ประกาย~natachoei ที่~natadee
นาง ประกาย ประกาย~natachoei ที่~natadee พิทักษ์

5.เชื้อดื้อยาในโรงพยาบาลยากที่จะควบคุม


ป้องกันและควบคุมเชื้อดื้อยา

           วันนี้ขอเปลี่ยนรูปนะคะ คนเดิม พี่แก้วทักว่ารูปเป็นผู้ใหญ่และดุเคร่งเครียดมากเกินไป           ขอเล่าเรื่องใหม่ก่อนนะคะ เรื่อง AEFI ตอนที่ 3   ขอผลัดไว้ก่อน ขอเป็นเชื้อดื้อยาที่ยากจะควบคุม

           วันที่ 28 พฤษภาคม 2551 ได้ร่วมกับคณะกรรมการ IC ของแผนกการพยาบาลอายุรกรรม    จัดโครงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการดูแลผู้ป่วย   มีพยาบาลเข้าร่วมประมาณ 51 คน ที่ห้องประชุมหอผู้ป่วย 4 ค  โดยมีรศ.ภิรุญ มุสิกพันธ์ เป็นวิทยากร          เรื่อง เชื้อดื้อยา การวินิจฉัยเชื้อดื้อยา   แนวทางการรักษา การป้องกันและควบคุม  ซึ่งหลังจากที่ได้ฟังบรรยายจากอาจารย์แล้ว  ผู้เข้าร่วมโครงการ ได้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้           ว่าจะทำอย่างไร  จึงจะทำให้การติดเชื้อดื้อยาในหอผู้ปวยแผนกอายุรกรรมลดลง             การดูแลผู้ป่วยให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น 

          ข้าพเจ้าทำหน้าที่เป็นคุณอำนวย น้องสุมาลี  วิชาผา  เป็นคุณลิขิต   เป็นครั้งแรกของทีมกรมมการ IC แผนกอายุรกรรมที่จัดKM  และเป็นครั้งแรกของข้าเจ้าเช่นกันที่ทำหน้าที่เป็นคุณอำนวยเต็มรูปแบบ   บรรยากาสวันนั้นเต็มไปด้วยความอบอุ่น เพราะว่าครั้งแรกทีมเราคาดว่าจะมีผู้ร่วมประมาณ 20 เท่านั้น แต่วันนั้นมี  51 คน

         ท่านประธานกล่าวเปิดงาน อาจารย์ทองสมัย ยุรชัย  กล่าวเปิดงานและฝากความหวังว่า กลุ่ม KM นี้จะดำเนินงานให้บรรลุวัตถุประสงค์ ซึ่งโครงการนี้ได้ตั้งวัตถุประสงค์ไว้ดังนี้

วัตถุประสงค์

1.  เพื่อให้ได้แนวทางการดูแลผู้ป่วย MRSA , MDR  ที่เป็นแนวทางเดียวกันในแผนกอายุรกรรม

2.  พยาบาล ICWN  สามารถวินิจฉัยการติดเชื้อ MRSA, MDR  ได้อย่างถูกต้อง

3.  เพื่อลดอุบัติการณ์การติดเชื้อดื้อยาในหอผู้ป่วยอายุรกรรม

 

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.  ประสิทธิภาพการเฝ้าระวังเชื้อดื้อยาของแผนกการพยาบาลอายุรกรรม  100%

2.  มีการเฝ้าระวังการแพร่กระจายเชื้อดื้อยาอย่างมีประสิทธิภาพ  

3.  หอผู้ป่วยแผนกอายุรกรรมมีแนวทางการดูแลและการป้องกันเชื้อดื้อยาเป็นแนวทางเดียวกัน

ดัชนีชี้วัด

1.  อัตราการติดเชื้อดื้อยา  ในแต่ละหอผู้ป่วย  ลดลงร้อยละ  50%

2.  สามารถวินิจฉัยเชื้อดื้อยาได้ถูกต้อง  100

 

ข้อสรุปที่ได้จากการทำ KM ในวันแรกก็คือ

 

 1. การเกิดดื้อยามาจากบุคลากรเป็นสื่อหรือพาหะ นำจากผู้ป่วยคนที่ 1 ไปให้ผู้ป่วย คนที่ 2  และคนต่อ ๆ ไป     ทำอย่างไรจึงจะตัดวงจรได้   ต้องเน้นเรื่องการล้างมือของบุคลากรให้มีประสิทธิภาพ โดย ระยะเวลาในการล้างมือต้องพอเพียง อย่างน้อย 30 วินาที  ล้างอย่างถูกวิธีให้ครบขั้นตอน  แต่หอผู้ป่วยมืออ่างล้างมือ น้อย  ให้เพิ่มเป็นการล้างมือ   โดยไม่ใช้น้ำ (Waterless)  และให้มีการส่งเสริมการล้างมือ  จัดหาอุปกรณ์ให้มีเพียงพอ   ปฐมนิเทศนักศึกษาก่อน         การปฏิบัติงานทุกกลุ่ม

2.  เชื้อดื้อจะอยู่ในสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะเตียง ผ้าปูที่นอน พบได้มากร้อยละ 41 รองลงมาเสื้อผ้าร้อยละ 40.5    ไม่ควรนำประวัติมาวางที่เตียง และควรจะมีการทำความสะอาดเตียงให้มีประสิทธิภาพ 

3.  ควรจะมีการสื่อสารให้ทีมสุขภาพทราบว่าผู้ป่วยเตียงใดติดเชื้อดื้อยา และส่งต่อด้วยเมื่อมีการย้ายหอผู้ป่วย

4. การทำความสะอาด เช็ดตัวผู้ป่วย ควรจะมีการทำความสะอาดรูจมุกผู้ป่วยด้วยทุกครั้ง เพราะแหล่งรังโรคของเชื้อดื้อยา MRSA พบได้ในโพรงจมุก

5. พยาบาลใส่เสื้อคลุม ถุงมือ ให้ใช้เฉพาะรายและควรถอดในห้องผู้ป่วยทันที

 

นัดประชุมและทำกลุ่ม จะแจ้งให้ทราบอีกครั้ง และขอให้ช่วยร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน        นะคะ CoP  การเพิ่มประสิทธิภาพป้องกันและควบคุมเชื้อดื้อยาของแผนกMed กำลังรอท่านอยู่นะคะ

 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 187173เขียนเมื่อ 9 มิถุนายน 2008 23:13 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 00:56 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (9)

น้องไก่

ภาพสวยขึ้นค่ะ ดูผ่อนคลาย การเขียน เราสามารถเข้าไปแก้คำผิดได้

ถ้าจะเขียนให้น่าสนใจมากขึ้น ลองเล่าดูว่า KM แล้ว เราจะนำความรู้ที่ได้มาจัดทำเป็นคลังความรู้ต่ออย่างไร ให้อ่านง่าย น่าสนใจและนำไปใช้ได้จริงค่ะ

พี่แก้ว คะ ขอบคุณมากคะ ที่ให้ลังใจ

กว่าจะหารูปมาลงได้นะคะ ไก่มีแต่รูปหมู่และรูปเป็นวิทยากรส่วนมาก รูปนี้ได้จากการไปสัมมนา ICWN ที่ฟ้าดาวรีสอร์ท จังหวัดเลย วันที่ 1-2 กพ.2551 มีรูปน้อง ICWN แต่ละรูปน่ารักมาก กำลังฝึกการนำภาพลง blog

สวัสดีคคะ คุณประจักษ์ ขอบคุณคะภาพสวย ๆ ช่วยแนะนำวิธีทำด้วยนะคะ จะรอ

อยากทราบข้อมูลใหม่ๆเกี่ยวกับเชื้อดื้อยาค่ะ

สวัสดีค่ะ

โอ้โหดีมากๆเลยค่ะ

จะแนะนำให้น้องๆที่ตึกมาอ่าน

เชื่อดื้อยาน่ากลัว...เห็นด้วยค่ะการล้างมือจะลดการติดเชื้อ...

3งมีเด็กที่ low imune ได้ยาเดียวฆ่าเชื้อราขวดละหมื่น...

และมีการใช้ยา vanco tienam...มาก

วันหลังเรียนเชิญมา KM นะคะ การลดการติดเชื้อในเด็ก ที่ได้เคมีบำบัด

น่าจะมีเรื่องปรึกษาเยอะแยะ

การพบเชื้อตามผ้าปู...น่ากลัว

ไม่มีรูป 4. poo [IP: 118.173.149.252]
สวัสดีคะคุณปู

ข้อมูลที่ Update เกี่ยวกับเชื้อดื้อยา

  • คำถามนี้กว้างนะคะ
  • ช่วยกรุณาบอกขอบเขตหรือส่วนที่ต้องการทราบได้ไหมคะ เช่น ความไวของยา การรักษา เชื้อก่อโรค การป้องกัน การติดต่อ การเพาะเชื้อ จะได้ให้ข้อมูลได้ถูกนะคะ
  • ลองไปที่เวปไซด์ของสมาคมโรคติดเชื้อนะคะ จะมีข้อมูลเกี่ยวกับเชื้อดื้อยามากคะ และศูนย์เฝ้าระวังเชื้อดื้อยาแห่งชาติคะ

P 5. แดง
สวัสดีคะน้องแดง

ยินดีนะคะ นัดมาได้เลยคะ จะได้ช่วยกันคะ

-อยากทราบว่าจำเป็นต้องทำที่กั้นเพื่อแยกผู้ป่วยดื้อยามั๊ยคะ (หมายถึงทำแผงกั้นน่ะค่ะ)หรือว่าแค่แยกโซนก็พอ แล้วต้องแยกขยะติดเชื้อไว้ที่เตียงผู้ป่วยมั๊ยคะ

-อยากทราบขั้นตอนการดูแลผู้ป่วย MDR ทั้งระบบน่ะค่ะส่วนใหญ่พบเชื้อที่เสมหะและแผลค่ะ

-อยากทราบ Flow chart ด้วยค่ะ

สวัสดีคะคุณใหม่

ไม่จำเป็นต้องทำที่กั้นผู้ป่วยที่ติดเชื้อดื้อยานะคะ

ถ้ามีห้องแยกอยู่ให้อยู่ห้องแยก ถ้าไม่มีก็ให้อยู่แบบแยกโซนได้คะ

ขยะติดเชื้อไม่ควรอยู่ที่เตียงผู้ป่วย ถ้าจะทำกิจกรรมทำแผลให้ใส่ถุงพลาสติกแล้วค่อยนำไปทิ้งที่ขยะติดเชื้อ หรือนำถีงขยะติดเชื้อมาแล้วเมื่อทิ้งแล้วนำกลับไปไว้ที่ห้องเก็บถังขยะนะคะ

ขั้นตอนการดูแลผู้ป่วยติดเชื้อดื้อยา

จะต้องแจ้งทีมให้การดูแลทราบนะคะ ติดป้ายแจ้งเตือนคะ

ใช้วิธีป้องกันแบบ contact precautions คะ

เน้นใฝนเรื่องการล้างมือ ใส่เสื้อคลุมขณะให้การพยาบาล ที่คาดว่าจะสัมผัสารคัดหลั่งคะ เส้อคลุมใช้เฉพาะราย และไม่นำกลับมาใช้ซ้าอีกคะ

แยกของใช้นะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท