จิตตปัญญาเวชศึกษา 63: อภิชาตศิษย์


อภิชาตศิษย์

มีสาเหตุบางประการที่ทำให้ผมมีความเชื่อว่า คน generation ใหม่นั้นเกิดมาเพื่อที่จะแข็งแรงขึ้น ฉลาดขึ้น และสมบูรณ์ขึ้น ในเงื่อนไขคือมิฉะนั้นจะไม่สามารถ handle การเปลี่ยนแปลงรุดหน้าของสิ่งแวดล้อมในนิเวศได้ การเปลี่ยนแปลงในนิเวศ หลายๆอย่างเป็นไปอย่างก้าวหน้า อย่างรวดเร็วก็จริง แต่​ "อัตราความเร็ว" เป็นองค์ประกอบที่เป็น hostile environment ได้พอๆกับความสะดวกสบายและประโยชน์ต่างๆ

การสอนที่ยังไงๆ นักเรียนไม่มีทางเก่งเท่า หรือเก่งกว่าครูนั้น จะเป็นการจำกัดศักยภาพที่ว่า (หากสมมติฐานเป็นจริง ซึ่งจริงไม่จริง ก็ไม่ทราบเช่นกัน) และมองในระดับ bird-eye view จะยิ่งทำให้เกิดผลลบ เพราะจะทำให้นักเรียนไม่สามารถ cope กับ hostile environment ที่เกิดขึ้นไม่ว่าเขาจะพร้อมหรือไม่ก็ตาม บางครั้งอาจจะเป็นระดับ immoral หรือปราศจากคุณธรรมของครูทีเดียว ถ้าหากครูไม่ตั้งใจจะสอนให้เกิด "อภิชาตศิษย์" หรือนักเรียนที่ดีเกินอาจารย์ อันเป็น mission เพื่อมนุษยชาติ (mankind) ที่จะธำรงรักษา species นี้ต่อไปอย่างประสบความสำเร็จ จะว่าไป ด้วยตรรกะนี้ หน้าที่ของพ่อแม่ก็น่าจะเป็นสั่งสอนเลี้ยงดูลูกให้เป็น "อภิชาตบุตร" ด้วย

ผมทำปริญญาเอกด้านภูมิคุ้มกันวิทยาการปลูกถ่ายอวัยวะ (transplantation immunology) ที่เมืองบริสตอล สหราชอาณาจักร ได้สังเกตและพบเห็นสิ่งหนึ่งก็คือ ความรู้ (knowledge) นั้นเคลื่อนไหวตลอดเวลา และสิ่งที่เรียกว่า fact หรือข้อเท็จจริงนั้น ไม่ใช่สัจธรรมเลย เป็นอะไรที่ไหวเลื่อนเคลื่อนที่อยู่ตลอดเวลา แต่การเรียนปริญญาเอกนั้น สิ่งที่ผมได้ก็คือ "วิธีคิด" มากกว่าเรื่องของ contents ว่าวงการนี้เชื่ออะไร ไปถึงไหน แล้วก็เป็นอย่างที่ว่าก็คือ ความรู้ที่ review มาตลอด 4-5 ปีนั้น มีการเปลี่ยนแปลงรวดเร็วมาก วงการ immunology และ genetic จะเห็นการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญเกือบทุกๆ 6 เดือนเลยทีเดียว ถ้าเราจะสอนความรู้ที่เรา "กำลังรู้" อยู่ ณ ปัจจุบัน นักเรียน Ph.D. ยังไม่ทันเรียนจบเลย ทุกสิ่งทุกอย่างที่เคยคิดว่าถูกก็เปลี่ยนไปอีกแล้ว

ดังนั้นสอนความรู้ที่เราคิดว่า "จริง" ตอนนี้ คุณค่าของมันอาจจะไม่ยั่งยืนยาวนานเท่าไร แต่ถ้าเราหันมาสอนว่า "ทำไมเราถึงคิดว่าจริง" หรือ "ทำไมโลกตอนนี้ถึงเชื่อแบบนี้" แทน รากฐานที่มาของการเชื่อ ของขั้นตอนการคิด การใคร่ครวญ ไตร่ตรอง จะเป็นเครื่องมือที่จะถูกใช้แล้วใช้อีกในอนาคต

นักเรียนแพทย์ของผมนั้น ตั้งใจสอบเข้ามาเรียน มีเจตจำนง มีอะไรมาก่อนทั้งนั้น ต่อมาสิ่งแวดล้อมก็ค่อยๆหล่อหลอมเขาออกไปอย่างที่เขารับรู้ ในส่วนหนึ่ง (หรือส่วนใหญ่?) เราหลีกเลี่ยงความรับผิดชอบไม่ได้ในสิ่งที่เขากลายเป็น ได้รับ หรือเรียนรู้ เพราะเราเป็น "สิ่งแวดล้อมหลัก" ในนิเวศที่เขาใช้เวลา 6 ปีกับเรา (คิดเป็น 1 ใน 3 หรือ 1 ใน 4 ของชีวิตทั้งหมด ซึ่งไม่น้อยเลย) ผมไม่ค่อยเชื่อในเรื่องการ screen คัดเลือกเด็กที่เรียนได้มาสอนเท่าไรนัก แต่ผมเชื่อเรื่องเจตจำนง ความมุ่งมั่น และศักยภาพที่ "ทุกคน" มีอยู่ในตัวเอง และเชื่อในเรื่อง "unconditional love" ที่จะเป็นตัวหล่อเลี้ยงนักเรียนของเราให้ถึงที่ที่เขาสามารถจะเป็นได้

เมื่อวันศุกร์ที่แล้ว ผมคุมกิจกรรมกลุ่มนำเสนอกรณีศึกษา "การสร้างเสริมสุขภาพ" ของ นศพ.ปี 4 ของภาควิชาศัลยศาสตร์ (เป็นภาคเดียวที่ทำตอนปี 4 ที่เหลือเขาจะไปทำตอนปี 5) ก็พบ "evidence" อะไรบางอย่างที่สนับสนุนทฤษฎีที่ว่านี้

กรณีศึกษา case ที่หนึ่ง 

นศพ.จัดเวทีหน้าห้องเป็นแบบ talk show มี host นั่งสองข้าง แล้วเชิญแขกรับเชิญมาสองคน คนหนึ่งเป็นคนไข้ที่รับอุบัติเหตุมอเตอร์ไซด์ชน และอีกคนเป็นหมอที่ให้การดูแล คนไข้เป็นผู้หญิงสาว อายุไม่มาก ได้รับอุบัติเหตุขี้จักรยานยนต์ชนเฉี่ยวกับรถเครน เนื้อที่ขาอ่อนหลุดไปชิ้่นใหญ่ ต้องเอาเนื้อที่ขาอีกข้างมาปะ แทนที่จะ present case แบบ classic คือ ผู้ป่วยหญิงไทยโสด อายุ 18 ปี อาชีพ.... ฯลฯ ก็ให้ นศพ.ที่แสดงเป็นคนไข้เล่าเรื่องราวเหตุการณ์มาแทน (กลุ่มนี้ถ่ายทำ video จำลองเหตุการณ์ด้วย แล้วถ่ายขึ้นจอ ประกอบเสียงคนเล่า) ทำให้เรานึกภาพออกแบบหนัง reality show ในทีวีเลย

มีการเก็บรายละเอียดของความคิดและความรู้สึกของคนไข้มาเล่า อาทิ น้องสาวคนไข้ก็เกิดอุบัติเหตุหลายครั้ง แต่รอดมาได้ทุกที ไม่เคยเป็นอะไร สงสัยจะเป็นกรรมเก่าอะไรสักอย่างนึง หรือตอนนี้ตนเองกำลังมีเคราะห์อยู่ คนไข้ค่อนข้างจะ concern เรื่องการเอาเนื้อจากขาอีกข้างมาปะ เพราะขาอีกข้างที่ดีนั้น เขาสักเป็นรูปสวยงามเอาไว้ ถ้าต้องตัดเนื้อมาใช้ รูปที่สักไว้ก็จะเสียโฉมไปได้ นอกจากนี้ยังกังวลเรื่องว่าจะใส่ขาสั้นได้อีกไหม เพราะเป็นคนชอบใส่ขาสั้น มีความภาคภูมิใจในรูปร่างของขาของตนเอง

ผลแห่งการสัมภาษณ์ ทำให้กลุ่ม นศพ. เข้าใจในมิติความทุกข์ ความหวัง และคุณค่าของชีวิตของคนไข้ในมุมมองของเขา ไม่ใช่ของเรา สามารถวิเคราะห์วิจารณ์ระบบความคิดและความเชื่อ นำมาประกอบการให้การแนะนำในภายหลัง เป็นการดูแล holistic ที่เกิด empowerment จากตัวตนของคนไข้เอง

กรณีศึกษา case ที่สอง 

กลุ่มนี้นำเสนอโดยการฉายสารคดีสั้นเกี่ยวกับสถารการณ์ความไม่สงบในพื้นที่สามจังหวัดภาคใต้ มีการนำเอาภาพข่าวของ casualties ทั้งของทหารและประชาชนมาทำเป็น slide ฉายให้ดูประกอบการบรรยายที่มีการเขียน script ไว้อย่างดี

ระยะเวลา 6 ปีที่ผ่านมา สถานการณ์ความไม่สงบภายในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้ทำให้เกิดความเสียหายทั้งในเรื่องของชีวิตและทรัพย์สินอย่างมาก ประชาชนที่อาศัยอยู่ภายในท้องถิ่นและละแวกใกล้เคียง ล้วนแล้วแต่ดำเนินชีวิตประจำวันด่้วยความหวาดระแวง เจ้าหน้าที่ของรัฐและทหารตำรวจได้เข้าไปปฏิบัติงานในพื้นที่ และะได้บาดเจ็บล้มตายเป็นจำนวนมาก หากมาย้อนคิดดู จะมีสักกี่คนที่จะเข้าใจถึงสภาพจิตใจของทหารและตำรวจเหล่านั้น

.......... นาวิกโยธินผู้หนึ่ง ซึ่งแต่เดิมใช้ชีวิตอย่างมีความสุขกับครอบครัว ในพื้นที่จังหวัดชลบุรี ซึ่งในช่วงนั้น นอกจากการปฏิบัติงานประจำทุกวันแล้ว ยังต้องเตรียมสภาพร่างกายให้่พร้อมสำหรับการไปปฏิบัติหน้าที่ยามที่ชาติต้องการ เมื่อสถานการณ์ความไม่สงบภายใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ทวีความรุนแรงมากขึ้น ทำให้เขาต้องไปประจำการในพื้นที่อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี ซึ่งเป็นบริเวณใกล้เคียงกับพื้นที่สีแดง จากความพร้อมทั้งสภาพร่างกายและจิตใจก่อนที่จะมารับหน้าที่ในครั้งนี้ ทำให้เขามีสภาพร่างกายและจิตใจที่ดี พร้อมด้วยกำลังใจจากทางครอบครัวที่ดี ซึ่งเข้าใจถึงความจำเป็นในการไปปฏิบัติงานมาโดยตลอด พร้อมทั้งตระหนักอยู่เสมอว่าภารกิจดำงกล่าวมีความเสี่ยงต่อชีวิต

หลังจากที่เขาประสบอุบัติเหตุระเบิด ซึ่งคนร้ายได้ซุกซ่อนไว้ภายในรถจักรยานยนต์ใกล้บริเวณที่กำลังพลได้ทำการสำรวจพื้นที่อยู่นั้น ทำให้มีกำลังพลได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิต และจากเหตุการณ์ครั้งนี้ทำให้่เขาได้รับบาดเจ็บบริเวณกระดูกสันหลังระดับกลางหลัง (thoracic level 4) ซึ่งส่งผลให้ผู้ป่วยเป็นอัมพาตครึ่งล่างของร่างกาย ไม่สามารถเคลื่อนไหวได้ตามเดิม.....

นักศึกษากลุ่มนี้ได้ไปสัมภาษณ์ทหารนาวิโยธินท่านนี้ รวมทั้งภรรยาของท่าน ได้ทราบว่าท่านมีความรู้สึกเสียใจ และท้อใจในตอนแรก แต่ต่อมาท่านก็บอกว่ายังต้องการกลับไปทำหน้าที่ที่พื้นที่เดิม และถ้าทำไม่ได้เหมือนเดิมก็ยังอยากจะไปทำหน้าที่เป็นครูฝึกสอน หรือให้ข้อมูลแก่คนที่จะไปทำงานที่นั่นต่อไป ภรรยาก็มีความเข้าใจ และเป็นคนให้กำลังใจที่สำคัญ หลังจากนำเสนอ case เสร็จ ผมก็เชิญให้คนในกลุ่มและเพื่อนๆลองสะท้อนสิ่งที่พึ่งได้ยินได้ฟังไป

สิ่งที่นักเรียนสะท้อนออกมา ต้องเรียกว่า blow my mind away สุดยอดจริงๆ

  • ตอนแรกพวกหนูก็ว่าจะไปช่วย empower (เสริมพลัง กำลังใจ) เขาค่ะ แต่พอเขาพูดออกมาว่ารู้สึกยังไง ก็คิดว่าเขาไม่ได้้เป็นฝ่ายต้องการความช่วยเหลือซะแล้ว เพราะเขามีความเชื่อในสิ่งที่เขาทำไปว่าถูกต้อง อันนี้เป็นจิตวิญญาณในการทำงาน
  • ผมว่าการไปสัมภาษณ์เขา เป็นการ empower พวกผมเองมากกว่า ทำให้เรามีความรัก และความเข้าใจในงานที่เราทำมากขึ้น การเสียสละ ทำงานหนักของเรา ไม่ได้หนักหนาไปกว่าสิ่งที่คนไข้เผชิญเลย แต่เขาก็ไม่ได้ปริปากบ่นอะไร กลับภาคภูมิใจในงานของเขาเสียอีก
  • เคยอ่านเจอเรื่องการเสียสละแบบนี้ ไม่นึกว่าจะได้มาเจอเรื่องราวจริงๆ เป็นคนไข้ของตัวเองด้วย รู้สึกงานที่ทำมีความหมายมากขึ้นเยอะเลย แม้ว่าเราจะไม่ได้ออกไปด่านหน้าด้วยตัวเอง แต่ก็มีส่วนช่วยดูแลรักษาทหารเหล่านี้
  • case นี้น่าประทับใจมากค่ะ แต่หนูคิดว่า ถ้าเราเจอ case อื่นๆ ที่เขาอาจจะกลัว อาจจะไม่อยากอยู่ อาจจะย้ายหนี เราก็ควรจะเข้าใจในความคิด ความรู้สึกของเขา โดยไม่ตั้งมั่นว่าคนเราต้องเสียสละสุดๆเสมอไป คนเราอาจจะมีความกลัว อาจจะมีความต้องการอยู่รอดได้โดยไม่ผิดอะไร
  • ฯลฯ

ผมให้เวลาเต็มที่ และอัด video ไว้ด้วย (ว่าจะไปฉายให้ทางแพทยศาสตรศึกษาดูว่า เด็กเราก็ไม่เลวเหมือนกัน) เกินเวลาไปชั่วโมงกว่า เพราะดูเหมือนทุกคนจะมีอะไรจะพูดหมด

ผมสะท้อนไปว่า อยากให้แต่ละคนได้เห็นสีหน้า ท่าทาง และน้ำเสียงของตัวเองตอนสะท้อน case นี้ เพราะมันช่างราบรื่นและลื่นไหล เป็นธรรมชาติ การ discuss และให้ความเห็นออกมาจากตัวตน และเป็น authentic response ที่ไม่ติดหรือประดับประดอยด้วย หะรูหะรา wording แต่ก็ออกมาได้จริงใจและน่าตื้นตันใจเป็นอย่างมาก

เนื่องจากการสะท้อนเรื่องแบบนี้ ไม่ต้องอาศัยทฤษฎี ไม่ต้องคิดอะไรถูกอะไรจะผิดมากมาย แต่เราสามารถถอดหัวใจ เปิดรับ และเกิดความเข้าใจในสิ่งที่คนไข้ทหารนาวิกโยธินของเราได้คิดและรู้สึก สิ่งนี้เข้าไปสั่นสะเทือนตัวตนของเราได้ดี เพราะมันไม่ยากที่จะ identify value แบบนี้ มันเป็นสากล

ในขณะเดียวกันผมชอบ comment ที่ว่าคนอื่นอาจจะรู้สึกแตกต่างจากนาวิกโยธินท่านนี้ได้ และเราควรจะเข้าใจในความคิดความรู้สึกแบบนั้นด้วย เพราะนี่แหละคือความหมายของ Empathy อย่างแท้จริง คือเราไม่ต้องไป set value หรือตั้งมาตรฐานไว้ก่อนว่าอะไรดี อะไรยอมรับได้ แต่ในฐานะความเป็นแพทย์ เราจะต้องพยายามเคารพในความคิด ความรู้สึก ความเชื่อของคนไข้และครอบครัวได้อย่างเต็มที่โดยปราศจากอคติ ไม่จำเป็นต้องตามกระแสเสมอไป เช่นนี้เราจึงจะมี unconditional love หรือ การรักคนไข้แบบไม่มีเงื่อนไขได้

และที่น่าสนใจก็คือ หลังจากเพื่อนๆได้ยิน comment ที่ว่าข้าวต้นนี้ ก็ไม่ได้มีการ debate โต้เถียงกันว่าอะไรน่าจะเป็นแบบไหน กลับเกิด silence ขึ้นที่เป็นความสงบ รับฟัง ลงไปถึงระดับสามเป็นอย่างน้อยของ deep listening คือไม่มีใครใช้ downloading การตีความหมายแบบเก่า (I in me) ไม่ได้มีใครใช้ debate หรือ I in it มาโต้เถียง แต่เป็นการฟังเพื่อเข้าใจคนพูด พยายามเข้าใจสิ่งที่เขาพยายามจะสื่ด้วย (I in You)

สุดยอดจริงๆ นักเรียนเรา

หมายเลขบันทึก: 187032เขียนเมื่อ 9 มิถุนายน 2008 11:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 00:28 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (18)

เป็นเรื่องเล่าที่อ่านแล้วน่าภาคภูมิใจแทนจริงๆ ครับ ได้สัมผัสถึงความสุขของครูอาจารย์ในการได้เห็นศิษย์เติบโตทางความคิดพร้อมที่จะมารับภาระเพื่อเป็นส่วนสร้างเสริมสังคมต่อไปครับ

อ.ธวัชชัยครับ

เรียกว่าเป็น moment of truth เลยครับ ตอนนั้นผมนึกอย่างไรไม่ทราบ พกเอา camcorder ลงมา เลยตั้งขาตั้งกล้องถ่ายไปเรื่อยๆ เอามาฉายดูอีกสองสามรอบที่บ้าน มีความสุขดีจริงๆ

อาจจะเป็นเพราะเห็นนักเรียนเรียนแบบเคร่งเครียดมาเยอะ พอพวกเขา relax และได้แสดงศักยภาพที่แท้ออกมา นึกถึงสิ่งที่เขาสามารถจะทำได้เมื่อตอนจบการศึกษา มันก็รุ้สึกว่าที่ที่เราอยู่นี้ มันถูกต้องแล้ว

จริงๆ

อาจารย์ค่ะได้อ่านจนจบค่ะ ต้องบอกว่า blow my mind away เช่นกันค่ะ

รู้สึกชื่นชม เข้าใจ และเห็นภาพของ deep listening ค่ะ

อ.จันทวรรณครับ

อา... มาทั้งครอบครัวน่ารักเลย ขอบคุณมากครับ ดีใจที่ชอบครับ

PS: ผมมีรูปเด็กน้อยริมอ่างน้ำคนนึงในกล้อง คิดว่าอาจารย์อาจจะสนใจ จะให้ส่งไป channel ไหนครับ

อ่านแล้วได้ empowerment ไปด้วย

ขอบพระคุณอาจารย์ที่ถ่ายทอด ขอบคุณนักศึกษาที่ไปศึกษามาอย่างตั้งใจ (ชื่นชมๆ) และขอบคุณคนไข้และผู้เกี่ยวข้องผู้ให้ประสบการณ์ค่ะ

อภิชาติศิษย์ เกิดจากจิตอาสาของครูอาจารย์ ที่ก้าวพ้นอัตตาความเป็นครูแล้วเท่านั้น

อ.สกลเองก็เป็นอภิชาติศิษย์ จึงทำให้ นศพ.ของอาจารย์เป็นอภิมหาชาติศิษย์.....

ด้วยความศรัทธาอจารย์ในทางโลกและทางธรรม

สวัสดีครับ คุณ Fisherman

ขอบพระคุณสำหรับ comment ครับ ที่จริงคนที่จะวินิจฉัยใครได้เป็นอภิชาติศิษย์ก็คงจะหาได้ไม่ง่าย และก็ไม่ยากนัก น่าจะเป็นครูคนสอนนั่นแหละครับว่าสอนๆไป เมล็ดที่หว่านไป ได้เจริญงอกงามสูงท่วมศีรษะแล้วหรือยัง

ชีวิตบั้นปลาย นอนพักผ่อน ใต่ร่มเงาพฤกษ์ที่ได้ประคบประหงมปลูกมาร่มเย็น คงจะร่มรื่นดีกว่าอยู่ท่ามกลางต้นแคระแกร็นอยู่บ้าง

อ่านอย่างอิ่มอกอิ่มใจจนจบ แล้วก็อุทานดังๆได้บ้างว่า

สุดยอดจริงๆ อาจารย์แพทย์-กระบวนกรของเรา รวมทั้งคุณลิขิตมือเอกจริงๆ ขอบคุณอ.หมอสกลมากๆค่ะ

สิ่งที่ชอบอีกอย่างในบันทึกนี้ก็คือ

แต่ถ้าเราหันมาสอนว่า "ทำไมเราถึงคิดว่าจริง" หรือ "ทำไมโลกตอนนี้ถึงเชื่อแบบนี้" แทน รากฐานที่มาของการเชื่อ ของขั้นตอนการคิด การใคร่ครวญ ไตร่ตรอง จะเป็นเครื่องมือที่จะถูกใช้แล้วใช้อีกในอนาคต

นี่เป็นสัจธรรมที่ควรก่อให้เกิดแก่วงการศึกษาบ้านเราตั้งแต่ระดับอนุบาลกันเลยล่ะค่ะ เห็นผลกับลูกตัวเองนี่แหละค่ะ ไม่ใช่ใคร และไม่อยากให้ระบบการศึกษาของเราครอบเด็กให้ "เรียนเพื่อรู้ ดูให้จำ" กันจนเป็นหุ่นยนต์กันหมดแล้ว

 

ขอบคุณอ.มากๆเลยค่ะ เห็นด้วย 100 %  เลยค่ะ

อ่านบันทึกของอ.มาหลายบันทึกรู้สึกได้ถึงความเมตตาและความเข้าใจแบบทะลปรุโปร่ง

เคารพและนับถืออ.มากๆเลยค่ะ ขอบคุณอีกครั้งค่ะ

น่าชื่นชมมากครับ ผมจะนำไปเป็นแบบอย่าง นำไปปฏิบัติครับ

สวัสดีครับอาจารย์ ไม่ได้มาอ่านเสียนาน ผมตามมาอ่านจากในเวบบอร์ดคณะน่ะครับ

อ่านแล้วรู้สึกว่าเป็นการนำเสนอที่เป็นอิสระทางความคิดมากครับ ทำให้นึกถึงเวลาเรียน PBL ตอนปี 2-3 แต่ก่อน อึดอัดครับ

ไม่ทราบว่าก่อนที่จะมีการนำเสนอกรณีศึกษาเช่นนี้ขึ้นมา รูปแบบการเรียนวิชานี้เป็นอย่างไรหรือครับอาจารย์

แล้วเดี๋ยวจะแวะมาอ่านเรื่อยๆครับ

สวัสดีครับคุณ ArLim

Long time, no see นะครับ ขอบคุณที่ยังคิดถึงและแวะมาเยี่ยมเยียนกันอยู่ เป็นยังไงบ้างครับ ชีวิตตอนนี้ สุขสบายดีหรืออย่างไร เล่าสู่กันฟังบ้าง

Health Promotion เข้ามาในการเรียนการสอนที่ ม.อ. ก็หลายปีแล้ว แต่เดิมเป็น block ต่างหากครับ ต่อมาก็เริ่มนำมาผสมผสานในทุกๆ block ส่วนใหญ่จะใส่ไว้กับปี5 แต่ของ pre- and postoperative care block เราใส่ไว้ในปี 4 เพราะมีเวลาที่เด็กอยู่กับเรามากกว่าครับ

ดังนั้นเดิมเป็นเช่นไรก็ไม่ทราบ เพราะเป็นการทำเป็นครั้งแรก แต่ผมดัดแปลงมาจากประสบการณ์ตอนที่เราเรียนเป็น block คือการเรียนด้วยประสบการณ์ตรง และเน้น relaxation, reflection และ recreation เป็นปัจจัยสำคัญที่ประสบการณ์จะกลมกลืนสอดประสานเข้าไปในเนื้อตัว ความคิด ของแต่ละปัจเจกบุคคลให้ได้ นี่คงจะเป็น outline คร่าวๆ (อาจจะต้องเขียนเรื่องนี้ต่างหากออกมาสักที) แต่ลงมือทำจริงๆแล้ว คนที่สร้างให้ออกมาเป็นอย่างไร ก็คือนักเรียนเองนี่แหละครับ

ผมพบว่าเมื่อเราไว้วางใจในศักยภาพของนักเรียน ไม่เคยผิดหวังที่เขาจะสร้างความประหลาดใจในความเป็นไปได้ต่างๆ จนความประหลาดใจสามรถกลายเป็นอะไรที่คาดหวังได้เสมอ ก็น่าสนุกดีครับ คนเรียนเป็นยังไงไม่รู้ แต่คนจัด class นั้นมันมากครับ

อาจารย์หมอใช้คำว่า อภิชาติศิษย์ โดยบอกว่าเลียนแบบมาจาก อภิชาติบุตร

ตามที่เคยเจอมาในคัมภีร์ จะใช้ว่า อภิชาตบุตร ไม่เคยเห็นที่่ใช้ อภิชาติบุตร .... จึงสงสัย ลองค้นดูก็ไม่เจอ...

เจริญพร

ขอบคุณอาจารย์สำหรับบันทึกนี้ครับ (ความจริงอยากขอบคุณสำหรับบันทึกอื่นๆ ด้วย)

"ความจริง" บางทีก็โหดร้ายและรับได้ยากนะครับ เพียงแต่เปลี่ยนมุมมอง สิ่งที่มั่นใจว่าเป็นความจริง บางทีก็ไม่จริงซะแล้ว ภาพถ่ายยังขึ้นกับมุมกล้อง ถ้ามองภาพถ่ายแล้วเชื่อทันที บางทีเราอาจจะไม่ได้เห็นอะไรที่แท้จริงเลยครับ

นมัสการหลวงพี่ชัยวุธครับ

ขอบพระคุณครับที่ช่วยแก้ไข เดี๋ยวจะตามจัดการครับ

สวสัดีครับ คุณ conductor

ยินดีที่ชอบครับ ถ้าหากเรื่องราวเป็น "ความจริง" แต่เรามองข้าม หรือไม่พยายามจะเห็นอย่างที่มันเป็น ก็จะกลายเป็น barrier of learning ใน quadrant ที่ 1 คือ "Not to recognize what you see" อันเป็นหนึ่งใน blindspot ที่สำคัญ เพราะเมื่อ information ที่เข้ามาถูกบิด distort ไป  ทั้งการคิด การพูด การกระทำ ของเราก็จะบิดตาม

สำหรับครูอาจารย์ โรงเรียนหรือมหาวิทยาลัยแล้ว เนื่องจากเราทำหน้าที่สอน แนะ หล่อหลอม เรื่องนี้ยิ่งเป็นเรื่องสำคัญ ไม่เพียงแต่เราจำเป็นต้องทำให้เรื่องราวเหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้น ทั้งในรายวิชาที่เราสอน ทั้งในสิ่งแวดล้อมเหตุการณ์ที่เป็นบริบท เรายังจำเป็นที่จะต้องทำให้มิติต่างๆของนักเรียนของตัวเขาเอง "ชัดขึ้นสำหรับตัวนักเรียนเอง" ด้วย

ต่อเมื่อมิติแวดล้อมภายนอก และมิติแวดล้อมภายในของนักเรียนถูกนำมาใคร่ครวญ ไตร่ตรอง อย่างลึกซึ้งถ่องแท้ วิชาความรู้และโดยเฉพาะอย่างยิ่งคุณธรรม จึงจะบูรณาการสอดประสานกันเป็นเนื้อเดียวกัน

ภาพถ่ายก็คือมุมมองหนึ่งของช่างภาพ จะตั้งใจหรือไม่ก็ตาม ก็ไม่ได้แปลว่าไม่จริง แต่เป็นความจริงมุมหนึ่ง เราไม่ควรจะปฏิเสธภาพถ่าย บันทึก แต่ควรจะมีสติว่ายังมีเรื่องราวมิติอื่นๆ มุมมองอื่นๆหลงเหลืออยู่ ยังไม่ควรจะด่วนฟันธง ด่วนตัดสิน ณ ตอนนี้

ขอบพระคุณคุณ conductor ที่ทำให้กระทู้นี้งอกเงยต่อไปอีกครับ

ยอดมากเลยครับอาจารย์ ผมว่านี่แหละครับความเป็นครู

ความรู้และความเป็นมนุษย์ ไม่ได้ถ่ายให้เหมือนน้ำที่ไหลจากที่สูงลงไปที่ต่ำด้วยแรงดึงดูด แต่ "สอน แนะ หล่อหลอม" ช่วยให้ผู้เรียนเปิดอายตนะแห่งการรับรู้ให้เข้ากับ (relate) ประสบการณ์ชีวิตของเขา เพื่อที่เขาจะเป็นคนที่สมบูรณ์ขึ้น ดีกว่าครูบาอาจารย์

จะดีมากเลยครับหากผู้สอนเป็นผู้เรียนไปในเวลาเดียวกัน ทั้งผู้สอนและผู้เรียน (คง)จะดีขึ้นเรื่อยๆ ทั้งสองฝ่าย -- แถมครับ มีลิงก์ไปที่เรื่องย่อของหนังสือ School that learn ในความคิดเห็นที่ 6

เห็นด้วย 100% ครับ The Fifth Disciplines ของ Peter Senge เป็นอะไรที่น่าขบคิด นำมาขยายและปรับต่ออย่างยิ่ง ผมเคยเขียนถึงเรื่องนี้เล็กๆไว้ครั้งหนึ่ง 

พัฒนาตน             Personal Mastery

ฝึกฝนเป็นนิสัย       Mental Model

ร่วมใจกัลยาณมิตร  Share Vision

คิดเป็นทีมงาน        Team Learning

สานเป็นระบบ         System Thinking

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท