เล่าเรื่อง...มาตรฐานบริการสาธารณสุข (ตอนที่2)


คุณภาพ (Quality) หมายถึง ลักษณะที่มีอยู่ในสิ่งต่างๆที่สามารถเร้าให้คนทั้งหลายเกิดความรู้สึกได้ 3 ประการ คือ รู้สึกยอมรับ...รู้สึกอยากได้ในขณะที่มีทางเลือก...และรู้สึกชื่นชมเมื่อได้รับสิ่งนั้น

          มาตามสัญญาค่ะ...หลังจากที่ได้เกริ่นนำ  เล่าเรื่อง...มาตรฐานบริการสาธารณสุข (ตอนที่ 1) เอาไว้  สืบเนื่องจากการจัดอบรมเรื่องการประกันคุณภาพและการบริหารระบบคุณภาพด้วยมาตรฐานบริการสาธารณสุข ไปเมื่อวันที่ 27-28 พฤษภาคม 2551

   โดยมี น.พ.อุดมศักดิ์ บุญส่งทรัพย์ เป็นวิทยากรบรรยาย     

 ...วันนี้จะเล่าความเป็นมาของ มาตรฐานบริการสาธารณสุข...ให้รู้จักกันค่ะ
           

       มาตรฐานบริการสาธารณสุข กำหนดขึ้นโดยกระทรวงสาธารณสุข ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 มาตรา 52 และมาตรา 82 เพื่อพิทักษ์และคุ้มครองสิทธิประชาชนตามรัฐธรรมนูญ ในการได้รับบริการทางการแพทย์และสาธารณสุขที่มีคุณภาพได้มาตรฐาน  ซึ่งได้กำหนดมาตรฐานบริการสาธารณสุข มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2548 และได้มีการแก้ไข ปรับปรุงให้ทันสมัยเป็นระยะจนเป็นฉบับปัจจุบัน คือ  “มาตรฐานบริการสาธารณสุข ฉบับเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา พุทธศักราช 2550” เพื่อร่วมเฉลิมพระเกียรติ ในโอกาสมหามงคล เฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550 <table style="height: 124px;" border="0" width="383"><tbody><tr>

ต้นฉบับเป็นเล่มสีม่วง...ส่วนผู้ที่เข้าอบรมของจังหวัดชุมพร เมื่อวันที่ 27-28 พฤษภาคม 2551 นั้น จะได้รับเป็นเล่มถ่ายสำเนาหน้าปกสีชมพู...จะเรียกว่าชมพูม่วงก็ได้ค่ะ
                                    

</tr></tbody></table>       มาตรฐานบริการสาธารณสุข กำหนดขึ้นเพื่อเป็นหลักประกันให้มั่นใจได้ว่า สิ่งส่งมอบหรือบริการ ที่ประชาชน ชุมชน และสังคม จะได้รับ จะต้องมีอะไรบ้าง และมีคุณภาพดีอย่างไร เพื่อให้เกิดความผาสุก มีสุขภาวะดีของประชาชนและสาธารณชนทั้งประเทศ…เป็นมาตรฐานผลลัพธ์ ที่กำหนดขึ้นจากมุมมองของลูกค้า…คือ ประชาชน

       มาตรฐานบริการสาธารณสุข จะกล่าวถึง สิ่งส่งมอบหรือบริการ  ซึ่งจะต้องมีลักษณะที่ดี  ที่เป็นคุณภาพ ...ที่ประชาชนผู้รับบริการจะต้องได้รับ สิ่งส่งมอบหรือบริการนี้ มีองค์ประกอบหลักอยู่ 3 ส่วน คือ...1) สิ่งของที่ส่งมอบให้ผู้รับบริการไป ...2) สิ่งของ และ/หรือสถานที่ ที่ให้ผู้รับบริการใช้  ...และ 3) ผลงานที่กระทำให้แก่ผู้รับบริการ...ซึ่ง มาตรฐานบริการสาธารณสุข ได้กำหนดสิ่งส่งมอบหรือบริการ และลักษณะที่พึงประงค์ ที่เรียกได้ว่า...เป็นคุณภาพ ซึ่งจะต้องส่งมอบให้ประชาชนผู้รับบริการ ชุมชน และสังคม เพื่อตอบสนองความต้องการบริการทางสาธารณสุข โดยแจกแจงองค์ประกอบสิ่งส่งมอบทั้ง 3 ส่วนเป็น 10 กลุ่ม ดังนี้...
      1. ผลการตรวจ
      2. ผลการวินิจฉัยเบื้องต้นและ/หรือข้อสันนิษฐาน
      3. ความเห็นและคำแนะนำ
      4. การฝึกทักษะที่สำคัญและจำเป็นให้
      5. การเฝ้าระวังดูแล ขณะอยู่ในพื้นที่ ขณะเคลื่อนย้าย และขณะส่งต่อ
      6. บริการยา วัคซีน เวชภัณฑ์ หรือผลิตภัณฑ์ ที่ส่งมองให้ผู้รับบริการไป
      7. หัตถการที่กระทำต่อร่างกายผู้รับบริการ
      8. ผลงานอื่นที่ดำเนินการให้ (ซึ่งไม่ใช่หัตถการ)
      9. สิ่งของและสถานที่ ที่จัดไว้ให้ผู้รับบริการใช้ หรือใช้กับผู้รับบริการ
      10. ผลงานและสิ่งส่งมอบที่มีผลกระทบต่อชุมชนและสังคม


       มาตรฐานบริการสาธารณสุข ...แบ่งเป็น 2 หมวด คือ หมวดที่ 1 มาตรฐานบริการสาธารณสุขชุมชน และ หมวดที่ 2 มาตรฐานบริการสาธารณสุขของโรงพยาบาล....ศึกษารายละเอียดได้จากมาตรฐานฯเล่มสีม่วง หรือ เล่มชมพูม่วง หรือเข้าไปที่ http://www.phdb.moph.go.th หรือสอบถามที่ [email protected]

      สิ่งที่ประชาชนควรทราบ...เกี่ยวกับบริการสาธารณสุข----> คนที่เจ็บไข้ได้ป่วย...จะทุเลาหรือหายได้ก็ต่อเมื่อ
       ---> ต้องได้ "รู้" ว่า...ตรวจพบอะไร...วัดได้เท่าไหร่...เป็นอย่างไร...ทำอย่างไรจึงจะดีที่สุด...ถ้าไม่รู้เรื่อง...หายยาก
       ---> ต้อง "ทำ" อะไรบางอย่างให้ถูกต้อง...บางอย่างหมอหรือพยาบาลทำให้แล้ว...บางอย่างหมอจะบอกให้ผู้ป่วยหรือญาติทำ...ถ้าทำไม่ได้ ไม่ถูกวิธี...หายยาก
       ---> ต้อง "ได้ยาหรือสิ่งของ" ที่ถูกเรื่อง อย่างครบถ้วน...ถ้าเป็นยา ต้องได้ความรู้คู่ยากลับไปด้วย...ถ้าใช้ยาไม่รู้เรื่อง...อันตราย

       ...สรุปว่า  สิ่งส่งมอบหรือบริการที่ให้แก่ผู้รับบริการ ทั้ง 10 กลุ่มนั้น...จะต้องมีคุณภาพ และได้มาตรฐาน...คุณภาพ (Quality)  หมายถึง  ลักษณะที่มีอยู่ในสิ่งต่างๆที่สามารถเร้าให้คนทั้งหลายเกิดความรู้สึกได้ 3 ประการ คือ รู้สึกยอมรับ...รู้สึกอยากได้ในขณะที่มีทางเลือก...และรู้สึกชื่นชมเมื่อได้รับสิ่งนั้น     

       สิ่งส่งมอบ หรือ บริการที่มีคุณภาพ ได้มาตรฐาน  จะทำได้อย่างไรนั้น... โปรดติดตามตอนต่อไปนะคะ...

หมายเลขบันทึก: 187355เขียนเมื่อ 10 มิถุนายน 2008 18:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:09 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

ผมคิดว่าจิตสำนึกของผู้ให้บริการสำคัญที่สุดต่อมาตรฐาน

ตามประสบการณ์ นะครับ ถ้าเรามีบุคลากรที่มีจิตสำนึกในการให้บริการ หรือการทำงาน มากๆ แล้ว องค์กร นั้น งาน วิ่งฉิวเลยแหละ

ส่วน การจัดการ/เงิน/ เป็นแค่ น้ำหล่อเลี้ยง หัวใจ ครับ

  • สวัสดีค่ะ...น้องฮอสP
  • ขอบคุณน้องฮอส...ที่ช่วยอำนวยความสะดวกให้ผู้สนใจได้เข้าไปศึกษารายละเอียดมาตรฐานบริการสาธารณสุข
  • ขอบคุณอีกครั้งที่ติดตามอ่าน...กำลังใจ
  • เอ...แล้วสมาชิก HTDMชุมพร..เค้าหายไปไหนกันน๊า...คิดถึงจัง...หรือว่าหากันไม่เจออีกแล้ว...

  • สวัสดีค่ะ...คุณธวัชชัย P
  • คิดเหมือนกันเลยค่ะ...จะทำอะไรดีๆนั้นสำคัญที่ใจ..ว่าพร้อมแค่ไหน..จริงใจรึปล่าว...ใครก็บังคับไม่ได้นอกจากใจของเราเอง...หากตั้งใจจริงแล้วอย่างอื่นก็ไม่ใช่เงื่อนไขสำคัญ
  • ขอบคุณนะค่ะที่แวะมาทักทาย
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท