอขายหุ้นของตนเองต่อประชาชน เสนอขายหุ้นของตนเองให้แก่บริษัทในเครือ แต่การห้ามนี้ก็เป็นการห้ามเฉพาะบริษัทมหาชนที่ขออนุญาตเสนอขายหุ้นแก่ประชาชนเท่านั้น ดังนั้น ถ้าเป็นบริษัทจำกัดที่แม้จะมีผู้ถือหุ้นจำนวนมาก หรือบริษัทมหาชนที่ไม่ได้ยื่นคำขออนุญาตเสนอขายหุ้นต่อประชาชนจะไม่ตกอยู่ภายใต้เกณฑ์นี้

4.กองทุนรวมอีทีเอฟ (exchange traded fund : ETF)

กองทุนรวมเปิดที่โดยทั่วไปบริษัทจัดการกองทุนรวมจะขายและรับซื้อคืนหน่วยลงทุนกับผู้ลงทุนรายใหญ่ และจัดให้มีตลาดรอง (organized market) สำหรับการซื้อขายหน่วยลงทุนของผู้ลงทุนใด ๆ โดยบริษัทได้จัดให้มีผู้ลงทุนรายใหญ่อย่างน้อยหนึ่งรายที่พร้อมจะซื้อและขายคืนหน่วยลงทุนเพื่อให้ราคาซื้อขายหน่วยลงทุนในตลาดรองสะท้อนมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวมได้อย่างใกล้เคียง

5.กองทุนรวมตราสารแห่งหนี้ ( fixed income fund)

กองทุนรวมที่มีวัตถุประสงค์ที่จะลงทุนในตราสารแห่งหนี้ เช่น พันธบัตร ตั๋วเงินคลัง บัตรเงินฝาก ตั๋วสัญญาใช้เงิน ตั๋วแลกเงิน หุ้นกู้ เป็นต้น โดยจะไม่ลงทุนในหุ้นหรือใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้น

6.กองทุนรวมหน่วยลงทุน (fund of funds)

กองทุนรวมที่มีนโยบายการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหน่วยลงทุนและใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหน่วยลงทุนของกองทุนรวม โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่าร้อยละ 65 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม เนื่องจากกองทุนรวมมีข้อดีหลายประการ ที่สำคัญคือ มีการกระจายการลงทุน ความเสี่ยงจึงลดลง ทั้งยังมีต้นทุนเฉลี่ยต่ำ กองทุนรวมหน่วยลงทุนจึงรับเอาข้อได้เปรียบดังกล่าวมา นอกจากนั้นแล้ว กองทุนรวมหน่วยลงทุนยังกระจายการลงทุนไปในหลาย กองทุนรวมภายใต้การจัดการของหลายผู้จัดการกองทุนและหลายบริษัทจัดการ จึงเป็นการกระจายความเสี่ยงที่กว้างขวางกว่า ข้อเสียของกองทุนรวมหน่วยลงทุน อยู่ที่มีค่าธรรมเนียมในการจัดการและค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ซ้ำซ้อน

7.กองทุนรวมที่ลงทุนในต่างประเทศ (foreign investment fund : FIF)

กองทุนรวมที่มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเงินที่ได้จากการจำหน่ายหน่วยลงทุนในประเทศไปลงทุนในต่างประเทศ โดยธนาคารแห่งประเทศไทยได้พิจารณาอนุญาตให้มีการนำเงินไปลงทุนในต่างประเทศได้ในวงเงินจำกัดในแต่ละปี ต้องนำเงินไปลงทุนในต่างประเทศทั้งจำนวน เว้นแต่เป็นกรณีเงินฝากในประเทศ เพื่อสำรองเงินไว้สำหรับการดำเนินงานของกองทุน รอการลงทุน หรือรักษาสภาพคล่องของกองทุน เป็นต้น

8.กองทุนรวมที่มีการขายคืนหน่วยลงทุนอัตโนมัติ (flexible automatic redemption fund)

กองทุนรวมซึ่งมีข้อกำหนดระบุว่า บลจ. จะพิจารณาดำเนินการขายคืนหน่วยลงทุนอัตโนมัติตามมูลค่าหน่วยลงทุนที่เพิ่มขึ้นให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุนในสัดส่วนไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ของมูลค่าหน่วยลงทุนที่เพิ่มขึ้น เมื่อมูลค่าหน่วยลงทุนเพิ่มขึ้นมากกว่าร้อยละ 10 จากจุดเริ่มต้น หรือจากจุดที่ บลจ. ได้ทำการขายคืนหน่วยลงทุนอัตโนมัติตามมูลค่าหน่วยลงทุนที่เพิ่มขึ้นครั้งล่าสุด เว้นแต่ในกรณีที่ บลจ. พิจารณาเห็นว่าการขายคืนหน่วยลงทุนอัตโนมัติตามมูลค่าหน่วยลงทุนที่เพิ่มขึ้น อาจทำให้ผู้ถือหน่วยลงทุนไม่ได้รับผลตอบแทนอย่างเต็มที่ หรือเว้นแต่ผู้ลงทุนจะแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษรถึงความประสงค์ที่จะไม่ให้ บลจ. ทำการขายคืนหน่วยลงทุนอัตโนมัติ ลักษณะเด่นของกองทุนคือ ผู้ลงทุนจะได้รับเงินกำไรคืนโดยวิธีขายคืนอัตโนมัติร้อยละ 5 ทุกครั้งที่กองทุนมีผลตอบแทนร้อยละ 10 ผู้ลงทุนบุคคลธรรมดาจะได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีอย่างเต็มที่คือ ไม่ต้องเสียภาษีเงินได้ หรือภาษีหัก ณ ที่จ่ายจากผลตอบแทนที่ได้รับ และมีสภาพคล่อง โดยสามารถซื้อ-ขายได้ทุกวันทำการ

9.กองทุนรวมมีประกัน (guaranteed fund)

กองทุนรวมมีประกัน คือ กองทุนรวมที่บริษัทจัดการกองทุนรวมจัดให้มีบุคคลอื่นประกันว่าหากผู้ถือหน่วยลงทุนได้ถือหน่วยลงทุนจนครอบตามระยะเวลาที่กำหนด ผู้ถือหน่วยลงทุนจะได้รับชำระเงินลงทุน หรือเงินลงทุนและผลตอบแทน จากการไถ่ถอนหรือการขายคืนหน่วยลงทุน แล้วแต่กรณี ตามจำนวนเงินที่ประกันไว้

10.กรรมการอิสระ (Independent Director)

กรรมการบริษัทจดทะเบียนที่มีความเป็นอิสระจากผู้ถือหุ้นใหญ่หรือกลุ่มของผู้ถือหุ้นใหญ่และผู้บริหารของบริษัทนั้น กรรมการอิสระต้องมีคุณสมบัติครบถ้วนตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการ ก.ล.ต. กำหนด กล่าวคือ ถือหุ้นในบริษัทจดทะเบียนดังกล่าวไม่เกิน 0.05% ต้องไม่เป็นกรรมการที่เป็นผู้บริหาร ไม่เป็นลูกจ้างหรือพนักงาน หรือที่ปรึกษาที่ได้รับผลตอบแทนประจำจากบริษัทไม่มีความสัมพันธ์ทางสายโลหิต ไม่มีความสัมพันธ์ทางธุรกิจกับบริษัทอันอาจเป็นการขัดขวางการใช้วิจารณญาณอย่างอิสระ คณะกรรมการ ก.ล.ต. กำหนดให้บริษัทจดทะเบียนแต่ละแห่งต้องมีกรรมการอิสระอย่างน้อย 3 คน

โห ขอบคุณมากนะครับ กำลังเรียนอยู่เลย ขอเซฟเวปเพจเลยนะครับ สุดยอดจริง ๆ

สงไสมะมีคนยุแล้วแน่เรย :(

ขออนุญาตถามความหมายของคำว่า capital subscription ค่ะ ขอบคุณค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท